Home > เวียดนาม

CLMV ได้รับอานิสงส์ที่แตกต่าง หลังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) อย่างหนักในปี 2020 ไม่แตกต่างจากที่ไทยได้รับ แต่ในปี 2021 ขณะที่ไทยยังคงเผชิญหน้ากับการขยายวงการแพร่ระบาดและจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทว่า กลุ่มประเทศ CLMV กลับมีผู้ติดเชื้อลดจำนวนลง โดยล่าสุดข้อมูลวันที่ 29 มิถุนายน 2564 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในเมียนมา 1,225 ราย กัมพูชา 883 ราย เวียดนาม 398 ราย และ สปป. ลาว 0 ราย นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่าประเทศในกลุ่มนี้จะมีแนวโน้มการเติบโตหรือการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงขึ้น ศูนย์วิจัยกรุงศรีระบุว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจของประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ (CLMVIP) ได้รับผลกระทบอย่างหนักในปี 2020 อย่างไรก็ดี ในปี 2021 หลายประเทศในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเติบโตในอัตราสูงราวร้อยละ

Read More

WHA เห็นสัญญาณบวก ตั้งเป้าโต 30% พร้อมขยายธุรกิจ มั่นใจเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2564

ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป เดินหน้าประกาศแผนธุรกิจประจำปี 2564 พร้อมเผยภาพรวมความสำเร็จของธุรกิจในปี 2563 โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์มีการเติบโตสอดคล้องกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่กำลังโดดเด่น และเขตอุตสาหกรรมในเวียดนามที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี คว้าสัญญาจากนักลงทุนรายใหม่อย่างต่อเนื่อง แม้ต้องเผชิญกับความท้าทายจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 บริษัทฯ ยังประสบความสำเร็จจากการเพิ่มทุนเข้ากองทรัสต์ WHART และ HREIT ที่มีมูลค่ารวม 4,870 ล้านบาท อีกทั้งทริสเรทติ้งยังคงอันดับเครดิตองค์กรที่ระดับ A- พร้อมประกาศแผนธุรกิจประจำปี 2564 มุ่งพัฒนาธุรกิจทั้ง 4 กลุ่มให้พร้อมขับเคลื่อนการเติบโตอย่างราบรื่น ตั้งเป้ารายได้รวมและส่วนแบ่งกำไรจากการดำเนินงานปกติเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 30 และยังคงระดับอัตราผลกำไร EBITDA อยู่ที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ตอกย้ำความเป็นผู้นำของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ปในประเทศไทย รวมถึงการขยายธุรกิจในเวียดนามเพิ่มมากขึ้น และยังคงมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และบริการ ความสำเร็จอันโดดเด่นในปี 2563 ปี 2563 เป็นอีกหนึ่งปีที่ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของประเทศไทยในฐานะผู้พัฒนาด้านโลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรม ระบบสาธารณูปโภคและพลังงาน ตลอดจนดิจิทัล แพลตฟอร์ม แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อยอดขายที่ดินอุตสาหกรรมในประเทศไทย อันเนื่องมาจากการระงับการเดินทางชั่วคราว แต่ความต้องการที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมของกลุ่มลูกค้ายังคงมีอยู่ต่อเนื่อง ด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยที่สามารถดึงดูดการลงทุนได้อย่างแข็งแกร่ง กลุ่มธุรกิจของดับบลิวเอชเอ สามารถทำผลงานได้อย่างดีเยี่ยมในปีแห่งความท้าทาย โดยกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ มีอัตราการเติบโตสูงขึ้น

Read More

โรงงานญี่ปุ่นย้ายฐานสู่เวียดนาม อุตสาหกรรมไทยไร้แรงดึงดูด?

การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกได้รับบทเรียนสำคัญ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม แน่นอนว่าเหตุผลดังกล่าวแม้ไม่ใช่ทั้งหมดของปัจจัยอันนำไปสู่การออกนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่น ที่พร้อมจะสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในการย้ายฐานผลิตออกจากประเทศจีน เมื่อการระบาดของไวรัสในจีนส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมต้องชะงักงันจากมาตรการปิดประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง และส่งผลกระทบด้าน Supply chain ต่อประเทศคู่ค้าอื่นๆ การลดการพึ่งพาจีนจึงดูจะเป็นทางออกที่ดีจากบทเรียนครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นอาศัยจังหวะเวลานี้ ประกาศใช้นโยบายสนับสนุนด้านการเงินแก่บริษัทญี่ปุ่นเพื่อย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีน เพื่อกลับมาลงทุนในประเทศบ้านเกิดและในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระแสข่าวดังกล่าวทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยที่กำลังตั้งลำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC เริ่มมีประกายความหวังว่า ในอนาคตอันใกล้จะมีนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นตบเท้าเข้ามาในพื้นที่นี้มากขึ้น ทว่า สัญญาณการเบนเข็มของโรงงานญี่ปุ่นที่จะมาไทยนั้นเริ่มเบาบางลง นับตั้งแต่มีข่าวการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตออกจากไทยไปสู่เวียดนามของ Panasonic ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะมาจากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้นของแรงงานไทย ขณะที่อีกเหตุผลหนึ่งคือ Panasonic เองมีฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในเวียดนามอยู่ก่อนแล้ว ข้อมูลจาก Nikkei Asian Review ระบุว่า การย้ายฐานการผลิตของ Panasonic สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างโรงงานในพื้นที่ใหม่ของบริษัทญี่ปุ่น เพราะช่วงศตวรรษที่ 70 (พ.ศ. 2513-2522) บริษัทญี่ปุ่นเริ่มย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศมายังสิงคโปร์และมาเลเซีย เพราะค่าเงินเยนแข็ง แต่เมื่อค่าแรงในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น ไทยจึงเป็นเป้าหมายลำดับถัดมา และปัจจุบันหลายบริษัทกำลังย้ายออกจากประเทศไทย โดยภายในปี 2563 Panasonic จะทยอยหยุดการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยลง เช่น เครื่องซักผ้าที่จะหยุดผลิตในเดือนกันยายน และตู้เย็นในเดือนตุลาคม ก่อนจะปิดโรงงานในเดือนมีนาคม ปี 2564 ซึ่งนั่นจะส่งผลให้พนักงานในโรงงานแห่งนี้ถูกเลิกจ้างราว 800

Read More

สัญญาณบวกส่งออกข้าวไทยพุ่ง อานิสงส์เวียดนามจำกัดส่งออก

ท่ามกลางความร้อนระอุของวิกฤตโควิด-19 ที่ทั่วโลกกำลังเร่งมือหาทางจำกัดวงของผู้ติดเชื้อ และระดมสรรพกำลังคิดค้นที่จะผลิตวัคซีนเพื่อเอาชนะโรคระบาดนี้ เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของทุกประเทศ หลายแวดวงธุรกิจต้องชะลอตัวไปจนถึงหยุดชะงัก และไม่สามารถเดินเครื่องต่อไปได้ ทั้งภาคการท่องเที่ยว การส่งออก การค้า การลงทุน แม้ทั่วโลกจะเห็นสัญญาณลบที่มีผลต่อเศรษฐกิจ ทั้งจากสงครามการค้า อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน หรือกำลังซื้อที่ชะลอตัวลง แต่การต้องเผชิญกับวิกฤตเชื้อไวรัสเป็นสิ่งที่นอกเหนือการคาดการณ์ ในทุกวิกฤตมักจะมีโอกาสที่ดีเสมอ และมีความเป็นไปได้ว่าสัญญาณที่ดีดังกล่าวกำลังจะเกิดขึ้นกับภาคการส่งออกของไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกที่ทำรายได้มหาศาล “ข้าวไทย” เมื่อปลายเดือนมีนาคมคณะรัฐมนตรีเวียดนามมีมติระงับการออกใบอนุญาตเพื่อการส่งออกข้าวเป็นการชั่วคราว มติดังกล่าวมีขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เวียดนามจึงจำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งด้านศักยภาพ ความมั่นคงด้านอาหารสำหรับประชากรในประเทศ โดยรัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติทดลองให้ส่งออกข้าวได้ไม่เกิน 4 แสนตันต่อเดือน แน่นอนว่า หากเวียดนามลดปริมาณการส่งออกข้าวลง มีความเป็นไปได้ว่าความต้องการข้าวอาจจะหมุนมายังประเทศไทย ซึ่งต้องดูกันต่อไปว่าทั่วโลกจะมีความต้องการข้าวในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เพราะตัวเลขดังกล่าวอาจทำให้ไทยสามารถเบียดผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งอย่างอินเดียได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม สัญญาณบวกของการส่งออกข้าวไทยยังต้องรอดูสถานการณ์ของโรคโควิด-19 รวมไปถึงมติคณะรัฐมนตรีของเวียดนามที่หากพิจารณาแล้วเห็นว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในเวียดนามยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถควบคุมได้ รัฐบาลเวียดนามอาจผ่อนปรนหรือพิจารณามติดังกล่าวใหม่อีกครั้ง รวมไปถึงปริมาณผลผลิตข้าวเพื่อการส่งออกของไทยจะมีมากน้อยเพียงใด เมื่อยังมีปัจจัยอีกรอบด้านที่ต้องนำมาพิจารณา ทั้งปัญหาภัยแล้งที่ดูจะผูกขาดอยู่กับเกษตรกรไทยมาอย่างยาวนาน และส่งผลต่อผลผลิตให้มีปริมาณลดลงแทบทุกปี รวมไปถึงสายพันธุ์ข้าวที่อาจจะยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างเต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นเป็นผลให้การส่งออกข้าวไทยในปี 2562 ไทยทำได้เพียง 7.58 ล้านตัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี และแม้ว่าปีนี้กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าต่างประเทศจะตั้งเป้าการส่งออกข้าวอยู่ที่ 7.5 ล้านตัน แต่ยังต้องรอดูว่าปัจจัยที่รุมเร้าอยู่รอบด้านจะมีผลต่อเป้าประมาณการในครั้งนี้มากน้อยเพียงใด นอกเหนือจากปัญหาภัยแล้งที่มีผลต่อปริมาณผลผลิตที่ลดลง และส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศสูงขึ้นแล้ว ข้าวไทยยังประสบกับปัญหาผลผลิตต่อไร่ที่ข้าวหอมมะลิทำได้เพียง 350

