Home > COVID-19 (Page 11)

ภาคธุรกิจจับมือสนับสนุนงานด้านความยั่งยืนคู่การฟื้นธุรกิจหลังโควิด

ภาคธุรกิจในประเทศไทยหลากหลายอุตสาหกรรมได้ร่วมถ่ายทอดความรู้เพื่อสนับสนุนความยั่งยืนในงาน Sustainability for Business Forum (SBF20) ครั้งที่ 4 ที่จัดโดย หอการค้าฝรั่งเศส-ไทย หอการค้าเนเธอร์แลนด์-ไทย และหอการค้าไทย-สวีเดน เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนการทำงานเพื่อความยั่งยืนในภาคธุรกิจ และช่วยหาแนวคิดใหม่ๆ ที่จะมาสร้างวิถีชีวิตใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมให้ผู้บริโภคคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในที่สุด หัวข้อในงานสัมมนาในปีนี้คือ Green Recovery เนื่องด้วยความยั่งยืนและวิกฤตโควิด-19 มีความเกี่ยวข้องกันอย่างลึกซึ้ง ขณะเดียวกันแม้ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะหยุดชะงัก แต่ความเสื่อมโทรมด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมไม่ได้หยุดไปด้วย ดังนั้นการทบทวนธุรกิจของทุกองค์กรภายใต้ขอบเขตของระบบนิเวศ รวมถึงสวัสดิภาพของมนุษย์เพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาวจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก งานเน้นการเสวนาภายใต้ 3 หัวข้อ ได้แก่ เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืนและมีพลวัต ไลฟ์สไตล์ด้านแฟชั่นและความงามที่ยั่งยืน และอาหารแห่งอนาคต โดยไฮไลท์ของงานอยู่ที่เวทีเสวนา CEO โดยผู้บริหารจากบริษัทชั้นนำภายในประเทศที่ดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืนเป็นสำคัญตลอดช่วงวิกฤติโควิด-19 จาก ลอรีอัล ประเทศไทย ซิมไบเออร์ โซลาร์ และ เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ ภายใต้หัวข้อ ความยั่งยืนในมุมมองของกลยุทธ์องค์กร นางอินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย)

Read More

หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงรอบ 18 ปี  ทำเศรษฐกิจไทยบอบช้ำรุนแรง

คงไม่มีปาฏิหาริย์ใดที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นขึ้นได้ในช่วงเวลานี้ เมื่อดัชนีสำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าไปได้ ยังคงถูกล้อมกรอบไปด้วยปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งกำลังซื้อของภาคประชาชนที่อ่อนกำลังลงเป็นทุนเดิม การขยายตัวของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจบางประเภทจนทำให้เกิดภาวะโอเวอร์ซัปพลาย ผนวกกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยิ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเปราะบางยิ่งขึ้น ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่ติดลบทั้งสองไตรมาสที่ผ่านมา น่าจะอธิบายความได้ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ แม้ว่าเชื้อไวรัสโควิดจะเป็นเสมือนจุดเปลี่ยนที่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ทุกอย่างดูเลวร้ายลง แต่ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาลงมาตั้งแต่ปีก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขจีดีพีค่อยๆ ไต่ระดับลงอย่างต่อเนื่อง และเรื่องที่น่ากังวลมากที่สุดคือสัญญาณบ่งบอกความบอบช้ำทางเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น นั่นคือ ระดับ “หนี้ครัวเรือน” ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานออกมาอยู่ที่ 84 เปอร์เซ็นต์ ต่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดในรอบ 18 ปี นับตั้งแต่มีการเก็บสถิติ อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับหนี้ครัวเรือนของไตรมาสก่อนหน้า จะเห็นได้ว่าสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเพียง 3.8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นั่นหมายความว่ามูลหนี้ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากมายอะไร ทว่า สิ่งที่น่ากังวลคือ การปรับลดลงของจีดีพีที่ติดลบเพิ่มขึ้น หรือเข้าใจง่ายๆ นั่นคือรายได้ของประชาชนลดลง ทั้งจากปัญหาการว่างงานและการถูกลดจำนวนชั่วโมงการทำงาน ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงตัวเลขของตลาดแรงงานในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 พบว่า มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวแตะระดับ 7.5 แสนคน และจำนวนผู้เสมือนว่างงาน คือกลุ่มคนที่ยังมีงานทำแต่ชั่วโมงการทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มขึ้นใกล้เคียง 5.4 ล้านคน แม้ว่าจำนวนผู้เสมือนว่างงานจะลดลงเหลือ

