Home > อุตสาหกรรมหนังสือ

ความท้าทายของอุตสาหกรรมหนังสือ จะหมุนอย่างไรเมื่อไลฟ์สไตล์คนเปลี่ยนแปลง

การอ่านเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาในหลายระดับ ตั้งแต่การพัฒนาสติปัญญา เสริมเกราะทางภูมิปัญญาของผู้อ่านเอง จนไปถึงการพัฒนาในระดับชาติ ทว่า ทั้งการส่งเสริมการอ่าน และการสนับสนุนอุตสาหกรรมหนังสือจากภาครัฐกลับไม่เข้มข้นพอ ในแต่ละปี ประเทศไทยจะมีงานอีเวนต์ขนาดใหญ่เกี่ยวกับหนังสืออย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง นั่นคือ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ต้องยอมรับว่าบรรดาหนอนหนังสือและนักอ่านจำนวนหนึ่งเฝ้ารอคอยงานนี้ เพราะนอกจากจะเป็นการได้เปิดประสบการณ์ผ่านจินตนาการทางตัวหนังสือแล้ว ยังมีโอกาสได้ซื้อหนังสือในราคาประหยัด และไม่ใช่แค่เพียงเหล่านักอ่านที่รอคอยงานหนังสือเท่านั้น ทั้งผู้คนที่โลดแล่นอยู่ในแวดวงหนังสือ เช่น นักเขียน สำนักพิมพ์ ต่างเฝ้ารองานนี้ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะบางสำนักพิมพ์ หรือนักเขียนมักจะใช้ช่วงเวลานี้เปิดตัวหนังสือ หรือผลงานเล่มใหม่ ความคึกคักและการตื่นตัวที่เคยเกิดขึ้นทุกปีในวงการหนังสือเล่มดูจะค่อยๆ จืดจางลงอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่การเติบโตของเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้วงการหนังสือต้องพัฒนาและหมุนตามโลกให้ทันเพื่อไม่ให้หลุดจากวงโคจร ไม่ใช่เหตุผลทางเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหนังสือในห้วงยามนี้ ทว่า สิ่งที่ดูเหมือนจะสร้างหายนะให้เกิดขึ้นในหลายแวดวงและแผ่อิทธิพลมาสู่วงการหนังสือด้วยก็คือ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่สร้างบาดแผลทางเศรษฐกิจไทยให้สาหัสกว่าเดิม เพราะนอกจากการที่อุตสาหกรรมหนังสือต้องปรับตัวให้พร้อมรับกับการเติบโตของเทคโนโลยีด้วยการทรานส์ฟอร์มจากหนังสือเล่มไปสู่ e-book แล้ว ยังต้องรับมือกับการอ่อนแรงในเรื่องกำลังซื้อของผู้บริโภค นอกจากนี้ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 48 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 18 ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดทำให้ผู้จัดงานต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานไปสู่ช่องทางดิจิทัล ทั้งกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการขายหนังสือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด และเศรษฐกิจที่ผ่านมา หลายสำนักพิมพ์ต้องประสบกับภาวะขาดทุน บางสำนักพิมพ์แม้จะไม่ได้ปิดตัวลงไปในทันที แต่ชะลอการพิมพ์หนังสือเล่มใหม่ๆ ออกมา และดำเนินธุรกิจด้วยการ Re-print

Read More