Home > ผลกระทบโควิด-19

3เอ็ม เผยผลสำรวจ ชี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบในหลายมิติ พร้อมแนะแนวทางการใช้ชีวิตในอนาคต

3เอ็ม เผยผลสำรวจ ชี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบในหลายมิติ พร้อมแนะแนวทางการใช้ชีวิตในอนาคต โดย จิม ฟาลเทอเสค รองประธานอาวุโส ฝ่ายกิจการองค์กร 3เอ็ม ภูมิภาคเอเชีย และกรรมการผู้จัดการ 3เอ็ม ประเทศเกาหลี 3เอ็ม ได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนมาอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ใน 11 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส บราซิล จีน เม็กซิโก แคนาดา ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา อินเดีย และเกาหลีใต้ จำนวน 22,000 คน ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าผลกระทบของโรคระบาด ก่อให้เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ หรือกรอบความคิดในการดำเนินชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปอย่างถาวร โดยเฉพาะเรื่อง สุขภาพ เทคโนโลยี และความยั่งยืน จากผลสำรวจทั่วโลก ทำให้พบความเปลี่ยนแปลงด้านความคิดของคนส่วนใหญ่ ดังนี้ 1.ผู้คนเกิดความตื่นตัว และใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้พบว่า 76% ของผู้คนทั่วโลกมีมุมมองด้านสุขภาพที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน

Read More

41 CEO จับมือร่วมแคมเปญประวัติศาสตร์ “รวมพลังลดใหญ่ พาไทยฝ่าวิกฤต” ส่งสินค้ากว่า 400 รายการ ลดราคาสูงสุดกว่า 60% ลดค่าครองชีพจากผลกระทบโควิด-19

โลตัส จับมือพันธมิตรคู่ค้า 40 บริษัทผู้ผลิตสินค้าแบรนด์ดังและธุรกิจชั้นนำในประเทศ ส่งแคมเปญประวัติศาสตร์ “รวมพลังลดใหญ่ พาไทยฝ่าวิกฤต” ช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ที่สุดแห่งปี 2021 ตอกย้ำความร่วมมือและความมุ่งมั่นของทุกแบรนด์ในการช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชน อีกทั้งร่วมกันมอบเงินบริจาคสนับสนุนบุคลากรด่านหน้าและผู้ป่วยโควิด-19 นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า “ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยส่งผลให้ลูกค้าและประชาชนต้องรัดเข็มขัดเนื่องจากครอบครัวมีรายได้ลดลง ที่ผ่านมาโลตัสก็ได้ช่วยเหลือลูกค้าในการประหยัดค่าครองชีพโดยมีการทำโปรโมชั่นและลดราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพมาโดยตลอด วันนี้เรามีความยินดีที่ได้ผนึกกำลังกับคู่ค้าของเราจาก 40 บริษัทชั้นนำของประเทศไทย ทั้งผู้ผลิตสินค้าแบรนด์ดัง ร้านอาหารและร้านค้าในพื้นที่ศูนย์การค้า ในแคมเปญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี “รวมพลังลดใหญ่ พาไทยฝ่าวิกฤต” ลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภคครอบคลุมทุกหมวดหมู่ ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง เครื่องใช้ไฟฟ้า ของใช้ในบ้าน เสื้อผ้า กว่า 400 รายการ เพื่อช่วยคนไทยประหยัดค่าครองชีพ ความร่วมมือในครั้งนี้แสดงออกถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจของทั้ง 41 บริษัท ในการร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อช่วยพี่น้องประชาชนให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ด้วยกัน นอกจากโปรโมชั่นและการลดราคาสินค้าแล้ว แคมเปญ “รวมพลังลดใหญ่ พาไทยฝ่าวิกฤต” ยังรวมพลังโลตัสและพันธมิตรมอบเงินบริจาคให้กับมูลนิธิที่สนับสนุนบุคลากรด่านหน้าและผู้ป่วยโควิด-19 อีกด้วย” CEO ของทั้ง 41

Read More

COVID ระลอกใหม่ ฉุดเศรษฐกิจไทยดิ่งเหว?