Read More

Ho Chi Minh City ไข่มุกแห่งตะวันออกไกล

อาคารสีเหลืองครีมสไตล์โคโลเนียลฝรั่งเศสที่เป็นที่ทำการของเมือง ตั้งตระหง่านและทอดยาวไปตามถนน ด้านหน้าเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ “โฮจิมินห์” อดีตประธานาธิบดีและวีรบุรุษผู้มีบทบาทสำคัญในการกอบกู้อิสรภาพให้กับเวียดนาม รอบด้านรายล้อมด้วยโรงแรมหรูหรา ศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ ร้านค้าแบรนด์เนมหลากหลายยี่ห้อ คละเคล้าไปด้วยเสียงแตรรถจากกองทัพรถจักรยานยนต์ และผู้คนที่เดินขวักไขว่ไปมา ที่นี่คือจัตุรัสของนครโฮจิมินห์ ศูนย์กลางความเจริญของประเทศเวียดนาม และเมืองที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ไข่มุกแห่งตะวันออกไกล” นครโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh City) หรือชื่อเดิมคือ “ไซง่อน” (Saigon) ได้ชื่อว่าเป็นเมืองใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศบริเวณแม่น้ำไซง่อน ห่างจากกรุงฮานอยซึ่งเป็นเมืองหลวงประมาณ 1,760 กิโลเมตร โฮจิมินห์เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์การต่อสู้อันยาวนาน อดีตเคยเป็นที่ตั้งกองบัญชาการของฝรั่งเศส ในยุคที่ฝรั่งเศสเข้ายึดอินโดจีนเป็นอาณานิคม และตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนานนับร้อยปี ในปี 1954 ประเทศเวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ไซง่อนในสมัยนั้นได้กลายมาเป็นเมืองหลวงของเวียดนามใต้ โดยมีกรุงฮานอยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ หลังจากผ่านการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยประเทศจากการยึดครองของชาติตะวันตกมาอย่างยากลำบาก เวียดนามสามารถรวมประเทศได้อีกครั้งในปี 1976 ไซง่อนอดีตเมืองหลวงของเวียดนามใต้ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นนครโฮจิมินห์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ “โฮจิมินห์” ผู้นำการปฏิวัติที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการประกาศอิสรภาพของเวียดนาม และมีกรุงฮานอยเป็นเมืองหลวงของประเทศดังเดิม ภาพความบอบช้ำที่สื่อสะท้อนออกมาจากพิพิธภัณฑ์สงคราม (War Remnants Museum) ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง บอกเล่าช่วงเวลาอันหนักหน่วงของการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของชาติในอดีตได้อย่างชัดเจน ปัจจุบันนครโฮจิมินห์ได้ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าของตัวเองใหม่ พัฒนาเมืองจนกลายมาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนที่สำคัญที่สุดของเวียดนาม

