Home > เลือกตั้ง

โค้งสุดท้าย ศึกชิงผู้ว่าฯ กทม. วัด “กึ๋น” แก้เศรษฐกิจปากท้อง

นโยบายเศรษฐกิจแก้ปัญหาปากท้องชาวบ้านถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่บรรดาผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เร่งนำเสนอ เพื่อชิงคะแนนเสียงในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนหย่อนบัตรลงคะแนนเลือกตั้งในวันที่ 22 พฤษภาคม หลังโพลล์หลายสำนักต่างชี้ชัดว่า ชาว กทม. มากกว่าครึ่งยังไม่ตัดสินใจและรอใกล้ๆ วันเลือกตั้งด้วย ล่าสุด สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เผยผลสำรวจเรื่อง ผู้ว่า นักบริหาร ในสายตา คน กทม. กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 1,350 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2565 พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.4 ต้องการเลือกผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ เมื่อสอบถามถึงการรับรู้ต่อผลงานของผู้ว่าฯ กทม. ที่ผ่านๆ มา จำนวนมากหรือร้อยละ 45.0 ระบุ เห็นผลงานแต่ไม่มากพอที่จะทำให้เลือก ร้อยละ 31.8 ระบุไม่เห็นทำอะไร มีแต่ปัญหาเดิมๆ ขณะที่ร้อยละ 20.6 ระบุ เห็นผลงานมาก แต่จะเลือกคนใหม่ มีเพียงร้อยละ 2.6

Read More

ภาระหนักรัฐบาลใหม่ ผลักดันอนาคตเศรษฐกิจไทย

แม้ว่าการเลือกตั้งทั่วไป 2562 จะผ่านพ้นไปแล้ว และได้เห็นเค้าลางของผู้ชนะผู้แพ้ในสนามเลือกตั้งกันไปพอสมควร หากแต่ทิศทางการเมืองไทยและโฉมหน้ารัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศกลับตกอยู่ในภาวะคลุมเครือ และยากที่จะสรุปอย่างชัดเจนว่าจะดำเนินไปอย่างไร ซึ่งอาจเนิ่นนานไปตามกำหนดเวลาของการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่คาดว่าจะมีขึ้นอย่างเร็วที่สุดในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมไปแล้ว ความคาดหวังของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจเอกชนว่าด้วยความเชื่อมั่นและแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความคาดหวังที่ผูกโยงอยู่กับทัศนะเชิงบวกและการกระตุ้นปลอบเร้า ด้วยหวังว่ารัฐบาลใหม่จะสามารถเร่งระดมปลุกปั้นเศรษฐกิจไทยให้กลับมาฟื้นคืนและแข็งแกร่งอีกครั้ง ดูจะอ่อนแรงลงไปอย่างช้าๆ เมื่อประเมินจากข้อเท็จจริงที่ว่า ความชัดเจนและระยะเวลาของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่ทอดยาวออกไปกำลังก่อให้เกิด “ภาวะเสียโอกาสซ้ำซาก” ที่อาจฉุดให้เศรษฐกิจไทยต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปจนถึงสิ้นสุดไตรมาสที่ 2 และอาจต่อเนื่องไปสู่ไตรมาสที่ 3 ของปีเลยทีเดียว บรรยากาศแห่งความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ปกคลุมอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบัน กลายเป็นปัจจัยที่พร้อมจะแช่แข็งเศรษฐกิจไทยไปโดยปริยาย แม้ว่าในการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนไทยก่อนหน้านี้จะพบว่าประชาชนในสัดส่วนมากถึงร้อยละ 63.64 แสดงความมั่นใจว่าภายหลังการเลือกตั้ง เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 32.27 ระบุว่าเศรษฐกิจไทยจะยังดำเนินอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่เหมือนเดิม โดยมีอีกร้อยละ 4.09 ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะแย่ลงกว่าที่เคยเป็นอยู่ในช่วงก่อนมีการเลือกตั้ง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนก่อนการเลือกตั้งดังกล่าวอยู่ที่ประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 45.73 ประเมินว่าไม่มีพรรคการเมืองใดเลยที่มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนได้อย่างจริงจัง แม้ว่าจะมีประชาชนบางส่วนชื่นชอบแนวนโยบายเศรษฐกิจของแต่ละพรรคการเมืองในสัดส่วนที่ลดหลั่นกันไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนจำนวนไม่น้อยตระหนักว่าปัญหาเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน ไม่ใช่ปัญหาที่จะแก้ไขได้โดยง่าย ขณะเดียวกันภายใต้สถานการณ์ที่ผลักให้รัฐบาลชุดใหม่มีแนวโน้มที่จะเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค การนำนโยบายเศรษฐกิจที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคนำเสนอในช่วงหาเสียงเลือกตั้งมาผนวกผสานเพื่อสร้างให้เป็นกรอบโครงนโยบายสาธารณะของรัฐบาล ดูจะเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากข้อเท็จจริงที่ประชาชนจะคาดหวังได้ ความเป็นไปทางการเมืองที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าว่าด้วยการช่วงชิงบทบาทนำในการเป็นแกนกลางในการจัดตั้งรัฐบาลที่กำลังดำเนินอยู่อย่างเข้มข้น ท่ามกลางการเจรจาต่อรองผลประโยชน์ทั้งในมิติของอำนาจและตำแหน่งแห่งที่ในคณะรัฐบาลที่กำลังจะเกิดมีขึ้นในอนาคต ยังเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความเปราะบางทางการเมืองของไทยที่ทำให้การผลักดันมาตรการทางเศรษฐกิจสังคมนับจากนี้ ถูกผูกโยงเข้ากับวิถีของการแบ่งปันผลประโยชน์ของผู้มีบทบาททางการเมืองแต่ละส่วน มากกว่าที่จะเกิดขึ้นจากการประสานข้อเด่น-ด้อยของนโยบายที่แต่ละฝ่ายมี มาสกัดและสังเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ในทางสาธารณะสำหรับประชาชนซึ่งเป็นผู้ออกเสียงลงคะแนนและเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสังคมไทยอย่างแท้จริง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลไกภาครัฐพยายามที่จะบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้น โดยล่าสุดได้นำเสนอตัวเลขทางเศรษฐกิจไทยรวมทั้งปี 2561 ว่าขยายตัวร้อยละ

Read More