Home > Economics (Page 2)

จากเที่ยวทั่วไทย สู่ชอปช่วยชาติ และความหวังเศรษฐกิจไทยปี ’60

  ความพยายามของภาครัฐที่จะกระตุ้นภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ยังปราศจากการฟื้นตัวอย่างแข็งแรงในช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา ดูเหมือนจะฝากความหวังไว้กับการกระตุ้นการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเอกชนอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจว่าด้วย เที่ยวทั่วไทย ในช่วงกลางปี รวมถึงมาตรการลดหย่อนภาษีผ่านชอปช่วยชาติ ในช่วงที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งของเศรษฐกิจไทยในรอบปีที่ผ่านมาอยู่ที่อัตราการขยายตัวเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดทั้งปี ได้รับการประเมินว่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 3.3–3.5 ในขณะที่ภาพรวมการส่งออกยังอยู่ในภาวะติดลบที่ร้อยละ 1–0 ภาพสะท้อนเศรษฐกิจไทยดังกล่าวนี้ ได้รับการประเมินจากนักวิชาการและสำนักวิจัยทางเศรษฐกิจหลายแห่งไปในทิศทางที่ว่า รัฐบาลขาดกรอบทางยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างเป็นระบบและรูปธรรม มาตรการที่ดำเนินออกมาในแต่ละช่วงก็เป็นเพียงความพยายามที่จะกระตุ้นการไหลเวียนของเงินตราผ่านมาตรการระยะสั้น ที่อาจไม่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนกระบวนการผลิตมากนัก กระนั้นก็ดี ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนยังคงตั้งความหวังว่าเศรษฐกิจไทยในรอบปี 2560 ที่กำลังเคลื่อนที่เข้ามาถึงในไม่ช้าจะขยับปรับขึ้นไปในทางที่ดีและสามารถขยายตัวจากปีก่อนหน้าได้เพิ่มขึ้นในระดับร้อยละ 3.5–4 และคาดว่าการส่งออกจะกลับมามีบทบาทอีกครั้งด้วยการขยายตัวขึ้นไปสู่ระดับร้อยละ 0–2 ในปีหน้า ก่อนหน้านี้ รายงานของธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2560 ว่าจะขยายตัวในระดับร้อยละ 3.2 แต่กลไกภาครัฐเชื่อว่าการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดที่ส่งสัญญาณว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจมากขึ้น จะสามารถหนุนนำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้มากกว่าที่ธนาคารโลกประเมิน โดยมีบางส่วนตั้งความหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจไทยเติบโตในระดับร้อยละ 4 เลยทีเดียว ความคาดหวังดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า มาตรการภาครัฐในช่วงที่ผ่านมาเริ่มปรากฏผลสัมฤทธิ์ และทำให้ธนาคารโลกปรับการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยที่จากเดิมประเมินว่าไทยจะมีอัตราการเติบโตขึ้นเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น ขณะที่หน่วยงานต่างๆ ล้วนคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในกรอบร้อยละ 3.3–3.5 ขณะเดียวกันโอกาสที่จะเห็นเศรษฐกิจไทยกระเตื้องขึ้นในด้านหนึ่งอยู่ที่การเตรียมงบประมาณในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ในช่วงเวลานับจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการสุวรรณภูมิเฟส 2 รถไฟทางคู่ ทางหลวงและมอเตอร์เวย์ รวมถึงรถไฟฟ้าที่ได้ผ่านการเห็นชอบจาก ครม. และมีการคัดเลือกผู้รับเหมาแล้ว

