Home > นักท่องเที่ยวจีน

“ฟาร์อีสท์ เฟมไลน์ ดีดีบี กรุ๊ป” แท็กทีม “แมงโก้ ไชน่ากรุ๊ป” เปิดกลยุทธ์เด็ดพิชิตใจลูกค้าจีน

“ฟาร์อีสท์ เฟมไลน์ ดีดีบี กรุ๊ป” แท็กทีม “แมงโก้ ไชน่ากรุ๊ป” เปิดกลยุทธ์เด็ดพิชิตใจลูกค้าจีน ปั้นแบรนด์ธุรกิจไทยมุ่งเจาะตลาดนักท่องเที่ยวจีนรับกำลังซื้อเพิ่มในอนาคต การท่องเที่ยวไทยคึกคัก ส่งผลกำลังซื้อจากนักท่องเที่ยวเติบโตเพิ่มขึ้น “ฟาร์อีสท์ เฟมไลน์ ดีดีบี กรุ๊ป” เผยกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางเข้ามาในไทยมีกำลังซื้อสูง มองเห็นโอกาสตลาด ล่าสุดแท็กทีม “แมงโก้ ไชน่ากรุ๊ป” เปิดกลยุทธ์เด็ดพิชิตใจลูกค้าจีนด้วยการทำตลาดออนไลน์ที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้า พร้อมปั้นแบรนด์คนไทยเติบโตในตลาดนักท่องเที่ยวจีน รองรับกำลังซื้อเพิ่มสูงต่อเนื่องในอนาคต นางเกษแก้ว อิทธิกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟาร์อีสท์ เฟมไลน์ ดีดีบี จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจด้าน Communication & Marketing เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ จากนักท่องเที่ยวจีน มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ โดยจากข้อมูลกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ กลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซีย และจีน เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเจาะลึกพบว่าแนวโน้มนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคนรุ่นใหม่ ที่มีรูปแบบการเที่ยวในเชิงไลฟ์สไตล์มากขึ้น

Read More

ทัวร์จีนเข้าไทยเศรษฐกิจฟื้น นักท่องเที่ยวอินเดียยกเลิกตั๋ว

นับจากการผ่อนคลายมาตรการของรัฐบาลจีนตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา กฎระเบียบการกักตัวสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ รวมถึงการจำกัดจำนวนผู้โดยสารเที่ยวบินระหว่างประเทศ ทำให้ชาวจีนจำนวนไม่น้อยเริ่มดำเนินการต่ออายุหนังสือเดินทางและติดต่อทำหนังสือเดินทางอีกครั้ง แต่นอนว่ามาตรการดังกล่าวย่อมส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยที่มักจะเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวจีน ขณะที่ไทยเองใช้มาตรการต้อนรับชาวจีนไม่แตกต่างจากนักท่องเที่ยวจากยุโรปหรือชาติอื่นๆ นั่นเพราะเล็งเห็นสัมพันธภาพที่ดีที่ไทยและจีนมีต่อกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งอาจรวมถึงมาตรการตอบกลับจากจีนที่จะไม่ส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวไทย หากไทยเพิ่มมาตรการเพื่อเฝ้าระวังมากขึ้นหรือเข้มข้นกว่านักท่องเที่ยวชาติอื่น การค้นหาข้อมูลการท่องเที่ยวในประเทศไทยของชาวจีนในช่วงเวลาที่จีนประกาศใช้มาตรการ ทำให้ภาคการท่องเที่ยวเอกชนต่างขานรับนโยบายของภาครัฐ และเร่งดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวจีน ที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากนี้ ในขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยวไทยในปี 2566 นี้ จะปรากฏชัดเจนขึ้นในช่วงไตรมาส 2 และน่าจะก้าวกระโดดมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งจะแปรผันตามการขยายเส้นทางการบินและความถี่ของเที่ยวบินระหว่างจีนกับไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น ศาลท้าวมหาพรหม วัดพระแก้ว นักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้จะยังไม่เท่ากับช่วงก่อนโควิดก็ตาม แต่ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวจีนเริ่มออกเดินทางท่องเที่ยวทันทีหลังจีนประกาศใช้มาตรการใหม่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาประมาณ 4.65 ล้านคน หรือประมาณ 42% ของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนในปี 2562 ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวรวมอยู่ที่ 25.5 ล้านคน ขณะที่การใช้จ่ายของชาวต่างชาติเที่ยวไทยสร้างรายได้สู่ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1.07 ล้านล้านบาท ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตนี้ ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ขึ้นมาอยู่ที่ 3.7% จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 3.2% นอกจากนี้ การเปิดประเทศของจีนน่าจะส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทยเช่นกัน เมื่อชาวจีนสามารถเดินทางและออกมาจับจ่ายได้เป็นปกติ น่าจะเป็นผลให้ความต้องการสินค้าไทยสูงขึ้น

