Home > Myanmar

รัฐประหารเมียนมากระทบรอบด้าน ค้าชายแดนไทย-เมียนมาหดตัว

สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 คือการทำรัฐประหารอย่างเงียบๆ ในเมียนมา ภายใต้การดำเนินการของกองทัพเมียนมา โดย อองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐถูกควบคุมตัว เช่นเดียวกับผู้นำคนอื่นๆ ของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา กองทัพเมียนมาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและถ่ายโอนอำนาจให้แก่พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สิ่งที่เกิดขึ้นกับการเมืองภายในประเทศเมียนมาเป็นผลให้การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านถูกปิดด่านเป็นการชั่วคราว และเปิดให้ทำการขนส่งสินค้ากันได้อีกครั้งหลังจาก 4 ชั่วโมงผ่านไป ประธานหอการค้าอำเภอแม่สาย ผกายมาศ เวียร์รา เปิดเผยว่า แม้จะเกิดความตื่นตระหนกในหมู่ผู้ค้าชายแดนอยู่บ้าง แต่ไม่กระทบต่อการค้าชายแดน เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งภายในของเมียนมา และเมียนมายังให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อสินค้าไทยยังเป็นที่ต้องการของประชากรเมียนมา ด้านประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก ชัยวัฒน์ วิทิตธรรมวงศ์ กล่าวว่า การปฏิวัติในเมียนมาไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและธุรกิจการค้าชายแดนกับฝั่งไทย ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ นักลงทุนยังคงดำเนินกิจการได้ตามปกติ แน่นอนว่า การประเมินดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการทำรัฐประหารได้ไม่นาน และกระแสจากประชาชนเมียนมามีเพียงการประท้วงที่สงบสุข กระทั่งวานนี้ที่สถานการณ์การประท้วงเรียกร้องให้กองทัพเมียนมาคืนอำนาจให้ประชาชน และปล่อยตัว อองซานซูจี รวมไปถึงผู้นำพรรคเอ็นแอลดีคนอื่นๆ เริ่มบานปลายและมีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่ากองทัพจะระบุว่า จะใช้เวลาในการยึดอำนาจเพียง 1 ปี และจะให้มีการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ปัญหาภายในประเทศของเมียนมา ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ดี คงทำได้เพียงแค่มองและวิเคราะห์สถานการณ์อย่างเงียบๆ โดยมิควรก้าวล่วง

Read More

แม็คโคร เจาะแหล่งปลูกผักในรัฐฉาน สร้างโอกาสเกษตรกรท้องถิ่น ส่งผลผลิตป้อนสาขาเมียนมา

แม็คโคร เจาะแหล่งปลูกผักในรัฐฉาน สร้างโอกาสเกษตรกรท้องถิ่น ร่วมพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร ส่งผลผลิตป้อนสาขาเมียนมา บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เจาะพื้นที่รัฐฉาน แหล่งปลูกผักสำคัญ พูดคุยเกษตรกรท้องถิ่นพัฒนามาตรฐานความปลอดภัย ระบบโลจิสติกส์ ตลอดห่วงโซ่อาหาร ป้อนผักคุณภาพส่งขายสาขาแรกในย่างกุ้ง เสริมแกร่งช่องทางตลาดค้าส่งสมัยใหม่ บ่มเพาะแนวคิดความยั่งยืน นำวิถีสมาร์ทฟาร์มเมอร์สู่ชาวสวนเมียนมา นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากแม็คโคร กำหนดแผนการขยายธุรกิจในประเทศเมียนมาอย่างเป็นทางการ แม็คโคร ยังคงยึดมั่นนโยบายสำคัญที่ว่าด้วยการสนับสนุนเกษตรกรในท้องถิ่น โดยส่งทีมงานลงพื้นที่เพื่อเสาะหาแหล่งผลิตจากซัพพลายเออร์ที่ได้มาตรฐาน เฉพาะอย่างยิ่ง ผักชนิดต่างๆ ที่ต้องนำมาวางขายภายในสาขาแม็คโครกว่า 500 รายการ เราได้แหล่งซัพพลายที่สำคัญคือ รัฐฉาน ซึ่งผักที่บริโภคในเมียนมามากกว่าร้อยละ 60 มาจากรัฐนี้ทั้งสิ้น “ทีมงานของแม็คโครได้ลงพื้นที่ทำงานใกล้ชิดกับกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรเมียนมาที่ได้มาตรฐาน GAP โดยการเชื่อมโยงผ่านสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเมียนมา (UMFCCI) ซึ่งเราพบว่าปัญหาสำคัญของเขาชาวสวนในเมียนมาคือ ไม่มีตลาด ปกติจะส่งขายในตลาดสด แม็คโครจะเข้าไปเป็นช่องทางจำหน่ายเพิ่มเติม สร้างช่องทางการตลาดใหม่ที่ได้มาตรฐานให้กับเกษตรกรกลุ่มนี้” รัฐฉานถือได้ว่า เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศเมียนมาส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและดำเนินธุรกิจด้านเกษตร

