Home > Cover Story (Page 64)

นับถอยหลังบิ๊กดีล ซีพีฮุบเทสโก้ จับตามติบอร์ดแข่งขันฯ ชี้ชะตา

นับถอยหลังอีกไม่ถึงเดือน คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.) จะต้องสรุปชี้ขาดบิ๊กดีลการเข้าซื้อกิจการเทสโก้ โลตัส ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่ใช้เม็ดเงินมูลค่าสูงถึง 3.38 แสนล้านบาท และเป็นประเด็นสำคัญ ทั้งในแง่บรรทัดฐานตามตัวบทกฎหมายป้องกันการผูกขาดและการพลิกกลยุทธ์รุกสงครามค้าปลีกของยักษ์ใหญ่ “ซีพี” ต้องยอมรับว่า ในอดีตประเทศไทยเกิดบิ๊กดีลค้าปลีกหลายครั้ง ทั้งกรณีบิ๊กซีซื้อกิจการคาร์ฟูร์ เม็ดเงินมูลค่า 35,500 ล้านบาท เมื่อปี 2553 ซีพี ออลล์ ฮุบค้าส่งแม็คโคร เงินลงทุนกว่า 1.88 แสนล้านบาท ในปี 2556 และกลุ่มเบอร์ลี่ยุคเกอร์ทุ่มทุนกว่า 2 แสนล้านบาท ซื้อกิจการบิ๊กซีเมื่อปี 2559 แต่ช่วงนั้นยังอยู่ภายใต้กฎหมายเดิม พ.ร.บ. แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ยังไม่มีกำหนดเกณฑ์การรวมธุรกิจและอำนาจเหนือตลาด หรือการผูกขาด ทำให้ทั้งสามดีลลอยลำยืนหนึ่งในธุรกิจค้าปลีก จนกระทั่งเกิดดีลล่าสุด เมื่อเครือซีพีชนะการประมูลซื้อกิจการเทสโก้ในประเทศไทยและมาเลเซีย ด้วยวงเงิน 10,576 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.38 แสนล้านบาท ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่ยังต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าชี้ขาดว่า การควบรวมกิจการจะเข้าข่ายการผูกขาดหรือการเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดหรือไม่

Read More

พลิกปูมเครือสารสาสน์ อาณาจักรธุรกิจหมื่นล้าน

กรณีครูประจำชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ จ. นนทบุรี ทำร้ายเด็กนักเรียนในห้องเรียนจนเกิดกระแสต่อต้านอย่างหนักและลุกลามตรวจสอบโรงเรียนในเครือสารสาสน์อีก 34 แห่ง กำลังเป็นปมปัญหาใหญ่สะเทือนอาณาจักรธุรกิจโรงเรียนเอกชนหลักหมื่นล้านของ “พิบูลย์ ยงค์กมล” ที่ปักหมุดรุกสร้างเครือข่ายมานานมากกว่า 50 ปี ปัจจุบันจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ระบุว่า เครือสารสาสน์เปิดดำเนินการโรงเรียนทั้งหมด 43 แห่ง มีทั้งที่ใช้ชื่อสารสาสน์และไม่ได้ใช้ชื่อสารสาสน์ กระจายอยู่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยเปิดการสอนตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาลถึงมัธยมศึกษาและเป็นโรงเรียนรูปแบบสองภาษา (Bilingual Program) จำนวน 23 แห่ง ที่เหลือสอนรูปแบบสามัญทั่วไป (ภาษาไทย) ขณะเดียวกัน ขยายกิจการวิทยาลัยระดับอาชีวศึกษา 2 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยสารสาสน์บริหารธุรกิจกนกอนุสรณ์และวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสาสน์ รวมทั้งเปิดสถาบันอุดมศึกษาอีก 1 แห่ง คือ สถาบันสารสาสน์เซนต์ปีเตอร์ แน่นอนว่า เครือสารสาสน์ก่อร่างสร้างอาณาจักรใช้เม็ดเงินไม่ต่ำกว่าหลักหมื่นล้านและรายได้ทั้งเครือแตะหลักพันล้านมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยเพจ SME From Zero to Hero เคยโพสต์ข้อมูลระบุตัวเลขกำไรของเครือสารสาสน์ย้อนไปตั้งแต่ปี 2556 มีกำไรกว่า

