Home > ระเบียงเศรษฐกิจ

LIMEC เชื่อมไทย ลาว เมียนมา เสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคเหนือตอนล่าง

หาก EEC คือความหวังของรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจและยกระดับพื้นที่ทางภาคตะวันออกของประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและดึงดูดนักลงทุนต่างชาติแล้ว “LIMEC” หรือระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย ก็อาจจะเป็นยุทธศาสตร์และความหวังในการเพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจให้กับภาคเหนือตอนล่างได้เช่นกัน ห้วงเวลาที่ผ่านมา ความพยายามของรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจผ่านโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือ EEC ดูจะเป็นสิ่งที่อยู่ในกระแสสังคม และสร้างความคึกคักในแวดวงนักธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ลงทุนอยู่ไม่น้อย EEC เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้วาทกรรม ไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นการยกระดับพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) ให้กลายเป็น “World Class Economic Zone” เพื่อรองรับการลงทุนอุตสาหกรรม Super Cluster ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อีกทั้งยังเป็นความหวังของรัฐบาลไทยที่จะใช้เป็นกลไกในการพลิกฟื้นสภาวะเศรษฐกิจของชาติต่อไป มีการคาดการณ์ว่า การลงทุนใน EEC จะกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ถึง 5% ต่อปี สร้างการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ 100,000 อัตราต่อปี ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากกว่า 10 ล้านคนต่อปี และสร้างฐานรายได้เพิ่มไม่น้อยกว่า 4.5 แสนล้านบาทต่อปี นักลงทุนจากหลายประเทศต่างให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่เป้าหมายแห่งนี้ หนึ่งในนั้นคือยักษ์ใหญ่แห่งวงการ

Read More

Iskandar Malaysia จากระเบียงเศรษฐกิจสู่การปิดล้อม

ความพยายามในการกระตุ้นพัฒนาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาคจะวันออกของมาเลเซีย (East Coast Economic Region: ECER) ที่ดำเนินการผ่านการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงรูปธรรมครั้งใหม่ที่ดำเนินผ่าน East Coast Rail Link (ECRL) อภิมหาโครงการที่มีมูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่งทำพิธีวางศิลาฤกษ์ไปเมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ามาเลเซียได้ประกาศตัวที่จะคัดง้างบทบาทของสิงคโปร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมีนัยสำคัญ เพราะนอกจากวันที่ 9 สิงหาคมจะถือเป็นวันชาติสาธารณรัฐสิงคโปร์ ที่ย้อนหลังกลับไปในปี 1965 หากแต่ในอีกมิติหนึ่งวันที่ 9 สิงหาคมในส่วนของมาเลเซีย ถือเป็นวันแห่งการขับไล่สิงคโปร์ หลังจากที่รัฐสภาแห่งสหพันธรัฐมาเลเซียลงมติขับสิงคโปร์ออกจากการเป็นสมาชิกในสหพันธรัฐ และทำให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศเอกราชเกิดใหม่ขึ้นมา ความสัมพันธ์ที่ขมขื่นแบบทั้งรักทั้งชัง และความพยายามช่วงชิงบทบาทนำในภูมิภาคระหว่างมาเลเซียและสิงคโปร์ ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น หากแต่ฝังรากลึกอยู่ภายใน และเมื่อรัฐเกิดใหม่อย่างสิงคโปร์สามารถระดมสรรพกำลังในการพัฒนาประเทศให้ก้าวไกลกว่าสหพันธรัฐที่เป็นฝ่ายขับไล่ออกมา ยิ่งเป็นประหนึ่งแรงขับที่ผลักดันให้ผู้นำมาเลเซีย พยายามวางโครงสร้างเศรษฐกิจสังคม เพื่อก้าวข้ามภาพหลอนแห่งความสำเร็จที่สิงคโปร์ได้รับยิ่งขึ้นไปอีก จุดเปลี่ยนผ่านในเชิงนโยบายเศรษฐกิจครั้งสำคัญของมาเลเซียในการไล่ตามความสำเร็จของสิงคโปร์เกิดขึ้นเมื่อ Abdullah Ahmad Badawi ก้าวขึ้นเป็นผู้นำมาเลเซียด้วยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของมาเลเซียในเดือนตุลาคม 2003 ต่อจาก Mahathir Mohamad ที่นำพาประเทศมาต่อเนื่องกว่า 2 ทศวรรษ

Read More