Home > India

ผลกระทบจาก COVID-19 ต่อชีวิตผู้หญิงอินเดีย

Column: Women in wonderland การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นเวลามากกว่า 10 เดือนแล้ว และสถานการณ์ในหลายประเทศก็ยังคงมีการแพร่ระบาดสูง หรือบางประเทศที่เริ่มควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีระดับหนึ่ง อย่างนิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ก็เริ่มกลับมาแพร่ระบาดอีกตามเมืองใหญ่ๆ และยังไม่มีประเทศไหนที่ประสบความสำเร็จในการผลิตวัคซีนออกมาใช้ได้ กระทรวงสาธารณสุขอินเดียรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 คนแรกของประเทศเมื่อ 3 มีนาคม 2020 และจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนพบผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 100 คน เมื่อ 27 มีนาคม 2020 และ 500 คน เมื่อ 4 เมษายน 2020 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในอินเดียเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ วันที่ 17 กรกฎาคม 2020 จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 1 ล้านคน ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง มีการยืนยันว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้นกว่า 32,000 คน

Read More

มองสัมพันธ์ จีน-อินเดีย ผ่าน BRICS Summit

การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งอาจได้รับการประเมินจากผู้นำและสื่อบางประเทศว่ามีความสำคัญในฐานะที่ได้เข้าร่วมในการประชุมประเทศคู่สนทนาระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา (Dialogue between Emerging Market Economies and Developing Countries : EMDCD) หากแต่ภายใต้กรอบโครงที่ใหญ่กว่านั้น BRICS Summit กำลังเป็นเวทีที่สองมหาอำนาจในเอเชีย ทั้งจีนและอินเดีย ต่างสำแดงพลัง และสร้างสมดุลใหม่ให้เกิดขึ้น แม้ว่า BRICS จะประกอบส่วนด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ แต่ความสนใจหลักจากการประชุมในครั้งนี้ ดูจะพุ่งประเด็นหลักไปที่บทบาทของจีนในการประกาศยุทธศาสตร์เชิงรุกผ่านกลไกของ EMDCD และท่าทีของจีนต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีที่มีต่ออินเดีย มหาอำนาจอีกรายหนึ่งที่กำลังแสดงพลังคัดง้างบทบาทของจีนอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะอยู่ร่วมในกรอบความร่วมมือ BRICS ด้วยกันก็ตาม ความพยายามที่จะเพิ่มพูนและแข่งขันการมีบทบาทของจีนและอินเดียในเวทีเศรษฐกิจการเมืองโลกไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น หากมีประวัติศาสตร์และพัฒนาการที่ต่อเนื่องยาวนาน ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่อาจเรียกได้ว่าทั้งรักทั้งชัง ที่ดำเนินไปด้วยความร่วมมือและขัดแย้งอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนริเริ่มยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี 2013 ซึ่งต่อมาได้รับการขนานนามในฐานะ The One

