Home > COVID-19 (Page 12)

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป จัดอันดับ 10 พฤติกรรมบนวิถี New Normal หลังโควิด

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในภาคภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมและภาคแรงงาน ต่างมีการปรับตัวเพื่อรับมือและสอดรับกับวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ (New Normal) ล่าสุด “แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย” ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างร่วมตอบแบบสอบถามจำนวน 1,124 คน ในหัวข้อ “วิถีชีวิตแบบใหม่หลังโควิดส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคุณอย่างไร” พร้อมเผย 10 อันดับปรากฎการณ์วิถีชีวิตแบบใหม่หลังโควิดที่ถึงแม้ว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเริ่มเข้าสู่ระยะปลดล็อคมาระยะหนึ่งแล้ว แต่พฤติกรรมหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ของผู้คนในปัจจุบัน แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญตลาดแรงงานเชิงนวัตกรรมชั้นนำระดับโลก ได้จัดอันดับ 10 พฤติกรรมที่ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตและการทำงานไว้ดังนี้ สำหรับอันดับที่หนึ่ง 90.91% คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับรูปแบบการช้อปปิ้งออนไลน์ ซึ่งเห็นได้ชัดในสถานการณ์ครั้งนี้ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดอี-คอมเมิร์ซ เติบโตพุ่งขึ้นไปอีก ข้อมูลจากบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด มีคาดการณ์ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ หรือช้อปออนไลน์ในกลุ่ม C2C หรือ Customer to Customer ไม่รวมบริการจองที่พักโรงแรม ตั๋วเครื่องบิน ดิจิทัลคอนเทนต์ และบริการอื่น ๆ ระบุว่าในปี 2563 ธุรกิจช้อปออนไลน์มีมูลค่าที่ 220,000 ล้านบาท

Read More

ท่องเที่ยวไทยอ่วม ถึงเวลาต้องปรับตัว

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งคุกคามสังคมโลกและยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติลงโดยง่ายเช่นในปัจจุบันนี้ นอกจากจะส่งผลให้ธุรกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไปต้องปรับตัวให้สอดรับกับวิถีใหม่ หรือ New Normal เพื่อที่จะขับเคลื่อนต่อไปข้างหน้าแทนที่จะหยุดนิ่งเหมือนช่วงที่ผ่านมา อาจให้ภาพของความคลี่คลายในสถานการณ์ หากแต่ในความเป็นจริงอนาคตที่วางอยู่เบื้องหน้าดูจะอึมครึมและปราศจากสัญญาณเชิงบวกอยู่ไม่น้อย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจสำหรับเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลจากการแพร่ระบาดซึ่งเริ่มต้นในช่วงปลายของไตรมาสที่ 1 ส่งผลให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 กลายเป็นไตรมาสที่ย่ำแย่ที่สุด เนื่องเพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งระบบหยุดชะงัก การผลิตและการส่งออกไม่สามารถกระทำได้ ซึ่งเมื่อเริ่มมีการผ่อนปรนมาตรการป้องกันให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลากหลายเริ่มกลับมาดำเนินการได้ภายใต้มาตรการที่คลี่คลายลง ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะพ้นจุดต่ำสุดและกำลังจะฟื้นตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ หากแต่ในความเป็นจริงตลอดช่วงเวลาของไตรมาสที่ 3 ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายนพร้อมกับการสิ้นสุดปีงบประมาณ สถานการณ์โดยรอบกลับไม่ได้บ่งชี้ถึงสัญญาณการฟื้นตัวมากนัก มิหนำซ้ำยังมีลักษณะที่พร้อมจะจมดิ่งไปหาจุดต่ำสุดใหม่ได้ตลอดเวลาอีกด้วย เพราะแม้หลายฝ่ายจะพยายามปลอบประโลมว่าด้วยการทยอยฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่นั่นก็อาจใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี หรืออาจยาวนานถึง 5 ปีนับจากนี้ เหตุที่เป็นดังนี้ในด้านหนึ่งก็เนื่องเพราะประเทศไทยพึ่งพารายได้จากการส่งออกที่ผูกพันกับกำลังซื้อของคู่ค้าในต่างประเทศ ซึ่งหากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้นตัวโอกาสที่จะมีคำสั่งซื้อก็จะชะลอตัวต่อไป ขณะเดียวกันด้วยเหตุที่ไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก ความหวังที่ว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาเดินทางสร้างรายได้ให้กับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องก็อาจต้องใช้เวลานานไม่ต่ำกว่า 2 ปี การคาดการณ์ในลักษณะดังกล่าวตั้งอยู่บนฐานความคิดที่ว่า หลักประกันความปลอดภัยจาก COVID-19 โดยเฉพาะวัคซีนยังไม่มีการพัฒนาได้สำเร็จ โดยหลายฝ่ายประเมินเบื้องต้นว่าวัคซีนที่ได้ผลในการจัดการกับ COVID-19 น่าจะคิดค้นได้เร็วที่สุดภายในเดือนกันยายนปีหน้า และกว่าที่วัคซีนจะเข้าถึงประชากรส่วนใหญ่ทั่วโลกและประเทศกำลังพัฒนา ก็น่าจะยาวนานไปจนถึงปี 2022 ดังนั้น แนวโน้มที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่เทียบเท่าก่อนเกิดการระบาด ก็น่าจะอยู่ในช่วงปลายปี 2022 หรืออีกประมาณ 2 ปีนับต่อจากนี้ ก่อนหน้านี้

