Home > COVID-19 (Page 10)

เลขาธิการสภาพัฒน์ เผย GDP ปีหน้าอาจพลิกบวก 4% ย้ำ! วิชาชีพสถาปนิกมีบทบาทสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ACT FORUM ’20 Design + Built หรือ งานสภาสถาปนิก ถือเป็นงานด้านสถาปัตยกรรมงานเดียวแห่งปีที่รวบรวมทุกเรื่องราวด้านสถาปัตยกรรม ออกแบบ และก่อสร้างไว้อย่างครบครัน เริ่มต้นขึ้นแล้ววันนี้ โดยมีกำหนดจัด ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น. ที่ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งในพิธีเปิดมีหนึ่งไฮไลต์สำคัญ นั่นคือการกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "สถาปนิกกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปี 2564" โดย คุณดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยให้เห็นทิศทางของเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2564 ในหลายประเด็นที่น่าสนใจ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่ความหลากหลาย สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้อย่างมาก ส่งผลให้ตัวเลข GDP ในไตรมาส 2 ติดลบอยู่ที่ 12.2% เรียกได้ว่าต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ก่อนหน้านี้ประเมินว่าตัวเลขในไตรมาส

Read More

ธุรกิจการบินอ่วมหนัก ยอดขาดทุนยังพุ่งไม่หยุด

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 และยังไม่มีแนวโน้มที่จะยุติลงโดยง่าย สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในวงกว้างทั้งในภาคการบริการและภาคอุตสาหกรรมโดยหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างสูงคือธุรกิจสายการบิน โดยในระดับโลกจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้หลายประเทศทั่วโลกใช้มาตรการปิดเมือง (lock-down) หรือกระทั่งปิดประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเดินทางเข้ามาแพร่เชื้อโรค ส่งผลให้ปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศที่เข้าหรือออกจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปรับลดลงอย่างมาก ผลจากการปรับลดจำนวนหรือยกเลิกเที่ยวบินในเส้นทางระหว่างประเทศดังกล่าว ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการสายการบินทั่วโลก เพราะในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจการบินต้องประสบกับความยากลำบากจากการแข่งขันด้านราคา และการแทรกตัวเข้ามาของสายการบินโลว์คอสต์ที่รุกคืบเข้ามาช่วงชิงลูกค้าของสายการบินฟูลเซอร์วิสในเส้นทางภายในประเทศและเส้นทางบินระยะสั้นไปจำนวนมาก ขณะที่การบินในเส้นทางระยะยาวก็ต้องแข่งขันกันด้านราคากับผู้ประกอบการอื่นเช่นกัน การหยุดให้บริการทั้งในเส้นทางระหว่างประเทศและในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หลายสายการบินต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินการด้วยการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะด้านค่าใช้จ่ายพนักงานที่คิดเป็นร้อยละ 15-20 ของต้นทุนทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มช่องทางในการหารายได้ใหม่ๆ โดยสายการบินไทยเน้นให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศเพิ่มขึ้น และให้ครัวการบินไทยปรับมาขายอาหารที่ปรุงโดยเชฟของครัวการบินไทย รวมถึงการขายเบเกอรี่ หรือแม้กระทั่ง ปาท่องโก๋ ผ่านทางร้าน Puff & Pie และเอาต์เล็ตอื่นๆ รวมถึงการจัดเที่ยวบินพิเศษบินวนไม่ลงจอดเพื่อสักการะสถานที่มงคลทั่วประเทศ ความพยายามดิ้นรนของสายการบินแต่ละแห่งในห้วงเวลายากลำบากนี้ดำเนินไปโดยไม่ได้จำกัดเฉพาะกรณีของการบินไทยเท่านั้น หากแต่สายการบินอื่นๆ ก็พยายามสร้างช่องทางรายได้ โดยสายการบินไทยแอร์เอเชีย มีการเปิดขายบัตรโดยสารล่วงหน้า และขายเบเกอรี่และเครื่องดื่มผ่านทางเดลิเวอรี่ ขณะที่สายการบินนกแอร์จัดโปรโมชัน “ซื้อก่อน บินทีหลัง” ด้วยการขาย voucher ล่วงหน้าเพื่อนำไปใช้ในช่วง 1 มิถุนายน ถึง 31