Read More

นักวิจัยพบจิ๊กซอว์สำคัญของพุกามที่หายไปกว่า 120 ปี

นักวิจัยไทยค้นพบจิ๊กซอว์สำคัญของภาพจิตรกรรมฝาผนังกู่พญาเต่งมาซีที่หายไปจากเมืองมรดกโลกพุกามกว่า 120 ปี ด้วยการวิจัยแบบบูรณาการผสานศาสตร์และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ พร้อมจับมือกรมโบราณคดีเมียนมาพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดเผยว่า คณะนักวิจัยไทยนำโดย ศ.ดร.​เสมอชัย​ พูลสุวรรณ​ เมธีวิจัยอาวุโส​ สกว.​ จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงพื้นที่เมืองพุกาม ประเทศเมียนมา เพื่อนำองค์ความรู้หัวข้อ "กู่พญาเต่งมาซีและจิตรกรรมฝาผนัง: การหายไปและการฟื้นฟูความรู้ใหม่อีกครา" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานวิจัยชุดโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. “พระพุทธศาสนาเถรวาทในบริบทวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ (คริสต์ศตวรรษที่ 11-ปัจจุบัน)” คืนกลับไปยังดินแดนพุกาม เพื่อกระชับความสัมพันธ์และขยายเครือข่ายการคุ้มครองป้องกันและการพัฒนามรดกวัฒนธรรมในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง​ ประจำปี 2562​ ณ​ เมืองโบราณพุกาม “เมืองพุกาม” เป็นเมืองโบราณที่เลื่องชื่อด้วยมีสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาทั้งเจดีย์และกู่พญาซึ่งมีหน้าที่เป็นวิหารอยู่ในอาคารหลังเดียวกันที่มีอยู่จำนวนมากมายหลายพันองค์จนได้รับสมญาเป็นเมืองแห่งทะเลเจดีย์ เมื่อ 120 ปีที่ผ่านมาจิตรกรรมฝาผนังของกู่พญาเต่งมาซีได้ถูกลักลอบตัดออกจากแหล่งโดยนักแสวงโชค​นามว่า​ ‘โธมัน’​ คณะวิจัยได้สร้างสมมติฐานถึงแบบแผนของจิตรกรรมฝาผนังดังกล่าว​ โดยบูรณาการกับการสำรวจรังวัดตัวอาคารด้วยเทคโนโลยี​เลเซอร์สแกนเนอร์สามมิติ​ รวมถึงตรวจทานจารึกภาษาพม่าโบราณ​ที่เขียนกำกับไว้ โดยทำงานร่วมกับนักวิชาการอาวุโสด้านโบราณคดีและจารึกพม่า​จากกรมโบราณคดีเมียนมา​ ร่วมกับการสอบทานกับพระไตรปิฎก​และคัมภีร์พระพุทธศาสนาต่าง ๆ อีกทั้งสอบทวนภาพถ่ายฟิล์มกระจกที่โธมันถ่ายไว้​และตีพิมพ์ลงในหนังสือเกี่ยวกับพุกามด้วยอากาศยานไร้คนขับ​เพื่อสร้างหุ่นจำลองภาพหมอกจุดรูปทรงภายนอกของตัวอาคาร​ พร้อมกันนี้นักวิจัยได้ประสานงานเข้าไปศึกษาคลังเก็บรักษาโบราณวัตถุ​ของพิพิธภัณฑ์​ชาติพันธุ์วิทยาแห่งนครฮัมบูร์ก​ ประเทศเยอรมนี ซึ่งเก็บรักษาภาพจิตรกรรมฝาผนังกู่พญาเต่งมาซีไว้และเอกสาร​ที่เกี่ยวเนื่อง​จากงานจดหมายเหตุของพิพิธภัณฑ์​ ผลลัพธ์​ของการวิจัยนำมาซึ่งองค์ความรู้ความเข้าใจต่อบริบททางสังคม​ วัฒนธรรม​ การเมือง​ที่สัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา​ในช่วงภายหลังหัวเลี้ยวหัวต่อจากการปฏิรูปศาสนาสำนักมหาวิหารในลังกาเมื่อราวพันกว่าปีที่แล้ว​ ซึ่งกลายเป็นแบบแผนของพระพุทธศาสนาเถรวาทในเอเชียอาคเนย์รวมถึงประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาภาคสนามขั้นต้นเรื่อง​