Read More

เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ความหวังสุดท้ายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

มติของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. ที่เห็นชอบมาตรการเปิดประเทศ สำหรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourist VISA: STV) แบบ “จำกัดจำนวน” ตามที่กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ โดยจะเป็นการเปิดประเทศแบบจำกัด ด้วยการจำกัดเฉพาะนักท่องเที่ยวประเภท “พิเศษ” ที่จะมาพำนักอยู่ในประเทศไทยระยะยาวไม่ต่ำกว่า 90-270 วัน ในด้านหนึ่งอาจถือเป็นจุดเริ่มต้นของการออกเดินหน้าเพื่อฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจท่องเที่ยวของไทยให้ดำเนินต่อไปได้ หลังจากที่ต้องหยุดชะงักมานานเพราะการระบาดของไวรัส COVID-19 หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง มติดังกล่าวดูจะตั้งอยู่ท่ามกลางการเล็งผลเลิศที่อาจไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของสถานการณ์โดยรอบ เพราะหลังจากที่มีการเปิดเผยว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจากมณฑลกว่างโจวเดินทางมาประเทศไทย ในวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ซึ่งนับเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรหลังจากไทยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการประกาศเลื่อนการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยไปเป็นวันที่ 25 ตุลาคมแทน ความสับสนในการออกมาตรการที่ดำเนินไปท่ามกลางเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติหากต้องการจะเดินทางมายังประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นความประสงค์จะเดินทางมาพำนักระยะยาว หรือลองสเตย์ ภายในประเทศไทย การยอมรับที่จะปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข ที่ประกาศใช้ภายในประเทศไทย และตกลงยินยอมกักตัวในห้องพักจำนวน 14 วัน รวมถึงการมีหลักฐานสถานที่พักอาศัยระยะยาวภายในประเทศไทย โดยเฉพาะหลักฐานการชำระเงินค่าโรงแรมที่พัก หรือโรงพยาบาลที่พักภายในประเทศไทย ดูจะเป็นเงื่อนไขที่ไม่ได้สอดรับกับความพร้อมของทั้งผู้ประกอบการและความกังวลใจของประชาชนในพื้นที่ การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจควรคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เพราะประชาชนในจังหวัดท่องเที่ยว อาจไม่ได้เห็นด้วยกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวทั้งหมด ความกังวลใจของพวกเขายังผูกพันอยู่กับมายาภาพที่ ศบค. ได้สร้างไว้ตลอดระยะเวลา 6-7

Read More

งดค่าวีซ่า-กระตุ้นเมืองรอง ทางรอดธุรกิจท่องเที่ยวไทย?

