Home > Cover Story (Page 65)

เทศกาลกินเจ’63 สุดเหงา ผู้บริโภคกระเป๋าเบา เน้นประหยัด

จีดีพีไทยติดลบถึงสองไตรมาสติดต่อกัน กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง สภาพการณ์ของเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในและต่างประเทศมองหาเสถียรภาพที่มั่นคงได้ลำบากกว่าวิกฤตครั้งไหน จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจหากเทศกาลถือศีลกินผักปีนี้จะมีเงินสะพัดน้อยลง ผู้บริโภคปรับลดงบประมาณใช้จ่ายสำหรับการกินเจลง ทั้งศูนย์วิจัย วิเคราะห์เศรษฐกิจหลายแห่ง แสดงผลการวิจัยและการคาดการณ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าศักราชนี้ประชาชนจะใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลกินเจลดลง และอาจต่ำสุดในรอบ 13 ปี เช่นที่หอการค้าไทยได้วิเคราะห์เอาไว้อย่างน่าสนใจ โดย ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยการสำรวจความคิดเห็นประชาชนจำนวน 1,393 ตัวอย่าง เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจ ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 17-25 ตุลาคม 2563 พบว่า เทศกาลกินเจปีนี้คาดว่าจะไม่คึกคัก ส่วนใหญ่กว่า 39.8 เปอร์เซ็นต์ มาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดเป็นหลัก รองลงมา 18.6 เปอร์เซ็นต์ ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี ค่าครองชีพที่สูงขึ้นและ 19.1 เปอร์เซ็นต์ มาจากคนตกงานรายได้ลดลง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมของแต่ละคนในช่วงเทศกาลกินเจปีนี้อยู่ที่ 11,469 บาท สูงกว่าปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 11,155 บาท เป็นผลมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าโดยเฉพาะในกลุ่มอาหารที่เกี่ยวข้องกับเจปรับราคาขึ้น อย่างไรก็ดี คาดว่าเทศกาลกินเจปีนี้จะมีเงินสะพัดช่วงเทศกาลประมาณ 46,967 ล้านบาท ขยายตัว 0.9

Read More

เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ความหวังสุดท้ายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

มติของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. ที่เห็นชอบมาตรการเปิดประเทศ สำหรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourist VISA: STV) แบบ “จำกัดจำนวน” ตามที่กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ โดยจะเป็นการเปิดประเทศแบบจำกัด ด้วยการจำกัดเฉพาะนักท่องเที่ยวประเภท “พิเศษ” ที่จะมาพำนักอยู่ในประเทศไทยระยะยาวไม่ต่ำกว่า 90-270 วัน ในด้านหนึ่งอาจถือเป็นจุดเริ่มต้นของการออกเดินหน้าเพื่อฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจท่องเที่ยวของไทยให้ดำเนินต่อไปได้ หลังจากที่ต้องหยุดชะงักมานานเพราะการระบาดของไวรัส COVID-19 หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง มติดังกล่าวดูจะตั้งอยู่ท่ามกลางการเล็งผลเลิศที่อาจไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของสถานการณ์โดยรอบ เพราะหลังจากที่มีการเปิดเผยว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจากมณฑลกว่างโจวเดินทางมาประเทศไทย ในวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ซึ่งนับเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรหลังจากไทยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการประกาศเลื่อนการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยไปเป็นวันที่ 25 ตุลาคมแทน ความสับสนในการออกมาตรการที่ดำเนินไปท่ามกลางเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติหากต้องการจะเดินทางมายังประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นความประสงค์จะเดินทางมาพำนักระยะยาว หรือลองสเตย์ ภายในประเทศไทย การยอมรับที่จะปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข ที่ประกาศใช้ภายในประเทศไทย และตกลงยินยอมกักตัวในห้องพักจำนวน 14 วัน รวมถึงการมีหลักฐานสถานที่พักอาศัยระยะยาวภายในประเทศไทย โดยเฉพาะหลักฐานการชำระเงินค่าโรงแรมที่พัก หรือโรงพยาบาลที่พักภายในประเทศไทย ดูจะเป็นเงื่อนไขที่ไม่ได้สอดรับกับความพร้อมของทั้งผู้ประกอบการและความกังวลใจของประชาชนในพื้นที่ การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจควรคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เพราะประชาชนในจังหวัดท่องเที่ยว อาจไม่ได้เห็นด้วยกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวทั้งหมด ความกังวลใจของพวกเขายังผูกพันอยู่กับมายาภาพที่ ศบค. ได้สร้างไว้ตลอดระยะเวลา 6-7

