Home > สัปดาห์หนังสือ

“หนังสือ” เพื่อนที่ดีที่สุด ที่ใครหลายคนอาจลืม

งานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ 46 ที่จัดขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อน คงจะเป็นช่วงเวลาในความทรงจำของคนในวงการหนังสือเลยก็ว่าได้ เมื่อเป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์ใหม่ นั่นคือ หนังสือแนวประวัติศาสตร์ กลายเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสำหรับนักอ่าน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ชื่อดังเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ที่ปลุกกระแสรักการอ่านให้ก่อตัวขึ้น ซึ่งความนิยมของหนังสือขายดี ไม่ได้จำกัดวงอยู่เพียงแค่นวนิยายชื่อดังเท่านั้น แต่ยังขยายวงไปยังหนังสือแนวประวัติศาสตร์ ไล่เรียงไปถึงจดหมายเหตุที่บันทึกเรื่องราวสมัยกรุงศรีอยุธยา เวลานั้นกระแสดังกล่าวสร้างให้เกิดนักอ่านหน้าใหม่ขึ้นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะนักอ่านรุ่นเยาว์ ถัดจากนั้นอีก 2 ปี เป็นปีที่โลกได้เผชิญหน้ากับความท้าทาย นั่นคือไวรัสโควิด-19 ที่เข้าเล่นงานอุตสาหกรรมที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมหนังสือ ที่เดิมทีก็ถูก Disrupt จากยุคดิจิทัล ซึ่งฝากบาดแผลไว้อย่างสาหัส เพราะนอกจากจะไม่สามารถจัดงานสัปดาห์หนังสือในรูปแบบ Offline เฉกเช่นเดิมได้ แต่การจัดงานในรูปแบบ Online ก็ไม่ได้รับกระแสตอบรับจากนักอ่านดีเช่นเดิม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่บีบบังคับให้ต้องระมัดระวังในการจับจ่าย ผู้คนจำนวนมากตัดสินใจตัดงบการซื้อหนังสือออก เมื่อยังมีความไม่แน่นอนที่เป็นผลมาจากการชะลอทางเศรษฐกิจ กระนั้นอุตสาหกรรมหนังสือและผู้คนที่อยู่ในแวดวง ยังคงมุมานะ และเดินหน้าทำงานกันต่อไป ด้วยการเสาะแสวงหาต้นฉบับแห่งการสร้างสรรค์ ที่จะเพิ่มพูนความรู้ ความบันเทิงให้แก่นักอ่านต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ หากจะกล่าวว่า ไม่ว่าสถานการณ์ใด “หนังสือจะยังคงเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์” ก็คงไม่ผิดนัก การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการล้ำหน้าในหลายมิติ ส่งผลโดยตรงต่อวิถีชีวิตของเรา ก่อนที่ดิจิทัลจะมีอิทธิพลต่อเราเฉกเช่นทุกวันนี้ มือของใครหลายคนมักจะมีหนังสือให้ถืออยู่บ่อยครั้ง หลายคนเลือกหนังสือเป็นเครื่องมือในการใช้เศษเวลา ในขณะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ

Read More

ความท้าทายของอุตสาหกรรมหนังสือ จะหมุนอย่างไรเมื่อไลฟ์สไตล์คนเปลี่ยนแปลง

การอ่านเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาในหลายระดับ ตั้งแต่การพัฒนาสติปัญญา เสริมเกราะทางภูมิปัญญาของผู้อ่านเอง จนไปถึงการพัฒนาในระดับชาติ ทว่า ทั้งการส่งเสริมการอ่าน และการสนับสนุนอุตสาหกรรมหนังสือจากภาครัฐกลับไม่เข้มข้นพอ ในแต่ละปี ประเทศไทยจะมีงานอีเวนต์ขนาดใหญ่เกี่ยวกับหนังสืออย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง นั่นคือ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ต้องยอมรับว่าบรรดาหนอนหนังสือและนักอ่านจำนวนหนึ่งเฝ้ารอคอยงานนี้ เพราะนอกจากจะเป็นการได้เปิดประสบการณ์ผ่านจินตนาการทางตัวหนังสือแล้ว ยังมีโอกาสได้ซื้อหนังสือในราคาประหยัด และไม่ใช่แค่เพียงเหล่านักอ่านที่รอคอยงานหนังสือเท่านั้น ทั้งผู้คนที่โลดแล่นอยู่ในแวดวงหนังสือ เช่น นักเขียน สำนักพิมพ์ ต่างเฝ้ารองานนี้ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะบางสำนักพิมพ์ หรือนักเขียนมักจะใช้ช่วงเวลานี้เปิดตัวหนังสือ หรือผลงานเล่มใหม่ ความคึกคักและการตื่นตัวที่เคยเกิดขึ้นทุกปีในวงการหนังสือเล่มดูจะค่อยๆ จืดจางลงอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่การเติบโตของเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้วงการหนังสือต้องพัฒนาและหมุนตามโลกให้ทันเพื่อไม่ให้หลุดจากวงโคจร ไม่ใช่เหตุผลทางเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหนังสือในห้วงยามนี้ ทว่า สิ่งที่ดูเหมือนจะสร้างหายนะให้เกิดขึ้นในหลายแวดวงและแผ่อิทธิพลมาสู่วงการหนังสือด้วยก็คือ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่สร้างบาดแผลทางเศรษฐกิจไทยให้สาหัสกว่าเดิม เพราะนอกจากการที่อุตสาหกรรมหนังสือต้องปรับตัวให้พร้อมรับกับการเติบโตของเทคโนโลยีด้วยการทรานส์ฟอร์มจากหนังสือเล่มไปสู่ e-book แล้ว ยังต้องรับมือกับการอ่อนแรงในเรื่องกำลังซื้อของผู้บริโภค นอกจากนี้ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 48 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 18 ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดทำให้ผู้จัดงานต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานไปสู่ช่องทางดิจิทัล ทั้งกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการขายหนังสือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด และเศรษฐกิจที่ผ่านมา หลายสำนักพิมพ์ต้องประสบกับภาวะขาดทุน บางสำนักพิมพ์แม้จะไม่ได้ปิดตัวลงไปในทันที แต่ชะลอการพิมพ์หนังสือเล่มใหม่ๆ ออกมา และดำเนินธุรกิจด้วยการ Re-print

