Home > lockdown

ปลดล็อกห้าง จี้ 3 แนวทางยกเครื่องธุรกิจ

แม้ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ยอมผ่อนคลายมาตรการในกลุ่มศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าและคอมมูนิตี้มอลล์ แต่ผลพวงการล็อกดาวน์หลายๆ ครั้ง บางครั้งมีคำสั่งแบบฟ้าผ่า ไม่ทันตั้งตัว ทำให้ร้านค้าปลีก โดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหารทบทวนแนวทางการเปิดสาขา เพื่อลดความเสี่ยง เพราะไม่มีใครฟันธงชัดเจนจะไม่มีการระบาดรอบใหม่เกิดขึ้นอีก ทั้งนี้ กลุ่ม 8 สมาคมธุรกิจ ได้แก่ สมาคมศูนย์การค้าไทย สมาคมธุรกิจร้านอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมคลีนิกเอกชน สมาคมวิชาชีพช่างผมไทย สมาคมผู้ประกอบการสปาไทย สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย และสมาคมสนามกอล์ฟไทย รวมตัวเคลื่อนไหวยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ผอ.ศปก.ศบค.) และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อผลักดันแนวทางการลดระดับการล็อกดาวน์ 3 ระยะ ระยะที่ 1 เริ่มวันที่ 1 กันยายน ได้แก่ เปิดธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มนั่งรับประทานที่ร้าน ร้อยละ 50 และเปิดธุรกิจก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์

Read More

“ปิดแคมป์-ล็อกดาวน์” ผลกระทบที่เกินจินตนาการ

การประกาศมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง โดยให้ปิดสถานที่ก่อสร้างและปิดสถานที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงานทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในสถานที่ก่อสร้าง รวมทั้งให้หยุดงานก่อสร้าง ห้ามการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน เมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายน ดูจะกลายเป็นมาตรการที่ส่งผลเป็นแรงสั่นสะเทือนสู่สังคมวงกว้าง มากกว่ามาตรการของรัฐที่เคยมีออกมาก่อนหน้าไม่น้อยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผนวกกับการสั่งล็อกดาวน์ พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณทลที่ออกมาควบคู่กัน การสั่งล็อกดาวน์แบบไม่ล็อกดาวน์ตามมาตรฐานของกลไกรัฐไทยในการบริการจัดการกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ล่าสุดอยู่ที่การกำหนดมาตรการควบคุมโรคเฉพาะสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ด้วยการสั่งห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านให้ซื้อกลับบ้านได้เท่านั้น รวมถึงการให้ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าให้ปิดบริการในเวลา 21.00 น. ขณะที่โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม เปิดดำเนินการได้ตามปกติ แต่ห้ามจัดประชุม สัมมนาหรือจัดเลี้ยง และห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกันเกินกว่า 20 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตหรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ กำลังส่งผลกระทบด้านลบต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในสังคมไทยให้ทรุดต่ำหนักลงไปอีก เนื่องเพราะการสั่ง “ปิดแคมป์และล็อกดาวน์” รอบใหม่ นอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มแรงงานก่อสร้างที่ต้องหยุดงานและห้ามเดินทางเคลื่อนย้ายแล้ว มาตรการดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยกลุ่มอื่นๆ ไม่น้อยเลย และกำลังส่งผลต่อชีวิตและประชาชนในวงกว้าง โดยมีการประเมินว่า การสั่ง “ปิดแคมป์และล็อกดาวน์” ครั้งนี้ คาดว่าจะมีผลกระทบต่อแรงงานไทยรวมไม่ต่ำกว่า 4.7 ล้านคน โดยในจำนวนนี้มีแรงงานรวมมากถึง 1.2 ล้านคนที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบในฐานะที่เป็นผู้เสมือนว่างงานหรือมีชั่วโมงการทำงานรวมน้อยกว่า 24 ชั่วโมงต่อสัปดาห์อีกด้วย ข้อมูลตลาดแรงงานไทย