Read More

ความท้าทายของอุตสาหกรรมหนังสือ จะหมุนอย่างไรเมื่อไลฟ์สไตล์คนเปลี่ยนแปลง

การอ่านเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาในหลายระดับ ตั้งแต่การพัฒนาสติปัญญา เสริมเกราะทางภูมิปัญญาของผู้อ่านเอง จนไปถึงการพัฒนาในระดับชาติ ทว่า ทั้งการส่งเสริมการอ่าน และการสนับสนุนอุตสาหกรรมหนังสือจากภาครัฐกลับไม่เข้มข้นพอ ในแต่ละปี ประเทศไทยจะมีงานอีเวนต์ขนาดใหญ่เกี่ยวกับหนังสืออย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง นั่นคือ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ต้องยอมรับว่าบรรดาหนอนหนังสือและนักอ่านจำนวนหนึ่งเฝ้ารอคอยงานนี้ เพราะนอกจากจะเป็นการได้เปิดประสบการณ์ผ่านจินตนาการทางตัวหนังสือแล้ว ยังมีโอกาสได้ซื้อหนังสือในราคาประหยัด และไม่ใช่แค่เพียงเหล่านักอ่านที่รอคอยงานหนังสือเท่านั้น ทั้งผู้คนที่โลดแล่นอยู่ในแวดวงหนังสือ เช่น นักเขียน สำนักพิมพ์ ต่างเฝ้ารองานนี้ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะบางสำนักพิมพ์ หรือนักเขียนมักจะใช้ช่วงเวลานี้เปิดตัวหนังสือ หรือผลงานเล่มใหม่ ความคึกคักและการตื่นตัวที่เคยเกิดขึ้นทุกปีในวงการหนังสือเล่มดูจะค่อยๆ จืดจางลงอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่การเติบโตของเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้วงการหนังสือต้องพัฒนาและหมุนตามโลกให้ทันเพื่อไม่ให้หลุดจากวงโคจร ไม่ใช่เหตุผลทางเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหนังสือในห้วงยามนี้ ทว่า สิ่งที่ดูเหมือนจะสร้างหายนะให้เกิดขึ้นในหลายแวดวงและแผ่อิทธิพลมาสู่วงการหนังสือด้วยก็คือ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่สร้างบาดแผลทางเศรษฐกิจไทยให้สาหัสกว่าเดิม เพราะนอกจากการที่อุตสาหกรรมหนังสือต้องปรับตัวให้พร้อมรับกับการเติบโตของเทคโนโลยีด้วยการทรานส์ฟอร์มจากหนังสือเล่มไปสู่ e-book แล้ว ยังต้องรับมือกับการอ่อนแรงในเรื่องกำลังซื้อของผู้บริโภค นอกจากนี้ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 48 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 18 ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดทำให้ผู้จัดงานต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานไปสู่ช่องทางดิจิทัล ทั้งกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการขายหนังสือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด และเศรษฐกิจที่ผ่านมา หลายสำนักพิมพ์ต้องประสบกับภาวะขาดทุน บางสำนักพิมพ์แม้จะไม่ได้ปิดตัวลงไปในทันที แต่ชะลอการพิมพ์หนังสือเล่มใหม่ๆ ออกมา และดำเนินธุรกิจด้วยการ Re-print

