Home > Laos (Page 3)

ยลธรรมชาติกลางขุนเขา จากเชียงขวางสู่หัวพัน

เสียงเพลงลาวที่บรรยายถึงความงดงามของธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ของแขวงหัวพัน ดังแว่วอยู่ในรถโดยสารระหว่างเมืองที่มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่เมืองซำเหนือ แขวงหัวพัน ภาษาที่ตรงไปตรงมา บวกกับท่วงทำนองของเครื่องดนตรีที่ดูเรียบง่าย ผสานกับทิวทัศน์สองข้างทาง ทำให้เราอิ่มเอมไปกับความงดงามของแขวงหัวพัน แม้จะยังเดินทางไปไม่ถึงจุดหมายปลายทางก็ตามจากนครหลวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว ศูนย์กลางความเจริญ และจุดตั้งต้นสำหรับการเดินทางต่อไปยังเมืองต่างๆ ของลาว เรามุ่งหน้าสู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศตามรอยเส้นทางยุทธศาสตร์สมัยสงครามอินโดจีน ผ่านเมืองโพนสะหวัน แขวงเชียงขวาง ก่อนเข้าสู่แขวงหัวพัน ระยะทางจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปยังแขวงหัวพันราวๆ 640 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยทางรถเกือบ 22 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลามาตรฐานสำหรับการเดินทางโดยทางรถในลาว ดังนั้นเราเลือกจึงเลือกแวะพักเก็บบรรยากาศตามเมืองต่างๆ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์และทอนเวลาการเดินทางไม่ให้แต่ละครั้งยาวนานเกินไป จากเวียงจันทน์เราแวะพักที่เมืองโพนสะหวัน แขวงเชียงขวาง อดีตเมืองที่ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักช่วงสงครามอินโดจีน เมืองที่มีประวัติศาสตร์และร่องรอยของสงครามให้เราได้เห็นจนถึงทุกวันนี้ต่อจากเมืองโพนสะหวัน แขวงเชียงขวาง เราเดินทางด้วยรถโดยสารระหว่างเมืองจากสถานีขนส่งของแขวงเชียงขวาง สปป.ลาว เพื่อเดินทางไปยังเมืองซำเหนือ แขวงหัวพัน การเดินทางด้วยวิธีนี้ ดูจะเป็นวิธีการเดินทางหลักของทั้งชาวลาวและนักท่องเที่ยว ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้โดยสารที่อัดแน่นกันอยู่ภายในรถที่มีทั้งชาวลาว ชาวเขา และนักท่องเที่ยว ไม่เพียงแต่จำนวนผู้โดยสารที่เต็มทุกที่นั่งของรถเท่านั้น แต่ปริมาณและขนาดของสัมภาระที่แต่ละคนนำมามีปริมาณมากจนเราไม่เชื่อว่าทั้งหมดนั้นจะสามารถเดินทางไปพร้อมเจ้าของได้สัมภาระทั้งหมดถูกจัดวางไว้ทุกซอกมุมของทั้งในตัวรถและบนหลังคา และทุกที่ที่พอจะวางได้ เป็นการจัดสรรพื้นที่ได้อย่างน่าทึ่งจริงๆ ด้วยความที่เมืองโพนสะหวันเป็นเมืองใหญ่ มีตลาดขนาดใหญ่ บรรดาชาวบ้านต่างเมืองจึงนิยมมาซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่เมืองนี้ ไปใช้และขายต่อในหมู่บ้านที่อยู่ไกลออกไป จึงไม่แปลกที่รถโดยสารจะอัดแน่นด้วยสัมภาระเหล่านั้นรถโดยสารระหว่างเมืองดูจะเป็นที่นิยมของทั้งคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว สำหรับคนท้องถิ่นมันคือการเดินทางที่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากนัก สำหรับนักท่องเที่ยวมันคือการได้สัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้านและเสพความงามของธรรมชาติด้วยต้นทุนที่ถูกแสนถูก

Read More

เยือนถิ่นเมืองลาว ในท่ามกลางจินตนาการ AEC

เทศกาลสงกรานต์ใกล้เข้ามา หลายคนเตรียมตัวสนุกกับการสาดน้ำดับร้อน หลายคนวางแผนเดินทางท่องเที่ยว เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ชีวิตให้กับตัวเองในช่วงวันหยุดยาวที่กำลังจะมาถึง หลากหลายสถานที่ท่องเที่ยวคงผุดขึ้นมาเป็นตัวเลือกให้กับผู้ที่แสวงหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ วันนี้เราจะขอนำเสนออีกหนึ่งสถานที่ที่เหมาะกับการเติมพลังชีวิตให้กับตัวเอง กับประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงกับไทย อย่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดินแดนที่ได้ชื่อว่าเป็น...Battery of Asiaการเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศลาวสำหรับคนไทยแล้วถือว่าสะดวกเพราะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ ห่างกันแค่ลำน้ำโขงกั้นกลางเท่านั้น และมีความคล้ายคลึงกันในหลายๆ ด้านทั้งภาษา วัฒนธรรม แต่ในความคล้ายกันนั้นก็มีความต่างซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์และเป็นเสน่ห์เฉพาะของลาว ภายใต้ความสะดวกในการเดินทางเข้าไปเยี่ยมเยือนประเทศเพื่อนบ้านนั้น เราต้องให้ความเคารพต่อระเบียบ กฎหมาย วัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของชาวลาว สิ่งใดที่เป็นข้อห้ามไม่พึงกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายเวลาเยี่ยมชมสถานที่สำคัญ มารยาทที่ไม่ควรกระทำ ข้อห้ามในการถ่ายภาพในสถานที่บางแห่ง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวพึงตระหนัก เพื่อไม่ทำผิดต่อกฎระเบียบของบ้านเมืองที่เราไปเยือน เพราะหากทำในสิ่งที่ไม่พึงกระทำแล้ว การต้องแก้ปัญหาขณะเดินทางท่องเที่ยวคงไม่ใช่เรื่องสนุกเป็นแน่สำหรับจุดหมายปลายทางของเราในครั้งนี้คือ “นครเวียงจันทน์” เมืองหลวงแห่งประเทศลาว ซึ่งการเดินทางไปยังนครเวียงจันทน์นั้นสามารถเลือกเดินทางได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบประหยัดเวลาแต่ความสะดวกสบายสูงอย่างเครื่องบินซึ่งมีหลายสายการบินให้เลือกใช้บริการ หรือถ้าอยากจะขับรถไปเองก็สามารถทำได้ อีกทั้งยังสามารถใช้บริการการรถไฟไทยเส้นทาง กรุงเทพฯ–หนองคาย แล้วข้ามไปยังฝั่งลาวด้วยรถไฟระหว่างประเทศ หนองคาย-ท่านาแล้ง ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ 15 นาทีจากฝั่งไทย ก็ได้อีกบรรยากาศหนึ่ง อีกหนึ่งวิธีการเดินทางที่เราอยากแนะนำคือ รถทัวร์ เส้นทางกรุงเทพฯ–เวียงจันทน์ ของบริษัท ขนส่ง จำกัด