Read More

เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ความหวังสุดท้ายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

มติของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. ที่เห็นชอบมาตรการเปิดประเทศ สำหรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourist VISA: STV) แบบ “จำกัดจำนวน” ตามที่กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ โดยจะเป็นการเปิดประเทศแบบจำกัด ด้วยการจำกัดเฉพาะนักท่องเที่ยวประเภท “พิเศษ” ที่จะมาพำนักอยู่ในประเทศไทยระยะยาวไม่ต่ำกว่า 90-270 วัน ในด้านหนึ่งอาจถือเป็นจุดเริ่มต้นของการออกเดินหน้าเพื่อฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจท่องเที่ยวของไทยให้ดำเนินต่อไปได้ หลังจากที่ต้องหยุดชะงักมานานเพราะการระบาดของไวรัส COVID-19 หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง มติดังกล่าวดูจะตั้งอยู่ท่ามกลางการเล็งผลเลิศที่อาจไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของสถานการณ์โดยรอบ เพราะหลังจากที่มีการเปิดเผยว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจากมณฑลกว่างโจวเดินทางมาประเทศไทย ในวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ซึ่งนับเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรหลังจากไทยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการประกาศเลื่อนการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยไปเป็นวันที่ 25 ตุลาคมแทน ความสับสนในการออกมาตรการที่ดำเนินไปท่ามกลางเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติหากต้องการจะเดินทางมายังประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นความประสงค์จะเดินทางมาพำนักระยะยาว หรือลองสเตย์ ภายในประเทศไทย การยอมรับที่จะปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข ที่ประกาศใช้ภายในประเทศไทย และตกลงยินยอมกักตัวในห้องพักจำนวน 14 วัน รวมถึงการมีหลักฐานสถานที่พักอาศัยระยะยาวภายในประเทศไทย โดยเฉพาะหลักฐานการชำระเงินค่าโรงแรมที่พัก หรือโรงพยาบาลที่พักภายในประเทศไทย ดูจะเป็นเงื่อนไขที่ไม่ได้สอดรับกับความพร้อมของทั้งผู้ประกอบการและความกังวลใจของประชาชนในพื้นที่ การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจควรคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เพราะประชาชนในจังหวัดท่องเที่ยว อาจไม่ได้เห็นด้วยกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวทั้งหมด ความกังวลใจของพวกเขายังผูกพันอยู่กับมายาภาพที่ ศบค. ได้สร้างไว้ตลอดระยะเวลา 6-7

Read More

เร่งระดมอัดฉีด ต่อลมหายใจ SMEs ไทย

สถานการณ์ความเป็นไปของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาด COVID-19 ดูจะยังอยู่ในภาวะที่ยากลำบากและได้รับผลกระทบต่อเนื่องอย่างหนัก โดยกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการภาคบริการทั้งธุรกิจบริการที่พักและธุรกิจบริการด้านอาหาร ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจบริการด้านศิลปะ ความบันเทิงและสันทนาการ ธุรกิจค้าปลีกส่ง และสาขาอุตสาหกรรม ผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวส่งผลให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SMEs ไทย (SMEs GDP) ในไตรมาส 2 ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 17.2 มีมูลค่ารวม 1.44 ล้านล้านบาท สอดรับกับผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ SMEs ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งพบว่า ปัญหาที่ผู้ประกอบการ SMEs เผชิญอยู่มากที่สุดในห้วงปัจจุบันเป็นกรณีของยอดขายและลูกค้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากผลของการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ปัจจัยลบที่โหมกระหน่ำใส่ผู้ประกอบการ SMEs ในอีกด้านหนึ่งยังอยู่ที่ยอดการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกของผู้ประกอบการ SMEs ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่ารวม 4.76 แสนล้านบาท ขณะที่ในปี 2562