Read More

ทิศทางเศรษฐกิจไทย แนวโน้มลงทุนปี’60 สดใสหรือซบเซา

  หลังปิดฉากไปด้วยตัวเลขยอดจองรถยนต์แบบไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดการณ์เอาไว้เท่าใดนัก หากแต่ด้วยสภาวะอารมณ์ของคนไทย และสถานการณ์เศรษฐกิจภาพรวม ก็ไม่ได้เชิญชวนให้ผู้บริโภคมีกะจิตกะใจจะจับจ่ายใช้สอย งานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 33 จึงจบลงด้วยยอดจองรถยนต์อยู่ที่ 32,422 คัน ลดลงจากปีก่อน 17.1 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากบ้านเมืองยังอยู่ในบรรยากาศเศร้าโศก รวมไปถึงรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่นที่น่าจะได้รับความสนใจกลับถูกเลื่อนการเปิดตัวออกไป แต่กระนั้นรถจักรยานยนต์ในงานกลับสร้างสถิติใหม่ด้วยยอดจองสูงถึง 7,942 คัน สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ถึง 98.6 เปอร์เซ็นต์ กระนั้นตัวเลขยอดจองของรถทั้งสองประเภทอาจเป็นตัวชี้วัดความนิยมใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น และน่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับนักการตลาดจะทำความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคที่กำลังเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เพียงแค่อุตสาหกรรมยานยนต์เท่านั้นที่เข้าสู่สภาวะซบเซา หากแต่เมื่อมองดูตัวเลขการส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2559 ที่ติดลบอยู่ -1.0 เปอร์เซ็นต์ และมีการคาดกันว่าทั้งปี 2559 การส่งออกจะหดตัวลงอยู่ที่ -0.5 เปอร์เซ็นต์  ทั้งนี้น่าจะเป็นผลพวงมาจากตลาดโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวดีนัก และความต้องการในสินค้าส่งออกของไทยหลายรายการลดลง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สินค้าเกษตรหลัก รวมไปถึงปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่สินค้าส่งออกหลักอย่างชิ้นส่วนรถยนต์ สินค้าประมง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ยางยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองต่อเศรษฐกิจโลกว่ายังมีความเปราะบาง โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศจีน ซึ่งเป็นคู่ค้าหลัก ทำให้ความต้องการสินค้าส่งออกของไทยยังไม่ฟื้นตัวดี ประกอบกับความผันผวนในตลาดเงินโลกท่ามกลางการคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นแรงกดดันต่อราคาทองคำในตลาดโลกทำให้ลดลงต่อเนื่อง  ขณะที่ภาครัฐของไทยอย่างนายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มองว่า

Read More

บทเรียนจากอินเดีย: ยกเลิกธนบัตร เพื่อปราบโกง?

  ภาพแห่งความโกลาหลของประชาชนที่มาเข้าแถวรอแลกธนบัตรมูลค่าใบละ 500 และ 1,000 รูปีที่ถูกประกาศยกเลิกและกำลังจะมีสถานะกลายเป็นเพียงเศษกระดาษไร้ค่าหากไม่นำมาแลกเป็นธนบัตรใหม่ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2559 นอกจากจะดำเนินไปด้วยความตื่นตระหนกอย่างกว้างขวางแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อกลไกเศรษฐกิจของอินเดียในห้วงเวลาปัจจุบันอย่างไม่อาจเลี่ยง การประกาศยกเลิกธนบัตรทั้งสองชนิดดังกล่าว ของนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ในด้านหนึ่งดำเนินไปท่ามกลางเหตุผลของความพยายามในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นและผู้ถือครองเงินนอกระบบในประเทศ  การขจัดธนบัตรปลอม และการตัดแหล่งเงินสนับสนุนของขบวนการก่อการร้ายเพื่อให้เงินผิดกฎหมายหรือเงินที่ได้มาจากการทุจริตคอร์รัปชั่นถูกขจัดออกจากระบบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวนโยบายที่โมดีได้ใช้หาเสียงในช่วงก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 แม้ว่าการประกาศยกเลิกธนบัตรดังกล่าวจะได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่จำเป็นในการปราบปรามเงินนอกระบบและการคอร์รัปชั่น และจะทำให้ปริมาณเม็ดเงินที่คาดว่าจะมีจำนวนมากกว่าสองแสนล้านเหรียญสหรัฐที่อยู่นอกระบบของอินเดีย หลั่งไหลเข้ามาเติมเต็มสู่ระบบธุรกิจ บัญชีของธนาคาร และที่สำคัญเป็นภาษีและรายได้เข้าสู่รัฐ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลภายใต้การนำของนเรนทรา โมดี ได้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม (GST: Goods and Services Tax Bill) ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2017 โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ได้รับการประเมินว่าเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งสำคัญของอินเดียอีกด้วย แต่ผลของประกาศยกเลิกธนบัตรอย่างฉับพลันครั้งนี้ ในด้านหนึ่งกลายเป็นเหตุให้ประชาชนชาวอินเดียจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญกับความยากลำบากในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือทางการเงินทั้งบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ซึ่งนำไปสู่ความไม่พึงพอใจและการเข้าแถวแลกธนบัตรใหม่ที่ต้องเผชิญกับข้อเท็จจริงที่ว่ามีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการอีกด้วย ขณะเดียวกัน รัฐบาลอินเดียยังได้ลดจำนวนเงินที่อนุญาตให้แลกจาก 4,500 รูปี เหลือ 2,000 รูปี เนื่องจากสงสัยว่าหลายคนรับจ้างกลุ่มขบวนการอาชญากรรมมาฟอกเงินด้วยการแลกหรือฝากธนบัตรเก่าก่อนถึงกำหนดเส้นตาย 30

