Home > Cover Story (Page 66)

“เจริญ” เดินหน้าอสังหาฯ แสนล้าน ดัน “เดอะปาร์ค” วัดดวงสู้วิกฤต

ทีซีซีกรุ๊ปของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ตัดสินใจเดินหน้าโครงการอสังหาริมทรัพย์แสนล้าน ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่เหล่ากูรูต่างฟันธงอัตราจีดีพีไทยมีสิทธิ์ติดลบทะลุตัวเลขสองหลัก หากเกิดการแพร่ระบาดระลอกสองของเชื้อโควิด-19 โดยล่าสุดเผยโฉม เดอะ ปาร์ค ไลฟ์ (The PARQ Life) ปลุกจุดขายไลฟ์สไตล์รีเทล ตามแผนสร้างย่านธุรกิจขนาดใหญ่บนถนนพระราม 4 ซึ่งปักหมุดไว้ตั้งแต่อาคาร FYI Center อาคาร ThaiBev Quarter และตามด้วยการเร่งพลิกโฉมศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ขณะเดียวกันเมื่อจิ๊กซอว์ทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ทั้งเดอะปาร์ค เฟส 2 จะมีพื้นที่สำนักงานระดับพรีเมียมเพิ่มเติม โรงแรมหรือเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ เน้นให้บริการกลุ่มนักธุรกิจและผู้คนที่เดินทางมาประชุมสัมมนาที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ซึ่งจะเปิดให้บริการในรูปลักษณ์ใหม่ ขยายพื้นที่การจัดงานเพิ่มขึ้นจาก 20,000 ตารางเมตร เป็น 70,000 ตารางเมตร จะปลุกกระแสต่อยอดไปถึงอภิมหาโครงการ วัน แบงค็อก ที่เตรียมประเดิมเปิดเฟสแรกในปี 2566 เป้าหมายใหญ่ คือ วัน แบงค็อก ภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย)

Read More

ท่องเที่ยวไทยอ่วม ถึงเวลาต้องปรับตัว

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งคุกคามสังคมโลกและยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติลงโดยง่ายเช่นในปัจจุบันนี้ นอกจากจะส่งผลให้ธุรกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไปต้องปรับตัวให้สอดรับกับวิถีใหม่ หรือ New Normal เพื่อที่จะขับเคลื่อนต่อไปข้างหน้าแทนที่จะหยุดนิ่งเหมือนช่วงที่ผ่านมา อาจให้ภาพของความคลี่คลายในสถานการณ์ หากแต่ในความเป็นจริงอนาคตที่วางอยู่เบื้องหน้าดูจะอึมครึมและปราศจากสัญญาณเชิงบวกอยู่ไม่น้อย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจสำหรับเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลจากการแพร่ระบาดซึ่งเริ่มต้นในช่วงปลายของไตรมาสที่ 1 ส่งผลให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 กลายเป็นไตรมาสที่ย่ำแย่ที่สุด เนื่องเพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งระบบหยุดชะงัก การผลิตและการส่งออกไม่สามารถกระทำได้ ซึ่งเมื่อเริ่มมีการผ่อนปรนมาตรการป้องกันให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลากหลายเริ่มกลับมาดำเนินการได้ภายใต้มาตรการที่คลี่คลายลง ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะพ้นจุดต่ำสุดและกำลังจะฟื้นตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ หากแต่ในความเป็นจริงตลอดช่วงเวลาของไตรมาสที่ 3 ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายนพร้อมกับการสิ้นสุดปีงบประมาณ สถานการณ์โดยรอบกลับไม่ได้บ่งชี้ถึงสัญญาณการฟื้นตัวมากนัก มิหนำซ้ำยังมีลักษณะที่พร้อมจะจมดิ่งไปหาจุดต่ำสุดใหม่ได้ตลอดเวลาอีกด้วย เพราะแม้หลายฝ่ายจะพยายามปลอบประโลมว่าด้วยการทยอยฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่นั่นก็อาจใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี หรืออาจยาวนานถึง 5 ปีนับจากนี้ เหตุที่เป็นดังนี้ในด้านหนึ่งก็เนื่องเพราะประเทศไทยพึ่งพารายได้จากการส่งออกที่ผูกพันกับกำลังซื้อของคู่ค้าในต่างประเทศ ซึ่งหากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้นตัวโอกาสที่จะมีคำสั่งซื้อก็จะชะลอตัวต่อไป ขณะเดียวกันด้วยเหตุที่ไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก ความหวังที่ว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาเดินทางสร้างรายได้ให้กับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องก็อาจต้องใช้เวลานานไม่ต่ำกว่า 2 ปี การคาดการณ์ในลักษณะดังกล่าวตั้งอยู่บนฐานความคิดที่ว่า หลักประกันความปลอดภัยจาก COVID-19 โดยเฉพาะวัคซีนยังไม่มีการพัฒนาได้สำเร็จ โดยหลายฝ่ายประเมินเบื้องต้นว่าวัคซีนที่ได้ผลในการจัดการกับ COVID-19 น่าจะคิดค้นได้เร็วที่สุดภายในเดือนกันยายนปีหน้า และกว่าที่วัคซีนจะเข้าถึงประชากรส่วนใหญ่ทั่วโลกและประเทศกำลังพัฒนา ก็น่าจะยาวนานไปจนถึงปี 2022 ดังนั้น แนวโน้มที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่เทียบเท่าก่อนเกิดการระบาด ก็น่าจะอยู่ในช่วงปลายปี 2022 หรืออีกประมาณ 2 ปีนับต่อจากนี้ ก่อนหน้านี้

