Home > investment

“โกลเบล็ก” เปิดกลยุทธ์ลงทุนหุ้นรับงบปี 68

บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยดือนแรกของปี 2567 ยังแกว่งตัว Sideway ออกข้าง จากแรงหนุนจากตลาดลดน้ำหนักคาดการณ์ FED ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. เหลือ 70% จากก่อนหน้านี้ 76.9% และในประเทศยังขาดปัจจัยใหม่ จึงให้กรอบดัชนี 1,390-1,440 จุด แนะกลยุทธ์ลงทุนในหุ้นได้ประโยชน์จากมติครม.เคาะกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 68 วงเงิน 3.6 ล้านล้านบาท โดยหุ้นที่ได้รับอานิสงส์คือกลุ่มรับเหมา ได้แก่ CK STEC CIVIL UNIQ นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสแกว่งตัวในลักษณะ Sideway ออกข้าง โดยมีแรงหนุนจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนี PPI ต่ำกว่าตลาดคาด ส่งผลให้ FedWatch Tool บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักเหลือ

Read More

ยูโอบี ประเทศไทย เผยกลยุทธ์การลงทุนเสริมความแข็งแกร่ง พร้อมรับมือความผันผวนทางเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จัดงานสัมมนาการลงทุน Mid-Year Outlook แนะแนวทางลูกค้าในการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังท่ามกลางความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนงานสัมมนานำเสนอข้อมูลและกลยุทธ์การลงทุนที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับพอร์ตการลงทุน ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย แนะนำลูกค้าและนักลงทุนให้สร้างพอร์ตการลงทุนแบบปลอดภัย (defensive portfolios) เน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ลงทุนในสินทรัพย์ผสม (multi-asset) และตราสารหนี้ประเภท Investment Grade (IG) ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว สำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงและมองหาโอกาสในการลงทุนใหม่ ธนาคารแนะนำการลงทุนในกลุ่มการดูแลสุขภาพทั่วโลก (Global Healthcare) และในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกที่ไม่รวมญี่ปุ่น (Asia-ex Japan) อาเซียน (ASEAN) และ ตลาดจีน (China) งานสัมมนาได้สำรวจและวิเคราะห์เจาะลึกโอกาสการลงทุนในตลาดหุ้นในเอเชียแปซิฟิกที่ไม่รวมญี่ปุ่น (Asia-ex Japan) ที่ถูกจับตาว่ากำลังเติบโตดีกว่าตลาดที่พัฒนาแล้ว (Developed Markets-DM) นายเอ็นริโก้ ทานูวิดฮาฮา นักเศรษฐศาสตร์ Global Economic and Market Research เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งท่ามกลางความท้าทาย นายเอ็นริโก้ ทานูวิดฮาฮา นักเศรษฐศาสตร์ Global Economic and

Read More

“โกลเบล็ก” แนะลงทุน 3 กลุ่มเด่น กลุ่มส่งออก-แบงก์-Defensive

บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยยังแกว่งตัว Sideway Down จากความกังวลที่ว่าเฟดอาจเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และความกังวลเศรษฐกิจถดถอย พร้อมแนะจับตาสถานการณ์โควิด-19 ในจีนหลังรัฐบาลมาเก๊าประกาศขยายเวลาล็อกดาวน์ จึงให้กรอบการเคลื่อนไหวของดัชนี 1,500-1,550 จุด แนะกลยุทธ์ลงทุนใน 3 กลุ่มเด่น “กลุ่มส่งออก-แบงก์-Defensive” นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทยยังคงแกว่งตัวในลักษณะ Sideway Down โดยตลาดยังถูกกดดันจากความกังวลว่าเฟดอาจเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และความกังวลเศรษฐกิจถดถอย โดยล่าสุดทาง FedWatch Tool ของ CME Group ให้ข้อมูลว่านักลงทุนให้น้ำหนักเพียง 30% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (FED Fund Rate) 1.00% ลดลงจากระดับกว่า 80% ในสัปดาห์ที่แล้ว และให้น้ำหนัก 70% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (FED Fund

