Home > R12

บทบาทของ NEDA กับเส้นทาง R12 และความคาดหวังที่ต้องแบก

ภารกิจของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization) (NEDA) ในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน จุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญให้เกิดความจำเริญในด้านอื่นๆ ตามมา ตลอดระยะเวลา 13 ปี ดำเนินการไปแล้วกว่า 70 โครงการ ภาพจำที่หลายคนมีต่อเนด้า (NEDA) คือโครงการทั้งหมดเกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งการพัฒนาสาธารณูปโภค เส้นทางการคมนาคม กระนั้นผลสำเร็จของโครงการดังกล่าวล้วนยังประโยชน์ให้หวนกลับมาสู่ประเทศไทยในรูปแบบคู่ขนาน ทว่าโครงการล่าสุดที่เนด้าต้องก้าวเข้ามารับผิดชอบในครั้งนี้ เมื่อมองผิวเผินคงจะไม่ยี่หระนักสำหรับเนด้า และไม่แตกต่างจากเส้นทางคมนาคมเส้นทางอื่นที่เนด้าเคยเข้าไปรับผิดชอบในการพัฒนา หากแต่เส้นทางนี้น่าจะเป็นอีกหนึ่งบททดสอบใหม่ของเนด้า เมื่อหลายฝ่ายให้ความสำคัญ เพราะเส้นทางดังกล่าวเสมือนอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ของไทยในการขับเคลื่อน Logistics ที่มีผลต่อการขยายหน้าสัมผัสให้สินค้าส่งออกของไทยมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ถนน R12 เส้นทาง R12 มีบทบาทสำคัญต่อโครงข่ายคมนาคมและการขนส่งในอนุภูมิภาค โดยเส้นทางดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการผลักดันให้เกิดการพิจารณาขยายขอบเขตข้อตกลงการขนส่งข้ามพรมแดน (Greater Mekong Sub-region Cross-Border Transport Agreement: CBTA) จากถนน R9 เส้นทางเดียว ให้ครอบคลุมเพิ่มเติมตั้งแต่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

Read More

นครพนมฝันไกล จากเมืองซอยตัน สู่ฮับโลจิสติกส์

ย้อนกลับไปก่อนที่จะมีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 จังหวัดนครพนมมักจะถูกกล่าวถึงในฐานะเป็นเมืองซอยตัน และหลังจากปี พ.ศ. 2554 ที่มีการเปิดใช้สะพาน คำว่า “เมืองซอยตัน” ถูกลบออกไปจากพจนานุกรมของนครพนมทันที แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทั้งในแง่มุมทางเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว รวมไปถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลายเป็นที่จับตามองจากบรรดานักลงทุนทั้งในและนอกพื้นที่ ในฐานะที่วันนี้นครพนมกลายเป็นเมืองหน้าด่านที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาว และเวียดนามได้ด้วยระยะทางที่สั้นที่สุด เมื่อเทียบกับ จ.มุกดาหาร หรือ จ.หนองคาย แม้ว่าก่อนหน้าหลายฝ่ายจะเคยกังวลว่า สถานการณ์ของจังหวัดนครพนมหลังจากเปิดใช้สะพานมิตรภาพ 3 ทิศทางจะเป็นอย่างไร จะเหมือนหรือแตกต่างจากจังหวัดมุกดาหารและจังหวัดหนองคายหรือไม่ ที่เมื่อครั้งก่อนจะมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ทั้งแห่งที่ 1 และ 2 นักเก็งกำไร นักลงทุนต่างคาดหวังถึงผลลัพธ์เอาไว้มากมาย หากแต่ผลที่ได้การณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น หากวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตกับนครพนม คล้ายเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เมืองแห่งพระธาตุศักดิ์สิทธิ์แตกต่างจาก 2 จังหวัดข้างต้น ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะตัวแปรสำคัญอย่างมหาวิทยาลัยนครพนม และสนามบิน ซึ่งเป็นเสมือนศักยภาพขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการถูกเลือกให้นครพนมเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขอันเป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้นครพนมโดดเด่นขึ้น การเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนครพนม โดยเฉพาะในมิติของการเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ที่สำคัญตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เห็นได้จากตัวเลขสถิตินับตั้งแต่การเปิดใช้สะพาน มูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดนครพนมจากที่เคยซบเซากลับขยายตัวสูงขึ้น โดยมูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดนครพนมในปี

Read More