Read More

ไร้สัญญาณบวก เศรษฐกิจไทยทรุดต่อเนื่อง

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยยังไร้สัญญาณบวก หลังจากที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้สร้างบาดแผลและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งปัญหาการปิดกิจการของธุรกิจและความเปราะบางในตลาดแรงงาน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคและความเสี่ยงสำคัญต่อการฟื้นตัวในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะการปิดกิจการที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มหดตัวในระดับสูงต่อเนื่อง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก่อนหน้านี้ก็คือในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาพบว่าอัตราว่างงานไทยเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 1.95 ซึ่งนับเป็นอัตราสูงที่สุดในรอบ 11 ปี และรายได้ของแรงงานที่ยังมีงานทำ ก็มีแนวโน้มหดตัวลงมาก จากชั่วโมงการทำงานที่ลดลงร้อยละ 11.5 จากช่วงปกติ และงานโอทีที่หายไป ขณะที่มีแรงงานที่ต้องหยุดงานชั่วคราวเพิ่มขึ้นสูงถึง 2.5 ล้านคน สะท้อนความอ่อนแอของตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นบาดแผลที่ต้องใช้เวลาในการเยียวยา หากการปิดกิจการและการว่างงานเพิ่มขึ้นและยืดเยื้อ ย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้ การบริโภคและการลงทุน ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ แรงงานภาคบริการ ซึ่งสูญเสียตำแหน่งงาน หลังจากที่สถานประกอบการต้องปิดตัวลงหรือเลิกจ้างจากผลของการปิดเมือง และการจำกัดการเดินทาง ทำให้แรงงานกลุ่มนี้กลับไปสู่ภาคเกษตรสูงถึง 700,000 คน ซึ่งมีรายได้ต่ำกว่าเดิม และยังมีความเสี่ยงภัยแล้ง ขณะที่ข้อเรียกร้องที่จะให้รัฐเข้าไปดูแล ด้วยการเพิ่มศักยภาพการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ให้คนกลุ่มนี้ ดูจะเป็นกรณีที่ยากจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ มาตรการผ่อนคลายหลังการปิดเมือง รวมถึงมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยกำลังส่งสัญญาณการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2 (Bottomed out) หากแต่เมื่อกำลังจะสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 กลับมีข้อเท็จจริงบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลง

Read More

อสังหาฯ ไทยจะฟื้นตัวอย่างไร เมื่อเศรษฐกิจไทยซบเซา

คงไม่ผิดที่บรรดาผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยมักจะแสดงทัศนะต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันด้วยความคาดหวัง ว่ายังพอมองเห็นทิศทางการฟื้นตัว พร้อมทั้งเปรยถึงแผนการของโครงการใหม่ที่จะเปิดตัวในอนาคตอันใกล้ เพราะทัศนะและแผนการดังกล่าวย่อมส่งผลต่อทิศทางการขึ้นลงของตัวเลขบนกระดานในห้องค้าหุ้น ซึ่งสร้างให้เกิดความเชื่อใจต่อบรรดานักลงทุน แม้ว่าจะมีโครงการใหม่ที่หลายค่ายเตรียมจะเปิดตัวในไม่ช้าไม่นาน ทว่า ทุกโครงการล้วนแล้วแต่ดำเนินไปด้วยความรอบคอบ และระแวดระวังต่อสภาพการณ์ในปัจจุบัน ก่อนหน้าที่ไวรัสโควิด-19 จะระบาดไปทั่วโลก การเติบโตของตลาดอสังหาฯ ไทยพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงในเวลาเพียงไม่กี่ปี ทั้งกระแสความเป็นไปของตลาดที่ส่งสัญญาณว่า มีชาวต่างชาติให้ความสนใจมองหาที่อยู่อาศัยในเมืองไทยเพิ่มขึ้น รวมไปถึงไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่เริ่มสร้างตัวด้วยโครงการบ้านหลังแรก หรือบ้านหลังที่สองสำหรับผู้สูงอายุ ส่งผลให้หลายฝ่ายแสดงความกังวลว่า ตลาดอสังหาฯ ไทยในห้วงยามนั้นจะเข้าสู่วิกฤตฟองสบู่หรือไม่ เมื่อความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น จากภาวะหนี้ครัวเรือนที่ค่อยๆ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั่งอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญอุบัติขึ้นบนโลกใบนี้ และสร้างหายนะให้เกิดขึ้นในทุกแวดวง ไวรัสโควิด-19 สร้างแรงฉุดให้เกิดขึ้นจนทุกตลาดต้องหาทางรับมือ ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แต่ต้องมองข้ามช็อตไปถึงการอยู่รอดด้วย ตลาดอสังหาฯ นับว่าเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบรวดเร็วและรุนแรง ศูนย์วิเคราะห์วิจัยเศรษฐกิจหลายแห่งประเมินไปในทิศทางเดียวกันว่า อสังหาฯ ไทยอาจต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวให้กลับมาสู่สถานการณ์ปกติก่อนเกิดวิกฤตโควิดอย่างน้อย 2-3 ปี ธุรกิจอสังหาฯ ถูกยึดโยงกับกำลังซื้อของผู้บริโภค ในขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคผูกติดภาวะหนี้ครัวเรือน และความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ แน่นอนว่าเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ต้องเผชิญกับปัจจัยลบรอบด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 ในช่วง 5 เดือนแรก อัตราการจองซื้อที่อยู่อาศัยใหม่หดหัว 75 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยปรับลดลง 3.4 เปอร์เซ็นต์ สำหรับช่วงเวลาที่เหลือของครึ่งปีหลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ทิศทางการซื้อขายที่อยู่อาศัยในช่วงที่เหลือของปีน่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์

Read More

ถึงคราวผู้ค้าออนไลน์ไทยปรับตัว เมื่อทุนจีนเข้าชิงส่วนแบ่งเค้ก

ดูจะเป็นความท้าทายสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไทยไม่น้อยในห้วงยามนี้ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคนานานัปการที่ถาโถมเข้ามาไม่หยุดหย่อน ทั้งการถดถอยของเศรษฐกิจโลก การล็อกดาวน์ประเทศจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดในช่วงเวลาหนึ่ง สภาวะเศรษฐกิจที่คนไทยเริ่มพาตัวเองเข้าสู่รูปแบบการใช้ชีวิตที่รัดเข็มขัดมากขึ้น และการถูกรุกคืบจากทุนจีนในหลายตลาด สัปดาห์ก่อนมีประเด็นที่ถูกพูดถึงอยู่ในโลกออนไลน์ถึงกรณีที่ว่า ทุนจีนเข้ามารุกตลาดค้าออนไลน์ในไทยซึ่งน่าจะสร้างผลกระทบต่อผู้ค้าออนไลน์ไม่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าที่ประกอบธุรกิจขายสินค้าด้วยการเปิดพรีออเดอร์จากต่างประเทศ เพื่อนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในไทย การกินส่วนต่างกำไรจากค่าหิ้วหรือค่าดำเนินการ นับเป็นรายได้ที่ทำให้ผู้ค้าไทยยังคงดำเนินธุรกิจอยู่ได้ แม้จะใช้เวลาในการรอสินค้านานร่วมเดือนหรือมากกว่านั้น ทว่า เมื่อทุนจีนมองเห็นช่องโหว่ดังกล่าว อันนำมาซึ่งการสร้างช่องทางการเข้ามาขยายฐานธุรกิจ เพื่อหารส่วนแบ่งเค้กก้อนใหญ่นี้ ต้องยอมรับว่า ส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อวงการค้าออนไลน์ในไทย เป็นเพราะว่า ต่างชาติเข้ามาเปิดตลาดการค้าบนโลกออนไลน์ในไทยมากขึ้น ทั้ง Lazada, Shopee, JD Central และการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มหันมาชอปทางออนไลน์มากขึ้น รวมไปถึงข้อตกลง FTA ระหว่างไทยจีน ที่ทำให้การนำเข้าสินค้าจากจีนไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า หากมูลค่าของสินค้าอยู่ภายใต้เงื่อนไขรายละเอียดในข้อตกลงเขตการค้าเสรี นอกจากนี้ ตัวเลขมูลค่าตลาด E-Commerce ไทยในปี 2019 ที่มีมูลค่าสูงถึง 163,300 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยหันมาชอปปิงผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น แม้ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาไวรัสโควิด-19 จะเริ่มระบาดแล้วก็ตาม ขณะที่ Priceza ประเมินจากสถานการณ์ในปีนี้ว่า ตลาด E-Commerce ไทยปี 2020 อาจพุ่งสูงถึง 220,000 ล้านบาท ยังมีอีกข้อมูลจากไพรซ์ซ่าที่น่าสนใจระบุว่า ตลาด E-Commerce