การแพร่ระบาดระลอกใหม่ล่าสุดของ COVID-19 นอกจากกำลังเป็นภาพสะท้อนที่บ่งชี้ถึงความล่าช้าในการจัดหาวัคซีนเพื่อต้านทานและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความล้มเหลวในการบริหารจัดการสถานการณ์ในภาวะวิกฤตของกลไกรัฐได้อย่างชัดเจน และเผยให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพในการวางแผนและกำหนดมาตรการเชิงรุก ที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในสังคมไทยและต่อนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติที่ได้รับการคาดหมายและฝากความหวังว่าจะเป็นปัจจัยหนุนนำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัวในอนาคต ผลของการแพร่ระบาดครั้งใหม่ดังกล่าว ทำให้การประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ซึ่งเดิมกลไกรัฐพยายามโหมประโคมว่า GDP ของไทยจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งที่ระดับร้อยละ 4 จากดฐานคิดที่ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐได้ผลดี และฐานทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาหดตัวแคบมากแล้วการเติบโตที่ระดับร้อยละ 4 จึงไม่น่าจะเป็นความเพ้อฝันแต่เป็นสิ่งที่กระทำได้ไม่ยาก หากแต่ความเป็นไปของการแพร่ระบาดระลอกล่าสุดดูเหมือนจะทำให้ความคาดหวังของกลไกรัฐดังกล่าวพังครืนลงอย่างยากที่จะปฏิเสธ ขณะที่สำนักวิจัยและคาดการณ์ทางเศรษฐกิจหลายแห่งต่างปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงอีก โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ซึ่งได้เคยคาดการณ์เศรษฐกิจไทยว่าจะเติบโตได้ที่ร้อยละ 2.6 เมื่อไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมา ได้ปรับลดประมาณการลงเหลือที่ระดับร้อยละ 1.8 เท่านั้น ปัจจัยที่ทำให้สำนักวิจัยแห่งนี้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงต่ำเช่นนี้ นอกจากจะเป็นผลกระทบเบื้องต้นจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ซึ่งส่งผลต่อการท่องเที่ยวเดินทาง โดยเฉพาะเมื่อประเมินจากสถานการณ์ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่มีความรุนแรงกว่าในระลอกก่อนหน้านี้ ขณะที่กลไกรัฐไม่สามารถออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวด แต่ความกังวลต่อสถานการณ์จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คน รวมถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงมีผลต่อการบริโภคของครัวเรือนให้มีทิศทางต่ำกว่าที่ประเมิน เหตุดังกล่าวส่งผลต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่น่าจะยืดเวลาฟื้นตัวออกไป ยังไม่นับรวมถึงกรณีการจัดหาและจัดสรรวัคซีนที่ล่าช้าอีกด้วย ความน่ากังวลจากสถานการณ์ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันอยู่ที่ภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มชัดเจนขึ้นว่าจะมีเข้ามาต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2 ล้านคน ซึ่งกลไกรัฐต้องมีมาตรการเพื่อดูแลผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรค โดยตัวแปรสำคัญอยู่ที่การเร่งจัดการและกระจายฉีดวัคซีน ที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเท่านั้น หากยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมไทยในวงกว้างและนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาด้วย ความล่าช้าในการจัดหาและกระจายวัคซีนสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้การแพร่ระบาดยืดเยื้อหรืออาจเกิดการระบาดอีกระลอกในไตรมาส 3 ของปีนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างมาก ทำให้ความหวังของการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวให้ทยอยกลับมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอาจต้องล่าช้าออกไปอีกหนึ่งปี ส่งผลต่อการจ้างงานและการบริโภค ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นโอกาสที่เศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะไม่เติบโตจากปีก่อนหน้าก็มีความเป็นไปได้สูงมาก การควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาด และการปูพรมกระจายวัคซีนเป็นภารกิจเร่งด่วน

Read More

อสังหาฯ ควบกิจการหนีตาย โจทย์ใหญ่ ลดดอกเบี้ย-เลิก LTV

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังหนีไม่พ้นวิกฤต หลังเจอผลกระทบโควิด-19 บวกกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย และยอดขายจากตลาดต่างชาติดิ่งเป็นศูนย์ แม้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นหลายแพ็กเกจ แต่ผู้ประกอบการต่างฟันธงเสียงเดียวกันว่า “ยังไม่ตรงจุด” โดยเฉพาะโจทย์การแก้ปัญหากำลังซื้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวยืดเยื้ออีก 1-2 ปี ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เดือนมกราคม 2564 ลดลงจากระดับ 46.8 มาอยู่ที่ระดับ 44.2 และดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลงจาก 53.3 มาอยู่ที่ 48.0 ตามความกังวลของผู้ประกอบการ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ โดยผู้ประกอบการที่เห็นว่าธุรกิจจะแย่ลงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในเกือบทุกธุรกิจ ซึ่งรวมถึงกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ที่ดัชนีฯ ปรับลดลงมากและกลับมาอยู่ต่ำกว่า 50 เมื่อเร็วๆ นี้ เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ออกมากล่าวย้ำถึงสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในงานแถลงข่าวประจำปี 2564 ภายใต้แนวคิด The Year of Hope โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทรายกลางและรายเล็กที่มีเงินทุนจำกัด ต้องเหนื่อยแน่ ทั้งในแง่แบรนด์