Read More

ศรีลังกา: บนสมการถ่วงดุล มหาอำนาจจีน-อินเดีย

ในขณะที่สังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกภาครัฐพยายามเร่งหาผู้ลงทุนรายใหม่ๆ ด้วยการเดินสายขายโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC: Eastern Economic Corridor ด้วยหวังว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นประหนึ่งผลงานสำคัญ และช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยสามารถไถลตัวออกจากอาการติดหล่ม รวมถึงช่วยกู้ภาพลักษณ์ด้านผลงานการดำเนินงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เข้ามายึดครองอำนาจการบริหารประเทศเป็นเวลากว่า 3 ปี ล่วงไปแล้ว หากแต่ในอีกฟากฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ดินแดนที่เพิ่งฟื้นจากสงครามกลางเมืองและได้สัมผัสกับความสงบสันติมาได้ไม่ถึงทศวรรษกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ สำหรับการพัฒนาในอนาคต โดยเฉพาะการเลือกและรักษาสมดุลแห่งอำนาจ จากการเข้ามามีบทบาททั้งในมิติของเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน โดยเอกชนและภาครัฐจากทั้งจีน อินเดีย และญี่ปุ่น ที่ต่างพร้อมแสดงตัวในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อก้าวสู่อนาคตที่สดใสร่วมกัน ศรีลังกา ซึ่งมีภูมิรัฐศาสตร์เป็นเกาะอยู่ทางตอนปลายของประเทศอินเดีย ถือเป็นพื้นที่ที่อินเดียเคยมีบทบาทนำมาตลอดในช่วงหลายทศวรรษแห่งประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะสูญเสียพื้นที่และโอกาสให้กับจีน ในช่วงปี 2005 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญก่อนที่รัฐบาลศรีลังกาจะเผด็จศึกและยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมากว่า 3 ทศวรรษลงได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดในปี 2009 รัฐบาลจีนแทรกเข้ามามีบทบาทในศรีลังกาด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการทหารมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2005 ซึ่งนับเป็นจังหวะก้าวที่สอดรับกับสถานการณ์ความต้องการของรัฐบาลศรีลังกาภายใต้การนำของ Mahinda Rajapaksa และเป็นจุดเริ่มต้นของทั้งการสานสายสัมพันธ์และการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ใหญ่ว่าด้วย String of Pearls และ One Belt, One Road (OBOR) ที่มีศรีลังกาประกอบส่วนอยู่ในยุทธศาสตร์นี้ด้วย การลงทุนของจีนในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของศรีลังกาในยุคหลังสงครามกลางเมือง ดำเนินไปท่ามกลางอัตราเร่ง

Read More

บทเรียนจากอินเดีย: ยกเลิกธนบัตร เพื่อปราบโกง?

  ภาพแห่งความโกลาหลของประชาชนที่มาเข้าแถวรอแลกธนบัตรมูลค่าใบละ 500 และ 1,000 รูปีที่ถูกประกาศยกเลิกและกำลังจะมีสถานะกลายเป็นเพียงเศษกระดาษไร้ค่าหากไม่นำมาแลกเป็นธนบัตรใหม่ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2559 นอกจากจะดำเนินไปด้วยความตื่นตระหนกอย่างกว้างขวางแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อกลไกเศรษฐกิจของอินเดียในห้วงเวลาปัจจุบันอย่างไม่อาจเลี่ยง การประกาศยกเลิกธนบัตรทั้งสองชนิดดังกล่าว ของนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ในด้านหนึ่งดำเนินไปท่ามกลางเหตุผลของความพยายามในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นและผู้ถือครองเงินนอกระบบในประเทศ  การขจัดธนบัตรปลอม และการตัดแหล่งเงินสนับสนุนของขบวนการก่อการร้ายเพื่อให้เงินผิดกฎหมายหรือเงินที่ได้มาจากการทุจริตคอร์รัปชั่นถูกขจัดออกจากระบบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวนโยบายที่โมดีได้ใช้หาเสียงในช่วงก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 แม้ว่าการประกาศยกเลิกธนบัตรดังกล่าวจะได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่จำเป็นในการปราบปรามเงินนอกระบบและการคอร์รัปชั่น และจะทำให้ปริมาณเม็ดเงินที่คาดว่าจะมีจำนวนมากกว่าสองแสนล้านเหรียญสหรัฐที่อยู่นอกระบบของอินเดีย หลั่งไหลเข้ามาเติมเต็มสู่ระบบธุรกิจ บัญชีของธนาคาร และที่สำคัญเป็นภาษีและรายได้เข้าสู่รัฐ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลภายใต้การนำของนเรนทรา โมดี ได้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม (GST: Goods and Services Tax Bill) ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2017 โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ได้รับการประเมินว่าเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งสำคัญของอินเดียอีกด้วย แต่ผลของประกาศยกเลิกธนบัตรอย่างฉับพลันครั้งนี้ ในด้านหนึ่งกลายเป็นเหตุให้ประชาชนชาวอินเดียจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญกับความยากลำบากในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือทางการเงินทั้งบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ซึ่งนำไปสู่ความไม่พึงพอใจและการเข้าแถวแลกธนบัตรใหม่ที่ต้องเผชิญกับข้อเท็จจริงที่ว่ามีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการอีกด้วย ขณะเดียวกัน รัฐบาลอินเดียยังได้ลดจำนวนเงินที่อนุญาตให้แลกจาก 4,500 รูปี เหลือ 2,000 รูปี เนื่องจากสงสัยว่าหลายคนรับจ้างกลุ่มขบวนการอาชญากรรมมาฟอกเงินด้วยการแลกหรือฝากธนบัตรเก่าก่อนถึงกำหนดเส้นตาย 30