Read More

ความล้มเหลวด้านสาธารณสุขของซิมบับเว

Column: Women in wonderland ซิมบับเวเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ไม่มีทางออกสู่ทะเล ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 16 ล้านคน 98% เป็นคนพื้นเมืองผิวดำ ส่วนใหญ่เป็นชาวโซนา ซิมบับเวตกเป็นประเทศในอาณานิคมของอังกฤษ ได้รับเอกราชเมื่อปี 2537 ชาวซิมบับเวมีรายได้ต่อหัวประมาณ 1,027 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 33,891 บาท) ปัญหาใหญ่ของซิมบับเวคือ เงินเฟ้อ เมื่อรัฐบาลภายใต้ Robert Mugabe ออกกฎหมายใหม่ในการจัดสรรที่ดิน โดยได้ยึดคืนที่ดินไร่นาจากคนผิวขาว รัฐบาลอ้างว่าชาวอังกฤษยึดครองที่ดินโดยมิชอบตั้งแต่สมัยที่ซิมบับเวยังเป็นอาณานิคม หลังจากนั้นรัฐบาลก็นำที่ดินเหล่านี้มาแจกให้คนผิวดำไว้ทำกิน แต่รัฐบาลไม่ได้ให้องค์ความรู้กับประชาชนในการนำที่ดินที่ได้รับมาใช้ทำกินให้เกิดประโยชน์ นำไปสู่วิกฤตเงินเฟ้อร้ายแรงในประวัติศาสตร์โลก อาจเรียกได้ว่ารุนแรงเป็นอันดับ 2 ของโลก เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในซิมบับเวนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนแบงก์ชาติของซิมบับเวต้องออกธนบัตรใบละ 1 แสนล้านดอลลาร์ ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นถึง 200 ล้านเท่า ส่งผลให้จำนวนคนว่างงานเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 80% หลายคนตัดสินใจย้ายไปอยู่ประเทศอื่นเพื่อหางานทำ เช่น ประเทศแอฟริกาใต้ เป็นต้น วิกฤตเงินเฟ้อในซิมบับเวไม่เพียงคนส่วนใหญ่จะว่างงานเพิ่มขึ้น แต่ที่ได้รับผลกระทบมากไม่แพ้กันคือ ระบบสาธารณสุข ก่อนหน้าวิกฤตภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลของ

Read More

ศึกชิงเม็ดเงิน “ช้อปดีมีคืน” ยักษ์เอาท์เล็ตแข่งถล่มแคมเปญ

กระแสโครงการ “ช้อปดีมีคืน” ซึ่งกระทรวงการคลังตั้งเป้ากระตุ้นกำลังซื้อช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้ มากกว่า 2 แสนล้านบาท และดึงเม็ดเงินจากผู้มีรายได้สูงมากกว่า 3.7 ล้านคน กำลังจุดชนวนสมรภูมิค้าปลีกช่วง 2 เดือนสุดท้าย โดยเฉพาะกลุ่มเอาท์เล็ตแบรนด์หรู ทั้งสยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ตและเซ็นทรัลวิลเลจ ต่างระดมอัดแคมเปญถล่มกันอย่างหนักหน่วง ขณะเดียวกัน ในจังหวะนี้กลุ่มเอาท์เล็ตที่เคยเจาะนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างปรับแผนรุกขยายฐานลูกค้าคนไทยกำลังซื้อสูง เนื่องจากสถานการณ์การท่องเที่ยวยังต้องรอการฟื้นตัวและเพิ่งประเดิมเปิดประเทศรับทัวร์ต่างชาติประเภทพิเศษ หรือ Special Tourist Visa หรือ STV กลุ่มแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยกลุ่มแรกเดินทางมาจากเมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 41 คน ตามนักท่องเที่ยวกลุ่มที่ 2 จากกวางโจว ประเทศจีน เดินทางเข้ามาอีก 100 คน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม แม้ล่าสุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เสนอแผนการตลาดดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรป โดยเจาะกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียเป็นหลัก เช่น ฟินแลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก และนอร์เวย์