Read More

สัปดาห์หนังสือ: เมื่อเนื้อหาคือราชา แต่ช่องทางคือราชินี

บนเส้นทางแห่งการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี ส่งผลให้กรอบโครงของการใช้ชีวิตผู้คนในสังคมเปลี่ยนไปจากเดิม สังคมก้มหน้ากลายเป็นภาพชินตาที่ปรากฏอยู่ให้เห็นในแทบจะทุกสถานที่ แสงสว่างที่อุปกรณ์สื่อสารสะท้อนขึ้นบนหน้าบ่งบอกว่าผู้ใช้กำลังก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ รวมไปถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่ดำเนินไปด้วยความเร่งรีบ ตามความเร็วของสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์ เสมือนประหนึ่งว่าการใช้ชีวิตในห้วงยามนั้นอยู่ในชั่วโมงเร่งด่วนตลอดเวลา ภาพเหล่านี้เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่วิวัฒนาการขึ้นแบบก้าวกระโดด และเป็นอีกผลกระทบหนึ่งในหลายๆ มิติที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในอีกแง่มุมที่สำคัญที่ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกลายเป็นตัวชี้วัดสถานการณ์ความเป็นไปของอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ คล้ายกับจะบอกว่า นี่คือเวลาที่สื่อสิ่งพิมพ์ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด การเข้ามาของสื่อดิจิตอลและสื่อออนไลน์ ทำให้เกิดการกระจายตัวของเม็ดเงินโฆษณา จากเดิมที่เคยกระจุกตัวอยู่ในสื่อสิ่งพิมพ์ เมื่อเม็ดเงินโฆษณาถูกลดทอนลง นั่นหมายถึงความอยู่รอดของหลายสำนักที่การปิดตัวดูจะเป็นทางออกทางเดียวที่เหลืออยู่ ในช่วงเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา นับเป็นห้วงเวลาแห่งการล้มหายตายจากของสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสารบางฉบับที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์มานานกว่า 60 ปี ปิดตัวลงสร้างความรู้สึกสะเทือนใจที่ไม่ใช่เฉพาะผู้อยู่เบื้องหลังและคนทำหนังสือเท่านั้น เพราะการปิดตัวลงหมายถึงการปิดพื้นที่ของผลงานที่มีความน่าสนใจของนักเขียนหรือคอลัมนิสต์ที่ส่งต่องานเขียนที่กลั่นกรองจากสมองและสองมือถึงนักอ่านที่รอคอย แม้ว่าการปิดตัวของสื่อบางฉบับจะมีสาเหตุหลักมาจากเม็ดเงินโฆษณาที่ลดลงแล้ว อีกสาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ “การอ่านน้อยลง” ของผู้คนในสังคมที่วันนี้กลายเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายกำลังกังวล และพยายามที่จะหาหนทางในการแก้ไข กระนั้น ไตรลุจน์ นวะมะรัตน นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย คาดการณ์ว่า งบโฆษณาของปี 2560 น่าจะเติบโตเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2559 ที่มีงบประมาณ 133,666 ล้านบาท แต่นั่นถือว่ายังต่ำกว่างบประมาณโฆษณาในปี 2558 ที่มีงบประมาณอยู่ที่ 136,770 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการมาถึงของสื่อดิจิตอลคงจะหนีไม่พ้นนักข่าว ที่หากไม่ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่กำลังดำเนินไปอยู่ในเวลานี้ มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะตกงาน

Read More