Read More

เจาะลึกอาชีพมาแรงแห่งปี 2564 ตลาดแรงงาน นายจ้าง-ลูกจ้างต้องปรับตัวรับมือทุกการเปลี่ยนแปลง

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เผยแนวโน้มตลาดแรงงานปี 2564 พร้อมแนะนำนายจ้าง-ลูกจ้างปรับตัวรับมือทุกการเปลี่ยนแปลง แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เผยทิศทางและแนวทางการปรับทัพของตลาดงาน และการปรับตัวของแรงงานในปี 2564 ชี้ผลพวงวิกฤตไวรัสโควิด-19และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลตลาดงาน-แรงงานเปลี่ยนวิถี รูปแบบการทำงานและมองภาพปี 2564 เป็นปีแห่งฟื้นตัวสู่การฟื้นฟูครั้งสำคัญของภาครัฐภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมที่ต้องผนึกกำลังร่วมกัน พร้อมจัดอันดับงานมาแรง 10 อันดับที่ตลาดงานต้องการ และ 10 อันดับงานที่แรงงานพร้อมลุย เพื่อเป็นการลดช่องว่างและเติมเต็มตลาดงานในปัจจุบัน มร.ไซมอน แมททิวส์ ผู้จัดการระดับภูมิภาค ประเทศไทย แถบตะวันออกกลาง และเวียดนาม แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ผู้นำที่ปรึกษาด้านแรงงานเชิงนวัตกรรมกว่า 80 ประเทศทั่วโลก และในประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจในทุกอุตสาหกรรมเพราะมีความเชื่อมโยงกัน รวมถึงตลาดแรงงานที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทั้งวิถีการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ที่ต้องปรับตัวรับกับสถานการณ์ทั้งการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 วิกฤตเศรษฐกิจโลก รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศไทยนับเป็นผลพวงจากปัจจัยข้างต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนของภาครัฐในเชิงนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวที่นับว่าได้รับผลกระทบอย่างหนัก รวมถึงด้านการลงทุน และการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนที่เข้ามาช่วยให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจรายย่อย เพื่อขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจในประเทศ ทางด้านการลงทุนจากต่างประเทศแม้ลดลงแต่ยังได้รับการลงทุนอย่างต่อเนื่อง “นอกจากนี้ ยังเป็นช่วงการทรานส์ฟอร์มครั้งสำคัญของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะรูปแบบการทำงานภายใต้วิถีชีวิตแบบ New Normal ดังนั้น

Read More

KTC ต่อเวลามาตรการช่วยเหลือสมาชิกรับผลกระทบโควิด-19

เคทีซีต่อเวลามาตรการช่วยเหลือสมาชิกรับผลกระทบโควิด-19  ปรับลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ เปลี่ยนประเภทหนี้ ลดค่างวดและอัตราดอกเบี้ยฯ เคทีซีขานรับธนาคารแห่งประเทศไทย ขยายเวลามาตรการด้านสินเชื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ครอบคลุม 3 ธุรกิจหลัก บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ “เคทีซี พี่เบิ้ม” ปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยฯ เปลี่ยนประเภทหนี้ ลดค่างวดและอัตราดอกเบี้ยฯ นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งส่งผลกระทบกับธุรกิจน้อยใหญ่ ภาคประชาชนและสมาชิกของเคทีซีเอง และเพื่อร่วมสนับสนุนมาตรการธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทฯ จึงขยายเวลามาตรการช่วยเหลือสมาชิกที่ได้รับผลกระทบต่อไปอีก ครอบคลุมทั้งสมาชิกบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ 3.4 ล้านบัญชีทั่วประเทศ ดังนี้ 1. ปรับลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิตจากเดิมร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 – 31

Read More

การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงาน – ก้าวสำคัญตลาดอาคารสำนักงานปี 64