Read More

จาก “ต้มยำกุ้ง” ถึง “หนี้ครัวเรือน” ย้ำปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

  ขณะที่รัฐบาลพยายามสร้างความเชื่อมั่นในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ หลังเจอผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ปัญหาการส่งออกติดลบ การบริโภคภายในประเทศหดตัว และที่สำคัญ คือ วิกฤตหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงสุด แม้มีมาตรการกระตุ้นออกมาหลายรอบ แต่ยังไม่เห็นผลชัดเจนนัก จนดูเหมือนว่า วิกฤตครั้งนี้ทางออกเหนือมาตรการทั้งปวงที่จะช่วยประเทศไทยและคนไทยก้าวผ่านพ้นมรสุม คือ การยึดหลักปฏิบัติตามปรัชญาแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ล่าสุด นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกมาเรียกร้องให้คนไทยมั่นใจศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศและเปลี่ยนความโศกเศร้าของประชาชนเป็นพลังสามัคคีของคนทั้งประเทศ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า โดยน้อมนำหลักปรัชญาและสืบสานพระปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไปใช้เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ  เพราะวิกฤตเศรษฐกิจหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา ปัญหาหลักอยู่ที่ความไม่สมดุลของการพัฒนา จนขาดภูมิคุ้มกันและต้องพึ่งพิงปัจจัยภายนอก เมื่อเศรษฐกิจโลกย่ำแย่ย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่อง ทำให้ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวคิดที่ทันสมัยทุกยุค  หรือแม้ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 เปลี่ยนจากยุค 1.0 เน้นภาคเกษตรกรรม ยุค 2.0 เน้นอุตสาหกรรมเบา ยุค 3.0 เน้นภาคอุตสาหกรรมหนัก และยุค 4.0 ซึ่งเป็นโมเดลล่าสุดที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ Value-Based Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เปลี่ยนแนวคิดจาก

Read More

จาก BREXIT สู่ ABENOMICS 2.0 สัญญาณเตือนเศรษฐกิจฟุบยาว?

  ข่าวการลงคะแนนเสียงประชามติของสหราชอาณาจักร เพื่อขอถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) หรือ BREXIT เมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นอกจากจะส่งแรงกระเพื่อมไปทั้งในบริบทการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของสหราชอาณาจักรแล้ว กรณีดังกล่าวยังสั่นคลอนความเป็นไปของยุโรปในอนาคตอย่างไม่ต้องสงสัย ผลกระทบต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรมจากกรณีของ BREXIT ในระยะยาว แม้จะยังไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในระยะสั้นทำให้หลายคนต่างหวั่นวิตก แม้จะพยายามประเมินสถานการณ์ในเชิงบวกว่ากรณี BREXIT อาจไม่กระทบเศรษฐกิจไทยในวงกว้างเท่าใดนักก็ตาม กระนั้นก็ดี นักวิเคราะห์และศูนย์วิจัยหลายแห่ง ต่างประเมินผลกระทบและความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยไว้ว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจจาก BREXIT จะกระทบ GDP ของไทยในอัตราร้อยละ 0.07 หรือประมาณ 10,000 ล้านบาท ในปี 2559 และอาจเพิ่มเป็นร้อยละ 0.2 ในปี 2560  โดยในกรณีที่ไม่ร้ายแรงอาจลดทอน GDP ไทยในปี 2559 เพียง 0.04% แต่ในกรณีที่เลวร้าย ด้วยการส่งผลกระทบลามไปถึงเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ใน EU ด้วย ก็อาจฉุด GDP ของไทยให้หายไปร้อยละ 0.2 ในปี 2559