Read More

TBEC รุกธุรกิจก๊าซชีวภาพในลาว หวังบำบัดน้ำเสีย-ผลิตไฟฟ้า

 ความพยายามที่จะลดต้นทุนด้านพลังงานและการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม กำลังเดินทางมาสู่จุดบรรจบที่ทำให้ทั้งสองเรื่องยึดโยงและเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันไปโดยปริยาย โดยล่าสุดบริษัท ไทย ไบโอแก๊ซ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (TBEC) หนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจก๊าซชีวภาพของประเทศไทย ได้ร่วมกับบริษัท ลาว-อินโดไชน่า กรุ๊ป มหาชน (LIG) แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เปิดตัวโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังแบบครบวงจรแห่งแรกใน สปป.ลาว ภายใต้โครงการ TBEC LIG Biogas Project โดย นูลิน สินบันดิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป. ลาว ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานในพิธีด้วย โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินชั้นนำในยุโรป European Development Finance Institutions (EDFI)  และ Energy and Environment Partnership-Mekong (EEP Mekong) กระทรวงการต่างประเทศของฟินแลนด์ โดยใช้งบประมาณกว่า 130 ล้านบาท และสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ถึง 7 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี คิดเป็นมูลค่าทดแทนพลังงานได้ถึงปีละ 40

Read More

“เชียงขวาง” จากสมรภูมิรบสู่เมืองท่องเที่ยว

  สงครามอินโดจีนหรือสงครามเวียดนามได้สิ้นสุดลงไปแล้ว ด้วยชัยชนะของฝ่ายนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา แม้จะผ่านไปแล้วกว่า 4 ทศวรรษ แต่ร่องรอยของสงครามยังคงมีให้ชนรุ่นหลังได้เห็นถึงความโหดร้ายของมันอยู่ โดยเฉพาะที่แขวงเชียงขวาง ประเทศลาว เชียงขวาง (Xiangkhoang) คือแขวงหนึ่งของ สปป.ลาว ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ ด้วยชัยภูมิที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ราวๆ 400 กิโลเมตร มีชายแดนติดกับประเทศเวียดนาม สามารถใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงกองกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ จากเวียดนามเหนือ มาสู่ขบวนการปะเทดลาวได้อย่างดี  ด้วยชัยภูมิดังกล่าวขบวนการปะเทดลาวจึงได้ตั้งกองบัญชาการใหญ่ขึ้นที่เชียงขวาง กองทัพอากาศสหรัฐฯ ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดแบบปูพรมเพื่อทำลายล้างขบวนการปะเทดลาว ระเบิดไม่ต่ำกว่า 3 ล้านตัน ถูกระดมทิ้งลงที่นี่ บ้านเรือนราษฎร วัดวาอารามพังพินาศ ผู้คนอพยพออกจากเมือง ที่นี่จึงเป็นสมรภูมิรบที่ดุเดือดและเป็นพื้นที่ที่ได้รับอย่างหนัก ปัจจุบันเชียงขวางฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ บ้านเรือน ถนนหนทาง ส่วนราชการถูกสร้างขึ้นใหม่ เป็นเมืองที่สะอาดและเป็นระเบียบ แต่ร่องรอยของสงครามก็ยังมีให้เห็นอยู่ โดยเฉพาะที่เมืองคูน ซึ่งเป็นเมืองเอกเดิมของแขวงเชียงขวาง เป็นเมืองที่โดนทำลายอย่างหนัก รัฐบาลจึงสร้างเมือง “โพนสะหวัน” เป็นเมืองเอก ทดแทนเมืองคูนที่ถูกทำลายลง ซากปรักหักพังบางอย่างได้รับการอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความโหดร้ายของสงคราม หลุมระเบิดขนาดใหญ่ยังคงมีให้เห็นอยู่ทั่วไป เศษของลูกระเบิดถูกนำมาดัดแปลงเป็นเสาบ้าน รางปลูกต้นไม้ ที่นั่งเล่น หรือประดับตามร้าน เป็นการสร้างบ้านแปงเมืองโดยแท้ นโยบายการเปิดประเทศของลาวตั้งแต่

Read More