Home > บางกอกแอร์เวย์ส

สงครามเหนือน่านฟ้า อุตสาหกรรมการบินระอุ

หลังประเทศไทยเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ อุตสาหกรรมทุกหมวดขับเคลื่อนกิจกรรมกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบินที่มีเหตุให้หยุดชะงักในช่วงสถานการณ์โควิด-19 หลายบริษัทปรับลดขนาดองค์กรลง หรือหยุดกิจการ และแม้ว่าปัจจุบันสายการบินจำนวนหนึ่งจะกลับมาเปิดให้บริการเกือบเต็มรูปแบบแล้วก็ตาม กระนั้นก็ยังไม่เพียงพอต่อปริมาณดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันการท่องเที่ยวของไทยมีแรงขับชั้นดี เพราะยังคงเป็นเป้าหมายการเดินทางของนักท่องเที่ยว เม็ดเงินรายได้เริ่มไหลเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง นี่น่าจะเป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนไทยหลายกลุ่มเริ่มมองเห็นโอกาสในอุตสาหกรรมนี้ และตบเท้าเดินเข้าสู่สังเวียนการแข่งขัน ซึ่งจะส่งผลให้ในอนาคตอุตสาหกรรมการบินของไทยมีตัวเลือกมากขึ้น เริ่มต้นที่ พาที สารสิน หนุ่มนักธุรกิจที่เคยคร่ำหวอดอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมนี้มาก่อนในฐานะซีอีโอของ “นกแอร์” ที่แม้จะร่ำลาจากวงการไปเมื่อปี 2560 พาทีตัดสินใจกลับมาอีกครั้ง และเปิดตัวสายการบินใหม่นามว่า “Really Cool Airlines” พร้อมกับแย้มเส้นทางการบินว่า จะเปิดเส้นทางการบินระยะไกล แต่ในระยะแรกจะมีเส้นทางจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ออสเตรเลีย ยุโรป (ปารีส) ซึ่งมองว่าผู้โดยสารส่วนใหญ่ 70% เป็นนักท่องเที่ยวขาเข้าหรือ inbound จากต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังกำหนด Position ของสายการบินนี้เป็น Life style Full Service การกำหนดเส้นทางของสายการบิน Really Cool Airlines ของพาทีนั้น เสมือนเป็นการใช้กลยุทธ์ Blue

