Home > ย้ายฐานการผลิต

เศรษฐกิจไทยไร้แรงดึงดูด ต่างชาติปิดโรงงาน-ย้ายฐาน

ข่าวการปิดโรงงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำนวนมากในประเทศไทย แม้ว่าในด้านหนึ่งจะเป็นผลจากพิษการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งในมิติของกิจการด้านสาธารณสุข และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดการชะลอตัว ขณะที่ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ของกระบวนการผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรมต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงัน การประเมินของกลไกรัฐว่าด้วยการปิดโรงงานของผู้ประกอบการแต่ละรายดูจะยึดโยงและผูกพันอยู่กับฐานคิดที่ว่าการปิดโรงงานของผู้ประกอบการเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้กำลังซื้อลดลงและมีความจำเป็นต้องลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยที่ละเลยหรือมองข้ามผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแรงงานจำนวนมากที่ต้องพ้นจากสภาพการจ้างงานและมีแนวโน้มที่ต้องเสี่ยงกับการตกงานและว่างงานยาวนานนับจากนี้ ข้อมูลที่น่าสนใจจากสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งปรากฏเป็นรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่งปี 2563 ระบุว่าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.03 มีผู้ว่างงานเกือบ 4 แสนคน และคาดว่าในปีนี้มีแรงงานที่เสี่ยงถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน ขณะที่แรงงานจบใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน 5.2 แสนคนอาจไม่มีงานทำ รายงานภาวะสังคมไทยฉบับดังกล่าวซึ่งเผยแพร่สู่สาธารณะ เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ยังระบุว่าแม้อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ แต่การจ้างงานลดลงอย่างต่อเนื่องและค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง การประเมินว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะส่งผลให้แรงงานมีความเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าแรงงานในภาคการท่องเที่ยวซึ่งมีประมาณ 3.9 ล้านคน ไม่รวมสาขาการค้าส่งและการค้าปลีก จะได้รับผลกระทบจากการลดลงของนักท่องเที่ยวต่างชาติและการท่องเที่ยวในประเทศ ประมาณ 2.5 ล้านคน แรงงานในภาคอุตสาหกรรมซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าตั้งแต่ก่อน COVID-19 ระบาดและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน จากการลดลงของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ แรงงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด 5.9 ล้านคน คาดว่ามีผู้ได้รับผลกระทบ 1.5 ล้านคน ขณะที่การจ้างงานในภาคบริการอื่นที่ไม่ใช่การท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ที่ประกอบด้วยการปิดสถานที่ต่างๆ

Read More

โรงงานญี่ปุ่นย้ายฐานสู่เวียดนาม อุตสาหกรรมไทยไร้แรงดึงดูด?

การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกได้รับบทเรียนสำคัญ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม แน่นอนว่าเหตุผลดังกล่าวแม้ไม่ใช่ทั้งหมดของปัจจัยอันนำไปสู่การออกนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่น ที่พร้อมจะสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในการย้ายฐานผลิตออกจากประเทศจีน เมื่อการระบาดของไวรัสในจีนส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมต้องชะงักงันจากมาตรการปิดประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง และส่งผลกระทบด้าน Supply chain ต่อประเทศคู่ค้าอื่นๆ การลดการพึ่งพาจีนจึงดูจะเป็นทางออกที่ดีจากบทเรียนครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นอาศัยจังหวะเวลานี้ ประกาศใช้นโยบายสนับสนุนด้านการเงินแก่บริษัทญี่ปุ่นเพื่อย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีน เพื่อกลับมาลงทุนในประเทศบ้านเกิดและในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระแสข่าวดังกล่าวทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยที่กำลังตั้งลำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC เริ่มมีประกายความหวังว่า ในอนาคตอันใกล้จะมีนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นตบเท้าเข้ามาในพื้นที่นี้มากขึ้น ทว่า สัญญาณการเบนเข็มของโรงงานญี่ปุ่นที่จะมาไทยนั้นเริ่มเบาบางลง นับตั้งแต่มีข่าวการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตออกจากไทยไปสู่เวียดนามของ Panasonic ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะมาจากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้นของแรงงานไทย ขณะที่อีกเหตุผลหนึ่งคือ Panasonic เองมีฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในเวียดนามอยู่ก่อนแล้ว ข้อมูลจาก Nikkei Asian Review ระบุว่า การย้ายฐานการผลิตของ Panasonic สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างโรงงานในพื้นที่ใหม่ของบริษัทญี่ปุ่น เพราะช่วงศตวรรษที่ 70 (พ.ศ. 2513-2522) บริษัทญี่ปุ่นเริ่มย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศมายังสิงคโปร์และมาเลเซีย เพราะค่าเงินเยนแข็ง แต่เมื่อค่าแรงในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น ไทยจึงเป็นเป้าหมายลำดับถัดมา และปัจจุบันหลายบริษัทกำลังย้ายออกจากประเทศไทย โดยภายในปี 2563 Panasonic จะทยอยหยุดการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยลง เช่น เครื่องซักผ้าที่จะหยุดผลิตในเดือนกันยายน และตู้เย็นในเดือนตุลาคม ก่อนจะปิดโรงงานในเดือนมีนาคม ปี 2564 ซึ่งนั่นจะส่งผลให้พนักงานในโรงงานแห่งนี้ถูกเลิกจ้างราว 800

