Home > ธุรกิจไทย

การล่มสลายของธุรกิจไทย เปราะบาง-อิงต่างชาติมากเกินไป?

การประกาศปรับลดประมาณการตัวเลขจีดีพีไทยในปี 2563 ที่อาจติดลบถึง 9 เปอร์เซ็นต์ เสมือนเป็นการยอมรับโดยดุษณีว่า เศรษฐกิจไทยยังไร้กำลังฟื้นตัว และวิกฤตจากโควิด-19 ส่งผลเสียต่อระบบหนักกว่าเมื่อครั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์เศรษฐกิจในหลายสถาบันต่างมองหาความเป็นไปได้ว่า เศรษฐกิจไทยจะมีทิศทางการฟื้นตัวไปในรูปแบบใด ระหว่างรูปแบบตัว V รูปแบบตัว U หรือรูปแบบตัว L ซึ่งตัวแปรที่จะก่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยไม่ใช่อาศัยจังหวะที่เอื้ออำนวยอันนำมาซึ่งกำลังซื้อที่แข็งแรงขึ้นหรือนโยบายจากภาครัฐที่จะผลักดันให้อุปสงค์เพิ่มกำลังขึ้นเท่านั้น แค่เพียงนโยบายอุดหนุนจากรัฐบาลที่มุ่งหวังให้มีกระแสเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อคนในชาติด้วยกันเอง ดูจะไม่เพียงพอเสียแล้ว เมื่อทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการล้วนแต่ใช้มาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งดูจะเป็นการ์ดที่มีไว้ป้องกันตัวเอง เพราะสถานการณ์ในหลายด้านยังไม่ถึงจุดสิ้นสุด ไม่ว่าจะจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สงครามการค้ารอบใหม่ที่เริ่มร้อนแรงขึ้น หรือเหตุการณ์โศกนาฏกรรมคร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก หลังจากมาตรการผ่อนปรนที่รัฐบาลประกาศออกมา พร้อมทั้งนโยบายอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” โดยรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน ในสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ประชาชนยังใช้สิทธิไม่มากอย่างที่หวังไว้ สัดส่วนการเข้าใช้สิทธิ์ที่เกิดขึ้นเพียงกระผีกลิ้นจากโครงการดังกล่าว เป็นภาพสะท้อนสถานการณ์ของกำลังซื้อภายในประเทศ และการระมัดระวังในการจับจ่ายของประชาชนมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เมื่อภาคเอกชนต่างเรียกร้องให้รัฐออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ด้วยหวังว่าจะมีเงินหมุนเวียนเข้ามายังสายใยของธุรกิจที่แบกความหวังอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ธุรกิจและอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อยที่นับถอยหลังสู่การล่มสลาย เมื่อมองไม่เห็นสัญญาณในทางบวกที่พอจะไปต่อได้ นั่นอาจเป็นเพราะโครงสร้างของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยเกาะติดและยึดโยงกับรายได้ที่มาจากต่างประเทศมาอย่างยาวนาน เวลานี้อาจดูเป็นเรื่องยาก หากผู้ประกอบการไทยจะมองหาตลาดใหม่เข้ามาทดแทนตลาดเดิม เมื่อหลายประเทศคู่ค้ายังประสบกับสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ต่างกัน วิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ สร้างผลกระทบให้แก่ธุรกิจทุกขนาด และทุกแวดวง โดยเฉพาะธุรกิจ SME ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจผลกระทบโควิด-19 ต่อ

Read More

ธุรกิจไทยยังทรุดหนัก ทุกสำนักปรับลด GDP ติดลบ

สถานการณ์ในแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรมไทยยังคงทรุดตัวหนักและไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นคืนกลับมาได้โดยง่ายและในเร็ววัน และทำให้ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 อยู่ในภาวะที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่มูลค่าทางเศรษฐกิจก็หดหายไปไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาทอีกด้วย ความพยายามที่จะกระตุ้นภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่เป็นอุตสาหกรรมความหวังและเป็นจักรกลหนุนนำเศรษฐกิจไทยมาในช่วงก่อนหน้านี้กลายเป็นฝันสลายเมื่อแนวความคิดว่าด้วย Travel Bubble ที่เป็นการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศคู่เจรจาถูกพับฐานลงไปเมื่อจำนวนยอดผู้ติดเชื้อในแต่ละประเทศยังคงพุ่งทะยานขึ้นสูงและทำให้ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวต้องรอคอยให้ COVID-19 คลี่คลายไปมากกว่านี้ ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมามักได้รับการประเมินว่าเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นไปทั่วทั้งโลก หากแต่ในความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งสภาพเศรษฐกิจไทยที่ปรากฏขึ้นอยู่นี้เป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการของรัฐที่ขาดความรอบคอบและการวางแผนเพื่อรับมือผลกระทบที่จะตามมาจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีดังกล่าวอยู่ที่ผลของมาตรการปิดเมืองที่กระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยว อุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหารค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจขนส่งและธุรกิจบันเทิงที่มีผลกระทบรวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ขณะที่ภาคการผลิตและการส่งออกได้รับผลกระทบมากถึง 5 แสนล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งที่ดำเนินอยู่ก่อนหน้าโดยปราศจากความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมส่งผลกระทบรวมกว่า 7.6 หมื่นล้านบาท กรณีเช่นว่านี้ทำให้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปรับประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ให้อยู่ในระดับติดลบร้อยละ -8.4 ถึงลบร้อยละ -11.4 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมไม่ต่ำกว่า 2.1 ล้านล้านบาท ท่ามกลางการส่งออกที่ติดลบร้อยละ 10.2 จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะติดลบร้อยละ -8.8 ถึงร้อยละ -12.0 การลงทุนรวมติดลบร้อยละ -8 จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบร้อยละ -5.4 ถึงร้อยละ -7.4 ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวหายไปถึงร้อยละ 82.3 จากเดิมที่คาดว่าจะหายไปร้อยละ 74.3-78.7 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบร้อยละ

Read More