Read More

ม.สวนดุสิตพลิกโฉมท่องเที่ยวตราด ดันร่อนพลอยทับทิมสยามฟื้นโควิด

คณะวิจัยม.สวนดุสิตเร่งมือยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน อ.บ่อไร่ จ.ตลาด เพื่อพลิกฟื้นในช่วงโควิด-19 หลังคลิปไวรัล “การร่อนพลอย” ทำนักท่องเที่ยวแห่ชม พร้อมผสานวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชนพื้นเมือง “ชาวชอง” เป็นจุดขายร่วมภายใต้การสนับสนุนจากนายอำเภอบ่อไร่ นายภานุวัฒน์ พุทธเกสร นายอำเภอบ่อไร่ จ. ตราด เป็นประธานการประชุมร่วมกับคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำโดย รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย และคณะวิจัยโครงการ “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชน (Gastronomy Village Tourism) ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองชายฝั่งทะเลตะวันออก (ระยอง-จันทบุรี-ตราด) บนรากฐานคุณค่าและภูมิปัญญาสู่ความยั่งยืนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ซึ่งได้ทุนสนับสนุนการวิจัยมาจากหน่วยการบริหารและจัดการทุน ด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ อ.บ่อไร่ จ. ตราด เป็นพื้นที่มีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวสูงมาก โดยเฉพาะ ต.ช้างทูล และ ต.หนองมน ที่มีเหมืองแร่และมีการขุดพลอยทับทิมสยาม ซึ่งสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันซีนแห่งใหม่ด้วยการนำเสนอ ‘การร่อนพลอย’ ซึ่งจะพบพลอยได้เยอะมากโดยเฉพาะในฤดูฝน

Read More

ระวังผมร่วงหลังหายป่วยโควิด-19

Column: Well – Being ท่ามกลางการระบาดอย่างหนักหน่วงของโรคโควิด-19 เรามักได้รับรายงานข่าวว่า มีคนจำนวนไม่น้อยทุกข์ทรมานจากภาวะแทรกซ้อนหลังจากถูกแพทย์วินิจฉัยว่า ป่วยเป็นโรคโควิด-19 เช่น บางคนไอเรื้อรัง ขณะที่อีกหลายคนมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ บางคนโชคดีที่รู้สึกสบายดี แต่มีผู้หายป่วยจากโควิด-19 แล้วกำลังปวดหัวกับปัญหาผมร่วงเช่นกัน นิตยสาร Prevention รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สมาชิกของ Survivor Corps ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กที่สนับสนุนผู้ป่วยเป็นโควิด-19 ได้เปิดเวทีให้สมาชิกผู้มีประสบการณ์ผมร่วงเป็นเวลาหลายเดือน หลังหายป่วยจากโรคโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ “ฉันป่วยหนักเป็นโควิด-19 เมื่อเดือนเมษายน ขอบคุณพระเจ้าที่ฉันหายป่วยได้ แต่ตอนนี้ฉันกำลังวิตกเกี่ยวกับผลที่ตามมา” สมาชิกคนหนึ่งเขียนเล่า “ผมของฉันร่วงมากเหลือเกิน และฉันก็กลัวเกินกว่าที่จะแปรงผมด้วย” สมาชิกอีกคนหนึ่งเล่าว่า “ตอนนี้ผมร่วงมาก ฉันป่วยเมื่อปลายเดือนมีนาคม อาการผมร่วงค่อยๆ แย่ลงเรื่อยๆ” อีกคนหนึ่งเสริมขึ้นว่า “ปกติฉันเป็นคนผมหนา แต่ตอนนี้เวลารวบผมแล้วผูกเป็นหางม้า ความหนาเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของที่เคยหนา” จดหมายข่าวเพื่อการวิจัยที่ตีพิมพ์ใน JAMA ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม วิเคราะห์ข้อมูลจากคนไข้ 143 รายผู้ป่วยเป็นโควิด-19 และพบว่าร้อยละ 44 กล่าวว่า พวกเขามี “คุณภาพชีวิตที่แย่ลง” มีรายงานว่าพวกเขาทุกข์ทรมานจากอาการเรื้อรังรูปแบบต่างๆ เช่น อ่อนล้า หายใจขัด