Read More

เตรียมพร้อมสู่จุดต่ำสุดใหม่? เมื่อเศรษฐกิจไทยไร้เข็มทิศ

ข่าวการลาออกของ ปรีดี ดาวฉาย จากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาหลังจากที่เข้ารับตำแหน่งได้เพียง 21 วัน กำลังเป็นภาพสะท้อนการทำงานของรัฐและเป็นระเบิดเวลาที่พร้อมจะเปิดเผยให้เห็นข้อเท็จจริงที่กลไกรัฐพยายามปิดซ่อนไว้ โดยเฉพาะประเด็นว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ทรุดหนัก ขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองก็มาถึงจุดที่ความเชื่อมั่นหดหายจนยากที่จะลากยาวต่อไป ความไม่เชื่อมั่น ที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในหมู่ภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการและหวังให้รัฐดำเนินมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ด้วยการเร่งแก้ไขปัญหาและนำเสนอมาตรการเพิ่มเติมอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้สถานการณ์ COVID-19 เท่านั้นหากแต่การลาออกดังกล่าวได้นำไปสู่ความเคลือบแคลงสงสัยในศักยภาพของรัฐในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ที่ดูจะกลายเป็นประเด็นรองนอกเหนือจากการคงอำนาจทางการเมืองที่ดูจะเป็นประเด็นหลักในความคิดคำนึงของพวกเขาไปแล้ว ภาพสะท้อนจากการลาออกดังกล่าวได้ส่งผลกระทบที่ชัดเจนต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ นักลงทุนและประชาชนวงกว้าง ขณะที่ประเด็นว่าด้วยผู้ที่จะมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในทีมเศรษฐกิจจะมีทิศทางและนโยบายในการแก้ไขสถานการณ์เศรษฐกิจที่ทรุดต่ำลงนี้อย่างไร การลาออกอย่างเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมต่างคาดหมายไปในทิศทางที่เชื่อว่าเกิดจากปัญหาความไม่เป็นเอกภาพของทีมเศรษฐกิจ และความไม่เป็นอิสระในการทำงาน ซึ่งเป็นกรณีที่น่าเป็นห่วง เพราะวิกฤตที่เกิดขึ้นจากการระบาด COVID-19 ครั้งนี้ส่งผลกระทบหนักหน่วงกว่าวิกฤตอื่นๆ ที่ได้เผชิญมา โดยเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะถดถอย และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทีมเศรษฐกิจต้องร่วมมือกันทำงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาขยายตัวเร็วที่สุด ก่อนหน้านี้ ปรีดี ดาวฉาย ซึ่งเคยทำงานอยู่ในคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ได้รับเสียงตอบรับจากภาคเอกชนไม่น้อย เพราะต่างเชื่อว่าจะมีเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจ และอาจเรียกว่ามีทัศนคิดไปในทิศทางเดียวกับภาคเอกชน จึงมั่นใจว่าด้วยตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะสามารถนำเสนอมาตรการและผลักดันนโยบายให้สอดรับกับสถานการณ์ขณะนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการคัดสรรบุคคลมารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คนใหม่จึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย โดยนอกจากประสบการณ์ด้านการเงินแล้ว ควรมองและประเมินภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคได้อย่างชัดเจน มิเช่นนั้นอาจกลายเป็นผู้สร้างปัญหามากกว่าที่จะผู้แก้ปัญหาเศรษฐกิจไปในที่สุด ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ช่วงเวลาระหว่างการรอให้มีการแต่งตั้งบุคคลมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน โดยอาจเกิดการชะลอการลงทุน เพราะเดิมนักลงทุนประเมินว่า ปรีดีจะมาเป็นตัวเชื่อมรอยต่อของทีมเศรษฐกิจชุดเดิมที่ปูรากฐานการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไว้ หรือล่าสุดที่รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ออกมา