ความพยายามของกลไกภาครัฐที่จะกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งผูกพันหนักหน่วงอยู่กับภาคอุตสาหกรรมการส่งออกและธุรกิจการท่องเที่ยวดูเหมือนจะเข้าสู่เส้นทางที่ตีบตันลงมากขึ้น ทั้งจากผลของสภาพเศรษฐกิจระดับโลก ที่กำลังเผชิญกับการคุกคามจากสงครามการค้ารอบใหม่ ที่นำไปสู่การกีดกันทางการค้า และภาวะชะลอตัวอย่างกว้างขวาง ขณะที่ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวต้องเผชิญกับความไม่มั่นใจของนักท่องเที่ยวจากจีน ซึ่งนับเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ที่เคยเป็นปัจจัยหนุนนำให้การท่องเที่ยวไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงที่ผ่านมา ท่ามกลางเสียงคร่ำครวญของผู้ประกอบการ ซึ่งแม้ในห้วงปัจจุบันจะนับเป็นฤดูการท่องเที่ยวแล้ว แต่จำนวนนักท่องเที่ยวในภาพรวมก็ยังไม่ได้กระเตื้องขึ้นมากนัก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวและยอดจองห้องพักในจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าไม่มีการจองการท่องเที่ยวจากกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนมากเหมือนเช่นที่ผ่านมาในอดีต ทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ซึ่งเคยพลุกพล่านและหนาแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวจีน ตกอยู่ในภาวะซบเซา และสร้างความหวั่นวิตกให้กับผู้คนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของเชียงใหม่อย่างมาก สถานการณ์การท่องเที่ยวของเชียงใหม่ด้วยการประเมินจากยอดการจองทัวร์ การใช้บริการรถบัสโดยสาร ปริมาณการจองห้องพัก นับตั้งแต่เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาพบว่า นักท่องเที่ยวชาวจีนลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง หรือหายไปในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ขณะที่ในเดือนพฤศจิกายนปริมาณการจองทัวร์ของนักท่องเที่ยวชาวจีนเพื่อเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ก็ดำเนินไปอย่างเบาบาง ก่อนหน้านี้เชียงใหม่นับเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอีกแห่งของนักท่องเที่ยวจีน โดยในช่วงปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวจีนหลั่งไหลเข้าสู่เชียงใหม่มากถึง 2 ล้านคน ซึ่งสามารถสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ทั้งในมิติของผู้ประกอบการร้านอาหาร โรงแรม กิจการขนส่ง และการให้บริการทัวร์ แต่ด้วยสถานการณ์ความไม่เชื่อมั่นในปัจจุบัน ดูเหมือนลมหายใจทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบการเหล่านี้กำลังดำเนินไปโดยความรวยริน ภาวะลดน้อยถอยลงของนักท่องเที่ยวจีนเข้าสู่ประเทศไทย เป็นกรณีที่มีผลสืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อครั้งเกิดเหตุเรือนักท่องเที่ยวจีนล่มที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในความปลอดภัยอย่างหนักหน่วง ในขณะที่คำชี้แจงจากภาครัฐจนถึงขณะปัจจุบันก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนทั้งในมิติของสาเหตุและในกรณีของผู้ที่ต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์สลดในครั้งนั้น ส่วนเงินชดเชยที่รัฐจัดสรรให้กับเหยื่อผู้ประสบภัยก็เป็นเพียงมาตรการเยียวยาที่ไม่สามารถเรียกคืนความเชื่อมั่นในเรื่องสวัสดิภาพและมาตรฐานความปลอดภัยในธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยให้เป็นที่น่าพึงพอใจสำหรับผู้ประกอบการ ตัวแทน และนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้เลย ยังไม่รวมภาพลักษณ์ด้านลบที่มีผลต่อการท่องเที่ยวไทยโดยตรง ทั้งกรณีการทำร้ายร่างกายนักท่องเที่ยวโดยเจ้าหน้าที่ของไทยที่ท่าอากาศยาน หรือการฉวยโอกาสเอาเปรียบนักท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบการ และข่าวเชิงลบอื่นๆ ที่แพร่สะพัดออกไปยังสื่อนานาชาติอย่างกว้างขวาง ที่ทำให้ความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยตกต่ำไปโดยปริยาย ภายใต้กลไกรัฐที่พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่เป็นระยะ ทำให้ในช่วงที่ผ่านมานโยบายว่าด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ถูกนำเสนอออกมาอย่างต่อเนื่อง ในด้านหนึ่งด้วยหวังว่า ความเป็นไปของเมืองรองเหล่านี้จะช่วยหนุนเสริมให้ระบบเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นพัฒนาและฟื้นตัวขึ้น ขณะเดียวกันนโยบายส่งเสริมเมืองรองยังดำเนินไปท่ามกลางความเชื่อและคาดหวังว่าอาจเป็นส่วนเติมเต็มให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวภายในประเทศ และเป็นเหตุให้รัฐบาล คสช. เห็นชอบที่จะกำหนดให้บุคคลสามารถนำค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวเมืองรอง 55

