Home > สายการบิน

เหตุ COVID ระลอกใหม่ฉุด ธุรกิจการบินของไทยทรุดหนัก

ความเป็นไปของการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากจะส่งผลให้เกิดความตระหนกและความกังวลใจว่าด้วยความรุนแรงและรวดเร็วของการแพร่ระบาดครั้งใหม่ท่ามกลางกระแสข่าวว่าด้วยการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสแล้ว ความล่าช้าของระบบการจัดการและกระจายวัคซีนซึ่งหลายฝ่ายหวังว่าจะเป็นเครื่องมือที่เสริมสร้างความมั่นใจและนำพาเศรษฐกิจสังคมไทยให้กลับมาฟื้นคืนชีวิตได้โดยเร็วอีกครั้ง ก็ดูจะอันตรธานหายไปพร้อมกับสายลมร้อนแห่งคิมหันตฤดูด้วย การระบาดระลอกใหม่ทำให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายประการของรัฐที่เคยวางไว้ว่ามีผลต้องเลื่อนหรือระงับออกไปโดยปริยาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการที่จะเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้เดินทางเข้ามาภายใต้มาตรการผ่อนปรนด้วยหวังว่ากรณีดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย หรือการกระตุ้นให้ประชาชนคนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อเสริมพลวัตทางเศรษฐกิจให้ดำเนินไป กลับต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปโดยปริยาย มาตรการของรัฐไม่ว่าจะเป็นคำสั่งห้าม รวมถึงการขอความร่วมมือ เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดระลอกใหม่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาตกอยู่ในภาวะจมปลักชะงักงันในลักษณะที่ไม่ต่างจากการติดหล่มขยับเขยื้อนไปไหนไม่ได้ นอกเหนือจากการจมดิ่งลงไปในบ่อโคลนที่ยากจะนำพาองคาพยพนี้ให้ขับเคลื่อนต่อไปได้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ก่อนหน้านี้กลไกรัฐไทยเคยกำหนดแผนที่จะเปิดประเทศเป็น 4 ระยะด้วยการเริ่มจากระยะที่หนึ่ง ลดการกักตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศจาก 14 วัน เหลือ 7 วัน ภายในโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการหรือ “แอเรีย ควอรันทีน” (Area Quarantine) โดยนักท่องเที่ยวเหล่านี้ต้องมีการฉีดวัคซีนโควิดและมีเอกสารรับรองฉีดโควิด และจะนำร่องในพื้นที่ 6 จังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ขณะที่แผนระยะที่ 2 ซึ่งจะเริ่มวันที่ 1 กรกฎาคม จะเปิดให้นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตได้โดยไม่ต้องกักตัว ก่อนเข้าสู่ระยะสาม เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม จะเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าพื้นที่ 5 จังหวัดนำร่องที่เหลือ ไม่ต้องกักตัว หากฉีดวัคซีนโควิด มีเอกสารรับรองฉีดวัคซีน