Read More

ถอดรหัสท่องเที่ยวอินเดีย “Incredible” อย่างเป็นระบบ

  พลันที่เสียงระเบิดดังกึกก้องกัมปนาทและส่งผลให้เกิดความสูญเสียแก่ทั้งชีวิตผู้คนและทรัพย์สิน โดยรอบย่านราชประสงค์เมื่อ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ากิจกรรมด้านการท่องเที่ยวซึ่งผูกพันกับประเด็นว่าด้วยสวัสดิภาพความปลอดภัยจะได้รับการหยิบยกและคาดการณ์ถึงผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง แต่ระยะเวลาเพียงสามสัปดาห์หลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่ว่านี้ การประเมินความเสียหายหรือทิศทางแนวโน้มในอนาคตอาจไม่ปรากฏชัดเจนมากนัก แม้ว่าในเบื้องต้นจะมีตอบสนองในเชิงลบว่าด้วยการยกเลิกการเดินทางหรือการจองบ้างก็ตาม ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุปกติท่ามกลางกลุ่มควันที่เพิ่งปกคลุมและยังไม่ทันได้จาง ความพยายามที่จะกระตุ้นและอาศัยการท่องเที่ยวให้เป็นส่วนหนึ่งในการแสวงหารายได้เข้าสู่ประเทศมิได้เกิดขึ้นเฉพาะในกรณีของประเทศไทยเท่านั้น หากในความเป็นจริงดูเหมือนว่าเกือบทุกประเทศทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในระดับดีกรีความเข้มข้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพียงแต่ในรายละเอียดของการส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้นจะดำเนินไปท่ามกลางมิติและจุดขายที่มุ่งเน้นเพื่อหนุนส่งสถานภาพของแต่ละประเทศในสังคมโลกอย่างไรเท่านั้น หากประเมินในมิติที่ว่านี้ กรณีของ Incredible India ซึ่งเป็นการรณรงค์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของอินเดียที่ดำเนินมาตั้งแต่เมื่อปี 2002 ดูจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างและขยายตลาดการท่องเที่ยว ที่ประสบผลสำเร็จจนกลายเป็นแบรนด์ที่มีบทบาทอิทธิพลในตลาดการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติไม่น้อยเลย การส่งเสริมการท่องเที่ยวของอินเดียในช่วงก่อนหน้าปี 2002 ก็คงไม่แตกต่างจากความพยายามที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศอื่นๆ ที่พยายามออกโบรชัวร์หรือแผ่นพับแนะนำประเทศและจุดท่องเที่ยวสำคัญหลากหลาย ควบคู่กับการจัดกิจกรรมพิเศษในแต่ละคราวแต่ละวาระ ตามแต่ที่โอกาสและความสามารถในการบริหารจัดการจะเอื้ออำนวย ซึ่งย่อมไม่สามารถลงหลักปักหมุดให้เกิดความรู้สึกตระหนักรู้ในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังไม่นับรวมการบริหารจัดการด้านงบประมาณจำนวนมากที่เมื่อเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับเป็นผลตอบแทนในรูปของจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้เข้าสู่ประเทศ ที่อาจไม่เกิดความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ เพราะขาดยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงและต่อเนื่องอีกด้วย แต่พลันที่รัฐบาลอินเดียริเริ่มแผนการรณรงค์ภายใต้ Incredible India ปรากฏว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าสู่อินเดียมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและเติบโตด้วยอัตราเร่งที่น่าสนใจ โดยข้อมูลจาก Visa Asia Pacific เมื่อปี 2006 หรือหลังจากที่ Incredible India ได้รับการนำเสนอสู่สาธารณะเพียง 4 ปีระบุว่า อินเดียกลายเป็นจุดหมายปลายทางและตลาดการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างรวดเร็วของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวนานาชาติ ซึ่งตัวเลขในรายงานระบุว่าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2005 (ตุลาคม-ธันวาคม) มีนักท่องเที่ยวใช้จ่ายเงินตราในการท่องเที่ยวอินเดียมากถึง 372 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 25