Read More

ปัจจัยทัวร์จีน ดัชนีชี้วัด GDP ไทย

ภาพนักท่องเที่ยวจีนที่เดินกันขวักไขว่ตามสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของไทย เช่น พระบรมมหาราชวัง ในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใหญ่ๆ อย่างเชียงใหม่ และภูเก็ต ที่นักท่องเที่ยวจำนวนมากเลือกเป็นจุดหมายปลายทาง กลายเป็นภาพจำไปแล้วสำหรับคนไทย เมื่อช่วงเวลาหนึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว เมืองไทยได้รับความสนใจและกลายเป็น destination ของนักท่องเที่ยวจีน อาจจะมาจากภาพยนตร์เรื่อง Lost in Thailand ที่ฉายในไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2556 นับเป็นการจุดพลุการท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นๆ ประกอบ ทั้งค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวไทยที่ราคาไม่แพง ภาคการบริการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล หรือที่นักท่องเที่ยวจีนเคยให้เหตุผลน่าฟังว่า “คนไทยใจดี” ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่นักท่องเที่ยวจีนค่อยๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้นนั้น ด้านหนึ่งต้องยอมรับว่านอกจากจะเป็นการกระพือชื่อเสียงการเป็นเมืองท่องเที่ยวและสร้างความนิยมให้กับเมืองไทยแล้ว สิ่งที่ตามมาคือเรื่องรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทั้งในแง่ของผู้ประกอบการท่องเที่ยว และแน่นอนว่านั่นคือรายได้ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน หากดูจากสถิติเมื่อปี 2560 จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศไทยมีจำนวน 9,805,753 คน และสร้างรายได้มากถึง 524,451.03 ล้านบาท นับว่าทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากนักท่องเที่ยวจีนถือเป็นอันดับหนึ่งของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยมากที่สุด และนั่นทำให้ในปี 2561 ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยสูงถึง 10.5 ล้านคน กระทั่งโศกนาฏกรรมเรือฟินิกซ์ล่มที่จังหวัดภูเก็ต กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ลดทอนความเชื่อมั่นในสวัสดิภาพของนักท่องเที่ยวที่มีต่อเมืองไทยลง จำนวนนักท่องเที่ยวจีนจึงค่อยๆ ลดจำนวนลง นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเปลี่ยนเส้นทางไปยังประเทศอื่นในเอเชีย เช่น เรื่องโรคไข้เลือดออกระบาด พฤติกรรมไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสนามบิน

Read More

การท่องเที่ยวทรุด ฉุดเศรษฐกิจไทยร่วง?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าฟันเฟืองที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้นั้นมีอยู่เพียงไม่กี่อย่าง เช่น การส่งออก และการท่องเที่ยว และหลายครั้งที่สถานการณ์ทำให้เราประจักษ์ชัดว่าการท่องเที่ยวของไทยมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อรากฐานทางเศรษฐกิจในทุกระดับ ทุกๆ ภาครัฐและเอกชนของไทยจะตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวว่าในแต่ละปีจะต้องมีรายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวเท่าไหร่ รวมไปถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยและบทสรุปทั้งเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ในแต่ละปีที่ออกมามักสูงกว่าเป้าหมายที่ได้คาดการณ์เอาไว้ ทว่า ในปีนี้โดยเฉพาะห้วงเวลานี้กลับแตกต่างออกไปทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวที่เริ่มปรับตัวลดจำนวนลงแม้จะยังไม่ใช่จำนวนที่มากมายนัก แต่กลับสร้างความตระหนกให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร บริษัททัวร์ ธุรกิจรถทัวร์ เรือนำเที่ยว หรือธุรกิจอื่นที่ล้วนแต่อยู่ในห่วงโซ่ย่อมได้รับผลกระทบแห่งระลอกคลื่นนี้เช่นกัน เมื่อกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แถลงข่าว รายงานสถานการณ์การท่องเที่ยวเดือนกันยายน 2561 ว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 2,655,562 คน โดยจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกมากที่สุด 1,948,414 คน รองลงมา ได้แก่ นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรป เอเชียใต้ อเมริกา ตะวันออกกลาง โอเชียเนีย และแอฟริกา ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัว 2.13 เปอร์เซ็นต์ กระนั้นอัตราการขยายตัวดังกล่าว เป็นการขยายตัวในทิศทางที่ลดลง 0.3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงมีทั้งเรื่องของฤดูกาล ที่เป็นช่วงฤดูฝน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่หลายคนกำลังจับตาและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง คือ ความปลอดภัยต่อสวัสดิภาพของนักท่องเที่ยว โศกนาฏกรรมเรือฟินิกซ์ล่มที่จังหวัดภูเก็ต ดูจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อเหตุการณ์ครั้งนั้นมีนักท่องเที่ยวจีนเสียชีวิตมากถึง 47 ราย

Read More

ท่องเที่ยวบูม-ทัวร์จีนมา สังคมไทยหรือใครได้ประโยชน์??