Read More

โอสถสภา เดินหน้ารุกธุรกิจต่างประเทศ ลุยสร้างโรงงานเครื่องดื่มใหม่ในเมียนมาร์ พร้อมรักษาแชมป์เบอร์หนึ่งในตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังในเมียนมาร์

บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) นำโดย ธนา ไชยประสิทธิ์ รองประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.โอสถสภา และ ดร. สาย ซามทุน ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ลอย เฮง จำกัด และกรรมการบริษัท โอสถสภา เมียนมาร์ จำกัด เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดหน้าดินเพื่อก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งใหม่ ณ นิคมอุตสาหกรรมติละวา โซนบี กรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ โดยมี วรรณิภา ภักดีบุตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.โอสถสภา และ ประธาน ไชยประสิทธิ์ รองประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.โอสถสภา ร่วมในพิธี เมื่อเร็วๆ นี้ โดยโรงงานนี้นับเป็นโรงงานแห่งแรกของโอสถสภาในเมียนมาร์เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของไทย และบริษัท ลอย

Read More

LIMEC เชื่อมไทย ลาว เมียนมา เสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคเหนือตอนล่าง

หาก EEC คือความหวังของรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจและยกระดับพื้นที่ทางภาคตะวันออกของประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและดึงดูดนักลงทุนต่างชาติแล้ว “LIMEC” หรือระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย ก็อาจจะเป็นยุทธศาสตร์และความหวังในการเพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจให้กับภาคเหนือตอนล่างได้เช่นกัน ห้วงเวลาที่ผ่านมา ความพยายามของรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจผ่านโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือ EEC ดูจะเป็นสิ่งที่อยู่ในกระแสสังคม และสร้างความคึกคักในแวดวงนักธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ลงทุนอยู่ไม่น้อย EEC เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้วาทกรรม ไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นการยกระดับพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) ให้กลายเป็น “World Class Economic Zone” เพื่อรองรับการลงทุนอุตสาหกรรม Super Cluster ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อีกทั้งยังเป็นความหวังของรัฐบาลไทยที่จะใช้เป็นกลไกในการพลิกฟื้นสภาวะเศรษฐกิจของชาติต่อไป มีการคาดการณ์ว่า การลงทุนใน EEC จะกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ถึง 5% ต่อปี สร้างการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ 100,000 อัตราต่อปี ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากกว่า 10 ล้านคนต่อปี และสร้างฐานรายได้เพิ่มไม่น้อยกว่า 4.5 แสนล้านบาทต่อปี นักลงทุนจากหลายประเทศต่างให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่เป้าหมายแห่งนี้ หนึ่งในนั้นคือยักษ์ใหญ่แห่งวงการ

Read More

เมียนมาเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน รองรับงานการบริการ-ท่องเที่ยวบูม

สถานการณ์การท่องเที่ยวเมียนมาตั้งแต่ปี 2012-2015 ที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น น่าจะเป็นอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในและการเปิดประเทศ ที่เคยซ่อนเร้นความงดงามของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติเอาไว้จากสายตาคนภายนอก จากสถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศเมียนมาในปี 2012 จำนวน 1,058,995 คน และเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในปี 2013 ที่จำนวน 2,044,307 คน ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2014 และ 2015 ที่จำนวน 3,081,412 คน และ 4,681,020 คนตามลำดับ ทั้งนี้ภาคการท่องเที่ยวเมียนมาดูจะมีภาษีดีสุด เมื่อจำนวนอาคันตุกะที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี และยังสร้างรายได้ให้ประเทศ โดยปี 2011 เมียนมามีรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวน 319 ล้านดอลลาร์ ปี 2012 มีรายได้ 534 ล้านดอลลาร์ ปี 2013 มีรายได้ 926 ล้านดอลลาร์ ปี 2014 มีรายได้ 1,789 ล้านดอลลาร์ และปี 2015

Read More

ออง ซาน ซูจี เยือนไทย และจังหวะก้าวที่กว้างไกลของอาเซียน?

  ข่าวการเยือนประเทศไทยของออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน ที่ผ่านมา ต้องถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญของทั้งไทยและเมียนมา ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะในด้านหนึ่งนี่คือการเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกของออง ซาน ซูจี ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนและที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา หลังจากต่อสู้จนสามารถนำพาประเทศกลับเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยอีกครั้ง ความน่าสนใจของการเยือน นอกจากจะอยู่ที่พิธีการเข้าพบปะกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐไทยและปาฐกถาพิศษที่กระทรวงการต่างประเทศในหัวข้อ “Myanmar, ASEAN and the World: The Way Forward” แล้ว ฉากแห่งการเดินทางเยี่ยมเยือนและพบปะแรงงานพม่าที่ตลาดทะเลไทย จังหวัดสมุทรสาคร ยังเป็นประหนึ่งการกระตุ้นเตือนถึงความสำคัญและเปราะบางในประเด็นว่าด้วยแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาข้อเสนอเรียกร้องของเครือข่ายแรงงานชาวเมียนมา ผ่านทางออง ซาน ซูจี ที่ปรากฏในเวลาต่อมา ข้อเสนอเรียกร้องดังกล่าวประกอบด้วย 1. ขอให้เปิดจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามรอบใหม่ ภายใต้เหตุผลว่ายังมีแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายและลักลอบทำงานในไทย ประมาณ 1-2 ล้านคน โดยให้รัฐบาลเมียนมาจัดส่งทีมเจ้าหน้าที่และจัดตั้งศูนย์พิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าร่วมกับทางการไทย เพื่อให้สามารถออกเอกสารรับรองสถานะและสัญชาติเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในลักษณะของหนังสือแสดงตัวบุคคล ซึ่งไม่ใช่หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) ก่อน และออกเป็นพาสปอร์ตภายหลัง ทั้งกลุ่มแรงงานเมียนมา ที่จดทะเบียนใหม่ และกลุ่มที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว แต่อยู่ระหว่างรอพิสูจน์สัญชาติ 2. ขอให้ไทยบังคับใช้กฎหมาย ให้นายจ้างไทยจ่ายค่าจ้างตามข้อกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300

Read More

ถอดรหัสเลือกตั้งเมียนมา “ประชาธิปไตยแบบมีวินัย”

 โฉมหน้าทางการเมืองของประเทศเพื่อนบ้านทางทิศตะวันตกของไทย ในนามเมียนมา กำลังเข้าสู่ห้วงเวลาที่น่าสนใจติดตาม ซึ่งอาจเป็นการกำหนดบทบาทและทิศทางการขับเคลื่อนประเทศบนหนทางประชาธิปไตยที่สำคัญที่สุดอีกครั้งหนึ่ง การเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 ได้รับความสนใจและเป็นที่จับตามองจากประชาคมนานาชาติว่าจะดำเนินไปอย่างสุจริตเที่ยงธรรมและเป็นประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด ซึ่งความคาดหวังเหล่านี้อาจเป็นเพียงแนวคิดอุดมคติ เพราะในความเป็นจริงที่ปรากฏในปัจจุบัน กระบวนการเปลี่ยนผ่านตาม Roadmap to Discipline-flourishing Democracy ของเมียนมาที่ประกาศไว้ตั้งแต่เมื่อปี 2003 ยังต้องเผชิญกับอุปสรรคและความไม่แน่นอนอยู่พอสมควร เงื่อนไขสำคัญอีกประการหนึ่งที่เป็นเสมือนเครื่องหมายของการกระชับอำนาจของฝ่ายทหารในการรักษาอำนาจไว้ก็คือ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ระบุให้มีการแต่งตั้งสมาชิกรัฐสภาในสัดส่วนที่มากถึงหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกที่พึงมี โดยสมาชิกแต่งตั้งเหล่านี้มีสิทธิที่จะยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายทหารเป็นผู้ยกร่างอีกด้วย แม้ความเป็นไปในบทบัญญัตินี้จะได้การวิพากษ์และท้วงติงจากประชาคมประชาธิปไตย แต่ฝ่ายกุมอำนาจในเมียนมา ระบุว่านี่คือการสร้างประชาธิปไตยแบบมีวินัย หรือ Discipline-flourishing Democracy ซึ่งทำให้ผลการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น นอกจากจะได้รับการประเมินในมิติของความโปร่งใสและสะท้อนเจตจำนงที่แท้จริงของประชาชนเมียนมาเพียงใดแล้ว ยังต้องประเมินต่อไปอีกว่าจะสามารถมีนัยความหมายมากพอที่จะสร้างกระบวนการประชาธิปไตยที่แท้จริงให้เกิดขึ้นได้หรือไม่ ขณะเดียวกัน ท่ามกลางพรรคการเมืองจำนวนมากถึง 91 พรรค พรรค NLD (National League for Democracy) ที่นำโดยออง ซาน ซู จี (Aung San Suu Kyi) ผู้นำฝ่ายค้านคนสำคัญ ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับคะแนนเสียงท่วมท้น แต่นั่นก็เป็นการคาดการณ์จากผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อครั้งที่เกิดขึ้นในปี 1990 ที่

