Home > SME

ยูโอบี จับมือ Alibaba.com เสริมศักยภาพเอสเอ็มอีไทย ลุยขยายธุรกิจ B2B บนอีคอมเมิร์ซ

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยจับมือกับ Alibaba.com แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ B2B ของอาลีบาบาสำหรับการค้าระดับโลก หนุนผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (เอสเอ็มอี) ขยายธุรกิจบนอีคอมเมิรซ์ ร่วมเผยแนวทางการดำเนินธุรกิจ และนำเสนอโซลูชันทางการเงินที่จะช่วยเสริมศักยภาพธุรกิจเอสเอ็มอีขยายโอกาสสู่ตลาดต่างประเทศบนช่องทางออนไลน์ ความร่วมมือระหว่างธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และ Alibaba.com ตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั้งสององค์กรที่พร้อมจะรวมองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ เพื่อมอบคำแนะนำและเครื่องมือทางการเงินอันเป็นประโยชน์ให้ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยสามารถดำเนินธุรกิจบนช่องทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นางสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Head of Business Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “มีรายงานคาดการณ์ว่าตลาดอีคอมเมิร์ซ B2B ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 7.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2570[1] ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมาที่ธนาคารได้นำเสนอบริการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เราเล็งเห็นว่าอีคอมเมิร์ซได้กลายมาเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่ผู้ประกอบการในการทำตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ ธนาคารยังตระหนักดีว่าการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและบริการทางธุรกิจ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการขยายธุรกิจไปบนดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นการผนึกความเชี่ยวชาญทางการเงินของธนาคารเข้ากับข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมของ Alibaba.com เพื่อสนับสนุนลูกค้าเอสเอ็มอีเชื่อมต่อกับโอกาสใหม่และขยายธุรกิจไปต่างประเทศบนดิจิทัลแพลตฟอร์มระดับโลก” นายวาเรน หวัง Head of Thailand Business, Alibaba.com กล่าวว่า “ด้วยประสบการณ์มากกว่า 20

Read More

“สยามพิวรรธน์” ผนึก “ธนาคารกรุงไทย” เดินหน้าสนับสนุนผู้ประกอบการ SME และพันธมิตรทางธุรกิจทุกกลุ่ม

“สยามพิวรรธน์” จับมือ “ธนาคารกรุงไทย” ออกมาตรการเพิ่มเติมสำหรับคู่ค้าของสยามพิวรรธน์ สนับสนุนผู้ประกอบการ SME และพันธมิตรทางธุรกิจทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อฟื้นฟู และสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนสำหรับคู่ค้า รวมถึง เพื่อให้มีสภาพคล่องสำหรับดำเนินธุรกิจ ผ่อนปรนภาระทางการเงิน ประคับประคองธุรกิจให้สามารถผ่านพ้นช่วงวิกฤตไปได้ นางชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก ได้แก่ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของ “ไอคอนสยาม” และสยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า “จากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบในวงกว้างต่อทุกภาคส่วน รวมถึงคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ ที่สยามพิวรรธน์ให้ความสำคัญสูงสุด ตลอด 14 เดือนที่ผ่านมาเราจึงจัดมาตรการให้ความช่วยเหลือหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่การเพิ่มช่องทางการขายให้ร้านค้าผ่านบริการ Call & Shop, Siam Paragon Luxury Chat & Shop, Click & Shop และ Ultimate Chat

