Home > เอสเอ็มอี

ยูโอบี จับมือ Alibaba.com เสริมศักยภาพเอสเอ็มอีไทย ลุยขยายธุรกิจ B2B บนอีคอมเมิร์ซ

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยจับมือกับ Alibaba.com แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ B2B ของอาลีบาบาสำหรับการค้าระดับโลก หนุนผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (เอสเอ็มอี) ขยายธุรกิจบนอีคอมเมิรซ์ ร่วมเผยแนวทางการดำเนินธุรกิจ และนำเสนอโซลูชันทางการเงินที่จะช่วยเสริมศักยภาพธุรกิจเอสเอ็มอีขยายโอกาสสู่ตลาดต่างประเทศบนช่องทางออนไลน์ ความร่วมมือระหว่างธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และ Alibaba.com ตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั้งสององค์กรที่พร้อมจะรวมองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ เพื่อมอบคำแนะนำและเครื่องมือทางการเงินอันเป็นประโยชน์ให้ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยสามารถดำเนินธุรกิจบนช่องทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นางสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Head of Business Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “มีรายงานคาดการณ์ว่าตลาดอีคอมเมิร์ซ B2B ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 7.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2570[1] ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมาที่ธนาคารได้นำเสนอบริการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เราเล็งเห็นว่าอีคอมเมิร์ซได้กลายมาเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่ผู้ประกอบการในการทำตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ ธนาคารยังตระหนักดีว่าการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและบริการทางธุรกิจ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการขยายธุรกิจไปบนดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นการผนึกความเชี่ยวชาญทางการเงินของธนาคารเข้ากับข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมของ Alibaba.com เพื่อสนับสนุนลูกค้าเอสเอ็มอีเชื่อมต่อกับโอกาสใหม่และขยายธุรกิจไปต่างประเทศบนดิจิทัลแพลตฟอร์มระดับโลก” นายวาเรน หวัง Head of Thailand Business, Alibaba.com กล่าวว่า “ด้วยประสบการณ์มากกว่า 20

Read More

ยูโอบี ประเทศไทย สนับสนุนการเติบโตของเอสเอ็มอีในภาคธุรกิจท่องเที่ยว กับโครงการ Sustainability Innovation

ปัจจุบันความยั่งยืน (Sustainability) เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ยูโอบี ประเทศไทย จึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวให้มู่งสู่ความยั่งยืน โดยจากรายงานผลการศึกษาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอาเซียนโดยธนาคารยูโอบี (UOB’s ASEAN Consumer Sentiment Study 2023 - ACSS) ประจำปี 2566 สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดี กล่าวคือ ผู้บริโภคชาวไทยมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น และเต็มใจที่จะใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับสินค้าและบริการที่ยั่งยืน ครอบคลุมตั้งแต่ข้าวของเครื่องใช้อุปโภค บริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดพักผ่อน พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนี้นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่สามารถเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ด้วยแนวทางที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม SMEs ยังคงเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ อาทิ ต้นทุนสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับผู้บริโภค ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ ส่วนความท้าทายอื่นๆ ได้แก่ การขาดโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม และการขาดความรู้ที่เพียงพอสำหรับการกำหนดแนวทางและการดำเนินการอย่างถูกต้อง เพื่อช่วย SMEs ผ่านความท้าทายเหล่านี้ ยูโอบี ฟินแล็บ และพันธมิตรในโครงการ อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และ O2O Forum

Read More

ช้อปออนไลน์โตรับ WFH อีเบย์พร้อมเปิดโครงการ “eBay NextGen” หนุน SMEs ไทยสู่ตลาดโลก