Read More

ธุรกิจการบินอ่วมหนัก ยอดขาดทุนยังพุ่งไม่หยุด

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 และยังไม่มีแนวโน้มที่จะยุติลงโดยง่าย สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในวงกว้างทั้งในภาคการบริการและภาคอุตสาหกรรมโดยหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างสูงคือธุรกิจสายการบิน โดยในระดับโลกจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้หลายประเทศทั่วโลกใช้มาตรการปิดเมือง (lock-down) หรือกระทั่งปิดประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเดินทางเข้ามาแพร่เชื้อโรค ส่งผลให้ปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศที่เข้าหรือออกจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปรับลดลงอย่างมาก ผลจากการปรับลดจำนวนหรือยกเลิกเที่ยวบินในเส้นทางระหว่างประเทศดังกล่าว ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการสายการบินทั่วโลก เพราะในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจการบินต้องประสบกับความยากลำบากจากการแข่งขันด้านราคา และการแทรกตัวเข้ามาของสายการบินโลว์คอสต์ที่รุกคืบเข้ามาช่วงชิงลูกค้าของสายการบินฟูลเซอร์วิสในเส้นทางภายในประเทศและเส้นทางบินระยะสั้นไปจำนวนมาก ขณะที่การบินในเส้นทางระยะยาวก็ต้องแข่งขันกันด้านราคากับผู้ประกอบการอื่นเช่นกัน การหยุดให้บริการทั้งในเส้นทางระหว่างประเทศและในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หลายสายการบินต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินการด้วยการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะด้านค่าใช้จ่ายพนักงานที่คิดเป็นร้อยละ 15-20 ของต้นทุนทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มช่องทางในการหารายได้ใหม่ๆ โดยสายการบินไทยเน้นให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศเพิ่มขึ้น และให้ครัวการบินไทยปรับมาขายอาหารที่ปรุงโดยเชฟของครัวการบินไทย รวมถึงการขายเบเกอรี่ หรือแม้กระทั่ง ปาท่องโก๋ ผ่านทางร้าน Puff & Pie และเอาต์เล็ตอื่นๆ รวมถึงการจัดเที่ยวบินพิเศษบินวนไม่ลงจอดเพื่อสักการะสถานที่มงคลทั่วประเทศ ความพยายามดิ้นรนของสายการบินแต่ละแห่งในห้วงเวลายากลำบากนี้ดำเนินไปโดยไม่ได้จำกัดเฉพาะกรณีของการบินไทยเท่านั้น หากแต่สายการบินอื่นๆ ก็พยายามสร้างช่องทางรายได้ โดยสายการบินไทยแอร์เอเชีย มีการเปิดขายบัตรโดยสารล่วงหน้า และขายเบเกอรี่และเครื่องดื่มผ่านทางเดลิเวอรี่ ขณะที่สายการบินนกแอร์จัดโปรโมชัน “ซื้อก่อน บินทีหลัง” ด้วยการขาย voucher ล่วงหน้าเพื่อนำไปใช้ในช่วง 1 มิถุนายน ถึง 31

Read More

ฟื้นฟู การบินไทย ทางเลือกเพื่ออยู่รอด?

การตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่นำไปสู่มติยกเลิกแผนฟื้นฟูตามมติเดิมของ คนร. เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 และนำเสนอแผนใหม่ในการประชุม คนร. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ภายใต้แนวทางการนำการบินไทย เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายของไทย เพราะเห็นว่า หากยังยึดแนวทางแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ จะไม่เปลี่ยนอะไรมาก จึงหันมาเปลี่ยนวิธีในการแก้ปัญหา กลายเป็นจังหวะก้าวสำคัญที่สั่นสะเทือนสถานภาพของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการอุ้มชูจากรัฐมาอย่างยาวนานไปโดยปริยาย เพราะการแก้ไขปัญหาตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายครั้งนี้ จะทำให้การบินไทยพ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจไปเลย ไม่ใช่แค่ลดชั้นเป็นรัฐวิสาหกิจระดับ 3 เพื่อให้การดำเนินงานคล่องตัวและลดทอนอำนาจของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ขององค์กรแห่งนี้ลง ข้อเท็จจริงก่อนนำมาสู่ทางเลือกเพื่อความอยู่รอดครั้งนี้เกิดขึ้นจากเหตุที่ว่าการเพิ่มเงินจากการคํ้าประกันเงินกู้ของกระทรวงการคลัง หรือหาเงินทุนเพื่อมาลงทุนเพิ่มสำหรับการบินไทยภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันดูจะเป็นสิ่งที่ยากลำบากและไม่สอดรับกับความเป็นไปในธุรกิจการบินที่กำลังเผชิญกับอุปสรรค ทางออกว่าด้วยการฟื้นฟูการบินไทยภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องมีขั้นตอนทำไปพร้อมกับการปรับโครงสร้างผู้บริหารการบินไทย เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้จึงดูจะเป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากกว่า สถานะของการบินไทย ณ สิ้นปี 2562 มีภาวะขาดทุนสะสม 19,383.39 ล้านบาท มีภาระหนี้สินรวม 244,899.44 ล้านบาท มีสินทรัพย์อยู่ 256,664 ล้านบาท ขณะที่การมีเครื่องบินจอดทิ้งรอขายอยู่หลายลำอาจทำให้สินทรัพย์ด้อยค่าลงไปมาก ทำให้มีส่วนของผู้ถือหุ้นเหลือเพียง 11,765.11 ล้านบาท ถ้าคิดเป็นอัตราส่วนของหนี้สินต่อทุน (D/E ratio) คือ 20.81:1 หมายความว่ามีภาระหนี้สูงกว่าส่วนของทุนมาก ซึ่งนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง

Read More

ศึกชิงจ้าวเวหา AirAsia ต้นแบบการเติบโต?

 การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ เมื่อช่วงสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน ระหว่างควีนส์ปาร์คเรนเจอร์กับแมนเชสเตอร์ ซิตี้ แม้ผลออกมาจะเสมอกันไปอย่างสนุกด้วยสกอร์ 2:2 แต่การแข่งขันในแวดวงธุรกิจสายการบิน ที่ทั้ง AirAsia และ Etihad ที่ต่างเป็นสปอนเซอร์รายใหญ่ของทีมฟุตบอลชั้นนำทั้งสองแห่งนี้ ดูเหมือนจะเพิ่งเริ่มต้นขึ้น ความเป็นจริงด้านหนึ่งของการแข่งขันในเกมพรีเมียร์ลีกและธุรกิจการบินก็คือ ทั้งแมนเชสเตอร์ ซิตี้ และ Etihad ไม่ใช่คู่ต่อกรในระดับเดียวกับควีนส์ปาร์คเรนเจอร์ และ AirAsia แต่อย่างใด หากแต่ในสังเวียนของการแข่งขันที่ไม่มีใครยอมใครนี้ เป้าหมายคือการได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่น่าพึงใจต่างหาก AirAsia เปิดตัวและเริ่มทำการบินในฐานะสายการบินราคาประหยัด เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 1996 หรือเมื่อ 18 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งต้องยอมรับว่า แม้จะเคลื่อนผ่านมรสุมหลายครั้งแต่ AirAsia ก็สามารถทะยานผ่านอุปสรรคและเติบโตจนกลายเป็นหนึ่งในแบรนด์ชั้นนำของทั้ง ASEAN และ Asia ไปแล้ว ความสำเร็จของ AirAsia ในด้านหนึ่งอยู่ที่การวางยุทธศาสตร์และตำแหน่งทางธุรกิจที่ชัดเจน โดยเฉพาะการยึดมั่นใน “low cost” ซึ่งทำให้การบริหารและพัฒนาองค์กรดำเนินไปอย่างรัดกุม ทั้งในมิติของการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และการใช้เครื่องบินรุ่นเดียวประจำการในฝูงบิน เพื่อลดต้นทุนการซ่อมบำรุงและเกิดความสะดวกในการให้บริการ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ แม้ว่าทุกประเทศในภูมิภาค

Read More

บริติช แอร์เวย์เปิดบริการเส้นทางสู่ภูเก็ต สมุย และเชียงใหม่

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ลูกค้าของสายการบินบริติช แอร์เวย์สามารถบินไปยังสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของประเทศไทยได้ ไม่ว่าจะเป็นภูเก็ด สมุย และเชียงใหม่ เนื่องด้วยข้อตกลงใหม่ร่วมกันระหว่างสายการบินบริติช แอร์เวย์และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ การลงนามในข้อตกลงการทำการบินร่วมกัน หรือโค้ดแชร์ระหว่างสองสายการบินนั้น จะมอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้าของสายการบินบริติช แอร์เวย์ในการจองเที่ยวบินไปยังสถานที่ท่องเที่ยวดังกล่าวผ่าน ba.com โดยแวะเปลี่ยนเครื่องที่กรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังจะมีบริการโค้ดแชร์ร่วมกับสายการบินบางกอกแอร์เวย์จากสิงคโปร์ไปยังเกาะสมุยอีกด้วย สตีฟ โรนัลด์ ประธานสมาพันธ์ บริติช แอร์เวย์ กล่าวว่า "นักท่องเที่ยวชาวยุโรปสามารถเดินทางไป ชมหาดสวยและทะเลใสในเมืองไทยได้ง่ายขึ้นเพราะตอนนี้เราได้จับมือกับสายการบินบางกอกแอร์เวย์แล้ว

Read More