Read More

เร่งระดมอัดฉีด ต่อลมหายใจ SMEs ไทย

สถานการณ์ความเป็นไปของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาด COVID-19 ดูจะยังอยู่ในภาวะที่ยากลำบากและได้รับผลกระทบต่อเนื่องอย่างหนัก โดยกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการภาคบริการทั้งธุรกิจบริการที่พักและธุรกิจบริการด้านอาหาร ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจบริการด้านศิลปะ ความบันเทิงและสันทนาการ ธุรกิจค้าปลีกส่ง และสาขาอุตสาหกรรม ผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวส่งผลให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SMEs ไทย (SMEs GDP) ในไตรมาส 2 ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 17.2 มีมูลค่ารวม 1.44 ล้านล้านบาท สอดรับกับผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ SMEs ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งพบว่า ปัญหาที่ผู้ประกอบการ SMEs เผชิญอยู่มากที่สุดในห้วงปัจจุบันเป็นกรณีของยอดขายและลูกค้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากผลของการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ปัจจัยลบที่โหมกระหน่ำใส่ผู้ประกอบการ SMEs ในอีกด้านหนึ่งยังอยู่ที่ยอดการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกของผู้ประกอบการ SMEs ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่ารวม 4.76 แสนล้านบาท ขณะที่ในปี 2562

Read More

เอสเอ็มอีท่องเที่ยวไทย เผชิญวิกฤตที่ยังไร้ทางออก

อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าอุตสาหกรรมหลักๆ ของไทยที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ พึ่งพารายได้จากต่างประเทศเป็นหลัก และเมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้สร้างผลกระทบเชิงลบในทุกระนาบ โดยที่ไม่อาจรู้ได้เลยว่า เมื่อใดสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตโควิด-19 คือ ภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุน แม้ว่าในห้วงเวลาปัจจุบันไวรัสจะยังคงอยู่บนโลกนี้อย่างไม่มีวี่แววว่าจะจางหายไป แต่สถานการณ์การส่งออกของไทยยังพอมีแรงที่จะขับเคลื่อนไปได้บ้าง เมื่อไทยยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่ประเทศคู่ค้าต้องการ ขณะที่ภาคการลงทุนที่เหล่านักลงทุนยังต้องมองสถานการณ์ในหลายๆ ด้านประกอบการตัดสินใจ ทั้งเศรษฐกิจโลก ปัญหาการเมืองที่เริ่มส่งสัญญาณความรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเลื่อนการลงทุนในไทยออกไป เมื่อยังมองหาเสถียรภาพที่มั่นคงได้ยากขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลายฝ่ายยอมรับว่าครั้งนี้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวประสบกับวิกฤตของจริง เมื่อรายได้หลักมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 70-80% โดยตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยปี 2562 ประมาณ 39.7 ล้านคน และสร้างรายได้มากถึง 1.93 ล้านล้านบาท ขณะที่ปีนี้ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับไวรัสร้ายนี้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) มีจำนวนเพียง 6.69 ล้านคน และสร้างรายได้รวม 3.32 แสนล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบตัวเลขรายได้กับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วจะพบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงไปประมาณ 4.89 แสนล้านบาท การสูญเสียรายได้หลักของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวส่งผลให้มีผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวจดทะเบียนขอเลิกประกอบกิจการประมาณ 90 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ 39 ราย เชียงใหม่ 9 ราย ภูเก็ต

Read More

ไมโครซอฟท์จับมือ RISE ผุดโครงการ “Hack the Future: Business Rebound Edition” เพื่อ SME ไทย สู้ภัยโควิด-19

ไมโครซอฟท์จับมือ RISE ผุดโครงการ “Hack the Future: Business Rebound Edition” เร่งสร้างนวัตกรรมเพื่อ SME ไทย กู้ธุรกิจหลังวิกฤตโควิด-19 ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย และ RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชวนสตาร์ทอัพไทยมาร่วมสรรสร้างนวัตกรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ไทยให้ฟื้นฟูธุรกิจ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกันบนแพลตฟอร์มคลาวด์ Microsoft Azure ในโครงการ “Hack the Future: Business Rebound Edition” โดยสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการมีโอกาสนำผลงานโซลูชั่นที่ชนะเลิศ ทำการตลาดร่วมกับไมโครซอฟท์ ทั้งในประเทศไทยและตลาดอื่น ๆ ทั่วภูมิภาคอาเซียน และยังอาจได้รับ Azure Credit เพื่อการใช้งานคลาวด์เป็นมูลค่าสูงสุดถึง 120,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 3,800,000 บาท) สำหรับสนับสนุนการพัฒนาโซลูชั่นต่อไป นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท

Read More