Read More

เตรียมพร้อมสู่จุดต่ำสุดใหม่? เมื่อเศรษฐกิจไทยไร้เข็มทิศ

ข่าวการลาออกของ ปรีดี ดาวฉาย จากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาหลังจากที่เข้ารับตำแหน่งได้เพียง 21 วัน กำลังเป็นภาพสะท้อนการทำงานของรัฐและเป็นระเบิดเวลาที่พร้อมจะเปิดเผยให้เห็นข้อเท็จจริงที่กลไกรัฐพยายามปิดซ่อนไว้ โดยเฉพาะประเด็นว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ทรุดหนัก ขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองก็มาถึงจุดที่ความเชื่อมั่นหดหายจนยากที่จะลากยาวต่อไป ความไม่เชื่อมั่น ที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในหมู่ภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการและหวังให้รัฐดำเนินมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ด้วยการเร่งแก้ไขปัญหาและนำเสนอมาตรการเพิ่มเติมอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้สถานการณ์ COVID-19 เท่านั้นหากแต่การลาออกดังกล่าวได้นำไปสู่ความเคลือบแคลงสงสัยในศักยภาพของรัฐในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ที่ดูจะกลายเป็นประเด็นรองนอกเหนือจากการคงอำนาจทางการเมืองที่ดูจะเป็นประเด็นหลักในความคิดคำนึงของพวกเขาไปแล้ว ภาพสะท้อนจากการลาออกดังกล่าวได้ส่งผลกระทบที่ชัดเจนต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ นักลงทุนและประชาชนวงกว้าง ขณะที่ประเด็นว่าด้วยผู้ที่จะมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในทีมเศรษฐกิจจะมีทิศทางและนโยบายในการแก้ไขสถานการณ์เศรษฐกิจที่ทรุดต่ำลงนี้อย่างไร การลาออกอย่างเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมต่างคาดหมายไปในทิศทางที่เชื่อว่าเกิดจากปัญหาความไม่เป็นเอกภาพของทีมเศรษฐกิจ และความไม่เป็นอิสระในการทำงาน ซึ่งเป็นกรณีที่น่าเป็นห่วง เพราะวิกฤตที่เกิดขึ้นจากการระบาด COVID-19 ครั้งนี้ส่งผลกระทบหนักหน่วงกว่าวิกฤตอื่นๆ ที่ได้เผชิญมา โดยเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะถดถอย และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทีมเศรษฐกิจต้องร่วมมือกันทำงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาขยายตัวเร็วที่สุด ก่อนหน้านี้ ปรีดี ดาวฉาย ซึ่งเคยทำงานอยู่ในคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ได้รับเสียงตอบรับจากภาคเอกชนไม่น้อย เพราะต่างเชื่อว่าจะมีเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจ และอาจเรียกว่ามีทัศนคิดไปในทิศทางเดียวกับภาคเอกชน จึงมั่นใจว่าด้วยตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะสามารถนำเสนอมาตรการและผลักดันนโยบายให้สอดรับกับสถานการณ์ขณะนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการคัดสรรบุคคลมารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คนใหม่จึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย โดยนอกจากประสบการณ์ด้านการเงินแล้ว ควรมองและประเมินภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคได้อย่างชัดเจน มิเช่นนั้นอาจกลายเป็นผู้สร้างปัญหามากกว่าที่จะผู้แก้ปัญหาเศรษฐกิจไปในที่สุด ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ช่วงเวลาระหว่างการรอให้มีการแต่งตั้งบุคคลมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน โดยอาจเกิดการชะลอการลงทุน เพราะเดิมนักลงทุนประเมินว่า ปรีดีจะมาเป็นตัวเชื่อมรอยต่อของทีมเศรษฐกิจชุดเดิมที่ปูรากฐานการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไว้ หรือล่าสุดที่รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ออกมา