Read More

บทบาทของ NEDA กับเส้นทาง R12 และความคาดหวังที่ต้องแบก

ภารกิจของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization) (NEDA) ในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน จุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญให้เกิดความจำเริญในด้านอื่นๆ ตามมา ตลอดระยะเวลา 13 ปี ดำเนินการไปแล้วกว่า 70 โครงการ ภาพจำที่หลายคนมีต่อเนด้า (NEDA) คือโครงการทั้งหมดเกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งการพัฒนาสาธารณูปโภค เส้นทางการคมนาคม กระนั้นผลสำเร็จของโครงการดังกล่าวล้วนยังประโยชน์ให้หวนกลับมาสู่ประเทศไทยในรูปแบบคู่ขนาน ทว่าโครงการล่าสุดที่เนด้าต้องก้าวเข้ามารับผิดชอบในครั้งนี้ เมื่อมองผิวเผินคงจะไม่ยี่หระนักสำหรับเนด้า และไม่แตกต่างจากเส้นทางคมนาคมเส้นทางอื่นที่เนด้าเคยเข้าไปรับผิดชอบในการพัฒนา หากแต่เส้นทางนี้น่าจะเป็นอีกหนึ่งบททดสอบใหม่ของเนด้า เมื่อหลายฝ่ายให้ความสำคัญ เพราะเส้นทางดังกล่าวเสมือนอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ของไทยในการขับเคลื่อน Logistics ที่มีผลต่อการขยายหน้าสัมผัสให้สินค้าส่งออกของไทยมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ถนน R12 เส้นทาง R12 มีบทบาทสำคัญต่อโครงข่ายคมนาคมและการขนส่งในอนุภูมิภาค โดยเส้นทางดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการผลักดันให้เกิดการพิจารณาขยายขอบเขตข้อตกลงการขนส่งข้ามพรมแดน (Greater Mekong Sub-region Cross-Border Transport Agreement: CBTA) จากถนน R9 เส้นทางเดียว ให้ครอบคลุมเพิ่มเติมตั้งแต่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

Read More

“มาลี” รุกแนวรบใหม่ ชูเฮลท์ตี้ยึดอาเซียน

“มาลี” เร่งกลยุทธ์รุกตลาดโลกขนานใหญ่ เพื่อสร้างรายได้ทดแทนยอดขายในประเทศที่เจอพิษเศรษฐกิจรุมกระหน่ำต่อเนื่อง โดยล่าสุดทุ่มเม็ดเงิน 330 ล้านบาท ซื้อกิจการบริษัทร่วมทุน ลอง ควน เซฟ ฟู้ด จำกัด ผู้ผลิตเครื่องดื่มในเวียดนาม หลังจากจับมือกลุ่มมอนเด นิชชิน คอร์ปอเรชั่น ตั้งบริษัทร่วมทุนในฟิลิปปินส์ และผนึกกำลังกับบริษัท พีที คีโน่ อินโดนีเซีย เปิดฐานธุรกิจในอินโดนีเซีย สยายปีกเจาะกลุ่มลูกค้าทั่วอาเซียน ทั้งสามดีลในช่วงเวลา 2 ปีกว่าๆ เป็นการเปิดเกมเชิงรุกตามแผนยุทธศาสตร์การผลักดันรายได้ทะลุเป้าหมายหมื่นล้านบาทภายในปีนี้ หรืออย่างช้าที่สุดไม่เกินปี 2562 พร้อมจ่อขึ้นแท่นเป็นผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพระดับโลกภายในปี 2564 รุ่งฉัตร บุญรัตน์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทวางเป้าหมายยอดขายในปี 2561 จะเติบโตกว่า 30% จากปีก่อน ผลจากการลงทุนทั้งในและต่างประเทศในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเพื่อออกผลผลิตใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะการเร่งสัดส่วนยอดขายต่างประเทศจาก 40% เป็น 60% ภายใน

