Home > Banking

ทีทีบี เผยกลยุทธ์ลูกค้าบุคคลปี 2567 มุ่งส่งมอบผลิตภัณฑ์เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นในทุกมิติ พร้อมยกระดับการบริการด้วยการใช้ Digital & Data Innovation

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เดินหน้าขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ลูกค้าบุคคลปี 2567 มุ่งขยายฐานลูกค้าและการส่งมอบผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น โดยยกระดับการบริการด้วยการใช้ Digital & Data Innovation ให้เข้าใจลูกค้าได้ในระดับบุคคล เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นในทุกมิติ นายฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ทีทีบีมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อส่งมอบชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่องในทุกช่วงชีวิต โดยเฉพาะ 4 กลุ่มลูกค้าหลักที่ธนาคารเชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด Ecosystem Play ได้แก่ กลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน พนักงานเงินเดือน และลูกค้า Wealth โดยมีแอป ttb touch เป็นแพลตฟอร์มหลักในการเชื่อมต่อโซลูชันและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากพันธมิตรชั้นนำของธนาคาร เพื่อส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินในระดับบุคคล หรือ Segment-of-One ให้กับลูกค้า ส่งผลให้ในปีที่ผ่านมา ทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์เงินฝาก สินเชื่อ ลงทุน และประกัน มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับในปี 2567 นี้

Read More

ยูโอบีประกาศผลกำไรสุทธิ ปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 6.1 พันล้านเหรียญสิงคโปร์

ยูโอบีประกาศผลกำไรสุทธิ ปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 6.1 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ รายได้ที่สูงเป็นประวัติการณ์ได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายแฟรนไชส์ในภูมิภาคและการเติบโตของรายได้รวมที่แข็งแกร่ง กลุ่มธนาคารยูโอบีประกาศผลกำไรสุทธิสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 6.1 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566 หากรวมค่าใช้จ่ายครั้งเดียวที่เกิดจากการซื้อกิจการธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป กำไรสุทธิจะอยู่ที่ 5.7 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน คณะกรรมการจึงเสนอจ่ายเงินปันผลที่ 85 เซ็นต์ต่อหุ้นสามัญ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินปันผลระหว่างกาล 85 เซ็นต์ต่อหุ้นสามัญ เงินปันผลทั้งหมดสำหรับปี 2566 คิดเป็น 1.70 เหรียญสิงคโปร์ต่อหุ้นสามัญ หรือคิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผลต่อกำไรสุทธิอยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 ในปี 2566 ผลกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารยูโอบีปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 และก้าวข้าม 6 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก แตะระดับสูงสุดใหม่ที่ 6.1 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการเติบโตของรายได้ที่แข็งแกร่งและแฟรนไชส์ลูกค้าที่ขยายตัว รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 อยู่ที่ 9.7 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ จากการเพิ่มขึ้นของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แข็งแกร่งที่

Read More

วัดชีพจรธนาคารยูโอบี หลังซื้อกิจการลูกค้าบุคคลจากซิตี้กรุ๊ป

ปี 2564 มีข่าวออกมาว่า ซิตี้กรุ๊ป (Citigroup) มีแผนจะออกจากธุรกิจลูกค้าบุคคล (Consumer Banking) ใน 13 ตลาด ทั้งในออสเตรเลีย บาห์เรน จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ รัสเซีย ไต้หวัน เวียดนาม รวมถึงประเทศไทย 14 มกราคม 2565 ซิตี้กรุ๊ปเคลื่อนไหวอีกครั้งด้วยการออกมาประกาศบรรลุดีลในการขายธุรกิจธนาคารกลุ่มลูกค้าบุคคล ใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และเวียดนาม ให้กับกลุ่มธนาคารยูโอบี (UOB) กลุ่มธนาคารยักษ์ใหญ่แห่งสิงคโปร์ ซึ่งดีลดังกล่าวรวมธุรกิจธนาคารลูกค้ารายย่อยและธุรกิจบัตรเครดิต แต่ไม่รวมธุรกิจลูกค้าสถาบันของธนาคาร โดยที่ดีลในการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้จะครอบคลุมพนักงานของซิตี้แบงก์ที่จะโอนไปยังธนาคารยูโอบีเมื่อเสร็จสิ้นการเข้าซื้อกิจการกว่า 5,000 คนอีกด้วย กระทั่งวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 อีกหนึ่งดีลประวัติศาสตร์สัมฤทธิผลไปอีกขั้น เมื่อธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ออกมาประกาศว่ากลุ่มธนาคารยูโอบีได้ดำเนินการเข้าซื้อกิจการธนาคารลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปในมาเลเซียและประเทศไทยเสร็จสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว

Read More

ยูโอบีประกาศผลกำไรหลักสุทธิ ปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

ยูโอบีประกาศผลกำไรหลักสุทธิ ปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ จากการเพิ่มขึ้นของส่วนต่างระหว่างรายรับและรายจ่ายอย่างเห็นได้ชัด และคุณภาพของสินทรัพย์ที่ยืดหยุ่น การซื้อกิจการซิตี้กรุ๊ปแสดงผลลัพธ์เชิงบวก เงินปันผลประจำปีที่เสนอเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 อยู่ที่ 75 เซ็นต์ต่อหุ้น กลุ่มธนาคารยูโอบีประกาศผลกำไรจากธุรกิจหลักสุทธิสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 และหากรวมค่าใช้จ่ายครั้งเดียวที่เกิดจากการซื้อกิจการธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปในมาเลเซียและไทย กำไรสุทธิจะสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 4.6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ กำไรที่สูงและสถานะดำรงเงินทุนส่งผลให้คณะกรรมการเสนอจ่ายเงินปันผลประจำปีที่ 75 เซ็นต์ต่อหุ้นสามัญ เมื่อรวมกับเงินปันผลระหว่างกาลที่ 60 เซ็นต์ต่อหุ้นสามัญ จะทำให้เงินปันผลทั้งหมดสำหรับปี 2565 อยู่ที่ 1.35 เซ็นต์ต่อหุ้นสามัญหรือคิดเป็นอัตราการจ่ายเงินตอบแทนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 49 การซื้อกิจการธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปในมาเลเซียและไทยเสร็จสิ้นลงแล้วในเดือนพฤศจิกายน 2565 ส่วนอินโดนีเซียและเวียดนามคาดว่าจะเสร็จสิ้นลงในปี 2566 การซื้อกิจการครั้งสำคัญนี้ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ยุทธศาสตร์อาเซียนของกลุ่มธนาคารและช่วยขยายแฟรนไชส์ลูกค้ารายย่อยอย่างมีนัยสำคัญ พร้อมข้อเสนอผลิตภัณฑ์และโอกาสในการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หลักที่เพิ่มขึ้น ฐานลูกค้ารายย่อยของกลุ่มธนาคารขยายตัวเพิ่มขึ้นจนเกือบแตะ 7 ล้านรายในภูมิภาค ในขณะที่รายได้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการซื้อกิจการน่าจะเห็นผลในทางเชิงบวก ในปี 2565 กำไรจากการดำเนินงานหลักของกลุ่มธนาคารปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ

Read More

ยูโอบีเผยกลยุทธ์การลงทุน ช่วยลูกค้ารับมือกับความผันผวนของตลาดในปี 2566

ยูโอบี ประเทศไทย จัดงานสัมมนาการลงทุนประจำปีเพื่อเผยกลยุทธ์และข้อมูลด้านการลงทุน เชิงลึกประจำปี 2566 ให้แก่ลูกค้า ซึ่งกลยุทธ์ที่ทางธนาคารแนะนำ ได้แก่ การลงทุนในธุรกิจการเงินของสหรัฐฯ แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของ ชนชั้นกลางในเอเชียส่งผลต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคทั่วโลก และโครงสร้างของ Global Healthcare เช่น เทคโนโลยีด้านสุขภาพในระยะยาว งานสัมมนายังกล่าวถึงการที่เศรษฐกินในภูมิภาคเอเชียเริ่มที่จะไม่ต้องพึ่งพาประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งนับเป็นโอกาสสำคัญสำหรับการลงทุน คุณยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ Head of Personal Financial Services ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า "ในปี 2565 เราประสบกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั่วโลก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ตลาดจะต้องปรับฐาน และในปี 2566 นี้ เราคาดว่าความผันผวนจะยังคงดำเนินต่อไป ธนาคารยูโอบี มุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกค้าของเราให้ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนนี้ ด้วยการให้ข้อมูลและกลยุทธ์การลงทุนเพื่อประกอบการตัดสินใจในอนาคตทางการเงินอย่างชาญฉลาด" อุตสาหกรรมการเงินของสหรัฐยังคงเป็นทางเลือกในการลงทุนที่แข็งแกร่งแม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายระยะสั้น อุตสาหกรรมการเงินของสหรัฐยังคงเป็นตัวเลือกการลงทุนที่แข็งแกร่ง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้กลุ่มธนาคารได้เปรียบในส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิและรายได้โดยรวมของธนาคาร แม้ว่าจะมีโอกาสเติบโตในระยะยาว แต่ธนาคารยังคงเป็นธุรกิจหลักที่มีความท้าทาย เนื่องจากธนาคารดิจิทัลค่อยๆ เข้ามามีบทบาทในการแข่งขันกับสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม สำหรับความท้าทายในระยะสั้น ได้แก่ การตั้งสำรองหนี้เสียเพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย และค่าธรรมเนียมจากการซื้อขายกองทุนที่ลดลงจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ หากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นเป็นเพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ

Read More

ยูโอบี มอบสินเชื่อ 1.37 พันล้านบาท แก่แอสเซทไวส์ พัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวระดับลักชัวรีแห่งล่าสุด

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย มอบสินเชื่อ 1.37 พันล้านบาท ให้แก่ บริษัท แอสเซทไวส์ เพื่อพัฒนาโครงการ ดิ ออเนอร์ โยธินพัฒนา (The Honor Yothinpattana) โครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับลักชัวรีแห่งใหม่ล่าสุดในประเทศ ซึ่งตั้งอยู่บนอยู่บนทำเลทองใกล้เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา โครงการมีมูลค่ารวม 4.2 พันล้านบาท และได้รับการออกแบบมาโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และส่งมอบคุณภาพชีวิติที่ดีให้แก่ผู้อยู่อาศัยและชุมชนโดยรอบ นาย ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดเผยว่า “การสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนให้แก่ธุรกิจในประเทศไทยเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของยูโอบี ธนาคารได้ดำเนินธุรกิจกับแอสเซทไวส์มาตั้งแต่ปี 2559 โดยได้สนับสนุนสินเชื่อให้แก่ แอสเซทไวส์ เพื่อพัฒนาคอนโดที่อยู่อาศัยรวม 11 โครงการ ซึ่งรวมถึงสินเชื่อสำหรับติดตั้งแผงโซลาร์ในหลายๆ โครงการ ดิ ออเนอร์ โยธินพัฒนา (The Honor Yothinpattna) เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของ แอสเซท ไวส์ และถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของยูโอบีในการสร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างยั่งยืน และผลักดันให้ธุรกิจเติบโตอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม” นายกรมเชษฐ์

Read More

ธปท. สั่งหั่นค่าธรรมเนียม ทำธนาคารรายได้-กำไรลด

ข่าวการเตรียมปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมครั้งใหญ่ด้วยการออกประกาศแนวปฏิบัติ การคำนวณอัตราค่าธรรมเนียมของสถาบันการเงินทั้งระบบของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้แนวความคิดที่ว่าเพื่อเป็นแนวทางให้สถาบันการเงินใช้ในการกำหนดค่าธรรมเนียมอย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรมต่อผู้บริโภค กำลังส่งผลสั่นคลอนรายได้และกำไรของธนาคารพาณิชย์อย่างยากปฏิเสธ ภายใต้แนวปฏิบัติของ ธปท. ดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะประกาศใช้ภายในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ จะครอบคลุมค่าธรรมเนียมในผลิตภัณฑ์ทางการเงินทุกประเภทรวมกว่า 200-300 ประเภท ในทุกกลุ่มธุรกิจทั้งธุรกิจลูกค้ารายใหญ่ ลูกค้าขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ตลอดจนลูกค้ารายย่อย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ธปท. ได้สั่งให้สถาบันการเงินปรับลดค่าธรรมเนียมไปแล้ว 3-4 รายการ ซึ่งถือเป็นการนำร่องก่อนการประกาศใช้แนวทางการคิดค่าธรรมเนียมทั้งระบบของ ธปท. การประกาศใช้แนวทางการคิดค่าธรรมเนียมของ ธปท. ครั้งใหม่นี้ แม้จะสร้างความเป็นธรรมให้กับลูกค้าและสร้างมาตรฐานให้กับสถาบันการเงินทั้งระบบ หากในอีกทางหนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้ของธนาคาร ซึ่งการให้ธนาคารปรับลดค่าธรรมเนียมไปในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เป็นประหนึ่งการนำร่องก่อนที่จะนำไปสู่การครอบคลุมทุกประเภท ซึ่งน่าจะมีส่วนกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือรายได้ของธนาคาร แต่จะเป็นไปในระดับใด ยังเป็นกรณีที่ต้องประเมินข้อมูลอีกครั้ง ก่อนหน้านี้ ธปท. ได้เรียกขอข้อมูลต้นทุนค่าธรรมเนียมแต่ละบริการของธนาคาร เพื่อพิจารณาว่าค่าธรรมเนียมแต่ละรายการดำเนินไปอย่างสมเหตุสมผล สอดรับกับทั้งระบบหรือไม่ เพื่อใช้กำหนดค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องกับต้นทุนมากขึ้น ซึ่งในมุมมองของนายธนาคารหลายแห่งเชื่อว่าการเก็บค่าธรรมเนียมของแต่ละธนาคารในปัจจุบัน ถือว่าสมเหตุสมผลอยู่แล้ว เพราะหากธนาคารแห่งใดเก็บค่าธรรมเนียมเกินควร ไม่สอดคล้องกับต้นทุนก็จะต้องเผชิญกับกลไกตลาด ที่มีการแข่งขันเรื่องค่าธรรมเนียมซึ่งส่งผลให้ค่าธรรมเนียมธุรกรรมทางการเงินของแต่ละธนาคารมีแนวโน้มปรับลดลงอยู่แล้ว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ตัวเลขค่าธรรมเนียมของทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 2562 ที่ผ่านมา พบว่ามีสัดส่วนถึงร้อยละ 29 หรือประมาณ 1.91