Read More

ส่งออกไทยติดลบหนัก ผลจากทั่วโลก Lockdown หนีโควิด-19

นอกเหนือไปจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่เป็นเครื่องจักรสำคัญในการสร้างรายได้เข้าประเทศแล้ว ภาคการส่งออกก็เป็นอีกฟันเฟืองสำคัญที่ไทยหวังพึ่งพิงตลอดมา การมาถึงของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ โควิด-19 เป็นเสมือนการดับฝันที่เป็นความหวังของเศรษฐกิจไทยในห้วงยามนี้ จากสถานการณ์การส่งออกของไทยในปีที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยตัวเลขที่เป็นการติดลบในรอบ 4 ปี และปัจจัยที่ส่งผลลบโดยตรงคือภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน ราคาน้ำมัน รวมไปถึงการแข่งขันกันเองของผู้ประกอบการส่งออก หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า สถานการณ์การส่งออกของไทยในปี 2563 อาจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นบ้าง เมื่อตลาดส่งออกสินค้าไทยน่าจะผ่านพ้นจุดตกต่ำไปแล้ว โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 สินค้าส่งออกของไทยลดลงในทุกตลาด ตั้งแต่ตลาดญี่ปุ่นติดลบ 1.3 เปอร์เซ็นต์ ยุโรปลดลง 7 เปอร์เซ็นต์ จีนลดลง 4.7 เปอร์เซ็นต์ เอเชียใต้ลดลง 7.7 เปอร์เซ็นต์ ฮ่องกงลดลง 6.8 เปอร์เซ็นต์ เกาหลีใต้ลดลง 5.4 เปอร์เซ็นต์ ตะวันออกกลางลดลง 2.9 เปอร์เซ็นต์ แอฟริกาลดลง 10.9 เปอร์เซ็นต์ ทว่า โรคอุบัติใหม่กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ตัวเลขการส่งออกในเดือนเมษายน 2563 ติดลบอย่างหนัก แม้ว่าภาพรวมมูลค่าการส่งออกรวมในเดือนเมษายนจะมีการขยายตัวที่

Read More

ประมวลภาพ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เปิดให้บริการทั่วประเทศวันแรกหลังคลายล็อคดาวน์ พร้อมเดินหน้าเศรษฐกิจไทย “Reunite Thailand Together”

ประมวลภาพ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เปิดให้บริการทั่วประเทศวันแรกหลังคลายล็อคดาวน์ รณรงค์ ‘วินัยคนไทย’ การ์ดอย่าตก เน้นย้ำ Social Distancing เพื่อใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย พร้อมเดินหน้าเศรษฐกิจไทย “Reunite Thailand Together” บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลพลาซา, เซ็นทรัลเฟสติวัล, เซ็นทรัล ภูเก็ต และ เซ็นทรัล วิลเลจ ลักชูรี่เอาท์เล็ตแห่งแรกของไทย เชื่อมั่นใน ‘พลังบวก’ เปิดแผน “พลังไทยช่วยไทย Reunite Thailand Together” รณรงค์ ‘วินัยคนไทย’ การ์ดอย่าตก เพื่อร่วมกันสะท้อนหนึ่งใน Social Distancing ที่ดีที่สุดให้ทั่วโลกชื่นชม เผยแผนธุรกิจ ‘เศรษฐกิจไทยช่วยไทย’ สร้างงาน สร้างอาชีพ ชวนคนไทยอุดหนุนสินค้าไทยจากชุมชน และผู้ประกอบการในประเทศ ชู 3 กลยุทธ์ เสริมสร้างความเชื่อมั่น