Read More

“ข้าวสาร” 128 ปี ถนนแห่งแสงสีและการเปลี่ยนผ่าน

พื้นที่เขตพระนคร มีถนนหลายสายที่ล้วนแต่มีเรื่องราวเล่าขานจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ความเป็นมาหรือตำนานมากมาย นั่นรวมไปถึงถนนสายเล็กๆ ที่อยู่คู่ขนานกับถนนราชดำเนิน ที่มีระยะทางสั้นโดยประมาณ 400 เมตรอย่าง ถนนข้าวสาร ที่เพียงแค่ชื่อก็สามารถเล่าขานสตอรี่ได้อย่างมีนัย การเดินทางของถนนข้าวสาร จากที่เคยเป็นหมุดหมายสำคัญทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ข้าวสาร” เมื่อร้อยกว่าปีก่อน ถนนแห่งนี้เคยเป็นแหล่งค้าข้าวสารที่ถูกขนส่งมาทางเรือและขึ้นเทียบท่าบางลำพู ก่อนจะนำมาขายที่นี่ 128 ปี ถนนข้าวสารจากยุครุ่งเรืองทางการค้า แหล่งจำหน่ายสินค้าที่เป็นปัจจัยสำคัญของคนไทย กระทั่งวัฒนธรรมตะวันตกค่อยๆ คืบคลานเข้ามาอย่างช้าๆ แต่ค่อยๆ กลืนกินวิถีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่บนถนนแห่งนี้จนเหลือไว้เพียงภาพความทรงจำที่แตกต่างกันของคนแต่ละรุ่น ภาพจำของถนนข้าวสารในรุ่นปู่ย่าตาทวด คงมีแต่เรื่องเล่าขานเกี่ยวกับเส้นทางการค้า ย่านธุรกิจที่ขายข้าวสารอาหารแห้งที่ใหญ่ที่สุดในเขตพระนคร พ่อค้าแม่ขายทั้งคนไทยและคนจีนจากโพ้นทะเล เรื่องเก่าที่ยังเล่าขานกันอย่างสนุก กาลเวลายังคงหมุนเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และส่งภาพจำใหม่ๆ มาสู่เด็กรุ่นหลัง ยุคที่โทรศัพท์มือถือคืออวัยวะชิ้นที่ 33 แม้ถนนข้าวสารจะยังคงเป็นถนนสายเดิม ระยะทางไม่ต่างจากเดิม แต่ร้านรวงที่ครั้งหนึ่งเคยจำหน่ายข้าวสาร ถูกเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ กระทั่งปัจจุบันถนนเส้นนี้กลายเป็นถนนที่อัดแน่นไปด้วยสถานบันเทิงยามราตรี ผับ บาร์ จุดนัดพบทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และเป็นถนนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเพณีสงกรานต์ในยุคดิจิทัล แต่ละช่วงวัยของผู้คน ล้วนแต่มีภาพจำที่แตกต่างกันไป ทว่า ห้วงยามนี้ ศักราชนี้ ภาพจำที่คล้ายสร้างความเจ็บช้ำให้แก่ผู้ประกอบการย่านถนนข้าวสารคือ ความทุกข์ระทม ความเปลี่ยวเหงา ซบเซา ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ

Read More

ตลาดอีคอมเมิร์ซโตไม่หยุด สวนกระแสธุรกิจพังหลัง COVID-19

การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อหลายภาคธุรกิจจนถึงขั้นที่อาจต้องยุติหรือเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก หากแต่ในอีกด้านหนึ่งของเหรียญ พบว่าธุรกิจ E-commerce กลับดำเนินไปในท่วงทำนองที่ตรงข้ามและสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงเวลาของสถานการณ์ยากลำบากที่ผ่านมา และมีแนวโน้มจะขยายตัวต่อไปไม่หยุด ภายใต้สถานการณ์ที่รัฐดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดด้วยการสั่งปิดเมืองและปิดห้างและศูนย์การค้า พร้อมกับเชิญชวนให้ประชาชนอยู่บ้านเพื่อหยุดโรคได้กลายเป็นแรงผลักดันให้คนไทยหันมา shopping online มากขึ้น และทำให้มูลค่าของธุรกิจช้อปออนไลน์ในปี 2563 คาดว่าจะสูงถึง 220,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4-5 ของมูลค่าค้าปลีกทั้งประเทศ และนับเป็นการเติบโตขึ้นร้อยละ 35 จากปี 2562 ซึ่งมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 163,300 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของมูลค่าค้าปลีกทั้งประเทศ ประเด็นที่น่าสนใจจากกรณีดังกล่าวอยู่ที่แม้คนไทยจะช้อปปิ้งออนไลน์สูงขึ้น แต่ยังถือว่ามีสัดส่วนจากมูลค่าค้าปลีกที่ไม่มากนักเมื่อเทียบประเทศอื่นโดยในปี 2562 ช้อปปิ้งออนไลน์ของจีน มีสัดส่วนร้อยละ 25 จากมูลค่าค้าปลีก ขณะที่สหราชอาณาจักร มีสัดส่วนร้อยละ 22 จากมูลค่าค้าปลีก เกาหลีใต้ มีสัดส่วนร้อยละ 22 จากมูลค่าค้าปลีก ส่วนที่สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนร้อยละ 11 จากมูลค่าค้าปลีก ญี่ปุ่น มีสัดส่วนที่ร้อยละ

Read More

สถาบันการเงินปรับตัว เสริมสภาพคล่อง ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน

สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงชะงักงัน อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงไม่คลี่คลาย และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้น ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายเล็กและเอสเอ็มอี หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งสถาบันการเงินและภาครัฐต่างเร่งเสริมสภาพคล่องเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่รอบด้าน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ แถลงสภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ของปี 2563 พบจีดีพี -12.2% ต่อปี ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1 ที่ผ่านมา และคาดว่าทั้งปีจะปรับตัวลดลง -7.8% ถึง -7.3% ซึ่งลดลงจากเดิมที่คาดไว้ว่าจะหดตัวอยู่ที่ -5.5% ต่อปี สถานการณ์การจ้างงานไตรมาส 2 ผู้มีงานทำมีจำนวน 37.1 ล้านคน โดยตัวเลขการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 7.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.95% เพิ่มขึ้น 1 เท่าจากอัตราว่างงานปกติ ถือเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2552 โดยสาเหตุหลักมาจากการเลิกจ้างและธุรกิจปิดกิจการ ฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจไตรมาส 2