Read More

ทีเอ็มบี ตอกย้ำการเป็นธนาคารที่ให้ลูกค้าได้มากกว่าทุกช่องทาง สนับสนุนธุรกิจลูกค้า ด้วยกิจกรรมโปรโมทร้านค้าออนไลน์ฟรี กับ Get MORE with TMB

ทีเอ็มบี รุกเดินหน้าสร้างเอกลักษณ์การเป็นธนาคารที่แตกต่างเหนือใครอย่างต่อเนื่อง ด้วยแคมเปญ “Get MORE with TMB” ตอกย้ำการเป็นธนาคารที่ให้ลูกค้าได้มากกว่าทุกช่องทาง ด้วยสื่อโซเชียล ผ่านกิจกรรม “โปรโมทร้านค้าออนไลน์ฟรี กับ Get MORE with TMB” สำหรับร้านค้าออนไลน์ 6 หมวดสินค้าที่เป็นลูกค้าทีเอ็มบี มีสิทธิ์ร่วมกิจกรรมโปรโมทร้านค้าออนไลน์ฟรีบนเฟซบุ๊กทีเอ็มบี โดยสามารถร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่เดือนก.ย. – พ.ย.61 พร้อมเผยผลตอบรับจากแคมเปญ Get MORE with TMB ดีทั้งในเฟซบุ๊กและยูทูบ ซึ่งเป็นสื่อโซเชียลหลักของคนไทย พบว่าตัวเลข Brand Favorability บนเฟซบุ๊ก และตัวเลข Ad Recall บนยูทูบ สูงกว่าค่าเฉลี่ยภาพรวมในประเทศไทย นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทีเอ็มบียังคงเดินตามโรดแมพ 5 ปี

Read More

แบงกิ้งเอเย่นต์-โมบายแบงกิ้ง จุดเปลี่ยนผ่านการเงินไทย?

การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการเงินไทย กำลังดำเนินไปด้วยอัตราเร่งอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นความพยายามที่จะก้าวไปสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด การทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านอุปกรณ์สื่อสารมือถือ การปรับลดจำนวนสาขา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเร่งลดทอนค่าใช้จ่าย และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงานและระบบการบริหารการบริการที่ดำเนินมาในช่วงก่อนหน้านี้ ตัวเลขที่น่าสนใจจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่าผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 ธนาคารพาณิชย์ มีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมลดลงเป็นครั้งแรกในไตรมาสนี้ โดยปรับตัวลดลงร้อยละ11. 2 จากการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและโมบายแบงกิ้ง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังมีกำไรสุทธิ 5.7 หมื่นล้านบาท ขยายตัวขึ้นในอัตราร้อยละ 15.9 จากรายได้ดอกเบี้ยสินเชื่อเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงเป็นหลัก การแข่งขันกันของธนาคารพาณิชย์ด้วยการเปิดศึกยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมดิจิทัลบนมือถือ ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เมื่อสิ้นไตรมาส 2 ปี 2561 มีผู้ใช้บริการโอนเงินทางอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งและโมบายแบงกิ้งสูงถึง 224 ล้านรายการ หรือคิดเป็น 90% ของยอดการโอนเงินของลูกค้า ขณะที่อัตราการโอนเงินผ่านสาขามีเพียง 170,000 รายการ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น้อยมากหากนำมาเปรียบเทียบกัน การมาถึงของเทคโนโลยี ในด้านหนึ่งได้ส่งผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์ และกำลังจะเป็นแรงผลักสำคัญต่อการพิจารณาปรับลดต้นทุนและการบริหารจัดการในระยะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแย่งชิงและยึดกุมฐานลูกค้าในยุคสังคมไร้เงินสดให้มาทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านมือถือที่กำลังทวีความเข้มข้น และกลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่มีความดุเดือดยิ่งขึ้น เพราะธุรกรรมดิจิทัลเหล่านี้ทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถติดตามพฤติกรรมต่อยอดบริการ และสร้างรายได้จากลูกค้ากลุ่มนี้ได้เต็มที่ ขณะเดียวกันพนักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ ที่ดูเหมือนจะมีบทบาทลดลงหลังจากที่ธุรกรรมจำนวนมากถูกปรับย้ายไปสู่แพลตฟอร์มมือถือ กลายเป็นกลุ่มคนที่กำลังได้รับผลกระทบจาก disruptive technology