Read More

เร่งระดมอัดฉีด ต่อลมหายใจ SMEs ไทย

สถานการณ์ความเป็นไปของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาด COVID-19 ดูจะยังอยู่ในภาวะที่ยากลำบากและได้รับผลกระทบต่อเนื่องอย่างหนัก โดยกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการภาคบริการทั้งธุรกิจบริการที่พักและธุรกิจบริการด้านอาหาร ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจบริการด้านศิลปะ ความบันเทิงและสันทนาการ ธุรกิจค้าปลีกส่ง และสาขาอุตสาหกรรม ผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวส่งผลให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SMEs ไทย (SMEs GDP) ในไตรมาส 2 ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 17.2 มีมูลค่ารวม 1.44 ล้านล้านบาท สอดรับกับผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ SMEs ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งพบว่า ปัญหาที่ผู้ประกอบการ SMEs เผชิญอยู่มากที่สุดในห้วงปัจจุบันเป็นกรณีของยอดขายและลูกค้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากผลของการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ปัจจัยลบที่โหมกระหน่ำใส่ผู้ประกอบการ SMEs ในอีกด้านหนึ่งยังอยู่ที่ยอดการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกของผู้ประกอบการ SMEs ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่ารวม 4.76 แสนล้านบาท ขณะที่ในปี 2562

Read More

เศรษฐกิจไทยไร้แรงดึงดูด ต่างชาติปิดโรงงาน-ย้ายฐาน

ข่าวการปิดโรงงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำนวนมากในประเทศไทย แม้ว่าในด้านหนึ่งจะเป็นผลจากพิษการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งในมิติของกิจการด้านสาธารณสุข และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดการชะลอตัว ขณะที่ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ของกระบวนการผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรมต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงัน การประเมินของกลไกรัฐว่าด้วยการปิดโรงงานของผู้ประกอบการแต่ละรายดูจะยึดโยงและผูกพันอยู่กับฐานคิดที่ว่าการปิดโรงงานของผู้ประกอบการเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้กำลังซื้อลดลงและมีความจำเป็นต้องลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยที่ละเลยหรือมองข้ามผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแรงงานจำนวนมากที่ต้องพ้นจากสภาพการจ้างงานและมีแนวโน้มที่ต้องเสี่ยงกับการตกงานและว่างงานยาวนานนับจากนี้ ข้อมูลที่น่าสนใจจากสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งปรากฏเป็นรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่งปี 2563 ระบุว่าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.03 มีผู้ว่างงานเกือบ 4 แสนคน และคาดว่าในปีนี้มีแรงงานที่เสี่ยงถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน ขณะที่แรงงานจบใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน 5.2 แสนคนอาจไม่มีงานทำ รายงานภาวะสังคมไทยฉบับดังกล่าวซึ่งเผยแพร่สู่สาธารณะ เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ยังระบุว่าแม้อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ แต่การจ้างงานลดลงอย่างต่อเนื่องและค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง การประเมินว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะส่งผลให้แรงงานมีความเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าแรงงานในภาคการท่องเที่ยวซึ่งมีประมาณ 3.9 ล้านคน ไม่รวมสาขาการค้าส่งและการค้าปลีก จะได้รับผลกระทบจากการลดลงของนักท่องเที่ยวต่างชาติและการท่องเที่ยวในประเทศ ประมาณ 2.5 ล้านคน แรงงานในภาคอุตสาหกรรมซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าตั้งแต่ก่อน COVID-19 ระบาดและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน จากการลดลงของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ แรงงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด 5.9 ล้านคน คาดว่ามีผู้ได้รับผลกระทบ 1.5 ล้านคน ขณะที่การจ้างงานในภาคบริการอื่นที่ไม่ใช่การท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ที่ประกอบด้วยการปิดสถานที่ต่างๆ