Read More

เศรษฐกิจไทยยังมีหวังอยู่ไหม? ภายใต้การเปลี่ยนแปลงรายวัน

ผู้ประกอบการภาคเอกชนเพิ่งผ่านช่วงเวลาวิกฤตที่สร้างบาดแผลสาหัสสากรรจ์ และอยู่ในช่วงกำลังพักฟื้นเพื่อเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ท่ามกลางความหวังอันริบหรี่ นั่นเพราะเศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องพึ่งพิงตลาดต่างชาติอยู่ไม่น้อย แม้ภาครัฐจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างต่อเนื่องก็ตาม และอีกหนึ่งปัจจัยที่น่าจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชนคือ การผลัดเปลี่ยนตำแหน่งเก้าอี้รัฐมนตรีเศรษฐกิจหลัก ที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติและภาคเอกชนไทย เป็นการสั่นคลอนเสถียรภาพความมั่นคงทางเศรษฐกิจไทยอยู่ไม่น้อย ว่าภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะสรรหามือดีคนต่อไปจากไหนเข้ามารับตำแหน่งสำคัญนี้ กระทั่งการตอบตกลงรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของ นายปรีดี ดาวฉาย ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารกสิกรไทย และประธานสมาคมธนาคารไทย คล้ายปลุกความหวังให้เกิดขึ้นอีกครั้งแก่ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ แต่ภายในเวลาไม่ถึงเดือน ข่าวที่เรียกว่า “ช็อก” คนไทย ผู้ซึ่งกำลังกอบความหวังที่เคยร่วงหล่นไปกลับขึ้นมา นั่นคือ ข่าวการลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของนายปรีดี ดาวฉาย หลังจากเข้ารับตำแหน่งไม่ถึงเดือน แม้กระทรวงการคลังจะไม่ใช่คีย์แมนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่สิ่งที่อาจเกิดขึ้นจากความตั้งใจของเจ้าตัวนั้น คล้ายกับเป็นการบอกใบ้ว่า คนดีที่มีฝีมือที่เป็นเหมือนผู้จุดไฟแห่งความหวัง ว่าเศรษฐกิจไทยจะมีโอกาสถูกนำพาไปข้างหน้าภายใต้บุคคลที่มีความสามารถจริงๆ ไม่อาจนั่งอยู่ในตำแหน่งนี้ได้ ไม่ว่าเบื้องหลังจะมีเหตุผลใดๆ ก็ตาม โดยเจ้าตัวให้เหตุผลที่ตัดสินใจลาออกว่ามีปัญหาด้านสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแบบรายวัน ทั้งทางด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจโลก ส่งผลต่อเศรษฐกิจในทุกระดับชั้น เมื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ได้สร้างความมั่นคงหรือความมั่นใจให้เกิดขึ้นได้เลย นอกเหนือไปจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศที่ยังเป็นศูนย์อย่างต่อเนื่อง ทว่าประเทศอื่นๆ ในโลกยังคงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่และสะสมอยู่ในระดับสูง ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสำคัญในระบบแรงงานไทยกลับมีตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงขึ้นจนน่ากังวล เพราะการลักลอบเข้ามาค้าแรงงานในประเทศไทยโดยอาศัยเส้นทางธรรมชาติ ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเร่งกวดขันกันอย่างเต็มกำลัง เพื่อสกัดกั้นไม่ให้ผู้ติดเชื้อหรือผู้ที่มีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อเข้ามาภายในประเทศไทยได้ ปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงของนักลงทุนไทย ผู้ประกอบการ หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไปที่ยังระวังการใช้จ่ายมากกว่าเดิม ในช่วงเดือนสิงหาคมที่สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในบางประเทศเริ่มเข้าสู่สถานการณ์ที่พอจะคลายความกังวลลงได้บ้าง นั่นทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและภาคบริการ มีความหวังว่าไทยและอีกหลายประเทศอาจเปิดประเทศในลักษณะทราเวลบับเบิล เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจการท่องเที่ยวสามารถกลับมาฟื้นตัวได้

Read More

ซีอาร์ซีเขย่ายกแผง จัดทัพ “ท็อปส์-แฟมิลี่มาร์ท” เร่งสปีด

กลุ่มเซ็นทรัลกำลังเร่งเคลื่อนทัพ Food Retail หวังปลุกรายได้โค้งสุดท้ายก่อนปิดปี 2563 และปูทางลุยสงครามค้าปลีกในปี 2564 ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังต้องลุ้นฝ่าปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ทั้งประเด็นการเมือง ม็อบนักเรียนนักศึกษาขยายวง ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และน้ำท่วมใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างหนักหน่วง ขณะเดียวกัน ภายใต้โครงสร้างธุรกิจหลักของบริษัทเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีอาร์ซี” ทั้ง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มแฟชั่นรีเทล จำหน่ายสินค้าเครื่่องแต่งกายและเครื่่องประดับ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ซูเปอร์สปอร์ต เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้ง และห้างสรรพสินค้ารีนาเชนเต ในประเทศอิตาลี กลุ่มฮาร์ดไลน์รีเทล จำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าตกแต่งและปรับปรุุงบ้าน ได้แก่ ไทวัสดุุ บ้านแอนด์บียอนด์ เพาเวอร์บาย และเหงียนคิม เครือข่ายร้านจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขนาดกลาง-ใหญ่ ในประเทศเวียดนาม สุดท้าย คือ กลุ่มฟู้ดรีเทล จำหน่ายสินค้าอุุปโภคบริโภคและสินค้าทั่วไป ได้แก่ เซ็นทรัลฟู้ดฮอลล์ ท็อปส์ แฟมิลี่มาร์ท บิ๊กซีเวียดนาม และลานชีมาร์ท เครือข่ายไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็กถึงกลางในพื้นที่ชานเมืองและชนบทของประเทศเวียดนาม ต้องถือว่า