Read More

COVID-19 เป็นเหตุ ฉุด FDI ทั่วโลกซบเซา

ผลพวงจากวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากจะส่งผลกระทบทั่วโลก และมีผลต่อเศรษฐกิจในระยะสั้นแล้ว ยังเป็นปัจจัยกดดันต่อการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ (FDI) โดยจากการคาดการณ์ล่าสุดของ UNCTAD เมื่อเดือนมิถุนายน 2020 ระบุว่า Global FDI จะลดลงประมาณร้อยละ-30 ถึง -40 ในปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับคาดการณ์ของ OECD ที่มีมาก่อนหน้านี้ สาเหตุหลักที่ทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอยู่ในภาวะหดตัวลง ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากมาตรการปิดเมืองซึ่งทำให้โปรเจกต์การลงทุนประสบความล่าช้าหรืออาจโดนยกเลิก โดยมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในหลายประเทศ ส่งผลให้โครงการการลงทุนหลายแห่งถูกเลื่อนออกไป หรืออาจถูกยกเลิกจากความเสี่ยงที่โครงการเหล่านั้นจะไม่สำเร็จ ซึ่งจากข้อมูลสถิติของ UNCTAD พบว่าโครงการการเงิน(Project finance) ทั่วโลกในเดือนเมษายนลดลงประมาณร้อยละ -40 จากค่าเฉลี่ยรายเดือนในปี 2019 และลดลงเกือบถึงร้อยละ -50 จากเดือนมีนาคม โดยส่วนใหญ่เป็นการหดตัวจากโครงการการเงินในประเทศกำลังพัฒนา สะท้อนถึงแนวโน้มการหดตัวของโครงการการลงทุน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ FDI ในปีนี้ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทำให้บริษัทมีกำไรลดลง หรือบางบริษัทอาจมีความจำเป็นต้องปิดกิจการ จึงทำให้เม็ดเงินลงทุนมีแนวโน้มลดลงมาก โดยภาวะเศรษฐกิจถดถอยย่อมกระทบถึงกำไรของบริษัท จึงทำให้บริษัทวางแผนการลงทุนที่รัดกุมมากขึ้น ซึ่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคมโดย UNCTAD พบว่าบรรษัทข้ามชาติ (Multinational Enterprises :

Read More

จาก Offshore สู่ Onshore: การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเศรษฐกิจโลก

 คนในรุ่นผม เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเศรษฐกิจไทย ซึ่งเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกผ่านการโยกย้ายฐานการผลิตของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก โดยเฉพาะนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ที่ทนกับต้นทุนค่าแรงและค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลในประเทศญี่ปุ่นเองไม่ไหว และออกมามองหาแหล่งลงทุนใหม่ๆ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นแหล่งลงทุนชั้นดี ประกอบกับการผลักดันทางด้านเศรษฐกิจและสังคมผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1 เป็นต้นมา การโยกย้ายฐานการผลิตจึงเป็นเป้าหมายของบริษัทไทยหลายๆ ราย ที่วันหนึ่งจะออกไปหาแหล่งแรงงานถูกเหมือนเหล่านักลงทุนในอดีต  แต่ปัจจุบันความเชื่อเหล่านี้กำลังจะหมดไป การย้ายฐานการผลิตกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอน หรือการมองปัจจัยอื่นแทนข้อได้เปรียบเรื่องค่าแรงงานกลายเป็นความเชื่อใหม่ ที่ทำให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าและนักลงทุนระดับโลกกำลังมุ่งหน้าไป  นิตยสาร The Economist เพิ่งทำรายงานพิเศษเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ ผมจึงถือโอกาสนำมาเผยแพร่ต่อ เพราะนี่อาจจะเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของเศรษฐกิจโลกก็ได้ นิตยสาร The Economist เริ่มต้นรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเหล่าผู้มีหน้ามีตาในท้องถิ่นเมือง Whisett รัฐนอร์ทแคโรไลนา มารวมตัวกันเพื่อตัดริบบิ้นเปิดไลน์การผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งไม่คาดว่าจะเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลานานแล้ว โดยที่ไลน์การผลิตคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปได้โยกย้ายออกจากประเทศสหรัฐอเมริกามากว่า 30 ปีแล้ว โดยส่วนใหญ่จะผลิตในทวีปเอเชีย  อย่างเช่นเดลล์ได้ปิดโรงงานขนาดใหญ่ในประเทศอเมริกาตั้งแต่ปี 2008 และปี 2010 โดยย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศจีน ในขณะที่ HP มีเฉพาะการผลิตคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะสำหรับการใช้งานในธุรกิจบางประเภทจำนวนเล็กน้อยในประเทศหรัฐอเมริกาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ไลน์ผลิตใหม่นี้ไม่ได้สร้างขึ้นโดยบริษัทสัญชาติอเมริกัน แต่เป็นของ Lenovo ซึ่งเป็นกลุ่มลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงของคนจีน ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1984 โดยวิศวกรชาวจีนจำนวน 11

Read More