Home > Economic Crisis

ธุรกิจไทยยังทรุดหนัก ทุกสำนักปรับลด GDP ติดลบ

สถานการณ์ในแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรมไทยยังคงทรุดตัวหนักและไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นคืนกลับมาได้โดยง่ายและในเร็ววัน และทำให้ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 อยู่ในภาวะที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่มูลค่าทางเศรษฐกิจก็หดหายไปไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาทอีกด้วย ความพยายามที่จะกระตุ้นภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่เป็นอุตสาหกรรมความหวังและเป็นจักรกลหนุนนำเศรษฐกิจไทยมาในช่วงก่อนหน้านี้กลายเป็นฝันสลายเมื่อแนวความคิดว่าด้วย Travel Bubble ที่เป็นการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศคู่เจรจาถูกพับฐานลงไปเมื่อจำนวนยอดผู้ติดเชื้อในแต่ละประเทศยังคงพุ่งทะยานขึ้นสูงและทำให้ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวต้องรอคอยให้ COVID-19 คลี่คลายไปมากกว่านี้ ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมามักได้รับการประเมินว่าเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นไปทั่วทั้งโลก หากแต่ในความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งสภาพเศรษฐกิจไทยที่ปรากฏขึ้นอยู่นี้เป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการของรัฐที่ขาดความรอบคอบและการวางแผนเพื่อรับมือผลกระทบที่จะตามมาจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีดังกล่าวอยู่ที่ผลของมาตรการปิดเมืองที่กระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยว อุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหารค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจขนส่งและธุรกิจบันเทิงที่มีผลกระทบรวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ขณะที่ภาคการผลิตและการส่งออกได้รับผลกระทบมากถึง 5 แสนล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งที่ดำเนินอยู่ก่อนหน้าโดยปราศจากความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมส่งผลกระทบรวมกว่า 7.6 หมื่นล้านบาท กรณีเช่นว่านี้ทำให้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปรับประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ให้อยู่ในระดับติดลบร้อยละ -8.4 ถึงลบร้อยละ -11.4 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมไม่ต่ำกว่า 2.1 ล้านล้านบาท ท่ามกลางการส่งออกที่ติดลบร้อยละ 10.2 จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะติดลบร้อยละ -8.8 ถึงร้อยละ -12.0 การลงทุนรวมติดลบร้อยละ -8 จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบร้อยละ -5.4 ถึงร้อยละ -7.4 ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวหายไปถึงร้อยละ 82.3 จากเดิมที่คาดว่าจะหายไปร้อยละ 74.3-78.7 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบร้อยละ

Read More

October Red Alert เศรษฐกิจโลกส่อวิกฤตรอบใหม่

แม้สังคมไทยกำลังจะเดินหน้าสู่สมรภูมิการเลือกตั้งที่ทำให้พื้นที่ข่าวจำนวนหนึ่งถูกจัดสรรให้รายงานความเคลื่อนไหวและเป็นไปทางการเมือง ที่ประกอบส่วนด้วยท่วงทำนองของนักการเมืองที่ต่างพร้อมกระโจนเข้าสู่สนามการแข่งขันทั้งอย่างเปิดเผย โดยมีบางส่วนที่ยังสงวนท่าที ขณะเดียวกันวิกฤตจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะที่อินโดนีเซียก็ดูจะเป็นกรณีที่น่าสนใจติดตามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และทำให้สังคมไทยต้องหันมาตั้งคำถามถึงขีดความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยงและบรรเทาสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นของหน่วยราชการและกลไกแวดล้อมว่ามีอยู่ในระดับใด มีกุญแจที่จะไขไปสู่การสร้างความมั่นใจให้กับสังคมได้มากน้อยเพียงใดหรือไม่ หากแต่ในภาพรวมระดับนานาชาติ ความเป็นไปของเศรษฐกิจมหภาคกำลังดำเนินไปภายใต้ภาวะสุ่มเสี่ยงจากผลกระทบของสงครามการค้าที่เริ่มขึ้นจากข้อขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งทำให้การลงทุนและกระบวนการผลิตที่จะหนุนนำการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนมากขึ้นอีกด้วย และอาจเป็นปัจจัยกดทับให้ความมุ่งหมายที่จะเร่งฟื้นคืนเศรษฐกิจไทยให้กลับมาเจริญรุดหน้าเป็นไปได้อย่างยากลำบากขึ้น กรณีของสงครามการค้าที่กำลังเกิดขึ้นดังกล่าวส่งผลให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ต้องออกมาร้องเตือนถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มจะชะงักงันและซบเซาลงในช่วงเวลานับจากนี้ และอาจทำให้เศรษฐกิจโลกต้องเข้าสู่ภาวะวิกฤตอีกครั้ง หลังจากที่โลกต้องเผชิญกับวิกฤต subprime ในปี 2008 หรือเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่น่าสนใจติดตามจากคำเตือนของไอเอ็มเอฟในครั้งนี้ อยู่ที่การระบุว่า นอกจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะงักงันแล้ว ยังระบุว่าหากวิกฤตค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ยืดเยื้อและลุกลามต่อไป อาจทำให้ต้องเผชิญกับภาวะกระแสเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่มากถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 3.3 ล้านล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับกระแสเงินไหลออกในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลกเมื่อ 10 ปีก่อน วิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังส่อเค้าจะถาโถมเข้าใส่เศรษฐกิจโลกครั้งใหม่นี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะจากผลของสงครามการค้าแต่เพียงลำพังเท่านั้น หากยังประกอบส่วนด้วยการปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่แข็งค่าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินหลายสกุล ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดภาระหนี้ต่างประเทศของชาติในตลาดเกิดใหม่อย่างหนักหน่วง ข้อมูลจากไอเอ็มเอฟ ได้ชี้ให้เห็นด้วยว่า ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา พบว่ากระแสเงินทุนไหลออกจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่แล้ว มากถึง 240,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้ประเทศส่วนใหญ่ดำเนินการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ยากลำบากมากขึ้น เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเริ่มเปลี่ยนแปลง และมีปัจจัยเสี่ยงที่ปรากฏเค้าลางมาตั้งแต่ต้นปีกำลังเริ่มส่งผลกระทบต่อภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วงและแท้จริงยิ่งขึ้น ปัจจัยเสี่ยงจากนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกา ได้รับการประเมินว่า นอกจากจะมีแนวโน้มส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเองแล้ว ท่าทีดังกล่าวยังบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจของโลกอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของความมั่นใจของนักลงทุน ซึ่งจะส่งผลสร้างความเสียหายให้เกิดเป็นความสูญเสียที่มีผลกระทบกว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีก ข้อเท็จจริงที่สอดรับกับข้อสังเกตดังกล่าว