อีเบย์เผยช้อปออนไลน์เติบโตต่อเนื่องทั่วโลก ตอบรับไลฟ์สไตล์ WFH ยุคโควิด-19 พร้อมเปิดโครงการ “eBay NextGen” หนุนธุรกิจ SMEs ไทยเปิดร้านขายตลาดโลก พร้อมมอบสิทธิพิเศษมากมาย อีเบย์ (eBay) ผู้นำด้านอีคอมเมิร์ซระดับโลก ประกาศพร้อมเดินหน้าส่งต่อโอกาสสำหรับเอสเอมอีไทยในการขายสินค้าไทยที่อยู่ในกระแสหรือเป็นที่ต้องการสูงในตลาดโลก เปิดตัวโครงการ “eBay NextGen” เพื่อมอบสิทธิพิเศษให้กับเอสเอ็มอีไทยที่ยังไม่เคยเปิดร้านกับอีเบย์ให้มาร่วมเป็นผู้ขายใหม่บนอีเบย์ดอทคอม (eBay.com) ได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยการได้สิทธิขายสินค้าในหมวดขายดีราคาสูง พร้อมรับ Selling Limit ที่เพิ่มให้เป็นกรณีพิเศษมากขึ้น ให้สามารถลงขายได้มากขึ้น ได้ทันทีโดยไม่ต้องสะสมคะแนน และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ซึ่งพร้อมผลักดันให้ผู้ค้าไทยเติบโตไปพร้อมกับตลาดโลกที่ยังขยายตัวตอบโจทย์ยุคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง นางรินทร์ลิตา ศรีโรจนภิญโญ หัวหน้าฝ่ายการตลาด อีเบย์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในช่วงที่โลกกำลังเผชิญกับภัยโควิด-19 อยู่นั้น ผู้คนอยู่ในบ้านมากขึ้น การเลือกซื้อของออนไลน์เป็นสิ่งหนึ่งที่คนหันมาให้ความสนใจมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดอีคอมเมิร์ซทั่วโลกกลับมีศักยภาพการเติบโตอย่างทวีคูณ ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2564 อีเบย์มีผู้ซื้อทั่วโลกมากกว่า 159 ล้านคน มีผู้ขายกว่า 19 ล้านคนลงขายสินค้ามากกว่า 1,500

Read More

เร่งระดมอัดฉีด ต่อลมหายใจ SMEs ไทย

สถานการณ์ความเป็นไปของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาด COVID-19 ดูจะยังอยู่ในภาวะที่ยากลำบากและได้รับผลกระทบต่อเนื่องอย่างหนัก โดยกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการภาคบริการทั้งธุรกิจบริการที่พักและธุรกิจบริการด้านอาหาร ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจบริการด้านศิลปะ ความบันเทิงและสันทนาการ ธุรกิจค้าปลีกส่ง และสาขาอุตสาหกรรม ผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวส่งผลให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SMEs ไทย (SMEs GDP) ในไตรมาส 2 ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 17.2 มีมูลค่ารวม 1.44 ล้านล้านบาท สอดรับกับผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ SMEs ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งพบว่า ปัญหาที่ผู้ประกอบการ SMEs เผชิญอยู่มากที่สุดในห้วงปัจจุบันเป็นกรณีของยอดขายและลูกค้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากผลของการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ปัจจัยลบที่โหมกระหน่ำใส่ผู้ประกอบการ SMEs ในอีกด้านหนึ่งยังอยู่ที่ยอดการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกของผู้ประกอบการ SMEs ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่ารวม 4.76 แสนล้านบาท ขณะที่ในปี 2562

Read More

เอสเอ็มอีท่องเที่ยวไทย เผชิญวิกฤตที่ยังไร้ทางออก

อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าอุตสาหกรรมหลักๆ ของไทยที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ พึ่งพารายได้จากต่างประเทศเป็นหลัก และเมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้สร้างผลกระทบเชิงลบในทุกระนาบ โดยที่ไม่อาจรู้ได้เลยว่า เมื่อใดสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตโควิด-19 คือ ภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุน แม้ว่าในห้วงเวลาปัจจุบันไวรัสจะยังคงอยู่บนโลกนี้อย่างไม่มีวี่แววว่าจะจางหายไป แต่สถานการณ์การส่งออกของไทยยังพอมีแรงที่จะขับเคลื่อนไปได้บ้าง เมื่อไทยยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่ประเทศคู่ค้าต้องการ ขณะที่ภาคการลงทุนที่เหล่านักลงทุนยังต้องมองสถานการณ์ในหลายๆ ด้านประกอบการตัดสินใจ ทั้งเศรษฐกิจโลก ปัญหาการเมืองที่เริ่มส่งสัญญาณความรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเลื่อนการลงทุนในไทยออกไป เมื่อยังมองหาเสถียรภาพที่มั่นคงได้ยากขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลายฝ่ายยอมรับว่าครั้งนี้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวประสบกับวิกฤตของจริง เมื่อรายได้หลักมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 70-80% โดยตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยปี 2562 ประมาณ 39.7 ล้านคน และสร้างรายได้มากถึง 1.93 ล้านล้านบาท ขณะที่ปีนี้ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับไวรัสร้ายนี้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) มีจำนวนเพียง 6.69 ล้านคน และสร้างรายได้รวม 3.32 แสนล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบตัวเลขรายได้กับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วจะพบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงไปประมาณ 4.89 แสนล้านบาท การสูญเสียรายได้หลักของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวส่งผลให้มีผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวจดทะเบียนขอเลิกประกอบกิจการประมาณ 90 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ 39 ราย เชียงใหม่ 9 ราย ภูเก็ต