Read More

ธนาคารดูแลลูกค้าได้ดีเพียงใด?

Marketbuzzz ร่วมกับ Potentiate เผยผลวิจัย Banking Benchmark ล่าสุด เน้นความสำคัญของการประเมินประสบการณ์ลูกค้าธนาคารในทุกๆ Touchpoints เช่นเดียวกับทุกธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงสู่ธนาคารสมัยใหม่ในแทบทุกด้าน ส่งผลให้บรรดาธนาคารต่างๆ ในประเทศไทยต้องลงทุนในด้านการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าในทุกขั้นตอนของการใช้บริการธนาคาร เริ่มจากการเปลี่ยนวิธีการชำระเงิน เปลี่ยนบทบาทของธนาคาร และวิธีสื่อสารหรือปฏิสัมพันธ์กับธนาคาร ซึ่งความคาดหวังของลูกค้า ไม่ใช่แค่การแวะไปตามสาขาของธนาคารหรือใช้ตู้เอทีเอ็มเท่านั้น แต่รวมถึงการเชื่อมต่อธนาคารที่แต่ละคนใช้กับธนาคารออนไลน์หรือแอปพลิเคชันบนมือถือ ด้วยวิธีการเข้าถึงธนาคารที่เพิ่มขึ้น ธนาคารจึงต้องการเครือข่ายที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า และได้กลายมาเป็นการแข่งขันกันที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ สำหรับธนาคารแล้ว เรื่องความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ธนาคารเองก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนจากวิธีคิดแบบการให้บริการในเชิงธุรกรรม เป็นการให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง ส่วนธนาคารจะสามารถสร้างประสบการณ์เดียวกันในทุกช่องทางให้กับลูกค้าได้หรือไม่? Marketbuzzz ร่วมกับ Potentiate บริษัทด้านเทคโนโลยีข้อมูล ได้จัดทำงานวิจัยเพื่อติดตามธุรกิจธนาคารและประเมินประสบการณ์ของลูกค้าธนาคารชั้นนำต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งการประเมินประสบการณ์ลูกค้าในทั่วทุกภูมิภาคนี้ เป็นงานวิจัยเพื่อหาเกณฑ์มาตรฐานของการดำเนินงานของธนาคารเกี่ยวกับประสบการณ์ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์รายใหญ่และสำรวจ Touchpoints ทั้งหมดที่ลูกค้าใช้เพื่อสื่อสาร/ปฏิสัมพันธ์กับธนาคารของตน นายแกรนท์ บาร์โทลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมาร์เก็ตบัซซ (Marketbuzzz) ในฐานะพันธมิตรของบัซซี่บีส์ กล่าวว่า "นี่เป็นงานวิจัยตัวแรกๆ ที่ศึกษาเกณฑ์มาตรฐานธนาคารในประเทศไทย ซึ่งทำให้ภาคธุรกิจสามารถเข้าใจระดับความพึงพอใจและประสบการณ์ของลูกค้าได้ ทั้งยังสามารถเปรียบเทียบกับธนาคารอื่นๆ ในประเทศไทยได้อีกด้วย สำหรับธนาคารแล้ว ความต้องการที่จะเข้าใจประสบการณ์ของลูกค้าในทุก Touchpoints มีความสำคัญมาก และเราสำรวจในทุกระดับของการปฏิสัมพันธ์

Read More