Read More

อสังหาฯ รับผลเศรษฐกิจทรุด รอครึ่งหลังส่งสัญญาณกลับหัว

  ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 ที่แม้จะได้รับการโหมประโคมว่ากระเตื้องตื่นขึ้นมาบ้างแล้ว ยังไม่สามารถบ่งบอกทิศทางและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้มากนัก โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาผ่านความเป็นไปของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ดูเหมือนจะอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่องยาวนาน ความพยายามของภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านอสังหาริมทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมาดูจะได้รับความสนใจและผลักให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความเคลื่อนไหวขยับขยายตัวขึ้นบ้าง แต่หลังจากมาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อเดือนเมษายน สถานการณ์ของธุรกิจก็กลับมาสู่สภาวะที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่าจะดำเนินไปในทิศทางใด ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายรายยังมีปริมาณสินค้าล้นเกินอยู่ในมือเป็นจำนวนมาก และส่งผลให้เกิดการชะลอตัวที่จะเปิดโครงการใหม่ๆ ออกสู่ตลาด และบางส่วนได้ปรับเปลี่ยนวิถีธุรกิจและกลุ่มเป้าหมายไปสู่ตลาดระดับกลางและบนมากขึ้น ด้วยเหตุที่เชื่อว่าผู้บริโภคในกลุ่มนี้ยังมีสุขภาพทางเศรษฐกิจที่ดีอยู่พอสมควร กระนั้นก็ดี แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในช่วงเดือนพฤษภาคมมีทิศทางชะลอตัวลงจากก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด หลังจากสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ ซึ่งมีส่วนดึงกำลังซื้อล่วงหน้าไปบางส่วนและทำให้ประชาชนชะลอการซื้อบ้านใหม่ลงไปพอสมควร และเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องเร่งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายด้วยหวังจะระบายสต็อกที่อยู่อาศัยที่เหลืออยู่ พร้อมกับการลดหย่อนยกเว้นค่าโอน ค่าจดจำนอง ในอัตราพิเศษให้ใกล้เคียงกับช่วงมีมาตรการกระตุ้น ซึ่งอาจหนุนเสริมยอดจำหน่ายได้อีกบางส่วน ปรากฏการณ์ของความชะลอตัวในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม และอาจจะทอดยาวออกไปอีก 1-2 เดือนจากนี้ ไม่ใช่สิ่งที่เหนือความคาดหมายของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และสถาบันการเงิน ซึ่งต่างพยายามกระตุ้นยอดปล่อยสินเชื่อด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าที่มีความมั่นคงทางการเงิน  แต่สำหรับลูกค้ากลุ่มเสี่ยง อัตราดอกเบี้ยกลายเป็นประหนึ่งน้ำหนักที่พร้อมจะหน่วงนำให้ต้องจ่อมจมกับภาระหนี้หนักขึ้นไปอีก และมีโอกาสที่จะทำให้สัดส่วนรายได้กับหนี้สินดำเนินไปแบบที่ไม่มีหนทางจะออกจากวังวนของการก่อหนี้เพิ่ม และจะยิ่งทำให้สถานการณ์การแบกหนี้เพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่รวดเร็วกว่าเดิมอีกด้วย ความป่วยไข้ทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ในห้วงเวลาปัจจุบัน ว่าด้วยภาวะหนี้สินครัวเรือน ได้รับการยืนยันล่าสุดว่าเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับ 11 ล้านล้านบาทหรือกว่าร้อยละ 81 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และกลายเป็นปัจจัยหลักที่ไม่เพียงส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งระบบไม่สามารถขยายตัวได้ในช่วงที่ผ่านมาเท่านั้น หากยังจะเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถก้าวเดินไปสู่อนาคตอีกด้วย ผลพวงจากสถานการณ์เศรษฐกิจและปัญหาหนี้ครัวเรือนดังกล่าวนี้ ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มคอนโดมิเนียมระดับราคาต่ำกว่า 5 หมื่นบาทต่อตารางเมตรหรือมีราคาขายอยู่ที่ยูนิตละ 2 ล้านบาท กลายเป็นกลุ่มน่าจับตามองเป็นพิเศษ เพราะเป็นกลุ่มที่มียูนิตเหลือขายอยู่เป็นจำนวนมากคิดเป็นกว่าร้อยละ 60 ของสต็อกที่มีมูลค่ารวมมากถึง 8