Read More

เศรษฐกิจไทยไร้แรงดึงดูด ต่างชาติปิดโรงงาน-ย้ายฐาน

ข่าวการปิดโรงงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำนวนมากในประเทศไทย แม้ว่าในด้านหนึ่งจะเป็นผลจากพิษการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งในมิติของกิจการด้านสาธารณสุข และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดการชะลอตัว ขณะที่ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ของกระบวนการผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรมต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงัน การประเมินของกลไกรัฐว่าด้วยการปิดโรงงานของผู้ประกอบการแต่ละรายดูจะยึดโยงและผูกพันอยู่กับฐานคิดที่ว่าการปิดโรงงานของผู้ประกอบการเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้กำลังซื้อลดลงและมีความจำเป็นต้องลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยที่ละเลยหรือมองข้ามผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแรงงานจำนวนมากที่ต้องพ้นจากสภาพการจ้างงานและมีแนวโน้มที่ต้องเสี่ยงกับการตกงานและว่างงานยาวนานนับจากนี้ ข้อมูลที่น่าสนใจจากสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งปรากฏเป็นรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่งปี 2563 ระบุว่าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.03 มีผู้ว่างงานเกือบ 4 แสนคน และคาดว่าในปีนี้มีแรงงานที่เสี่ยงถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน ขณะที่แรงงานจบใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน 5.2 แสนคนอาจไม่มีงานทำ รายงานภาวะสังคมไทยฉบับดังกล่าวซึ่งเผยแพร่สู่สาธารณะ เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ยังระบุว่าแม้อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ แต่การจ้างงานลดลงอย่างต่อเนื่องและค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง การประเมินว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะส่งผลให้แรงงานมีความเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าแรงงานในภาคการท่องเที่ยวซึ่งมีประมาณ 3.9 ล้านคน ไม่รวมสาขาการค้าส่งและการค้าปลีก จะได้รับผลกระทบจากการลดลงของนักท่องเที่ยวต่างชาติและการท่องเที่ยวในประเทศ ประมาณ 2.5 ล้านคน แรงงานในภาคอุตสาหกรรมซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าตั้งแต่ก่อน COVID-19 ระบาดและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน จากการลดลงของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ แรงงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด 5.9 ล้านคน คาดว่ามีผู้ได้รับผลกระทบ 1.5 ล้านคน ขณะที่การจ้างงานในภาคบริการอื่นที่ไม่ใช่การท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ที่ประกอบด้วยการปิดสถานที่ต่างๆ

Read More

การเมืองเรื่อง Tiffany’s

Column: From Paris เศรษฐกิจทั่วโลกประสบปัญหาอยู่แล้วก่อนที่ Covid-19 จะระบาด ยิ่งเมื่อประเทศต่างๆ ต้องล็อกดาวน์ ปัญหายิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีก แต่เดิมก็แก้ยากอยู่แล้ว บัดนี้ยิ่งลำบากขึ้นไปอีก จะว่าผู้บริหารไม่เก่ง ก็คงไม่เก่งทั่วโลกนั่นแหละ ไม่เห็นประเทศไหนจะเลอเลิศกว่าใคร Tiffany’s เป็นห้างเพชรของสหรัฐอเมริกา มาโด่งดังมากจากภาพยนตร์เรื่อง Breakfast at Tiffany’s ซึ่งนำแสดงโดย Audrey Hepburn และ George Peppard ภาพ Audrey Hepburn ในเดรสสีดำ สวมแว่นตาดำ ยืนหน้าวินโดว์ของบูติก Tiffany’s เป็นภาพที่คู่ไปกับห้างเพชรแห่งนี้ Tiffany’s ประสบปัญหาเมื่อภาวะเศรษฐกิจไม่ดี กำลังซื้อถดถอย มาเป็นข่าวดังเมื่อเดือนกันยายน 2019 เมื่อ LVMH กลุ่มธุรกิจสินค้าหรูของฝรั่งเศส ที่มี Bernard Arnault เป็นประธาน ส่งคนไปทาบทามซื้อกิจการของ Tiffany’s ด้วยเงินจำนวน 14.5 พันล้านดอลลาร์ (หุ้นละ 120

