Home > ธุรกิจการบิน

ฤา ธุรกิจการบินของไทย ถึงคราล่มสลายและอวสาน?

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ครั้งล่าสุดในสังคมไทยกำลังสั่นคลอนความเชื่อมั่นและความเป็นไปของสังคมไทยอย่างหนักหน่วง เพราะการแพร่ระบาดดังกล่าวไม่เพียงแต่จะทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นสถิติใหม่ในแต่ละวัน ซึ่งติดตามมาด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตรายวันกว่า 100 ราย จากผลของการขาดแคลนเตียงในการรักษาพยาบาล สะท้อนภาพความล่มสลายของระบบการสาธารณสุขไทยอย่างไม่อาจเลี่ยง ขณะเดียวกันมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของกลไกรัฐครั้งใหม่ที่ดำเนินไปด้วยการล็อกดาวน์ หรือการสั่งห้ามการเดินทาง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมอีกหลากหลายประการกำลังทำให้ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำซบเซามาอย่างต่อเนื่องยาวนานนับตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่เมื่อต้นปี 2563 ทรุดหนักลงไปอีกและขยายวงกว้างส่งผลกระทบต่อธุรกิจแต่ละประเภทมากขึ้นไปอีก โดยบางธุรกิจได้ถึงคราวล่มสลายและยุติกิจการไปโดยปริยาย โดยเฉพาะธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและภาคบริการที่เคยเป็นกลไกในการหนุนนำเศรษฐกิจไทยมาก่อนหน้านี้ การแพร่ระบาดดังกล่าวทำให้การคาดการณ์ว่าด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2564 ถูกปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่องจนในที่สุดหลายสำนักได้ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้เพียงร้อยละ 1 จากเดิมที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 1.8 เพราะการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรงกว่าที่เคยประเมินไว้ ทำให้ต้องมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานมากขึ้น ทำให้กำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทรุดตัวลงไปอีก ขณะที่มาตรการเยียวยาจากภาครัฐน่าจะช่วยประคองการดำรงชีพที่จำเป็น แต่ไม่สามารถชดเชยผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมได้ และมีบางสำนักประเมินในทางลบถึงขั้นที่ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 อาจไม่เติบโตเลย และมีแนวโน้มที่จะเติบโตแบบติดลบอีกด้วย ข้อสังเกตที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งอยู่ที่การปรับลดประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2564 ลงมาอยู่ที่ 2.5-6.5 แสนคน จากเดิมประมาณการไว้ที่ 2.5 แสน-1.2 ล้านคน โดยแม้ว่าจะเริ่มมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในโครงการ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” และ “สมุย พลัส โมเดล” แต่การจะเปิดรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่อื่น และจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามายังต้องขึ้นอยู่กับการแพร่ระบาดและการเร่งฉีดวัคซีนเป็นหลัก

Read More

เหตุ COVID ระลอกใหม่ฉุด ธุรกิจการบินของไทยทรุดหนัก

ความเป็นไปของการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากจะส่งผลให้เกิดความตระหนกและความกังวลใจว่าด้วยความรุนแรงและรวดเร็วของการแพร่ระบาดครั้งใหม่ท่ามกลางกระแสข่าวว่าด้วยการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสแล้ว ความล่าช้าของระบบการจัดการและกระจายวัคซีนซึ่งหลายฝ่ายหวังว่าจะเป็นเครื่องมือที่เสริมสร้างความมั่นใจและนำพาเศรษฐกิจสังคมไทยให้กลับมาฟื้นคืนชีวิตได้โดยเร็วอีกครั้ง ก็ดูจะอันตรธานหายไปพร้อมกับสายลมร้อนแห่งคิมหันตฤดูด้วย การระบาดระลอกใหม่ทำให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายประการของรัฐที่เคยวางไว้ว่ามีผลต้องเลื่อนหรือระงับออกไปโดยปริยาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการที่จะเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้เดินทางเข้ามาภายใต้มาตรการผ่อนปรนด้วยหวังว่ากรณีดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย หรือการกระตุ้นให้ประชาชนคนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อเสริมพลวัตทางเศรษฐกิจให้ดำเนินไป กลับต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปโดยปริยาย มาตรการของรัฐไม่ว่าจะเป็นคำสั่งห้าม รวมถึงการขอความร่วมมือ เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดระลอกใหม่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาตกอยู่ในภาวะจมปลักชะงักงันในลักษณะที่ไม่ต่างจากการติดหล่มขยับเขยื้อนไปไหนไม่ได้ นอกเหนือจากการจมดิ่งลงไปในบ่อโคลนที่ยากจะนำพาองคาพยพนี้ให้ขับเคลื่อนต่อไปได้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ก่อนหน้านี้กลไกรัฐไทยเคยกำหนดแผนที่จะเปิดประเทศเป็น 4 ระยะด้วยการเริ่มจากระยะที่หนึ่ง ลดการกักตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศจาก 14 วัน เหลือ 7 วัน ภายในโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการหรือ “แอเรีย ควอรันทีน” (Area Quarantine) โดยนักท่องเที่ยวเหล่านี้ต้องมีการฉีดวัคซีนโควิดและมีเอกสารรับรองฉีดโควิด และจะนำร่องในพื้นที่ 6 จังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ขณะที่แผนระยะที่ 2 ซึ่งจะเริ่มวันที่ 1 กรกฎาคม จะเปิดให้นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตได้โดยไม่ต้องกักตัว ก่อนเข้าสู่ระยะสาม เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม จะเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าพื้นที่ 5 จังหวัดนำร่องที่เหลือ ไม่ต้องกักตัว หากฉีดวัคซีนโควิด มีเอกสารรับรองฉีดวัคซีน