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกภาครัฐ จะพยายามเน้นย้ำความสำเร็จในการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยในฐานะที่เป็นจักรกลในการเสริมสร้างรายได้และหนุนนำภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ให้สามารถหลุดพ้นจากภาวะซบเซาที่ดำเนินต่อเนื่องยาวนานได้ ตัวเลขสถิติทั้งในมิติของจำนวนนักท่องเที่ยวและปริมาณรายได้ที่หน่วยงานภาครัฐนำเสนอออกสู่สาธารณะในฐานะที่เป็นปัจจัยบ่งชี้ความสำเร็จและผลสัมฤทธิ์ในเชิงนโยบาย หลั่งไหลออกมาเป็นระยะควบคู่กับมาตรการส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยว ด้วยหวังจะโหมประโคมให้การท่องเที่ยวเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมหลักในการฉุดกระชากซากเน่าทางเศรษฐกิจที่จมอยู่ในปลักแห่งความถดถอยมาเกือบทศวรรษ ทั้งจากวิกฤตความขัดแย้งและความไม่แน่นอนทางการเมือง ต่อเนื่องมาสู่ความด้อยปัญญาและประสิทธิภาพในการบริหาร และยุคเปลี่ยนผ่านในสมัยแห่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในปัจจุบัน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการนำเสนอแผนประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมา ดูจะภาคภูมิใจต่อความเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวไทยเป็นอย่างมาก และนำเสนอตัวเลขที่เชื่อว่าเป็นดัชนีบ่งชี้ความสำเร็จในรูปของประมาณการรายได้ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวขึ้นนี้ กรณีดังกล่าวได้รับการขับเน้นจากการแถลงแผนการท่องเที่ยวปี 2562 เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยททท. เชื่อว่าการท่องเที่ยวไทยยังจะเติบโตต่อไปอีกในอัตราร้อยละ 12 ซึ่งจะสร้างให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวมูลค่ารวมกว่า 3.46 ล้านล้านบาท แม้ว่าในห้วงเวลาแห่งการแถลงแผนท่องเที่ยวของ ททท. สังคมไทยกำลังถูกตั้งคำถามว่าด้วยมาตรฐานความปลอดภัย ควบคู่กับประเด็นว่าด้วยข้อเท็จจริงและรายละเอียดของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่มีอยู่ในสังคมไทยก็ตาม ข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับการเติบโตขึ้นของธุรกิจท่องเที่ยวไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็คือการหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวชาวจีน ดูจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนเสริมให้การท่องเที่ยวไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงมกราคมถึงพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยรวมมากถึงกว่า 5 ล้านคน เป็นการเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเร่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่อยู่ในระดับ 4 ล้านคนโดยกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬาประเมินว่านักท่องเที่ยวชาวจีนเหล่านี้นำพาให้เกิดรายได้เข้าประเทศไทยมากถึง 2.7 แสนล้านบาท การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ดำเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2559 แม้จะส่งผลเชิงบวกต่อตัวเลขภาพรวมของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย และได้รับการประเมินว่าเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ที่สร้างเสริมรายได้ให้กับภาคธุรกิจการท่องเที่ยวของไทย หากแต่การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีนในอีกด้านหนึ่งกลับกลายเป็นช่องทางหลักที่กลุ่มทุนจีนเห็นโอกาสในการลงทุนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบครบวงจร ชนิดที่เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำกระทั่งสิ้นสุดที่ปลายน้ำ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากชาติเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายสินค้าที่ระลึก บริษัทนำเที่ยว ศูนย์รวมความบันเทิง ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของตลาดท่องเที่ยวจีน ตั้งแต่ระดับกลางถึงระดับล่างเลยทีเดียว กิจกรรมและกิจการของนักธุรกิจจากจีนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ในลักษณะผูกขาดและกินรวบดังกล่าว นอกจากจะติดตามมาด้วยเรื่องมาตรฐานการให้บริการ ซึ่ง ททท.

Read More