Read More

มาแล้ว “โรบอทคาเฟ่” บาริสต้าหุ่นยนต์จะแรงแค่ไหน

การเผยโฉมหุ่นยนต์ชงกาแฟ Robosta café ของบริษัทคนไทย Brainworks โดยปักหมุดแรกในงาน THAIFEX – ANUGA ASIA 2020 “The Hybrid Edition” เมื่อสุดสัปดาห์ก่อน สร้างความตื่นเต้นให้ผู้ชมงานชนิดแน่นบูธ ที่สำคัญ บริษัทมีแผนเจรจาธุรกิจกับร้านกาแฟแบรนด์ดังที่เตรียมเปิดตัวแฟรนไชส์ Robot Barista ในปลายปีนี้ด้วย แน่นอนว่า ในต่างประเทศ อย่างสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี นำหุ่นยนต์บาริสต้ามาสร้างสีสันได้ระยะหนึ่งแล้ว จนเกิดกระแส 2 ด้าน ด้านหนึ่งถือเป็นนวัตกรรมการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาสร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ แต่อีกด้านหนึ่งสะท้อนความหวั่นวิตกเรื่องการแย่งงานของมนุษย์ ก่อนหน้านี้ อ็อกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ บริษัทด้านการวิเคราะห์เศรษฐกิจ เคยประเมินว่า งานในภาคการผลิตทั่วโลกสูงถึง 20 ล้านตำแหน่ง อาจถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ในปี 2030 หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า และหุ่นยนต์จะแย่งงานในภาพรวมถึง 800 ล้านตำแหน่ง โดยเฉพาะภูมิภาคที่คนมีทักษะในการทำงานต่ำกว่า ซึ่งมีแนวโน้มเศรษฐกิจอ่อนแอกว่าและมีอัตราการว่างงานสูงกว่าภูมิภาคอื่น จะเสี่ยงต่อการสูญเสียตำแหน่งงานให้แก่หุ่นยนต์มากกว่า ที่สำคัญ ตำแหน่งงานในภาคบริการจะถูกหุ่นยนต์มาแทนที่มากขึ้นด้วย

Read More

นับถอยหลังบิ๊กดีล ซีพีฮุบเทสโก้ จับตามติบอร์ดแข่งขันฯ ชี้ชะตา

นับถอยหลังอีกไม่ถึงเดือน คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.) จะต้องสรุปชี้ขาดบิ๊กดีลการเข้าซื้อกิจการเทสโก้ โลตัส ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่ใช้เม็ดเงินมูลค่าสูงถึง 3.38 แสนล้านบาท และเป็นประเด็นสำคัญ ทั้งในแง่บรรทัดฐานตามตัวบทกฎหมายป้องกันการผูกขาดและการพลิกกลยุทธ์รุกสงครามค้าปลีกของยักษ์ใหญ่ “ซีพี” ต้องยอมรับว่า ในอดีตประเทศไทยเกิดบิ๊กดีลค้าปลีกหลายครั้ง ทั้งกรณีบิ๊กซีซื้อกิจการคาร์ฟูร์ เม็ดเงินมูลค่า 35,500 ล้านบาท เมื่อปี 2553 ซีพี ออลล์ ฮุบค้าส่งแม็คโคร เงินลงทุนกว่า 1.88 แสนล้านบาท ในปี 2556 และกลุ่มเบอร์ลี่ยุคเกอร์ทุ่มทุนกว่า 2 แสนล้านบาท ซื้อกิจการบิ๊กซีเมื่อปี 2559 แต่ช่วงนั้นยังอยู่ภายใต้กฎหมายเดิม พ.ร.บ. แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ยังไม่มีกำหนดเกณฑ์การรวมธุรกิจและอำนาจเหนือตลาด หรือการผูกขาด ทำให้ทั้งสามดีลลอยลำยืนหนึ่งในธุรกิจค้าปลีก จนกระทั่งเกิดดีลล่าสุด เมื่อเครือซีพีชนะการประมูลซื้อกิจการเทสโก้ในประเทศไทยและมาเลเซีย ด้วยวงเงิน 10,576 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.38 แสนล้านบาท ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่ยังต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าชี้ขาดว่า การควบรวมกิจการจะเข้าข่ายการผูกขาดหรือการเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดหรือไม่