Read More

เชลล์ จัดเสวนา 2020 Shell Forum ส่งเสริมความร่วมมือ เพื่อการฟื้นฟูจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างยั่งยืน

บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด จัดงาน 2020 Shell Forum ซึ่งเป็นเวทีในการพูดคุย ระดมความคิด และความร่วมมือของผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญตลอดจนผู้นำทางความคิด จากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และอื่นๆ การรวมตัวมีจุดประสงค์เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการฟื้นฟูประเทศไทยจากสถานการณ์โควิด-19 และผลกระทบที่ตามมา ในมุมมองของการใช้พลังงาน การปรับตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนถึงภาคสังคม ทั้งนี้ งานดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้ ปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “แม้โรคระบาดโควิด-19 อาจนำมาซึ่งความท้าทายหลายประการ แต่สำหรับเชลล์ ประเทศไทย เราต้องการปรับเปลี่ยนความท้าทายเหล่านั้นให้เป็นโอกาส เพื่อสร้างองค์รวมของการใช้พลังงานที่ยืนหยัดในปัจจุบัน และยั่งยืนต่อไปในอนาคตสำหรับประเทศไทย ภายในงานเสวนา 2020 Shell Forum นี้ เรามุ่งหวังที่จะร่วมกันระดมความคิดเพื่อนำไปสู่การลงมือปฏิบัติ ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจของเชลล์ ประเทศไทย ในฐานะ พันธมิตรที่ไว้วางใจได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” ไฮไลท์ส่วนหนึ่งของงานเสวนา 2020 Shell Forum

Read More

อิปซอสส์ (Ipsos) เผยผลสำรวจผลกระทบในช่วงโควิด

คนไทย 1 ใน 3 ต้องการเงินช่วยเหลือจากรัฐฯ ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดจะยืดเยื้อมากว่า 10 เดือนแล้ว ประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงมีความกังวลต่อการติดเชื้อไม่เสื่อมคลาย จากผลสำรวจพบว่าประเทศที่ประชาชนมีความกังวลต่อการติดเชื้อน้อยที่สุดคือสิงคโปร์ ตามมาด้วย ประเทศไทย ซึ่งในไทยนั่นมีประชาชนเพียง 30 % ที่ยังมีความกังวลต่อการติดเชื้อในระดับสูง ในขณะที่ 61 % ของประชากรมาเลเซีย และ 73% ของฟิลิปปินส์ หรือเกินครึ่งของประชากรทั้ง 2 ประเทศนั่นยังมีความกังวลและระแวดระวังต่อการติดเชื้อที่ยังอยู่ในระดับสูง การปรับตัวและมุมมองต่อสถานการณ์โควิด-19 ณ ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือราว 81% เชื่อว่าต้องรอจนถึงปี 2021 ก่อนที่วัคซีนจะสามารถผลิตและถูกแจกจ่ายถึงคนในวงกว้าง ระยะเวลาอันยาวนานนี้ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องปรับตัว โดยมีประชากรถึง 37% ในภูมิภาคที่ได้ปรับตัวและมีความคุ้นชินต่อการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 แล้ว อย่างไรก็ตามประชากรกึ่งหนึ่งหรือราว 16% เริ่มเห็นสัญญาณว่ามาตรการล็อกดาวน์และรักษาความปลอดภัยต่างๆ จะค่อยๆ ถูกทยอยผ่อนคลายหรือยกเลิกในเร็ววัน หากดูภาพรวมของทั้งภูมิภาคแล้ว 1 ใน 2 ของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รู้สึกค่อนข้างปลอดภัยที่จะไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารนอกบ้าน ไปเยี่ยมบ้านเพื่อน หรือใช้บริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งระดับความเชื่อมั่นนี้แตกต่างไปในแต่ละประเทศ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ เช่น