Read More

20 ปีวิกฤตต้มยำกุ้ง บทเรียนสู่อนาคตยุค 4.0

นอกเหนือจากข่าวที่ไหลบ่าท่วมกระแสการรับรู้ของผู้คนไม่ว่าจะเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 44 อำนวยความสะดวกให้กับการก่อสร้างรถไฟความเร็วปานกลางในเส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคาย ที่มีจีนเป็นผู้ดำเนินการ หรือการอนุมัติและเร่งรัดให้มีการสร้างหอชมเมืองด้วยวิธีที่ไม่ต้องประมูลเพื่อเร่งรัดให้โครงการสำเร็จลุล่วงอย่างรวดเร็วแล้ว บทวิเคราะห์ย้อนอดีตว่าด้วยวิกฤตเศรษฐกิจไทยที่ลุกลามไปเป็นวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียเมื่อปี 2540 หรือเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ดูจะเป็นอีกบริบทหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจไม่น้อย เนื่องเพราะบทเรียนแห่งวิกฤตในครั้งนั้นยังคงส่งผลกระทบสืบเนื่องและส่วนหนึ่งฝังรากเป็นประเด็นเชิงโครงสร้างที่ดูเหมือนว่า กลไกรัฐไทยและภาคธุรกิจเอกชนไทยกำลังอยู่ในห้วงเวลาที่พร้อมจะผลิตซ้ำความผิดพลาดครั้งเก่าจากความพยายามเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจที่ดำเนินอยู่ในภาวะซึมเซายาวนานให้กลับมีสีสัน บนความคาดหวังครั้งใหม่ว่าจะช่วยฉุดกระชากเศรษฐกิจสังคมไทยออกจากหล่มโคลนให้ก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้ หลักไมล์แห่งการวิเคราะห์วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ส่วนใหญ่ได้ยึดเอาวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ด้วยการยกเลิกการผูกติดกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หลังจากถูกโจมตีค่าเงินอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้านั้น ซึ่งการประกาศดังกล่าวส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างมาก และส่งผลให้ปริมาณหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยทันที และกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ส่งผลกระทบทางการเงินและเศรษฐกิจไทย ก่อนที่จะลุกลามและขยายตัวจนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครอบคลุมทั่วทั้งเอเชียในนาม “วิกฤตต้มยำกุ้ง” หากแต่ในความเป็นจริงการประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นเพียงปลายยอดของภูเขาน้ำแข็งที่หักโค่นลงโดยที่ภูเขาน้ำแข็งแห่งปัญหาที่สั่งสมอยู่ใต้ผิวน้ำกำลังละลายและพังครืนจากความอ่อนแอที่เกิดขึ้นอยู่ภายในโครงสร้างที่เปราะบาง โดย AMRO หรือสถาบันวิจัยเศรษฐกิจมหภาคอาเซียนบวกสาม (ASEAN +3 Macroeconomic Research Office) ได้เสนอบทวิเคราะห์ย้อนอดีตวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนั้นว่าแม้จะดูเหมือนว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะเริ่มต้นขึ้นในประเทศไทย เมื่อค่าเงินบาทถูกกดดันจากการเก็งกำไรอย่างรุนแรง แต่ในความเป็นจริงความเสี่ยงต่างๆ ในภูมิภาคได้ก่อตัวมาสักระยะก่อนหน้านั้นแล้ว โดยเฉพาะความไม่สมดุลของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค พัฒนาการจากเศรษฐกิจต่างประเทศ และความอ่อนแอของภาคการเงินและบรรษัทเอกชน ความไม่สมดุลของภาคต่างประเทศถูกสะท้อนจากเงินทุนเอกชนที่ไหลเข้ามาอย่างมากและการลงทุนของเอกชนภายในประเทศที่สูง ซึ่งถูกกระตุ้นเพิ่มขึ้นไปอีกจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินบาทกลับถูกตรึงเอาไว้ตามนโยบายขณะนั้น เงินทุนที่ไหลเข้ามาป็นชนวนขับเคลื่อนการขยายสินเชื่อและการลงทุนในเกาหลีใต้ มาเลเซีย และไทย โดยเฉพาะการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และเกิดฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์

Read More