Read More

คอมมูนิตี้มอลล์ฟื้น ตลาดนัดเทรนด์ใหม่ผุดพรึ่บ

ผลพวงจากวิกฤตโควิด-19 กลายเป็นจุดพลิกฟื้นค้าปลีกกลุ่มคอมมูนิตี้มอลล์และตลาดนัดกลางคืนแนวใหม่ บรรยากาศชิคๆ เพิ่มไลฟ์สไตล์ มีจุดแฮงก์เอาต์ เล่นดนตรี จนสร้างจุดเช็กอินมาแรงแซงหน้าศูนย์การค้าขนาดใหญ่แบบเดิมๆ และการตอบโจทย์พฤติกรรมการจับจ่ายยุค New Normal โดยเฉพาะประเด็นความเสี่ยงเรื่องการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสอันตรายระลอกสอง ล่าสุด มีนักลงทุนแห่ผุดโครงการคอมมูนิตี้มอลล์เพิ่มขึ้นหลายแห่ง ขณะที่โครงการที่เปิดให้บริการก่อนช่วงโควิดยังดึงดูดผู้เช่าและกลุ่มลูกค้า หลังทางการคลายล็อกเต็มรูปแบบ เนื่องจากเจ้าของร้านค้าเช่าส่วนใหญ่ต้องปรับลดพื้นที่รองรับจำนวนลูกค้าที่ลดลงและรักษามาตรฐานตามมาตรการ Social Distancing โดยปรับโหมดสู่โมเดลขนาดกลางและขนาดเล็ก เน้นบริการดีลิเวอรี่มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับศูนย์การค้าประเภทคอมมูนิตี้มอลล์ ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์และตลาดนัด ทั้งอัตราค่าเช่าที่ไม่แพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่และบรรยากาศกลางแจ้งช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กลุ่มลูกค้าอีกส่วนหนึ่ง ข้อมูลจากบริษัทวิจัยอสังหาริมทรัพย์ ซีบีอาร์อี (ประเทศไทย) ระบุว่า การรักษาระยะห่างทางสังคมถือเป็นมาตรฐานใหม่ในธุรกิจ ศูนย์การค้ากึ่งในร่มและกลางแจ้งที่ลูกค้าสามารถเพลิดเพลินกับอากาศบริสุทธิ์ ป๊อปอัปสโตร์ หรือรูปแบบโครงการค้าปลีกที่แปลกใหม่ เพิ่มพื้นที่สันทนาการ เช่น พื้นที่สีเขียว ที่นั่งกลางแจ้ง พื้นที่สำหรับสัตว์เลี้ยง พื้นที่หอประชุม พื้นที่บนดาดฟ้า และลู่วิ่งจ๊อกกิ้ง สถานที่รูปแบบใหม่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกถึงความปลอดภัยและมีส่วนร่วมมากขึ้น ขณะเดียวกัน กลุ่มร้านค้าปลีก โดยเฉพาะธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม แฟชั่น เครื่องสำอาง ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เน้นรูปแบบอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งธุรกิจที่ปรับตัวเร็วที่สุด คือ กลุ่มฟาสต์ฟู้ดต่างลดโซนพื้นที่นั่ง เพิ่มขนาดห้องครัวและพื้นที่รับส่งอาหาร ร้านอาหารบรรยากาศนั่งสบายที่มีขนาดใหญ่ต่างลดขนาดพื้นที่เช่า คาดการณ์ร้านค้าปลีกมีแนวโน้มลดพื้นที่ลง