Read More

จาก SARRC สู่ IDY การทูตวัฒนธรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

 Column: AYUBOWAN วันนี้ผู้เขียนต้องขออนุญาตท่านผู้อ่าน AYUBOWAN ทุกท่าน แทรกคิวและข้ามโพ้นบริบทของศรีลังกาไปสู่ภาพกว้างที่น่าสนใจติดตามและกำลังขยายให้เรื่องราวความเป็นไปของภูมิภาคเอเชียใต้ เป็นประหนึ่งศูนย์กลางของวัฒนธรรมและไลฟ์สไตล์ที่กำลังได้รับความนิยม โดยเฉพาะในมิติว่าด้วย well-being กันสักนิดนะคะ เนื่องเพราะเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมาได้รับการเฉลิมฉลองให้เป็นวันโยคะนานาชาติ หรือ International Day of Yoga: IDY เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งการประกาศวันโยคะนานาชาติเช่นว่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างที่ใครอยากประกาศเฉลิมฉลองหรือจัดกิจกรรมยกย่องเทิดทูนผู้ใดหรือสิ่งใดก็ประกาศกันไปตามอำเภอใจนะคะ หากแต่เรื่องราวความเป็นไปของ International Day of Yoga: IDY ถือเป็นวาระที่มีสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ร่วมพิจารณาและลงมติรับรองกันเลยทีเดียวค่ะ เรื่องราวความเป็นมาและเป็นไปของ International Day of Yoga ที่ว่านี้คงเกิดขึ้นได้ยากและคงต้องยกเครดิตให้กับวิสัยทัศน์ รวมถึงความสามารถของ Narendra Modi นายกรัฐมนตรีคนที่ 15 และคนปัจจุบันของอินเดีย ที่นำพามิติทางวัฒนธรรมมาต่อยอดให้เกิดผลในระดับนานาชาติได้อย่างลงตัว ความเป็นไปของ Narendra Modi ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งอินเดียก็น่าสนใจไม่น้อยเช่นกันนะคะ เพราะเขานำพาพรรค Bharatiya Janata Party หรือ BJP ให้สามารถครองชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2014  แต่นั่นอาจไม่สำคัญเท่ากับการที่ Narendra