Read More

จับตาแผนเปิดประเทศ ดึงท่องเที่ยวปลุกกำลังซื้อสุดฤทธิ์

ในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจเตรียมเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในเดือนตุลาคม โดยออกมายอมรับว่า ถ้าไม่ทำอะไรเลย สถานการณ์จะหนักกว่านี้ สถานประกอบการปิด ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง ขณะที่รัฐบาลไม่มีเม็ดเงินช่วยเหลือประชาชนได้ทั้งหมด มิหนำซ้ำกำลังเจอวิกฤตรายได้ประเทศ การเก็บภาษีหลุดเป้าหมาย สาเหตุสำคัญมาจากแผนกระตุ้นกำลังภายในประเทศส่อแววล้มเหลว แม้มีการแจกเงินช่วยเหลือให้ประชาชนหลายกลุ่ม แต่เป็นการชดเชยผลกระทบจากโควิด-19 กำลังซื้อไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่ขาดรายได้มากว่า 4-5 เดือน ทั้งการปิดกิจการชั่วคราวและการเลิกจ้าง ขณะเดียวกันโครงการปลุกการท่องเที่ยวในประเทศ “เราเที่ยวด้วยกัน” ที่เปิดให้ลงทะเบียนผ่าน http://www.เราเที่ยวด้วยกัน.com ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม มีผู้ลงทะเบียนราว 4.92 ล้านคน ลงทะเบียนสำเร็จ 4.67 ล้านคน แต่มีการจองโรงแรมและจ่ายเงิน 625,606 ห้อง จากจำนวนสิทธิ์ทั้งหมด 5 ล้านสิทธิ์ คิดเป็นเม็ดเงินเพียง 1,874.9 ล้านบาท จนกระทั่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องอัดฉีดเพิ่มวันพักจากเดิม 5 วัน เป็น 10 วัน และช่วยเหลือค่าตั๋วเครื่องบินจากเดิมไม่เกินคนละ 1,000 บาท เป็นคนละไม่เกิน

Read More

ศึกจีสโตร์ เซ็นทรัล-ซีพี เมื่อ “ท็อปส์เดลี่” ต้องชน “เซเว่นฯ”

หลังจากเสียกิจการบิ๊กซีในประเทศไทยให้กับเครือทีซีซีของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ล่าสุด กลุ่มเซ็นทรัลเปิดฉากรุกแนวรบ G-store (Gas Station Store) อีกครั้ง โดยดัน 2 แบรนด์ในพอร์ต ทั้งมินิซูเปอร์มาร์เก็ต “ท็อปส์เดลี่” และร้านสะดวกซื้อ “แฟมิลี่มาร์ท” ลุยสถานีบริการน้ำมันบางจาก เสียบแทนคอนวีเนียนสโตร์ข้ามชาติจากเนเธอร์แลนด์ “สพาร์ (SPAR)” ทันทีที่ยุติสัญญาและปิดสาขาในประเทศไทยทั้ง 46 แห่ง ล่าสุด ใช้เวลาไม่ถึง 1 เดือน บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล เร่งสปีดเปิดสาขาท็อปส์ เดลี่ ในปั๊มบางจากไปแล้ว 11 แห่ง ได้แก่ สาขาบางจาก รามอินทรา กม. 7 บางบัวทอง ราชพฤกษ์ ร่มเกล้า เอ็มอาร์ที คลองบางไผ่ ศรีนครินทร์ ปากช่อง กาญจนาภิเษก-บางบอน เอโอที-สุวรรณภูมิ พระราม

Read More