Read More

แห่ถอย “ฟูดทรัค” สู้วิกฤตตกงาน ส. ขอนแก่น ลุยแฟรนไชส์รถ “แซ่บ”

การกระโดดเข้ามาเร่งสปีดแฟรนไชส์ Food Truck ของแบรนด์อาหารไทยยักษ์ใหญ่อย่าง “ส. ขอนแก่น” โดยประเดิม 2 แบรนด์หลักในเครืออย่าง “แซ่บ” และ “ข้าวขาหมูยูนนาน” สะท้อนความร้อนแรงและกระแสการเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดเซกเมนต์ฟูดทรัค โดยตัวเลขประมาณการเบื้องต้นระบุว่า ทั่วประเทศมีจำนวนฟูดทรัคมากกว่า 1,500 คัน จากแบรนด์ต่างๆ มากกว่า 600 กิจการ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ คร่าวๆ สูงถึง 1,350 ล้านบาท ที่สำคัญ ในสถานการณ์เศรษฐกิจที่กดดันให้กิจการต่างๆ เลิกจ้างคนงานไม่ต่ำกว่า 2-3 ล้านคน และผู้คนมากกว่า 12 ล้านคน จะมีรายได้ลดลงจากการตัดเงินเดือน ตัดโอที ตัดรายได้พิเศษต่างๆ ส่งผลให้หลายคนเร่งหาอาชีพเสริม ยิ่งทำให้ฟูดทรัคกลายเป็นช่องทางทำมาหากินยอดนิยม เนื่องจากเป็นกิจการรูปแบบเชิงรุกเคลื่อนที่เข้าหากลุ่มลูกค้า สอดรับกับพฤติกรรมการบริโภคแบบ New Normal รวมทั้งหลายบริษัทยังเน้นให้พนักงาน Work from Home เพื่อประหยัดต้นทุนด้วย ชนินทร์ วัฒนพฤกษา ประธานและผู้ก่อตั้งฟู้ดทรัค คลับ

Read More

“เจริญ” เดินหน้าอสังหาฯ แสนล้าน ดัน “เดอะปาร์ค” วัดดวงสู้วิกฤต

ทีซีซีกรุ๊ปของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ตัดสินใจเดินหน้าโครงการอสังหาริมทรัพย์แสนล้าน ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่เหล่ากูรูต่างฟันธงอัตราจีดีพีไทยมีสิทธิ์ติดลบทะลุตัวเลขสองหลัก หากเกิดการแพร่ระบาดระลอกสองของเชื้อโควิด-19 โดยล่าสุดเผยโฉม เดอะ ปาร์ค ไลฟ์ (The PARQ Life) ปลุกจุดขายไลฟ์สไตล์รีเทล ตามแผนสร้างย่านธุรกิจขนาดใหญ่บนถนนพระราม 4 ซึ่งปักหมุดไว้ตั้งแต่อาคาร FYI Center อาคาร ThaiBev Quarter และตามด้วยการเร่งพลิกโฉมศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ขณะเดียวกันเมื่อจิ๊กซอว์ทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ทั้งเดอะปาร์ค เฟส 2 จะมีพื้นที่สำนักงานระดับพรีเมียมเพิ่มเติม โรงแรมหรือเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ เน้นให้บริการกลุ่มนักธุรกิจและผู้คนที่เดินทางมาประชุมสัมมนาที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ซึ่งจะเปิดให้บริการในรูปลักษณ์ใหม่ ขยายพื้นที่การจัดงานเพิ่มขึ้นจาก 20,000 ตารางเมตร เป็น 70,000 ตารางเมตร จะปลุกกระแสต่อยอดไปถึงอภิมหาโครงการ วัน แบงค็อก ที่เตรียมประเดิมเปิดเฟสแรกในปี 2566 เป้าหมายใหญ่ คือ วัน แบงค็อก ภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย)