Read More

ธุรกิจการบินอ่วมหนัก ยอดขาดทุนยังพุ่งไม่หยุด

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 และยังไม่มีแนวโน้มที่จะยุติลงโดยง่าย สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในวงกว้างทั้งในภาคการบริการและภาคอุตสาหกรรมโดยหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างสูงคือธุรกิจสายการบิน โดยในระดับโลกจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้หลายประเทศทั่วโลกใช้มาตรการปิดเมือง (lock-down) หรือกระทั่งปิดประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเดินทางเข้ามาแพร่เชื้อโรค ส่งผลให้ปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศที่เข้าหรือออกจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปรับลดลงอย่างมาก ผลจากการปรับลดจำนวนหรือยกเลิกเที่ยวบินในเส้นทางระหว่างประเทศดังกล่าว ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการสายการบินทั่วโลก เพราะในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจการบินต้องประสบกับความยากลำบากจากการแข่งขันด้านราคา และการแทรกตัวเข้ามาของสายการบินโลว์คอสต์ที่รุกคืบเข้ามาช่วงชิงลูกค้าของสายการบินฟูลเซอร์วิสในเส้นทางภายในประเทศและเส้นทางบินระยะสั้นไปจำนวนมาก ขณะที่การบินในเส้นทางระยะยาวก็ต้องแข่งขันกันด้านราคากับผู้ประกอบการอื่นเช่นกัน การหยุดให้บริการทั้งในเส้นทางระหว่างประเทศและในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หลายสายการบินต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินการด้วยการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะด้านค่าใช้จ่ายพนักงานที่คิดเป็นร้อยละ 15-20 ของต้นทุนทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มช่องทางในการหารายได้ใหม่ๆ โดยสายการบินไทยเน้นให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศเพิ่มขึ้น และให้ครัวการบินไทยปรับมาขายอาหารที่ปรุงโดยเชฟของครัวการบินไทย รวมถึงการขายเบเกอรี่ หรือแม้กระทั่ง ปาท่องโก๋ ผ่านทางร้าน Puff & Pie และเอาต์เล็ตอื่นๆ รวมถึงการจัดเที่ยวบินพิเศษบินวนไม่ลงจอดเพื่อสักการะสถานที่มงคลทั่วประเทศ ความพยายามดิ้นรนของสายการบินแต่ละแห่งในห้วงเวลายากลำบากนี้ดำเนินไปโดยไม่ได้จำกัดเฉพาะกรณีของการบินไทยเท่านั้น หากแต่สายการบินอื่นๆ ก็พยายามสร้างช่องทางรายได้ โดยสายการบินไทยแอร์เอเชีย มีการเปิดขายบัตรโดยสารล่วงหน้า และขายเบเกอรี่และเครื่องดื่มผ่านทางเดลิเวอรี่ ขณะที่สายการบินนกแอร์จัดโปรโมชัน “ซื้อก่อน บินทีหลัง” ด้วยการขาย voucher ล่วงหน้าเพื่อนำไปใช้ในช่วง 1 มิถุนายน ถึง 31

Read More

สงครามน่านฟ้าอาเซียน โลว์คอสต์ บูม

 กว่า 10 ปีก่อน การเดินทางโดยเครื่องบินดูจะเป็นความสะดวกที่มีไว้ให้เฉพาะคนร่ำรวย และเป็นความใฝ่ฝันของคนรายได้ต่ำทั้งหลาย กระทั่งเกิดสายการบินต้นทุนต่ำ การนั่งเครื่องบินจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้ โดยสายการบินที่ถือว่ามีบทบาทในการพลิกน่านฟ้าของไทยและอาเซียน คือ แอร์เอเชียสำหรับเมืองไทย “ไทยแอร์เอเชีย” เปิดตัวเมื่อต้นปี 2546 ด้วยสโลแกน “ใคร ใคร ก็บินได้” โดยเที่ยวบินราคาต่ำรอบแรกเปิดตัวเมื่อกุมภาพันธ์ 2547 อันเป็นช่วงเดียวกับที่ “นกแอร์” เปิดตัวในฐานะสายการบินโลว์คอสต์รายที่ 2 ของเมืองไทย โดยมีการบินไทยเป็นแบ็กอัพมาถึงวันนี้ ธุรกิจการบินในประเทศไทยเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะช่วง 1-2 ปีนี้ที่เศรษฐกิจของอาเซียนขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธุรกิจการบินขยายตัวตามไปด้วย แต่เชื่อกันว่า ทันทีที่เปิดเสรีน่านฟ้าอาเซียนในปี 2558 โอกาสการเติบโตของธุรกิจการบินจะมากกว่านี้อีกมหาศาลเพื่อรองรับตลาดอาเซียนที่ใหญ่กว่าไทย 10 เท่า ช่วงที่ผ่านมาหลายสายการบินในไทยจึงมีความเคลื่อนไหวที่ร้อนแรง โดยเฉพาะ “เบอร์หนึ่ง” ในตลาดโลว์คอสต์ โดยปีที่ผ่านมา ไทยแอร์เอเชียได้เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อระดมทุนมาขยายฝูงบิน เพิ่มเที่ยวบิน และเปิดเส้นทางบินใหม่ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเส้นทางสู่อาเซียนและจีนตอนใต้ปัจจุบัน ไทยแอร์เอเชียมีเส้นทางสู่ประเทศจีนตอนใต้ถึง 7 เมือง

Read More