Read More

ผู้หญิงอินเดียถูกไล่ออกจากงานเพราะตั้งครรภ์

 Column: Women in Wonderland ประเทศอินเดียมีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู (80.5%) และอิสลาม (13.4%) ซึ่งทั้งสองศาสนานี้มีกฎเกณฑ์ต่างๆ สำหรับผู้หญิงไว้ชัดเจน ทำให้ผู้หญิงอินเดียมีสิทธิในสังคมน้อยกว่าผู้หญิงในประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้นับถือสองศาสนานี้ อย่างที่ทราบกันดีว่าในศาสนาฮินดูนั้นมีการแบ่งระดับคนไว้ 5 วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ หมายถึงคนที่เป็นนักบวช ทำหน้าที่สอนศาสนา ประกอบพิธีทางศาสนา และให้คำปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดิน วรรณะกษัตริย์ หมายถึงคนที่ทำหน้าที่เป็นนักปกครอง หรือเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (3) วรรณะแพศย์ หมายถึงพวกเศรษฐี พ่อค้า คหบดี และเกษตรกร  วรรณะศูทร คือพวกกรรมกร และลูกจ้าง และ จัณฑาล ซึ่งถือว่าเป็นชนชั้นที่ต่ำที่สุดในอินเดีย และถูกรังเกียจ เหยียดหยามจากคนในสังคม  จัณฑาล คือเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่มีวรรณะแตกต่างกัน การแบ่งชนชั้นเหล่านี้อาจจะไม่มีให้เห็นแล้วในเมืองใหญ่ๆ แต่ตามชนบทนั้นการแบ่งชนชั้นเหล่านี้ยังคงมีอยู่ และผู้หญิงอินเดียก็ได้รับผลกระทบจากการแบ่งชนชั้นวรรณะเช่นเดียวกัน อย่างที่กล่าวไว้ตอนเริ่มว่า ประเทศอินเดียมีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก จึงมีประชากรเป็นจำนวนมากที่มีฐานะยากจนและอยู่ในวรรณะต่ำ ผู้หญิงยากจนในวรรณะต่ำที่อาศัยอยู่ในเมืองต่างๆ นอกจากจะต้องทำหน้าที่เป็นแม่บ้านตามปกติแล้ว พวกเธอยังต้องทำงานหนักๆ ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้าง ขุดแร่ ปั้นหม้อดิน หว่านข้าว

Read More

String of Pearls ไข่มุกบนจานหยกมังกร

 ข่าวการเยือนประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ของ Xi Jinping ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นปรากฏการณ์ในแบบพิธีทางการทูตทั่วไปแล้ว การเดินทางเยือนดังกล่าว ยังเป็นกรณีที่บ่งชี้ถึงทิศทางและเข็มมุ่งแห่งวิสัยทัศน์ที่จีนกำหนดเป็นแนวนโยบายสำหรับอนาคตใหม่นี้ด้วย แม้ว่านักวิเคราะห์และผู้สันทัดกรณีจำนวนไม่น้อยจะให้ความสนใจและเฝ้ามองการพบกันของ Xi Jinping ผู้นำจีนและ Narendra Modi นายกรัฐมนตรีอินเดีย ในฐานะที่ต่างเป็นมหาอำนาจขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย แต่นัยความหมายของการเยือนมัลดีฟส์และศรีลังกา ก็มีความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากความมุ่งหมายของจีนในการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมืองในระดับนานาชาติ ผ่านกรอบโครงความคิดว่าด้วย 21st Century Maritime Silk Route ดูจะเอื้อประโยชน์และจุดประกายความคิดที่สอดรับกับสถานการณ์ความเป็นไปที่เกิดขึ้นในศรีลังกาอย่างเด่นชัด เพราะหลังจากที่ Mahinda Rajapaksa สามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศด้วยการยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 3 ทศวรรษได้สำเร็จในปี 2009 และกำลังเดินหน้าสู่การเลือกตั้งเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 2010 ได้ประกาศแนวทางในการพัฒนาศรีลังกาให้ฟื้นคืนจากบาดแผลของประวัติศาสตร์สู่อนาคตใหม่ ภายใต้แนวนโยบายที่ได้รับการเรียกขานว่า Mahinda Chintana ด้วย “จินตภาพแห่งมหินทะ” ดังกล่าวนี้ ประกอบส่วนไปด้วยแนวความคิดที่จะพัฒนาและสร้างให้ศรีลังกาเป็น Regional 5 Hub หรือศูนย์กลางของกิจกรรม 5 ประการของภูมิภาค ไล่เรียงตั้งแต่การเป็นศูนย์กลางของการเดินสมุทร ศูนย์กลางของการเดินอากาศ ศูนย์กลางของความรู้ ศูนย์กลางด้านพลังงาน

Read More