Read More

ไร้สัญญาณบวก เศรษฐกิจไทยทรุดต่อเนื่อง

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยยังไร้สัญญาณบวก หลังจากที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้สร้างบาดแผลและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งปัญหาการปิดกิจการของธุรกิจและความเปราะบางในตลาดแรงงาน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคและความเสี่ยงสำคัญต่อการฟื้นตัวในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะการปิดกิจการที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มหดตัวในระดับสูงต่อเนื่อง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก่อนหน้านี้ก็คือในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาพบว่าอัตราว่างงานไทยเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 1.95 ซึ่งนับเป็นอัตราสูงที่สุดในรอบ 11 ปี และรายได้ของแรงงานที่ยังมีงานทำ ก็มีแนวโน้มหดตัวลงมาก จากชั่วโมงการทำงานที่ลดลงร้อยละ 11.5 จากช่วงปกติ และงานโอทีที่หายไป ขณะที่มีแรงงานที่ต้องหยุดงานชั่วคราวเพิ่มขึ้นสูงถึง 2.5 ล้านคน สะท้อนความอ่อนแอของตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นบาดแผลที่ต้องใช้เวลาในการเยียวยา หากการปิดกิจการและการว่างงานเพิ่มขึ้นและยืดเยื้อ ย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้ การบริโภคและการลงทุน ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ แรงงานภาคบริการ ซึ่งสูญเสียตำแหน่งงาน หลังจากที่สถานประกอบการต้องปิดตัวลงหรือเลิกจ้างจากผลของการปิดเมือง และการจำกัดการเดินทาง ทำให้แรงงานกลุ่มนี้กลับไปสู่ภาคเกษตรสูงถึง 700,000 คน ซึ่งมีรายได้ต่ำกว่าเดิม และยังมีความเสี่ยงภัยแล้ง ขณะที่ข้อเรียกร้องที่จะให้รัฐเข้าไปดูแล ด้วยการเพิ่มศักยภาพการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ให้คนกลุ่มนี้ ดูจะเป็นกรณีที่ยากจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ มาตรการผ่อนคลายหลังการปิดเมือง รวมถึงมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยกำลังส่งสัญญาณการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2 (Bottomed out) หากแต่เมื่อกำลังจะสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 กลับมีข้อเท็จจริงบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลง

Read More

อสังหาฯ ไทยจะฟื้นตัวอย่างไร เมื่อเศรษฐกิจไทยซบเซา

คงไม่ผิดที่บรรดาผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยมักจะแสดงทัศนะต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันด้วยความคาดหวัง ว่ายังพอมองเห็นทิศทางการฟื้นตัว พร้อมทั้งเปรยถึงแผนการของโครงการใหม่ที่จะเปิดตัวในอนาคตอันใกล้ เพราะทัศนะและแผนการดังกล่าวย่อมส่งผลต่อทิศทางการขึ้นลงของตัวเลขบนกระดานในห้องค้าหุ้น ซึ่งสร้างให้เกิดความเชื่อใจต่อบรรดานักลงทุน แม้ว่าจะมีโครงการใหม่ที่หลายค่ายเตรียมจะเปิดตัวในไม่ช้าไม่นาน ทว่า ทุกโครงการล้วนแล้วแต่ดำเนินไปด้วยความรอบคอบ และระแวดระวังต่อสภาพการณ์ในปัจจุบัน ก่อนหน้าที่ไวรัสโควิด-19 จะระบาดไปทั่วโลก การเติบโตของตลาดอสังหาฯ ไทยพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงในเวลาเพียงไม่กี่ปี ทั้งกระแสความเป็นไปของตลาดที่ส่งสัญญาณว่า มีชาวต่างชาติให้ความสนใจมองหาที่อยู่อาศัยในเมืองไทยเพิ่มขึ้น รวมไปถึงไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่เริ่มสร้างตัวด้วยโครงการบ้านหลังแรก หรือบ้านหลังที่สองสำหรับผู้สูงอายุ ส่งผลให้หลายฝ่ายแสดงความกังวลว่า ตลาดอสังหาฯ ไทยในห้วงยามนั้นจะเข้าสู่วิกฤตฟองสบู่หรือไม่ เมื่อความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น จากภาวะหนี้ครัวเรือนที่ค่อยๆ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั่งอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญอุบัติขึ้นบนโลกใบนี้ และสร้างหายนะให้เกิดขึ้นในทุกแวดวง ไวรัสโควิด-19 สร้างแรงฉุดให้เกิดขึ้นจนทุกตลาดต้องหาทางรับมือ ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แต่ต้องมองข้ามช็อตไปถึงการอยู่รอดด้วย ตลาดอสังหาฯ นับว่าเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบรวดเร็วและรุนแรง ศูนย์วิเคราะห์วิจัยเศรษฐกิจหลายแห่งประเมินไปในทิศทางเดียวกันว่า อสังหาฯ ไทยอาจต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวให้กลับมาสู่สถานการณ์ปกติก่อนเกิดวิกฤตโควิดอย่างน้อย 2-3 ปี ธุรกิจอสังหาฯ ถูกยึดโยงกับกำลังซื้อของผู้บริโภค ในขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคผูกติดภาวะหนี้ครัวเรือน และความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ แน่นอนว่าเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ต้องเผชิญกับปัจจัยลบรอบด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 ในช่วง 5 เดือนแรก อัตราการจองซื้อที่อยู่อาศัยใหม่หดหัว 75 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยปรับลดลง 3.4 เปอร์เซ็นต์ สำหรับช่วงเวลาที่เหลือของครึ่งปีหลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ทิศทางการซื้อขายที่อยู่อาศัยในช่วงที่เหลือของปีน่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์