Read More

สมาร์ทไทยแลนด์ บนกระแส Industrial 4.0

ภาพยนตร์ต่างชาติที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ หรือจักรกลสังหาร ครั้งหนึ่งเป็นเพียงจินตนาการของผู้ประพันธ์หรือผู้เขียนบท ที่จะสร้างตัวละครหุ่นยนต์เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่ผู้ชม หากแต่ในวันนี้ที่ยุคสมัยกำลังเดินทางสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำสมัย ทำให้เรื่องที่เคยเป็นเพียงจินตนาการกลายเป็นเรื่องจริง แน่นอนว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหุ่นยนต์ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งเคยเกิดขึ้น แต่ความพยายามที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ในโลกแห่งความจริงนั้นมีมาให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีล้ำหน้าและก้าวแซงหลายๆ ประเทศ AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เริ่มมีบทบาทและแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมบางประเภทที่ปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้ถูกออกแบบให้สามารถทำงานทดแทนแรงงานคนได้ นัยหนึ่งของการมาถึงของยุคปัญญาประดิษฐ์ ไม่ใช่เพียงหลักฐานที่บ่งบอกถึงความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์เพื่อทุ่นแรงงานคนเท่านั้น หากแต่เป็นการย้ำเตือนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่มีนัยที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยต่อประเด็นที่ว่า เหล่า AI กำลังเข้ามาแทนที่แรงงานคนในอุตสาหกรรมหรืองานบางประเภท นั่นน่าจะนำมาซึ่งความวิตกกังวลว่า ในอนาคตข้างหน้าแรงงานคนจะเป็นอย่างไร เมื่อเหล่า AI ที่ถูกพัฒนามานั้นคล้ายกับว่ากำลังแย่งงานของมนุษย์ สำหรับบางคนอาจจะประเมินและมองเห็นถึงข้อดีต่อการถือกำเนิดของยุคปัญญาประดิษฐ์ว่า เมื่อมนุษย์สามารถใช้ AI ทำงานแทนได้แล้ว นั่นจะทำให้นักคิดนักพัฒนาทั้งหลายมีเวลามากขึ้นในการสร้างสรรค์หรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาต่อไป แต่แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถเป็นนักคิดนักพัฒนาได้ กระแสการมาของ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ น่าจะสร้างความตื่นตัวรวมไปถึงความวิตกกังวลต่อผู้คนที่แวดล้อมอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย ที่ตัวเลขเงินลงทุนรวมไปถึงนักลงทุนที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ถือเป็นรายได้สำคัญของประเทศ และที่สำคัญคือไทยมีทรัพยากรหลักอย่าง “แรงงานคน” ที่แม้จะเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในระบบ แต่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเครื่องจักรตัวใหญ่ เมื่อไม่นานมานี้ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตัดสินใจจะย้ายฐานการผลิตกลับประเทศญี่ปุ่นของบางแบรนด์ ก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองไม่น้อย เมื่อมองถึงเหตุผลของการตัดสินใจของแบรนด์ชื่อดังอย่าง Casio ก็พบว่า มีด้วยกันหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของไทยที่จะอนุมัติใช้ในวันที่ 1 เมษายนนี้

Read More