Read More

สถานการณ์ Covid-19

Column: From Paris Convid-19 นี่ร้ายจริงๆ ร้ายกว่าที่ใครๆ จะคาดคิด การระบาดที่รุนแรงทำให้เกิดการปิดประเทศทั่วโลก นอกจากวิกฤตด้านสาธารณสุขแล้ว ยังเกิดวิกฤตด้านเศรษฐกิจและสังคม ใช่แต่ไทย เศรษฐกิจฝรั่งเศสก็อิงการท่องเที่ยวด้วย เมื่อปราศจากนักท่องเที่ยวเสียแล้ว ธุรกิจแฟชั่นและสินค้าหรู โรงแรม ร้านอาหารต่างได้รับผลกระทบหมด การท่องเที่ยวฝรั่งเศสพึ่งนักท่องเที่ยวจากจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ฝรั่งเศสล็อกดาวน์ประเทศเป็นเวลา 2 เดือน ใครสายป่านสั้นก็หมดลมหายใจ เมื่อเลิกล็อกดาวน์ สิ่งที่เห็นทั่วไปคือร้านค้าหลายแห่ง โดยเฉพาะร้านอาหารถือโอกาสปรับปรุงร้านเพื่อเปิดใหม่ให้สดใสยิ่งขึ้นและเพื่อรองรับมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุขจำนวนไม่น้อยปิดตัวถาวรเลย เห็นได้ชัดในย่านที่เคยคับคั่งด้วยนักท่องเที่ยว แถววิหาร Notre-Dame de Paris ร้านอาหารและร้านขายของที่ระลึกไม่มีทีท่าว่าจะเปิดใหม่ ร้านอาหารขนาดใหญ่ริมแม่น้ำแซน (Seine) ประกาศเซ้งร้าน ย่าน Saint-Germain-des-Prés แถวถนน rue Guisarde ซึ่งอยู่ในละแวกโบสถ์ Saint-Sulpice ร้านอาหารหลายแห่งปิดเงียบ ให้เสียดายร้านอาหารอิตาเลียน Alfredo Positano ที่เคยมีลูกค้าคับคั่ง กลับปิดตาย แต่อีกหลายร้านกลับมาเปิดใหม่อย่างคึกคัก ด้วยว่าปิดถนน แล้วตั้งโต๊ะกลางถนนเลย เหลือทางเดินนิดหน่อย เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสอนุมัติให้ร้านอาหารเปิดบริการได้ โดยต้องรักษาระยะห่างระหว่างโต๊ะ แรกทีเดียวให้แต่ละโต๊ะตั้งห่าง 2

Read More

ตลาดอีคอมเมิร์ซโตไม่หยุด สวนกระแสธุรกิจพังหลัง COVID-19

การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อหลายภาคธุรกิจจนถึงขั้นที่อาจต้องยุติหรือเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก หากแต่ในอีกด้านหนึ่งของเหรียญ พบว่าธุรกิจ E-commerce กลับดำเนินไปในท่วงทำนองที่ตรงข้ามและสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงเวลาของสถานการณ์ยากลำบากที่ผ่านมา และมีแนวโน้มจะขยายตัวต่อไปไม่หยุด ภายใต้สถานการณ์ที่รัฐดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดด้วยการสั่งปิดเมืองและปิดห้างและศูนย์การค้า พร้อมกับเชิญชวนให้ประชาชนอยู่บ้านเพื่อหยุดโรคได้กลายเป็นแรงผลักดันให้คนไทยหันมา shopping online มากขึ้น และทำให้มูลค่าของธุรกิจช้อปออนไลน์ในปี 2563 คาดว่าจะสูงถึง 220,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4-5 ของมูลค่าค้าปลีกทั้งประเทศ และนับเป็นการเติบโตขึ้นร้อยละ 35 จากปี 2562 ซึ่งมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 163,300 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของมูลค่าค้าปลีกทั้งประเทศ ประเด็นที่น่าสนใจจากกรณีดังกล่าวอยู่ที่แม้คนไทยจะช้อปปิ้งออนไลน์สูงขึ้น แต่ยังถือว่ามีสัดส่วนจากมูลค่าค้าปลีกที่ไม่มากนักเมื่อเทียบประเทศอื่นโดยในปี 2562 ช้อปปิ้งออนไลน์ของจีน มีสัดส่วนร้อยละ 25 จากมูลค่าค้าปลีก ขณะที่สหราชอาณาจักร มีสัดส่วนร้อยละ 22 จากมูลค่าค้าปลีก เกาหลีใต้ มีสัดส่วนร้อยละ 22 จากมูลค่าค้าปลีก ส่วนที่สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนร้อยละ 11 จากมูลค่าค้าปลีก ญี่ปุ่น มีสัดส่วนที่ร้อยละ