Read More

พลิกปูมเครือสารสาสน์ อาณาจักรธุรกิจหมื่นล้าน

กรณีครูประจำชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ จ. นนทบุรี ทำร้ายเด็กนักเรียนในห้องเรียนจนเกิดกระแสต่อต้านอย่างหนักและลุกลามตรวจสอบโรงเรียนในเครือสารสาสน์อีก 34 แห่ง กำลังเป็นปมปัญหาใหญ่สะเทือนอาณาจักรธุรกิจโรงเรียนเอกชนหลักหมื่นล้านของ “พิบูลย์ ยงค์กมล” ที่ปักหมุดรุกสร้างเครือข่ายมานานมากกว่า 50 ปี ปัจจุบันจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ระบุว่า เครือสารสาสน์เปิดดำเนินการโรงเรียนทั้งหมด 43 แห่ง มีทั้งที่ใช้ชื่อสารสาสน์และไม่ได้ใช้ชื่อสารสาสน์ กระจายอยู่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยเปิดการสอนตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาลถึงมัธยมศึกษาและเป็นโรงเรียนรูปแบบสองภาษา (Bilingual Program) จำนวน 23 แห่ง ที่เหลือสอนรูปแบบสามัญทั่วไป (ภาษาไทย) ขณะเดียวกัน ขยายกิจการวิทยาลัยระดับอาชีวศึกษา 2 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยสารสาสน์บริหารธุรกิจกนกอนุสรณ์และวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสาสน์ รวมทั้งเปิดสถาบันอุดมศึกษาอีก 1 แห่ง คือ สถาบันสารสาสน์เซนต์ปีเตอร์ แน่นอนว่า เครือสารสาสน์ก่อร่างสร้างอาณาจักรใช้เม็ดเงินไม่ต่ำกว่าหลักหมื่นล้านและรายได้ทั้งเครือแตะหลักพันล้านมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยเพจ SME From Zero to Hero เคยโพสต์ข้อมูลระบุตัวเลขกำไรของเครือสารสาสน์ย้อนไปตั้งแต่ปี 2556 มีกำไรกว่า

Read More

ไร้สัญญาณบวก เศรษฐกิจไทยทรุดต่อเนื่อง

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยยังไร้สัญญาณบวก หลังจากที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้สร้างบาดแผลและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งปัญหาการปิดกิจการของธุรกิจและความเปราะบางในตลาดแรงงาน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคและความเสี่ยงสำคัญต่อการฟื้นตัวในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะการปิดกิจการที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มหดตัวในระดับสูงต่อเนื่อง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก่อนหน้านี้ก็คือในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาพบว่าอัตราว่างงานไทยเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 1.95 ซึ่งนับเป็นอัตราสูงที่สุดในรอบ 11 ปี และรายได้ของแรงงานที่ยังมีงานทำ ก็มีแนวโน้มหดตัวลงมาก จากชั่วโมงการทำงานที่ลดลงร้อยละ 11.5 จากช่วงปกติ และงานโอทีที่หายไป ขณะที่มีแรงงานที่ต้องหยุดงานชั่วคราวเพิ่มขึ้นสูงถึง 2.5 ล้านคน สะท้อนความอ่อนแอของตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นบาดแผลที่ต้องใช้เวลาในการเยียวยา หากการปิดกิจการและการว่างงานเพิ่มขึ้นและยืดเยื้อ ย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้ การบริโภคและการลงทุน ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ แรงงานภาคบริการ ซึ่งสูญเสียตำแหน่งงาน หลังจากที่สถานประกอบการต้องปิดตัวลงหรือเลิกจ้างจากผลของการปิดเมือง และการจำกัดการเดินทาง ทำให้แรงงานกลุ่มนี้กลับไปสู่ภาคเกษตรสูงถึง 700,000 คน ซึ่งมีรายได้ต่ำกว่าเดิม และยังมีความเสี่ยงภัยแล้ง ขณะที่ข้อเรียกร้องที่จะให้รัฐเข้าไปดูแล ด้วยการเพิ่มศักยภาพการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ให้คนกลุ่มนี้ ดูจะเป็นกรณีที่ยากจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ มาตรการผ่อนคลายหลังการปิดเมือง รวมถึงมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยกำลังส่งสัญญาณการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2 (Bottomed out) หากแต่เมื่อกำลังจะสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 กลับมีข้อเท็จจริงบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลง

Read More

อสังหาฯ ไทยจะฟื้นตัวอย่างไร เมื่อเศรษฐกิจไทยซบเซา

คงไม่ผิดที่บรรดาผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยมักจะแสดงทัศนะต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันด้วยความคาดหวัง ว่ายังพอมองเห็นทิศทางการฟื้นตัว พร้อมทั้งเปรยถึงแผนการของโครงการใหม่ที่จะเปิดตัวในอนาคตอันใกล้ เพราะทัศนะและแผนการดังกล่าวย่อมส่งผลต่อทิศทางการขึ้นลงของตัวเลขบนกระดานในห้องค้าหุ้น ซึ่งสร้างให้เกิดความเชื่อใจต่อบรรดานักลงทุน แม้ว่าจะมีโครงการใหม่ที่หลายค่ายเตรียมจะเปิดตัวในไม่ช้าไม่นาน ทว่า ทุกโครงการล้วนแล้วแต่ดำเนินไปด้วยความรอบคอบ และระแวดระวังต่อสภาพการณ์ในปัจจุบัน ก่อนหน้าที่ไวรัสโควิด-19 จะระบาดไปทั่วโลก การเติบโตของตลาดอสังหาฯ ไทยพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงในเวลาเพียงไม่กี่ปี ทั้งกระแสความเป็นไปของตลาดที่ส่งสัญญาณว่า มีชาวต่างชาติให้ความสนใจมองหาที่อยู่อาศัยในเมืองไทยเพิ่มขึ้น รวมไปถึงไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่เริ่มสร้างตัวด้วยโครงการบ้านหลังแรก หรือบ้านหลังที่สองสำหรับผู้สูงอายุ ส่งผลให้หลายฝ่ายแสดงความกังวลว่า ตลาดอสังหาฯ ไทยในห้วงยามนั้นจะเข้าสู่วิกฤตฟองสบู่หรือไม่ เมื่อความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น จากภาวะหนี้ครัวเรือนที่ค่อยๆ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั่งอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญอุบัติขึ้นบนโลกใบนี้ และสร้างหายนะให้เกิดขึ้นในทุกแวดวง ไวรัสโควิด-19 สร้างแรงฉุดให้เกิดขึ้นจนทุกตลาดต้องหาทางรับมือ ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แต่ต้องมองข้ามช็อตไปถึงการอยู่รอดด้วย ตลาดอสังหาฯ นับว่าเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบรวดเร็วและรุนแรง ศูนย์วิเคราะห์วิจัยเศรษฐกิจหลายแห่งประเมินไปในทิศทางเดียวกันว่า อสังหาฯ ไทยอาจต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวให้กลับมาสู่สถานการณ์ปกติก่อนเกิดวิกฤตโควิดอย่างน้อย 2-3 ปี ธุรกิจอสังหาฯ ถูกยึดโยงกับกำลังซื้อของผู้บริโภค ในขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคผูกติดภาวะหนี้ครัวเรือน และความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ แน่นอนว่าเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ต้องเผชิญกับปัจจัยลบรอบด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 ในช่วง 5 เดือนแรก อัตราการจองซื้อที่อยู่อาศัยใหม่หดหัว 75 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยปรับลดลง 3.4 เปอร์เซ็นต์ สำหรับช่วงเวลาที่เหลือของครึ่งปีหลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ทิศทางการซื้อขายที่อยู่อาศัยในช่วงที่เหลือของปีน่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์

Read More