Read More

ผลกระทบจาก COVID-19 ต่อชีวิตผู้หญิงอินเดีย

Column: Women in wonderland การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นเวลามากกว่า 10 เดือนแล้ว และสถานการณ์ในหลายประเทศก็ยังคงมีการแพร่ระบาดสูง หรือบางประเทศที่เริ่มควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีระดับหนึ่ง อย่างนิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ก็เริ่มกลับมาแพร่ระบาดอีกตามเมืองใหญ่ๆ และยังไม่มีประเทศไหนที่ประสบความสำเร็จในการผลิตวัคซีนออกมาใช้ได้ กระทรวงสาธารณสุขอินเดียรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 คนแรกของประเทศเมื่อ 3 มีนาคม 2020 และจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนพบผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 100 คน เมื่อ 27 มีนาคม 2020 และ 500 คน เมื่อ 4 เมษายน 2020 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในอินเดียเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ วันที่ 17 กรกฎาคม 2020 จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 1 ล้านคน ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง มีการยืนยันว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้นกว่า 32,000 คน

Read More

คอมมูนิตี้มอลล์ฟื้น ตลาดนัดเทรนด์ใหม่ผุดพรึ่บ

ผลพวงจากวิกฤตโควิด-19 กลายเป็นจุดพลิกฟื้นค้าปลีกกลุ่มคอมมูนิตี้มอลล์และตลาดนัดกลางคืนแนวใหม่ บรรยากาศชิคๆ เพิ่มไลฟ์สไตล์ มีจุดแฮงก์เอาต์ เล่นดนตรี จนสร้างจุดเช็กอินมาแรงแซงหน้าศูนย์การค้าขนาดใหญ่แบบเดิมๆ และการตอบโจทย์พฤติกรรมการจับจ่ายยุค New Normal โดยเฉพาะประเด็นความเสี่ยงเรื่องการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสอันตรายระลอกสอง ล่าสุด มีนักลงทุนแห่ผุดโครงการคอมมูนิตี้มอลล์เพิ่มขึ้นหลายแห่ง ขณะที่โครงการที่เปิดให้บริการก่อนช่วงโควิดยังดึงดูดผู้เช่าและกลุ่มลูกค้า หลังทางการคลายล็อกเต็มรูปแบบ เนื่องจากเจ้าของร้านค้าเช่าส่วนใหญ่ต้องปรับลดพื้นที่รองรับจำนวนลูกค้าที่ลดลงและรักษามาตรฐานตามมาตรการ Social Distancing โดยปรับโหมดสู่โมเดลขนาดกลางและขนาดเล็ก เน้นบริการดีลิเวอรี่มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับศูนย์การค้าประเภทคอมมูนิตี้มอลล์ ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์และตลาดนัด ทั้งอัตราค่าเช่าที่ไม่แพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่และบรรยากาศกลางแจ้งช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กลุ่มลูกค้าอีกส่วนหนึ่ง ข้อมูลจากบริษัทวิจัยอสังหาริมทรัพย์ ซีบีอาร์อี (ประเทศไทย) ระบุว่า การรักษาระยะห่างทางสังคมถือเป็นมาตรฐานใหม่ในธุรกิจ ศูนย์การค้ากึ่งในร่มและกลางแจ้งที่ลูกค้าสามารถเพลิดเพลินกับอากาศบริสุทธิ์ ป๊อปอัปสโตร์ หรือรูปแบบโครงการค้าปลีกที่แปลกใหม่ เพิ่มพื้นที่สันทนาการ เช่น พื้นที่สีเขียว ที่นั่งกลางแจ้ง พื้นที่สำหรับสัตว์เลี้ยง พื้นที่หอประชุม พื้นที่บนดาดฟ้า และลู่วิ่งจ๊อกกิ้ง สถานที่รูปแบบใหม่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกถึงความปลอดภัยและมีส่วนร่วมมากขึ้น ขณะเดียวกัน กลุ่มร้านค้าปลีก โดยเฉพาะธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม แฟชั่น เครื่องสำอาง ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เน้นรูปแบบอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งธุรกิจที่ปรับตัวเร็วที่สุด คือ กลุ่มฟาสต์ฟู้ดต่างลดโซนพื้นที่นั่ง เพิ่มขนาดห้องครัวและพื้นที่รับส่งอาหาร ร้านอาหารบรรยากาศนั่งสบายที่มีขนาดใหญ่ต่างลดขนาดพื้นที่เช่า คาดการณ์ร้านค้าปลีกมีแนวโน้มลดพื้นที่ลง

Read More