Read More

สสว. ขนทัพเอสเอ็มอีร่วมงาน “เทศกาลของดีภาคใต้ ครั้งที่ 2” ทดลองตลาด-เพิ่มช่องจำหน่ายเล็งต่อยอดธุรกิจสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชน

สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยว่า หนึ่งในพันธกิจหลักของการดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Start Up) ปี 2561 นี้ คือการช่วยให้ผู้ประกอบการได้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน จึงได้ปรับรูปแบบการดำเนินการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดยุคปัจจุบันที่ต้องบูรณาการศักยภาพของผู้ประกอบการในทุกมิติเพื่อให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยผสานความร่วมมือกับหน่วยร่วมและหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ ผ่านการลงพื้นที่ปฏิบัติการเชิงลึกในหลายภูมิภาคของประเทศ สำหรับพื้นที่ภาคใต้ ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หน่วยร่วมรับผิดชอบโครงการในพื้นที่ภาคใต้ 14 จังหวัด จากผู้สมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 1,184 ราย ซึ่งทุกรายได้รับการอบรมความรู้พื้นฐานในการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยเครื่องมือดิจิทัล ก่อนจะถูกคัดเลือกเพื่อเข้ารับการอบรมเขียนแผนธุรกิจ โดยคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพตรงตามเกณฑ์เข้าสู่การพัฒนาเชิงลึกจนสามารถนำสินค้าออกสู่ท้องตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ของประชาชนและเพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย ซึ่งมีผู้ผ่านการคัดเลือกประมาณ 150 ราย ทั้งนี้เพื่อบูรณาการการสนับสนุนแบบครบวงจร จึงได้จัดงานแสดงสินค้า “เทศกาลของดีภาคใต้ ครั้งที่ 2” ณ หาดใหญ่ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ เมื่อเร็วๆนี้ เพื่อเป็นเวทีทดสอบจริงสำหรับผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก โดยภายในงานได้เปิดจำหน่ายสินค้าและทดสอบตลาดแบบออฟไลน์กว่า 150 บูธ สร้างการเรียนรู้กลุ่มลูกค้าเพื่อค้นหาลูกค้าหลักของธุรกิจตนเอง เพิ่มโอกาสต่อยอดทางธุรกิจผลักดันเข้าสู่ช่องทางการตลาดออนไลน์ในอนาคต ทั้งนี้ตลอดช่วงระยะเวลาการจัดงาน พบว่ามีคู่ค้าเข้าร่วมงาน 452 รายมูลค่าการซื้อขายและยอดสั่งซื้อรวมกว่า 7 ล้านบาท นอกจากนี้

Read More

หวังใช้ SMEs Start Up กระตุ้นเศรษฐกิจประชารัฐ

 สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในศักราชใหม่แม้จะยังมองไม่เห็นทิศทางความเป็นไปที่แน่ชัดนัก หากแต่ภาครัฐก็ยังพยายามอย่างเต็มกำลังที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนด้วยนโยบายใหม่ๆ  ซึ่งหนึ่งในนโยบายใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย คือนโยบายที่น่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ได้เคยมอบนโยบายให้ สสว. หรือสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อมุ่งพัฒนากลุ่ม Start Up และเชื่อมต่อ SMEs ไทยกับต่างประเทศ ทั้งนี้ภาคเอกชนที่ขานรับนโยบายจากรัฐบาล และนำมาเป็นคอนเทนต์ใส่ในรายการทีวีคือ รายการเสือติดปีก ภายใต้การดูแลของไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม และ ตัน ภาสกรนที ซึ่งเป็นรายการที่เฟ้นหากลุ่มธุรกิจ Start Up ให้เข้ามานำเสนอแผนธุรกิจและหาความเป็นไปได้ในการเติบโต รวมถึงโอกาสที่จะได้เงินลงทุนเพิ่มเติมจากรายการ การขยับอีกครั้งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐระลอกใหม่ คือ ลงนามความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนกว่า 60 องค์กร ในโครงการ “สานพลังประชารัฐ ส่งเสริม SMEs Start Up & Social Enterprises” เพื่อเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งให้แก่เอสเอ็มอีไทย  อย่างไรก็ตาม จำนวนธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยในปัจจุบันคิดเป็น 95 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจทั้งหมด และมีการจ้างงานกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจทั้งหมด ดังนั้นเอสเอ็มอีจึงมีส่วนสำคัญต่อการสร้างงาน

Read More