Home > เนด้า

เนด้า หนุนการรถไฟลาว เอื้อเศรษฐกิจเวียงจันทน์ หนองคาย

หากเอ่ยถึงองค์การที่ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา JICA หรือ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น เป็นหน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่น ที่คอยให้คำปรึกษาตลอดจนความช่วยเหลือด้านการพัฒนาประเทศอย่างเป็นทางการในนามของรัฐบาลญี่ปุ่น ขณะที่ไทยมีหน่วยงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency หรือ NEDA (เนด้า) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ด้วยบทบาทหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ ทั้งด้านการเงินและวิชาการ โดยประเทศที่เนด้าให้ความช่วยเหลืออยู่ในกลุ่ม CLMV เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สปป.ลาว ซึ่งที่ผ่านมาเนด้าได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วกว่า 30 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท และอีกหนึ่งโครงการใน สปป.ลาว ที่เนด้าให้ความช่วยเหลือคือ การก่อสร้างสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ที่เริ่มต้นก่อสร้างตั้งแต่ปี 2562 โดยใช้งบประมาณก่อสร้างรวม 994.68 ล้านบาท ปัจจุบันยังไม่ได้ทำการส่งมอบเนื่องจากยังต้องรอการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของไทยแล้วเสร็จ ซึ่งการส่งมอบและพิธีเปิดน่าจะเกิดขึ้นในช่วงการประชุมความร่วมมือ “อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง” หรือ ACMECS ครั้งที่ 10

Read More

ครม.อนุมัติโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเมืองย่างกุ้ง

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 อนุมัติให้สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) สำหรับโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเมืองย่างกุ้ง (เขต North Okkalapa และเขต North Dagon) ในรูปแบบเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน วงเงิน 1,458.248 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินจากเงินงบประมาณและเงินกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นไปตามยุทธศาสตร์สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน และยังเป็นการสนับสนุนการผลิต สินค้าและบริการของผู้ประกอบการไทย ซึ่งเป็นผลจากเงื่อนไขเงินกู้ที่ได้กำหนดให้ใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ จากประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าสัญญา อีกทั้งช่วยดึงดูดนักลงทุนชาวไทยให้เข้าไปลงทุนในเมียนมา โดยใช้บริการรับเหมาก่อสร้างและวิศวกรควบคุมงานจากประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินโครงการด้วย

Read More

บทบาทของ NEDA กับเส้นทาง R12 และความคาดหวังที่ต้องแบก

ภารกิจของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization) (NEDA) ในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน จุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญให้เกิดความจำเริญในด้านอื่นๆ ตามมา ตลอดระยะเวลา 13 ปี ดำเนินการไปแล้วกว่า 70 โครงการ ภาพจำที่หลายคนมีต่อเนด้า (NEDA) คือโครงการทั้งหมดเกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งการพัฒนาสาธารณูปโภค เส้นทางการคมนาคม กระนั้นผลสำเร็จของโครงการดังกล่าวล้วนยังประโยชน์ให้หวนกลับมาสู่ประเทศไทยในรูปแบบคู่ขนาน ทว่าโครงการล่าสุดที่เนด้าต้องก้าวเข้ามารับผิดชอบในครั้งนี้ เมื่อมองผิวเผินคงจะไม่ยี่หระนักสำหรับเนด้า และไม่แตกต่างจากเส้นทางคมนาคมเส้นทางอื่นที่เนด้าเคยเข้าไปรับผิดชอบในการพัฒนา หากแต่เส้นทางนี้น่าจะเป็นอีกหนึ่งบททดสอบใหม่ของเนด้า เมื่อหลายฝ่ายให้ความสำคัญ เพราะเส้นทางดังกล่าวเสมือนอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ของไทยในการขับเคลื่อน Logistics ที่มีผลต่อการขยายหน้าสัมผัสให้สินค้าส่งออกของไทยมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ถนน R12 เส้นทาง R12 มีบทบาทสำคัญต่อโครงข่ายคมนาคมและการขนส่งในอนุภูมิภาค โดยเส้นทางดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการผลักดันให้เกิดการพิจารณาขยายขอบเขตข้อตกลงการขนส่งข้ามพรมแดน (Greater Mekong Sub-region Cross-Border Transport Agreement: CBTA) จากถนน R9 เส้นทางเดียว ให้ครอบคลุมเพิ่มเติมตั้งแต่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