Read More

Bawah โมเดลดูแลชุมชน บนนิคมอุตสาหกรรมทวาย

 การเข้ามารับสัมปทานในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) นั้นต้องทำมากกว่าการศึกษาถึงความเป็นไปได้ของโครงการรวมไปถึงผลกระทบต่อชุมชนบริเวณใกล้เคียง เมื่อโครงการข้างต้นจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการพัฒนามหาศาล แม้จะเคยผ่านงานอย่างนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมาแล้ว หากแต่ อิตาเลียนไทยยังต้องพยายามทำความเข้าใจธรรมชาติของชาวทวาย ดูเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกครั้งที่มีการพัฒนาพื้นที่เพื่อภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องมีการเวนคืนที่ดิน ซึ่งในส่วนนี้เองที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชาวชุมชน  Relocation Area คือพื้นที่ที่ภาครัฐจัดสรรเพื่อรองรับการอพยพย้ายถิ่นฐานของประชาชน โดยมีรายงานระบุว่า รัฐบาลเมียนมามีพื้นที่ต้องจัดการ 3 พื้นที่หลัก คือ 1. ปะกอว์ซูน (Pagaw Zoon) ขนาด 2,160 ไร่ เพื่อรองรับการย้าย 10 หมู่บ้าน 2,300 ครอบครัว 2. บาวาห์ (Bawah) พื้นที่ 1,855 ไร่ รองรับการย้าย 5 หมู่บ้าน 1,850 ครอบครัว และ 3. ปันดินอิน (Pandin in) มีเพียงชาวประมงพื้นถิ่นเพียง 52 ครอบครัว ขณะที่ผู้รับผิดชอบโครงการสร้าง

Read More

เช็กสุขภาพ ITD โปรเจ็กต์ทวายจะสบายดีไหม

 หลายคนอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ธุรกิจที่เริ่มต้นจากศูนย์เป็นเรื่องยาก” และเข้าใจว่ากว่าจะประสบความสำเร็จคงต้องเจอกับปัญหาและอุปสรรคนานัปการ โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายก็ไม่ต่างกัน เมื่อโครงการนี้มีจุดเริ่มต้นที่ “ศูนย์” กิโลเมตร โครงการมูลค่ามหาศาลบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ หรือ Southern Corridor ที่เกี่ยวพันสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ไทย และญี่ปุ่น เข้าไว้ด้วยกัน แม้ในช่วงแรกญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวาในนครย่างกุ้ง มากกว่าก็ตาม เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายอาจเรียกได้ว่าเป็นมหากาพย์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เมื่อโครงการนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2008 หากนับเวลาจนถึงปัจจุบันกลับปรากฏความคืบหน้าเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ นับว่าล่าช้ามากเมื่อเทียบกับโครงการขนาดเดียวกัน สาเหตุของความล่าช้าที่เกิดขึ้นอาจมาจากรูปแบบการทำงานระบบราชการของเมียนมาที่ค่อนข้างใส่ใจในรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งอาจส่งผลให้บริษัทที่รับผิดชอบโครงการไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้สะดวกนัก และแม้ว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการระดับ G2G แต่การขาดเสถียรภาพของรัฐบาลทั้งสองประเทศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้โครงการทวายก้าวหน้าไปได้ช้ามาก  ทั้งนี้บริษัท อิตาเลียน ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ผู้ที่ได้สิทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่ภายใต้สัมปทานระยะเวลา 50 ปี และสามารถขยายได้อีก 25 ปี ดูจะมีเรื่องให้น่ากังวลไม่น้อย เมื่อแรกเริ่มจำเป็นต้องควักเงินลงทุนไปล่วงหน้า ทั้งๆ ที่ ITD และคู่สัญญากลุ่มธุรกิจร่วมทุนเพิ่งจะจรดปากกาในสัญญาสัมปทานโครงการทวายในระยะแรกกับคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558

Read More