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการใช้พื้นที่สำนักงานอย่างไรนั้นยังคงไม่สามารถทราบได้อย่างชัดเจนท่ามกลางการคาดการณ์ที่เกิดขึ้นมากมายในหลายแวดวงธุรกิจ ซีบีอาร์อี ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก เผยว่า บริษัทต่างๆ จะพิจารณาทบทวนบทบาทใหม่ของพื้นที่สำนักงานในฐานะที่เป็นสถานที่สำหรับการทำงานร่วมกัน และสร้างวัฒนธรรมขององค์กรโดยต้องมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยน ที่สำคัญไปกว่านั้น คือ การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจะกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจในช่วงหลายปีต่อจากนี้ นายชาญวิชญ์ พสุวัต หัวหน้าฝ่ายพัฒนาการออกแบบโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย อธิบายว่า “ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดอาคารสำนักงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมุมมองของบริษัทต่างๆ ในเรื่องพื้นที่ทำงานมีความซับซ้อนมากขึ้น แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า ในช่วงก่อนปี 2558 ความต้องการของลูกค้าส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่ "การขยายพื้นที่สำนักงาน" โดยใช้งบประมาณเป็นตัวกำหนด ขณะที่ช่วงปี 2558-2562 แนวโน้มได้เริ่มเปลี่ยนไปสู่ “การใช้งบประมาณให้คุ้มค่า” โดยลูกค้า 53% พิจารณาทบทวนว่าจะสามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจและจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้นด้วยพื้นที่สำนักงานที่มีอยู่เดิมแทนการขยายพื้นที่ได้อย่างไร และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา การควบคุมค่าใช้จ่ายและการลดความเสี่ยงคือปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเรื่องการเช่าพื้นที่สำนักงาน บริษัทหลายแห่งในเอเชียแปซิฟิกคาดการณ์ว่าภายในปี 2568 แนวโน้มการทำงานจะเปลี่ยนไป โดยมีการผสมผสานการทำงานนอกพื้นที่สำนักงานรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในปี 2563 แม้จะมีการตั้งคำถามต่อความจำเป็นของการมีพื้นที่สำนักงานจากการที่พนักงานมีประสบการณ์ในการทำงานนอกสำนักงานครั้งที่ใหญ่ที่สุดในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เมื่อกลับมาสู่การทำงานตามปกติ ผู้เช่าพื้นที่สำนักงานก็ยังคงไม่ได้ละทิ้งแนวความคิดเรื่องการมีอยู่ของพื้นที่สำนักงาน หากแต่ต้องสร้างความมั่นใจว่าสามารถใช้พื้นที่สำนักงานอย่างมีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้นไปอีก

Read More

ธุรกิจโรงแรมไทยหลัง COVID-19 ดิ้นรนหนีตายก่อนเป็นเหยื่อ

การระบาดของโรคอุบัติใหม่ในนาม COVID-19 นอกจากจะคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนบนผืนพิภพอย่างกว้างขวางแล้ว ผลกระทบจากการระบาดยังสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจทั่วโลก โดยธนาคารโลกหรือ World Bank คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะติดลบถึงร้อยละ 5.2 และส่งผลให้ประชากรโลกตกอยู่ในภาวะยากจนสุดขีดไม่ต่ำกว่า 70-100 ล้านคน ภาวการณ์ที่ว่านี้ ทำให้ธนาคารโลกระบุว่า การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ก่อให้เกิดสภาวะตื่นตระหนกที่รุนแรงและกะทันหัน ซึ่งทำให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างที่สุดและเสียหายที่สุดในรอบ 150 ปี นับตั้งแต่ที่โลกได้เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษ 1870 หรือ Long Depression ที่ส่งผลกระเทือนยาวนานจนได้รับการกล่าวถึงในฐานะที่เป็น The Great Depression of 1873-1896 แม้ว่ารัฐบาลแต่ละประเทศจะพยายามออกมาตรการต่างๆ มาเยียวยาก็ตาม ผลกระทบที่ยาวนานนับเนื่องกว่า 2 ทศวรรษจากวิกฤตทางเศรษฐกิจในอดีตดังกล่าวนี้ ในด้านหนึ่งสร้างความกังวลที่สอดรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ เพราะในขณะที่หลายฝ่ายพยายามที่จะกระตุ้นเร่งให้เศรษฐกิจกลับมาเติบโตอีกครั้ง ความกังวลใจว่าด้วยความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 ของ COVID-19 กลับเป็นการบ่อนทำลายการฟื้นตัว และทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก ขณะเดียวกันวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนี้ก็พร้อมเปลี่ยนให้กลายเป็นวิกฤตทางการเงินซึ่งจะมีกระแสการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทต่างๆ ที่บ่อนเซาะความแข็งแกร่งของระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศด้วย ความพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการผ่อนปรนมาตรการระยะที่ 3 ของรัฐไทยก็ดำเนินไปในมิติที่ไม่ต่างกันนี้ โดยธุรกิจการท่องเที่ยวที่ตกอยู่ในภาวะซบเซาและนิ่งสนิทมาในช่วง 2-3

Read More