Read More

ท่องเที่ยวหลวงพระบาง กับทิศทางแห่งการพัฒนา

  ข่าวการมาเยือนไทยครั้งแรกของ ดร.ทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังเข้ารับตำแหน่ง ได้รับความสนใจอย่างมาก ซึ่งนอกจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและ สปป.ลาว แล้ว ยังมีการหารือทวิภาคีของผู้นำทั้งสองประเทศ ในโอกาสที่จะสานต่อความร่วมมือระหว่างกันที่มีอยู่เดิม และความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงนาม MOU ในเรื่องแรงงาน ซึ่งทางการไทยเน้นย้ำชัดเจนในเรื่องการดูแลแรงงานจากทุกประเทศเพราะแรงงานเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย  นอกจากนี้ ดร.ทองลุนยังได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “สปป.ลาว สู่อนาคตการพัฒนา” ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และการปาฐกถาครั้งนี้มีนัยสำคัญที่น่าสนใจมากมาย เสมือนเป็นการประกาศแนวทางนโยบายในการบริหารประเทศให้สาธารณชนได้รับรู้และเข้าใจ  “ลาวและไทยมีความสัมพันธ์อันดีอย่างยาวนาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผ่านขบวนการต่อสู้โดยสันติวิธี กระทั่งปัจจุบันมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ 7 เพื่อขยายการผลิตและส่งออกประคับประคองเศรษฐกิจให้ฟื้นขึ้นมา แต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับดังกล่าวกลับได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจมหภาคที่ถูกคุกคามจึงไม่ประสบผลสำเร็จ ปัจจุบันกำลังสร้างแผนเศรษฐกิจที่ 8 โดยมีเป้าหมายให้ลาวก้าวออกจากประเทศด้อยพัฒนาเป็นประเทศกำลังพัฒนา ให้แล้วเสร็จในปีคริสต์ศักราช 2020 ภายใต้วิสัยทัศน์ในการทำให้ชีวิตประชาชนลาวดีขึ้น โดยรายได้มวลรวมประชาชน หรือ GDP (Gross National Income) และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะต้องสอดคล้องหรือไม่ส่งผลกระทบแง่ลบต่อดัชนีความสงบสุขของคนในประเทศ (Global Peace Index, GPI) นั่นหมายความว่า ลาวจะพยายามพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมภายใต้ความสุขของประชาชน” เมื่อพิจารณาจากนโยบายที่ ดร.ทองลุน

Read More

น่านนครเสน่ห์ที่ควรอนุรักษ์ กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  น่านจังหวัดทางภาคเหนือของไทยที่อาจไม่ใช่จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวเท่าใดนัก และมักมีคำกล่าวที่ขยายความให้เข้าใจแจ่มชัดยิ่งขึ้นว่า “ถ้าไม่ตั้งใจไป ก็ไปไม่ถึง”  อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลา 2-3 ปีก่อนหน้าการท่องเที่ยวในจังหวัดน่านดูจะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ออกแคมเปญเพื่อรณรงค์การท่องเที่ยว โดยประกาศให้น่าน เป็น 1 ใน 12 เมืองต้องห้ามพลาดในปี 2558 ซึ่งนี่เองที่ทำให้การท่องเที่ยวในจังหวัดน่านเป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้นๆ สำหรับนักท่องเที่ยว ด้วยมนต์เสน่ห์ของน่านนครที่อุดมไปด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านนา สถานที่ท่องเที่ยว วัดวาอารมที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชาติพันธุ์ได้เป็นอย่างดี วิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นที่ดำเนินไปด้วยความสงบเรียบง่าย จึงเป็นตัวดึงดูดผู้คนให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ไลฟ์สไตล์ที่ต่างกันออกไป การขยายตัวธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดน่าน เพื่อรองรับอัตราการเติบโต และการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว ทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลในเรื่องของขอบเขตการพัฒนาทั้งในเชิงศักยภาพของการบริการ และการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว บทเรียนที่เห็นเด่นชัดคือความล่มสลายของเมืองปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจากนักท่องเที่ยว และถูกดูดกลืนวัฒนธรรมจนไม่หลงเหลือเสน่ห์ให้ค้นหามากนัก คนในเมืองน่านมีลักษณะเป็น Soft Culture หากหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการท่องเที่ยวของน่านต้องการให้จังหวัดพัฒนาด้านศักยภาพเพื่อรองรับการเติบโตของการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ จะส่งผลให้คนนอกที่เข้ามาในพื้นที่มาพร้อมกับ Hard Culture ซึ่งจะทำให้คนน่านกลายเป็นผลเมืองชั้นสองในทันที เมื่อมองจากภาพรวมของเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ ในจังหวัดทางภาคเหนือของไทย เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน การเข้ามาของกลุ่มทุนทั้งจากจีน เวียดนาม หรือกระทั่งคนไทยจากเมืองหลวง มักส่งผลต่อความเป็นธรรมชาติของเมืองนั้นๆ แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงจะนำมาซึ่งรายได้ของเมือง รายได้ของประชากรที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นก็ตาม กระนั้นสิ่งที่หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องพึงกระทำ คือการพัฒนาจังหวัดน่านแบบยั่งยืน ค่อยเป็นค่อยไป

Read More