Read More

ท่องเที่ยวไทยอ่วม ถึงเวลาต้องปรับตัว

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งคุกคามสังคมโลกและยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติลงโดยง่ายเช่นในปัจจุบันนี้ นอกจากจะส่งผลให้ธุรกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไปต้องปรับตัวให้สอดรับกับวิถีใหม่ หรือ New Normal เพื่อที่จะขับเคลื่อนต่อไปข้างหน้าแทนที่จะหยุดนิ่งเหมือนช่วงที่ผ่านมา อาจให้ภาพของความคลี่คลายในสถานการณ์ หากแต่ในความเป็นจริงอนาคตที่วางอยู่เบื้องหน้าดูจะอึมครึมและปราศจากสัญญาณเชิงบวกอยู่ไม่น้อย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจสำหรับเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลจากการแพร่ระบาดซึ่งเริ่มต้นในช่วงปลายของไตรมาสที่ 1 ส่งผลให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 กลายเป็นไตรมาสที่ย่ำแย่ที่สุด เนื่องเพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งระบบหยุดชะงัก การผลิตและการส่งออกไม่สามารถกระทำได้ ซึ่งเมื่อเริ่มมีการผ่อนปรนมาตรการป้องกันให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลากหลายเริ่มกลับมาดำเนินการได้ภายใต้มาตรการที่คลี่คลายลง ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะพ้นจุดต่ำสุดและกำลังจะฟื้นตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ หากแต่ในความเป็นจริงตลอดช่วงเวลาของไตรมาสที่ 3 ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายนพร้อมกับการสิ้นสุดปีงบประมาณ สถานการณ์โดยรอบกลับไม่ได้บ่งชี้ถึงสัญญาณการฟื้นตัวมากนัก มิหนำซ้ำยังมีลักษณะที่พร้อมจะจมดิ่งไปหาจุดต่ำสุดใหม่ได้ตลอดเวลาอีกด้วย เพราะแม้หลายฝ่ายจะพยายามปลอบประโลมว่าด้วยการทยอยฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่นั่นก็อาจใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี หรืออาจยาวนานถึง 5 ปีนับจากนี้ เหตุที่เป็นดังนี้ในด้านหนึ่งก็เนื่องเพราะประเทศไทยพึ่งพารายได้จากการส่งออกที่ผูกพันกับกำลังซื้อของคู่ค้าในต่างประเทศ ซึ่งหากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้นตัวโอกาสที่จะมีคำสั่งซื้อก็จะชะลอตัวต่อไป ขณะเดียวกันด้วยเหตุที่ไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก ความหวังที่ว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาเดินทางสร้างรายได้ให้กับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องก็อาจต้องใช้เวลานานไม่ต่ำกว่า 2 ปี การคาดการณ์ในลักษณะดังกล่าวตั้งอยู่บนฐานความคิดที่ว่า หลักประกันความปลอดภัยจาก COVID-19 โดยเฉพาะวัคซีนยังไม่มีการพัฒนาได้สำเร็จ โดยหลายฝ่ายประเมินเบื้องต้นว่าวัคซีนที่ได้ผลในการจัดการกับ COVID-19 น่าจะคิดค้นได้เร็วที่สุดภายในเดือนกันยายนปีหน้า และกว่าที่วัคซีนจะเข้าถึงประชากรส่วนใหญ่ทั่วโลกและประเทศกำลังพัฒนา ก็น่าจะยาวนานไปจนถึงปี 2022 ดังนั้น แนวโน้มที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่เทียบเท่าก่อนเกิดการระบาด ก็น่าจะอยู่ในช่วงปลายปี 2022 หรืออีกประมาณ 2 ปีนับต่อจากนี้ ก่อนหน้านี้