Read More

ฟื้นเศรษฐกิจแบบไทยไทย? ตามรอย Discover Thainess

  พลันที่เสียงระเบิดดังกึกก้องไปทั่วบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ควันไฟและเศษฝุ่นปูนที่ลอยคละคลุ้งอยู่ในอากาศเพิ่งจางหายไปไม่นาน นับเป็นเหตุการณ์ระทึกขวัญที่สร้างความตระหนกให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวไม่น้อย ส่งผลให้มีการยกเลิกการจองโรงแรมสำหรับเข้าพักในบางพื้นที่ ความวิตกปรากฏอยู่เพียงไม่นานเมื่อทุกชีวิตยังต้องดำเนินต่อไปท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้นทันตา แน่นอนว่าหลายฝ่ายเป็นกังวลต่อเหตุดังกล่าว ว่าจะส่งผลให้สถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยที่กำลังขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่องชะลอตัวลง ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของไทยกำลังน่าเป็นห่วง ซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวอาจจะช่วยพยุงและหนุนนำการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยได้บ้าง ซึ่งหากดูจากสถิติตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2558 มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 30.93 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีรายได้จากการท่องเที่ยว 826,867.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.95  โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามียุทธศาสตร์การปฏิรูปท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560 ซึ่งมุ่งเน้นในด้านมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสุดท้าย ทั้งนี้หลังจากเปิดระดมความคิดเห็นจากหลายฝ่ายจึงได้ข้อสรุป 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการตลาด 2. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการพัฒนาสินค้าและบริหารท่องเที่ยว และ 3. ยุทธศาสตร์ปฏิรูปด้านการบริหารจัดการ ปีแห่งการท่องเที่ยววิถีไทย อีกหนึ่งแคมเปญที่ภาครัฐตั้งธงขึ้นมาเพื่อหวังให้เป็นหมากสำคัญที่จะทำคะแนนได้ ซึ่งแม้จะได้ผลอยู่บ้างจากการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างหนักหน่วง หากแต่เกิดคำถามขึ้นในเวลาที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า การท่องเที่ยวไทยมาถูกทางหรือไม่ จะดีกว่าไหมหากจะมองข้ามความงามอันฉาบฉวย แล้วหันกลับมามองให้ลึกถึงทรัพยากรที่มีอยู่และพัฒนาเพื่อผลประโยชน์อันจีรัง นอกจากยุทธศาสตร์การปฏิรูปท่องเที่ยวไทยแล้ว กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวฯ ยังผลักดันกลยุทธ์พัฒนาเชิงพื้นที่ 5 คลัสเตอร์ รีแบรนดิ้งพลิกโฉมท่องเที่ยวไทย ยกระดับจากแหล่งท่องเที่ยวราคาถูกสู่แหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ โดยมีสาระสำคัญของแผนพัฒนาการท่องเที่ยวทั้ง

Read More

NDB และ AIIB สองพลังขับเคลื่อน “พญามังกร”?

 ข่าวสารว่าด้วยความเป็นไปของสังคมไทยในช่วงเดือนกรกฎาคมดูเหมือนจะให้น้ำหนักกับปัจจัยทางเศรษฐกิจมากขึ้นทุกขณะ และมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคณะรัฐมนตรีอยู่เป็นระยะ ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาสที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น ขณะที่ในระบบเศรษฐกิจภาพใหญ่ในระดับนานาชาติ ความเป็นไปในช่วงเดือนกรกฎาคมที่กำลังจะผ่านไปนี้ กลับปรากฏแรงกระเพื่อมที่ส่งผลต่อดุลยอำนาจของโลกมากพอสมควร และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในระบบเศรษฐกิจการเมืองของโลกอย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้มาก่อน ต้องยอมรับว่า การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS ครั้งที่ 7 (7th BRICS Summit) ซึ่งประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ในช่วงระหว่างวันที่ 8-9 กรกฎาคม อาจจะถูกบดบังด้วยข่าวการทรุดตัวลงของราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จีน จนทำให้นักวิเคราะห์และผู้ลงทุนจำนวนไม่น้อยต่างหวั่นวิตกว่าเศรษฐกิจจีนอาจกำลังเผชิญกับภาวะฟองสบู่แตก หากแต่ผลของการประชุมและการผสานเสียงของกลุ่มผู้นำประเทศทั้ง 5 ในกรอบความร่วมมือของ BRICS กลับดังกังวานและเริ่มปรากฏรูปธรรมชัดเจนด้วยการเปิดสำนักงานของ NDB (New Development Bank) ในนครเซี่ยงไฮ้ ของจีนเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา และกำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นจักรกลในการท้าทายขั้วอำนาจในระบบเศรษฐกิจการเงินของโลกรายเดิม ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)  แม้สถาบันการเงินแห่งใหม่นี้ จะมีโครงสร้างการถือหุ้นและสิทธิในการออกเสียงระหว่าง 5 ประเทศผู้ก่อตั้ง ที่ร้อยละ 20 อย่างเท่าเทียมกัน หากแต่ภายใต้การจัดตั้งกองทุนเงินสำรองเผื่อกรณีฉุกเฉิน

Read More