Read More

SEED แนะการปรับตัว 6 ประการ สำหรับ SMEs เพื่ออยู่รอดในวิกฤตโควิด-19

SEED แนะปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัว 6 ประการเพื่อให้อยู่รอดในช่วงการระบาดของโควิด-19 ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ในกลุ่มธุรกิจภาคสังคมและธุรกิจสีเขียวของไทย SEED ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระดับโลกเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการได้สรุปปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัวที่สำคัญหกประการเพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ของประเทศไทยอยู่รอดในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยมีความยืดหยุ่นและความยั่งยืนเป็นองค์ประกอบหลัก รายงานล่าสุดระบุว่าธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ทั่วโลกราว 42% อาจประสบภาวะขาดทุนภายในหกเดือนข้างหน้า เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากสถาณการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและสภาพทางสังคมของไทยกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง แผน 6 ข้อของ SEED จึงมีเป้าหมายเพื่อชี้นำผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับวิธีการสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อความท้าทายในอนาคตและรับมือกับสิ่งที่ไม่เคยประสบมาก่อน แผนดังกล่าว ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวในเชิงธุรกิจ (Business Resilience) ความสามารถในการปรับตัวด้านการเงิน (Financial Resilience) ความสามารถในการปรับตัวขององค์กร (Organisational Resilience) ความสามารถในการปรับตัวต่อระบบนิเวศ (Ecosystem Resilience) ความสามารถในการปรับตัวตามภาวะตลาด (Market Resilience) และความสามารถในการปรับตัวเพื่อสร้างผลกระทบ (Impact Resilience) ผู้เริ่มต้น (Starters) ผู้พัฒนา (Movers) และผู้เป็นเลิศ (Champions)

Read More

แบงก์เข้มงวดสินเชื่อ ส่งอสังหาฯ ทรุดหนัก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจหลากหลายได้รับผลกระทบอย่างหนัก ขณะที่ความกังวลใจต่อการตั้งสำรองหนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ทำให้สถาบันการเงินจัดวางมาตรการที่เข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นและกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการชะลอตัวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างหนัก การหดตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศที่หดตัวลดลง ควบคู่กับการหายไปของกลุ่มลูกค้าต่างชาติ และการสะสมของปริมาณสินค้าในตลาดจำนวนมาก ขณะที่ปัจจัยลบที่สำคัญที่สุดอยู่ที่การเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อยของสถาบันการเงิน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมานาน และยิ่งทวีความเข้มงวดมากขึ้นในช่วงหลังๆ นับตั้งแต่การออกมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ (LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขณะเดียวกันผลพวงของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องหยุดชะงัก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในประเทศหรือธุรกิจส่งออก ซึ่งทำให้ธุรกิจหลากหลายต้องปิดกิจการไป ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นพนักงานในธุรกิจเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการถูกลดเงินเดือนลงหรือขาดรายได้จากการตกงานเพราะถูกเลิกจ้าง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการพิจารณาสินเชื่อเมื่อผู้บริโภคยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย กรณีดังกล่าวเห็นได้ชัดจากยอดการปฏิเสธสินเชื่อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยล่าสุดอัตราการปฏิเสธสินเชื่อปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับร้อยละ 50-60 สำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยราคา 2-3 ล้านบาท ส่วนกลุ่มที่อยู่อาศัย 5-7 ล้านบาท ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 30-40 ขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปอัตราการปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ร้อยละ 10-15 ซึ่งถือว่าสูงมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 เป็นต้นมา ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการปฏิเสธสินเชื่อในอัตราที่สูงขึ้นดังกล่าวเกิดจากผลของการเข้มงวดการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน และภาระการตั้งสำรองหนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้น โดยในช่วง

Read More

น้ำยาบ้วนปากฆ่าไวรัสโคโรนาได้จริงไหม?