Read More

ผ่อนปรนคลายล็อกดาวน์ กับความเสี่ยงโควิด-19 ระบาดซ้ำ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยดูจะสามารถควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดและได้ผลดีในการยับยั้งโรคอุบัติใหม่ หากแต่ในอีกมิติหนึ่งมาตรการทางการสาธารณสุขที่ได้นำมาใช้ในครั้งนี้กลับส่งผลลบเป็น ยาแรง ที่ทำให้สังคมเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปได้รับผลสั่นสะเทือนและนำไปสู่การที่รัฐต้องออกมาตรการเยียวยาอย่างต่อเนื่อง การประกาศต่ออายุพระราชกำหนดฉุกเฉินออกไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ในด้านหนึ่งสะท้อนความไม่มั่นใจในศักยภาพการบริหารราชการแผ่นดินด้วยกลไกปกติของรัฐ ขณะเดียวกันมาตรการผ่อนคลายกิจการ กิจกรรมบางประเภท หรือการผ่อนคลายล็อกดาวน์ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ติดเชื้อโรคโควิด-19 สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะให้สังคมเศรษฐกิจไทยกลับมาขับเคลื่อนอีกครั้ง หลังจากที่ต้องหยุดชะงักไปพร้อมๆ กับการควบคุมโรค กระนั้นก็ดี การผ่อนคลายซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคมดังกล่าวจะมีการประเมินผลอีกครั้งใน 14 วัน บนฐานความคิดที่ว่าหากมีตัวเลขคงที่ของการติดเชื้อแสดงให้เห็นถึงการร่วมมือ รู้วิธีการจัดการตัวเองและกิจกรรมของตัวเอง การผ่อนคลายก็อาจจะเลื่อนลำดับในกิจกรรมที่ผ่อนคลายได้มากขึ้น แต่หากในช่วง 14 วัน มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ก็อาจจะต้องถอยหลังกลับมาเข้มงวดในมาตรการต่างๆ ในกิจกรรมและกิจการใหม่ทั้งหมด การผ่อนคลายมาตรการของรัฐเพื่อให้ผู้ประกอบการบางส่วนสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้ต่อและประชาชนสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุขมากขึ้นนี้ ในด้านหนึ่งได้นำไปสู่ข้อกังวลในขีดความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ของรัฐ เพราะภายใต้แนวความคิดว่าด้วย ชีวิตวิถีใหม่ หรือ new normal ที่กำลังโหมประโคมให้เป็นสำนึกใหม่ของสังคมไทยนั้น ดูเหมือนว่ากลไกภาครัฐยังย่ำเดินอยู่บนวิถีเดิมว่าด้วยการออกมาตรการควบคุมและขู่บังคับ มากกว่าการเอื้ออำนวยให้เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ที่ดำเนินไป ทัศนะคิดที่ประเมินว่าประชาชนรวมถึงผู้ประกอบการอาจอาศัยมาตรการผ่อนคลายดังกล่าวกระทำการที่ไร้ความรับผิดชอบ หรือขาดวินัย เป็นทัศนะล้าหลัง ที่นำเสนอในมิติของความปรารถนาดีที่ไร้เหตุผลและในทางกลับกันทัศนะที่ว่านี้ยังมีลักษณะดูแคลนสติปัญญาของผู้คนในสังคมอย่างไร้ความรับผิดชอบที่สุด ความสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ภายใต้สถานการณ์ที่ยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันโรค ดำเนินอยู่ในทุกวินาทีและมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา สิ่งที่กลไกรัฐและผู้บริหารนโยบายด้านการสาธารณสุขควรให้ความสำคัญและบริหารจัดการจึงควรอยู่ที่การขยายขีดความสามารถและศักยภาพในการรองรับผู้ป่วย ควบคู่กับการเปิดเผยข้อเท็จจริงว่าปัจจุบันมีเตียงหรือกลไกในการรองรับผู้ป่วยติดเชื้อทั่วประเทศได้มากน้อยเพียงใด ความตื่นตัวในการป้องกันและหลีกเลี่ยงที่จะเป็นกลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อของผู้คนในสังคมไทยดำเนินไปอย่างกว้างขวางมาตลอดช่วงเวลาเดือนเศษของการแพร่ระบาดโควิด-19 แล้ว ความวิตกกังวลว่าการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์อาจนำไปสู่การแพร่ระบาดครั้งใหม่ในลักษณะของ

Read More

โควิด-19 ซ้ำเติม ตลาดแรงงานไทยวิกฤต

ตลาดแรงงานไทยถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีความเปราะบางมากเป็นพิเศษ นั่นเพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดสภาวะวิกฤตกับเศรษฐกิจ แรงงานไทยที่แม้ไม่ใช่ด่านหน้าที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทว่ากลับเป็นกลุ่มที่ได้รับแรงปะทะเสมอ การเลิกจ้าง ตัวเลขการว่างงาน เป็นภาพสะท้อนทิศทางความเป็นไปที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ ไม่จำเพาะเจาะจงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น ตลาดแรงงานทั่วโลกก็เช่นกัน คล้ายกับว่าความมั่นคงของสถานภาพแรงงานจะดีร้าย ขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การเติบโตที่ลดลงของเศรษฐกิจไทยในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่งทยอยปิดตัวลง อันนำมาสู่การเลิกจ้างแรงงาน ซึ่งตัวเลขการว่างงานในเดือนธันวาคม 2562 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยคือ มีผู้ว่างงานจำนวน 367,000 คน เพิ่มขึ้น 18,000 คน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2561 ที่มีตัวเลขผู้ว่างงาน 349,000 คน บาดแผลของแรงงานทั้งในและนอกระบบจากสภาวะเศรษฐกิจซบเซายังไม่หายดี ภัยร้ายที่เสมือนคลื่นระลอกใหม่ ซัดเข้ามากระหน่ำซ้ำเติม กดหัวให้กราฟของผู้มีงานทำต่ำลง หากจะกล่าวว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายก็ดูจะไม่แปลกนัก เพราะทั้งไทยและทั่วโลกต่างเคยเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคมาหลายต่อหลายครั้ง ทว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 กลับสร้างความเสียหายในระบบแตกต่างไปจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในครั้งก่อนๆ มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทำให้ระบบเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดถูกฟรีซไว้ชั่วคราว หลายอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องโดยตรง ภาคการบริการ ภาคธุรกิจ SMEs ตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดเล็ก หรือกลุ่มธุรกิจที่สายป่านไม่ยาว เป็นผลให้แรงงานที่อยู่ในกลุ่มนี้ต้องพบเจอกับความเสี่ยงอีกครั้ง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (Economic Intelligence Center)

Read More