Read More

ไมโครซอฟท์พร้อมขับเคลื่อนการศึกษาผ่าน DEEP แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์แบบใหม่

ไมโครซอฟท์ประกาศพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและปฏิรูปการศึกษายกกำลังสอง ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์ใหม่ภายใต้ชื่อ DEEP มุ่งขยายโอกาสและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี เพื่อนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศกว่า 10 ล้านคน บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ และภาคเอกชนร่วมเปิดตัวแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ หรือ DEEP (Digital Education Excellence Platform) รวบรวมหลักสูตรที่หลากหลายเพื่อให้เป็นองค์ความรู้ของประเทศ ตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาภาคการศึกษาไทยสู่ความเป็นเลิศ โดยไมโครซอฟท์ได้รับเกียรติในการจัดสรรเนื้อหาและทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้แบบออนไลน์บน Microsoft Office 365 สำหรับการศึกษา เพื่อมอบโอกาสทางการศึกษาและเพิ่มทักษะทางด้านดิจิทัลแก่นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษากว่า 10 ล้านคน นายปวิช ใจชื่น รองกรรมการผู้จัดการ สายงานกลุ่มธุรกิจภาครัฐ ภาคการศึกษา และการสาธารณสุข บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การเกิดโควิด-19 ก่อให้เกิดการกระตุ้นที่จะนำดิจิทัลเข้ามาปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานในทุกวงการอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงภาคการศึกษาด้วย ในส่วนของกระบวนการนำดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ทางด้านการศึกษานั้น เรามองใน 4 มิติ คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้ใช้หรือผู้เรียน การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการดำเนินงาน

Read More

สถาบันการเงินปรับตัว เสริมสภาพคล่อง ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน

สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงชะงักงัน อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงไม่คลี่คลาย และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้น ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายเล็กและเอสเอ็มอี หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งสถาบันการเงินและภาครัฐต่างเร่งเสริมสภาพคล่องเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่รอบด้าน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ แถลงสภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ของปี 2563 พบจีดีพี -12.2% ต่อปี ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1 ที่ผ่านมา และคาดว่าทั้งปีจะปรับตัวลดลง -7.8% ถึง -7.3% ซึ่งลดลงจากเดิมที่คาดไว้ว่าจะหดตัวอยู่ที่ -5.5% ต่อปี สถานการณ์การจ้างงานไตรมาส 2 ผู้มีงานทำมีจำนวน 37.1 ล้านคน โดยตัวเลขการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 7.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.95% เพิ่มขึ้น 1 เท่าจากอัตราว่างงานปกติ ถือเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2552 โดยสาเหตุหลักมาจากการเลิกจ้างและธุรกิจปิดกิจการ ฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจไตรมาส 2

Read More

เดอะ สตรีท รัชดา พร้อมกลับมาให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เอาใจสังคมคนนอนดึก เติมเต็มครบทุกไลฟ์สไตล์คนเมือง

กระแสร้านค้าและร้านอาหาร รวมถึงบริการ 24 ชั่วโมง กำลังมาแรงในกลุ่มคนเมืองรุ่นใหม่ที่ชอบใช้ชีวิตช่วงกลางคืน ศูนย์การค้า เดอะ สตรีท รัชดา ไลฟ์สไตล์คอมมูนิตี้มอลล์วิถีคนเมือง จึงกลับมาเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงอีกครั้ง หลังจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อตอบโจทย์และเติมเต็มทุกไลฟ์สไตล์ที่ไม่ยึดติดเรื่องเวลา โดยได้รวบรวมร้านค้า ร้านอาหารแบรนด์ดังต่างๆ ไว้เพื่อรองรับลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์นอนดึก ชอบใช้ชีวิตตอนกลางคืน หรือคนที่เลิกงานดึกก็สามารถมาใช้บริการ หรือรับประทานอาหารให้อิ่มท้องได้ตลอด สำหรับร้านที่พร้อมเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงในศูนย์การค้า เดอะ สตรีท รัชดา ได้แก่ Starbucks, KFC, Oishi Ramen, Kakashi, Burger King, A Ramen, Foodland supermarket, ZZ all day restaurant, Jetts 24 hours Fitness, ห้องซ้อมดนตรี Horizon Music และไปรษณีย์ไทย นอกจากนี้

Read More