Home > แววมะนี ดวงดาลา

ผ้าทอหลวงพระบาง มนต์เสน่ห์ที่สานต่อจากดีเอ็นเอ

เสียงกี่ทอผ้าดังขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อช่างทอผ้ากระตุกไม้หลังส่งกระสวยเส้นพุ่งจากด้านหนึ่งไปอีกด้านเพื่อถักทอผ้าอย่างขะมักเขม้น บ้านไม้ยกพื้นสูงที่แอบซ่อนในตรอกเล็กๆ ของเมืองหลวงพระบาง สายลมที่พัดมาจากแม่น้ำโขงหอบเอากลิ่นหอมของดอกไม้ที่เจ้าของบ้านปลูกไว้ โชยกลิ่นเรียกความสดชื่นจากผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดี แววมะนี ดวงดาลา ผู้ก่อตั้ง The Living Crafts Centre ออกพบตก บอกเล่าความเป็นมาของสถานที่แห่งนี้ว่า “เริ่มเรียนรู้การทอผ้ามาตั้งแต่อายุ 7-8 ขวบ เด็กผู้หญิงสมัยนั้นต้องทอผ้าใส่เองได้ คุณแม่ก็สอนตั้งแต่ตอนนั้น ซึ่งการทอผ้าเป็นทักษะที่เมื่อได้เรียนรู้แล้วก็จะไม่มีวันลืม กระทั่งเมื่อปี 2000 ก็มีความคิดเกี่ยวกับผ้าทอของหลวงพระบาง ว่าทำอย่างไรที่จะอนุรักษ์ รักษา และเผยแพร่ให้คนอื่นได้รู้จัก ก็นำความคิดนี้แลกเปลี่ยนกับโจแอนนา สมิท เพื่อนช่างภาพชาวอังกฤษ ต่างคิดเห็นตรงกันว่าควรจะเผยแพร่และอนุรักษ์ไปพร้อมๆ กัน” แน่นอนว่าความยากของการอนุรักษ์และเผยแพร่สิ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เมื่อความคิดของผู้ใหญ่ยังคงมุ่งมั่นที่จะรักษาเอกลักษณ์ของลายผ้าเอาไว้ ขณะที่คนรุ่นใหม่ต้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย “ต้องยอมรับว่ายากเอาการ เพราะผู้ใหญ่ที่เขาทอผ้ากันมาจะมีความคิดว่าต้องการให้ผ้าทอคงเอกลักษณ์เดิมๆ เอาไว้ เช่น สี ลวดลาย บางคนยืนยันว่าต้องใช้สีแดงเท่านั้น เปลี่ยนไม่ได้ ต้องอธิบายพูดคุยกันนาน ว่าขอให้ทดลองดูก่อน ลองปรับเปลี่ยนสีบ้าง ถ้ามีคนชื่นชอบก็เปลี่ยน แต่ถ้าทำแล้วคนไม่ชอบก็ไม่เปลี่ยน จึงทำให้ผ้าทอของที่นี่เป็นไปในแนว Contemporary เพื่อจับกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างดี ผู้ใหญ่ท่านก็ยอมรับความเปลี่ยนแปลง” แววมะนีอธิบายเพิ่มเติมว่าธุรกิจที่ทำอยู่จะเป็นไปในลักษณะของ Social

Read More

จากน่านสู่หลวงพระบาง บนเส้นทางของความเปลี่ยนแปลง

น่าน จังหวัดเล็กๆ ทางภาคเหนือของไทย ที่หลอมรวมเอาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของหลากหลายชาติพันธุ์ไว้มากมาย รวมไปถึงวิถีชีวิตของชาวน่านที่เรียบง่าย ทว่า ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ผสมผสานให้น่านกลายเป็นจังหวัดที่อุดมไปด้วยมนต์เสน่ห์ ก่อนหน้านี้น่านอาจต้องพบเจอกับความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่ครั้งหนึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเคยบรรจุน่านเข้าในแคมเปญเมืองต้องห้ามพลาด แน่นอนว่ามีแหล่งท่องเที่ยวเกิดขึ้นมากมายรองรับการมาถึงของนักท่องเที่ยวที่แสวงหาสถานที่ใหม่ๆ ที่พร้อมจะเปิดรับประสบการณ์ที่แตกต่างไปจากที่เคย ในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้า คนน่านเองเคยแสดงความวิตกกังวลว่า กิจกรรมการโปรโมตการท่องเที่ยวในจังหวัดน่านส่งผลให้การท่องเที่ยวในจังหวัดน่านขยายตัวเร็วเกินไป จะทำให้น่านเดินตามรอย “ปาย” จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีทุนจากภายนอกเข้ามา มากกว่าจะเป็นคนในท้องถิ่น เมื่อในเวลานั้นน่านอาจจะยังไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้น ทว่า ความแข็งแกร่งของชาวน่านดูจะสามารถยืนหยัดกับสิ่งเร้าที่เข้ามาใหม่ได้เป็นอย่างดี เมื่อปัจจุบันน่านยังคงอัตลักษณ์และรักษาวิถีชีวิตที่เรียบง่าย รวมไปถึงบรรยากาศเมืองอันเงียบสงบเอาไว้ได้ กระนั้นยังมีอีกประเด็นที่การท่องเที่ยวจังหวัดน่านเคยกังวล เมื่อครั้งที่มีโครงการสร้างถนนสายสำคัญจากด่านห้วยโก๋นจังหวัดน่านไปสู่เมืองหลวงพระบาง ว่าหากเส้นทางนี้สร้างเสร็จลุล่วง น่านจะถูกลืมเลือนและกลายเป็นเมืองทางผ่านสำหรับนักท่องเที่ยวที่เลือกใช้การเดินทางโดยรถยนต์เพื่อมุ่งหน้าไปยังเมืองมรดกโลกของ สปป. ลาว ถนนหงสา-บ้านเชียงแมน สู่หลวงพระบางที่ภาครัฐโดยสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ NEDA ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ สปป. ลาว ซึ่งโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การให้ความช่วยเหลือทางการเงินของประเทศไทยแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ในด้านการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งและการท่องเที่ยว ภายใต้กรอบวงเงิน 1,977 ล้านบาท ระยะทาง 114 กิโลเมตร โดยเส้นทางนี้จะกลายเป็นเส้นทางสำคัญที่สนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ไปยังหลวงพระบางเมืองมรดกโลก ด้วยการเดินทางเพียง 3 ชั่วโมง จากเดิมที่ใช้เวลาการเดินทางประมาณ

Read More