Column: Well – Being   นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้คนส่วนใหญ่พากันยกระดับอนามัยส่วนบุคคลกันยกใหญ่ ตั้งแต่หมั่นล้างมือ ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคพื้นผิวต่างๆ ราวกับเป็นมืออาชีพ และมีเจลแอลกอฮอล์ใกล้มือตลอดเวลาเพื่อป้องกันไวรัสโคโรนา กับคำถามที่ว่า น้ำยาบ้วนปากสามารถฆ่าไวรัสโคโรนาได้จริงไหม? ดูจะซับซ้อนกว่าที่คุณคิด ซึ่งนิตยสาร Shape ได้ให้ข้อมูลที่คุณจำเป็นต้องรู้อย่างน่าสนใจทีเดียว ได้ความคิดน้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาจากไหน? บทวิจารณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Function วิเคราะห์ว่า น้ำยาบ้วนปากมีศักยภาพสามารถลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARS- CoV- 2 ในระยะแรกของการติดเชื้อได้หรือไม่ สิ่งที่นักวิจัยอธิบายคือ เชื้อไวรัส SARS- CoV- 2 เป็นไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม หมายความว่ามันมีเยื่อหุ้มเซลล์อยู่ชั้นนอกซึ่งมีลักษณะเป็นไขมัน และจนกระทั่งบัดนี้วงการยังไม่ได้ถกกันว่า คุณจะมีศักยภาพในการเพียงแค่ “บ้วนปาก” (ด้วยน้ำยาบ้วนปาก) แล้วจะสามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ชั้นนอกนี้ และทำให้ไวรัสอ่อนแรงลงขณะที่มันอยู่ในปากและลำคอของผู้ติดเชื้อได้หรือไม่ นักวิจัยให้ความสนใจผลการศึกษาครั้งก่อนๆ ที่เสนอแนะว่า ส่วนผสมร่วมที่พบในน้ำยาบ้วนปากทั่วไป คือ เอทานอล (แอลกอฮอล์), โพวิโดน-ไอโอดีน (ยาฆ่าเชื้อที่มักใช้ฆ่าเชื้อบนผิวหนังก่อนและหลังการผ่าตัด) และเซทิลพิริดิเนียม คลอไรด์ (ส่วนประกอบของเกลือที่มีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย) ที่สามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของไวรัสที่มีเปลือกหุ้มชนิดอื่นอีกหลายชนิด อย่างไรก็ตาม แต่คราวนี้เราไม่รู้ว่าองค์ประกอบที่อยู่ในน้ำยาบ้วนปากเหล่านี้จะสามารถส่งผลต่อไวรัส SARS- CoV- 2 หรือไม่ ถึงจุดนี้ต้องบอกว่าทุกอย่างยังเป็นทฤษฎี

Read More

AWC เจ้าสัวเจริญมองไกล ตั้งกองทุนหมื่นล้านซื้อโรงแรม

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างมาก เพราะจากสถิติการท่องเที่ยวของไทยในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยว 3 ล้านล้านบาท และประมาณ 63 เปอร์เซ็นต์เป็นรายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือ 1.9 ล้านล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวเป็นเครื่องยืนยันว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจำเป็นต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติ รายได้ที่หดหายไปส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมและแรงงานในภาคการบริการอย่างมาก ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมบางรายประกาศปิดกิจการชั่วคราวไปจนถึงขั้นประกาศขายกิจการ ข้อมูลจากสมาคมโรงแรมไทยพบว่า ธุรกิจโรงแรมเลิกจ้างพนักงานไปแล้วประมาณ 1 ล้านคน พร้อมทั้งวอนขอให้รัฐช่วยเหลือด้วยการออกมาตรการทางการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง ค่าจ้างงาน ค่าสาธารณูปโภค เมื่อยังไม่มีวัคซีนออกมาและยังไม่มีใครตอบได้ว่า การแพร่ระบาดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด แม้ผู้ติดเชื้อในประเทศไทยจะอยู่ในสถานะที่ควบคุมได้ และคนไทยสามารถเดินทางท่องเที่ยวกันได้แล้วก็ตาม ทว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวของคนไทยยังคงเงียบเหงา อันเป็นผลมาจากการระมัดระวังในการใช้จ่าย เพราะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะเปราะบาง กำลังซื้ออ่อนแอ แม้ภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย โดยเฉพาะเรื่องการท่องเที่ยว อย่างโครงการ “เที่ยวด้วยกัน” แต่สัดส่วนที่เกิดขึ้นยังมีจำนวนไม่มาก ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่สายป่านไม่ยาวพอจำเป็นต้องตัดสินใจขายกิจการทิ้งเพื่อความอยู่รอด กระทั่งนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของกลุ่มทุน บริษัท จำกัด (มหาชน) หรือ AWC มองการณ์ไกลด้วยการจัดตั้งกองทุนที่มีวงเงินสูงถึงหมื่นล้านบาท เพื่อเตรียมซื้อโรงแรมที่มีผู้เสนอขาย วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป

Read More