Read More

ไทยเบฟฮุบ SABECO จิ๊กซอว์สำคัญสู่เป้าหมาย 2020

กระแสลมหนาวที่พัดผ่านเข้ามาในช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองและเทศกาลแห่งความสุขในช่วงสิ้นปี 2560 สลับกับแสงแดดอบอุ่นที่มาพร้อมกับข่าวมหาอาณาจักรธุรกิจไทย ของตระกูลสิริวัฒนภักดี ชนะประมูลเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 54 ในบริษัท ไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์ป (Saigon Alcohol Beer and Beverages Corporation: SABECO) ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ของเวียดนามด้วยวงเงินมากถึง 4.84 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.6 แสนล้านบาท กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางธุรกิจ และสถานภาพของไทย เบฟเวอเรจ ให้เข้าใกล้สู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ 2020 ยิ่งขึ้นไปอีก การประมูลขายสิทธิการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน SABECO ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลเวียดนามในครั้งนี้ นับเป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มีมูลค่ามากที่สุดของประเทศที่ยังปกครองและบริหารประเทศภายใต้แนวคิดสังคมนิยมแห่งนี้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ตลอดเวลาที่ผ่านมาการประมูลสิทธิการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน SABECO ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัดการถือครองหุ้นของนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติถือครองหุ้นได้เพียงร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยก่อนหน้านี้มีผู้ประกอบการจากต่างประเทศถือครองหุ้นใน SABECO รวมแล้วประมาณร้อยละ 10 ซึ่งรวมถึงไฮเนเก้นที่ถือหุ้นใน SABECO อยู่ร้อยละ 5 ทำให้เพดานการถือหุ้นของผู้ประมูลจากต่างประเทศถูกจำกัดเพดานไว้ที่ร้อยละ 39

Read More

ซินจ่าว ซาปา ทักทายเมืองแห่งสายหมอก

 AEC Leisure อากาศเย็นปะทะใบหน้าทันทีที่ก้าวลงจากรถ ทะเลสาบกว้างกลางเมืองฉายภาพสะท้อนภูเขาน้อยใหญ่ที่โอบล้อมเมืองอยู่โดยรอบ ม่านหมอกที่แผ่คลุมเมืองและภาพชาวเขาเผ่าต่างๆ ในชุดประจำเผ่าที่สร้างสีสันและชูธรรมชาติรอบข้างให้งดงามมีเสน่ห์มากยิ่งขึ้น ทำให้ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมสถานที่แห่งนี้จึงเป็นหนึ่งหมุดหมายสำคัญในแผนที่ท่องเที่ยวของใครหลายคน “ซาปา” เมืองแห่งขุนเขาและสายหมอก สถานที่ที่นักท่องเที่ยวหลายคนอยากไปเยือน ยิ่งเข้าช่วงฤดูหนาวอย่างนี้ด้วยแล้ว เชื่อแน่ว่า ซาปาจะเป็นจุดหมายของหลายๆ คนที่ต้องการสัมผัสลมหนาว สายหมอก และธรรมชาติที่งดงาม ห่างจากกรุงฮานอยเมืองหลวงของเวียดนามไปทางทิศเหนือประมาณ 350 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเมือง “ซาปา” (SaPa) ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดลาวไก (Lao Cai) จากฮานอยเราสามารถเดินทางมายังซาปาได้ทั้งทางรถยนต์และรถไฟ แต่ที่ได้รับความนิยมและสะดวกสบายที่สุดเห็นจะเป็นการใช้บริการรถไฟตู้นอน สามารถหาซื้อตั๋วรถไฟได้ตามโรงแรมหรือบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่าย รถไฟจะออกจากฮานอยช่วงหัวค่ำ และมาถึงจังหวัดลาวไกตอนเช้า จากลาวไกต้องต่อรถตู้เพื่อเดินทางไปซาปาอีกราวๆ 1 ชั่วโมง พลันที่ก้าวลงจากรถอากาศหนาวเย็นอันเป็นเอกลักษณ์ของซาปาก็เข้ามาทักทายผู้มาเยือนแทบจะในทันที ด้วยความที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,650 เมตร และเป็นดินแดนแห่งขุนเขาจึงทำให้ซาปาเป็นเมืองที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี ยิ่งช่วงฤดูหนาวบางปีที่หนาวจัดที่นี่จะถูกปกคลุมด้วยหิมะ สร้างภาพงามที่หลายคนอยากมาสัมผัสด้วยตัวเอง ในอดีตซาปาคือเมืองตากอากาศของเจ้านายชั้นสูงชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาปกครองเวียดนามในยุคอาณานิคม แต่ความจริงเมืองและผู้คนต่างตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่มาก่อนที่ชาวตะวันตกจะเดินทางมาพบ ซึ่งทุกวันนี้เรายังคงได้เห็นร่องรอยของเจ้าอาณานิคมที่ทิ้งไว้ ทั้งสถาปัตยกรรมของอาคารบ้านเรือนและการวางผังเมืองแบบเฟรนช์โคโลเนียล และที่โดดเด่นเห็นจะเป็น “โบสถ์คาทอลิก” เก่าแก่กลางเมืองที่ยังใช้งานมาถึงปัจจุบัน จากเมืองตากอากาศสมัยอาณานิคมนานวันเข้าซาปาก็กลายเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากขึ้น ทั้งชาวเวียดนามเองที่มักจะหาเวลาในช่วงวันหยุดมาพักผ่อนที่นี่ รวมถึงนักท่องเที่ยวชาติต่างๆ ด้วยเช่นกัน เมื่อมีการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นานา ทั้งโรงแรมที่พักหลายระดับ ร้านอาหารหลากสัญชาติ