Read More

ธุรกิจการบินอ่วมหนัก ยอดขาดทุนยังพุ่งไม่หยุด

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 และยังไม่มีแนวโน้มที่จะยุติลงโดยง่าย สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในวงกว้างทั้งในภาคการบริการและภาคอุตสาหกรรมโดยหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างสูงคือธุรกิจสายการบิน โดยในระดับโลกจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้หลายประเทศทั่วโลกใช้มาตรการปิดเมือง (lock-down) หรือกระทั่งปิดประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเดินทางเข้ามาแพร่เชื้อโรค ส่งผลให้ปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศที่เข้าหรือออกจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปรับลดลงอย่างมาก ผลจากการปรับลดจำนวนหรือยกเลิกเที่ยวบินในเส้นทางระหว่างประเทศดังกล่าว ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการสายการบินทั่วโลก เพราะในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจการบินต้องประสบกับความยากลำบากจากการแข่งขันด้านราคา และการแทรกตัวเข้ามาของสายการบินโลว์คอสต์ที่รุกคืบเข้ามาช่วงชิงลูกค้าของสายการบินฟูลเซอร์วิสในเส้นทางภายในประเทศและเส้นทางบินระยะสั้นไปจำนวนมาก ขณะที่การบินในเส้นทางระยะยาวก็ต้องแข่งขันกันด้านราคากับผู้ประกอบการอื่นเช่นกัน การหยุดให้บริการทั้งในเส้นทางระหว่างประเทศและในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หลายสายการบินต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินการด้วยการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะด้านค่าใช้จ่ายพนักงานที่คิดเป็นร้อยละ 15-20 ของต้นทุนทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มช่องทางในการหารายได้ใหม่ๆ โดยสายการบินไทยเน้นให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศเพิ่มขึ้น และให้ครัวการบินไทยปรับมาขายอาหารที่ปรุงโดยเชฟของครัวการบินไทย รวมถึงการขายเบเกอรี่ หรือแม้กระทั่ง ปาท่องโก๋ ผ่านทางร้าน Puff & Pie และเอาต์เล็ตอื่นๆ รวมถึงการจัดเที่ยวบินพิเศษบินวนไม่ลงจอดเพื่อสักการะสถานที่มงคลทั่วประเทศ ความพยายามดิ้นรนของสายการบินแต่ละแห่งในห้วงเวลายากลำบากนี้ดำเนินไปโดยไม่ได้จำกัดเฉพาะกรณีของการบินไทยเท่านั้น หากแต่สายการบินอื่นๆ ก็พยายามสร้างช่องทางรายได้ โดยสายการบินไทยแอร์เอเชีย มีการเปิดขายบัตรโดยสารล่วงหน้า และขายเบเกอรี่และเครื่องดื่มผ่านทางเดลิเวอรี่ ขณะที่สายการบินนกแอร์จัดโปรโมชัน “ซื้อก่อน บินทีหลัง” ด้วยการขาย voucher ล่วงหน้าเพื่อนำไปใช้ในช่วง 1 มิถุนายน ถึง 31

Read More