Read More

เตรียมพร้อมสู่จุดต่ำสุดใหม่? เมื่อเศรษฐกิจไทยไร้เข็มทิศ

ข่าวการลาออกของ ปรีดี ดาวฉาย จากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาหลังจากที่เข้ารับตำแหน่งได้เพียง 21 วัน กำลังเป็นภาพสะท้อนการทำงานของรัฐและเป็นระเบิดเวลาที่พร้อมจะเปิดเผยให้เห็นข้อเท็จจริงที่กลไกรัฐพยายามปิดซ่อนไว้ โดยเฉพาะประเด็นว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ทรุดหนัก ขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองก็มาถึงจุดที่ความเชื่อมั่นหดหายจนยากที่จะลากยาวต่อไป ความไม่เชื่อมั่น ที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในหมู่ภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการและหวังให้รัฐดำเนินมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ด้วยการเร่งแก้ไขปัญหาและนำเสนอมาตรการเพิ่มเติมอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้สถานการณ์ COVID-19 เท่านั้นหากแต่การลาออกดังกล่าวได้นำไปสู่ความเคลือบแคลงสงสัยในศักยภาพของรัฐในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ที่ดูจะกลายเป็นประเด็นรองนอกเหนือจากการคงอำนาจทางการเมืองที่ดูจะเป็นประเด็นหลักในความคิดคำนึงของพวกเขาไปแล้ว ภาพสะท้อนจากการลาออกดังกล่าวได้ส่งผลกระทบที่ชัดเจนต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ นักลงทุนและประชาชนวงกว้าง ขณะที่ประเด็นว่าด้วยผู้ที่จะมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในทีมเศรษฐกิจจะมีทิศทางและนโยบายในการแก้ไขสถานการณ์เศรษฐกิจที่ทรุดต่ำลงนี้อย่างไร การลาออกอย่างเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมต่างคาดหมายไปในทิศทางที่เชื่อว่าเกิดจากปัญหาความไม่เป็นเอกภาพของทีมเศรษฐกิจ และความไม่เป็นอิสระในการทำงาน ซึ่งเป็นกรณีที่น่าเป็นห่วง เพราะวิกฤตที่เกิดขึ้นจากการระบาด COVID-19 ครั้งนี้ส่งผลกระทบหนักหน่วงกว่าวิกฤตอื่นๆ ที่ได้เผชิญมา โดยเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะถดถอย และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทีมเศรษฐกิจต้องร่วมมือกันทำงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาขยายตัวเร็วที่สุด ก่อนหน้านี้ ปรีดี ดาวฉาย ซึ่งเคยทำงานอยู่ในคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ได้รับเสียงตอบรับจากภาคเอกชนไม่น้อย เพราะต่างเชื่อว่าจะมีเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจ และอาจเรียกว่ามีทัศนคิดไปในทิศทางเดียวกับภาคเอกชน จึงมั่นใจว่าด้วยตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะสามารถนำเสนอมาตรการและผลักดันนโยบายให้สอดรับกับสถานการณ์ขณะนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการคัดสรรบุคคลมารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คนใหม่จึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย โดยนอกจากประสบการณ์ด้านการเงินแล้ว ควรมองและประเมินภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคได้อย่างชัดเจน มิเช่นนั้นอาจกลายเป็นผู้สร้างปัญหามากกว่าที่จะผู้แก้ปัญหาเศรษฐกิจไปในที่สุด ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ช่วงเวลาระหว่างการรอให้มีการแต่งตั้งบุคคลมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน โดยอาจเกิดการชะลอการลงทุน เพราะเดิมนักลงทุนประเมินว่า ปรีดีจะมาเป็นตัวเชื่อมรอยต่อของทีมเศรษฐกิจชุดเดิมที่ปูรากฐานการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไว้ หรือล่าสุดที่รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ออกมา

Read More