Read More

Dien Bien Phu รอยประทับแห่งสงคราม

 สมรภูมิรบเดียนเบียนฟู การเผชิญหน้าครั้งสำคัญในสงครามอินโดจีน ระหว่างกองทัพทหารฝรั่งเศสในฐานะเจ้าอาณานิคมกับกองทัพเวียดมินห์ของขบวนการกู้ชาติเวียดนาม ในฐานะผู้ดิ้นรนเพื่อให้หลุดพ้นจากการเป็นประเทศอาณานิคม สงครามที่ชาวเวียดนามภาคภูมิใจว่านำมาซึ่งเอกราชของชาติอย่างแท้จริง แต่เป็นสงครามที่ฝรั่งเศสเองไม่อยากจะจดจำ กาลเวลาผ่านมาแล้วหลายทศวรรษ วันนี้เราจะไปสัมผัสร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ของการสู้รบในครั้งนั้น เดียนเบียนฟู (Dien Bien Phu) คือเมืองหนึ่งในจังหวัดเดี่ยนเบียนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม ห่างจากกรุงฮานอยประมาณ 200 กิโลเมตร ทิศตะวันตกอยู่ใกล้กับชายแดนแขวงพงสาลีของประเทศลาว  เดียนเบียนฟูมีชื่อเสียงและเป็นที่จดจำเนื่องจากเป็นสมรภูมิรบอันโด่งดังระหว่างฝรั่งเศสกับกองกำลังเวียดมินห์ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม–พฤษภาคม ค.ศ.1954 ลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสจนต้องถอนกำลังออกจากเวียดนามเหนือ และถือเป็นการสิ้นสุดลงของสงครามอินโดจีนครั้งแรก เราเดินทางมายังเมืองเดียนเบียนฟูผ่านทางประเทศลาว ลัดเลาะมาเรื่อยๆ จากเวียงจันทน์ เข้าโพนสะหวัน เชียงขวาง ต่อไปยังซำเหนือ เวียงไซย เมืองงอย ล่องเรือต่อไปยังเมืองขวา ก่อนที่จะนั่งรถข้ามชายแดนต่อมายังเมืองเดียนเบียนฟู เป็นเส้นทางที่ได้สัมผัสวิถีชีวิตและธรรมชาติที่ยังงดงามของลาว  บางช่วงบางตอนยังเป็นเส้นทางที่เกี่ยวโยงกับสงครามอินโดจีน อย่างแขวงเชียงขวางที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของลาวซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ มีชายแดนติดกับเวียดนาม เป็นเส้นทางในการลำเลียงกองกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์จากเวียดนามเหนือมาสู่ขบวนการปะเทดลาว รวมถึง “ถ้ำท่านผู้นำ” ที่เมืองเวียงไซย อดีตศูนย์บัญชาการใหญ่ของกองทัพปลดปล่อยประเทศลาว ที่ในสมัยสงครามอินโดจีน ผู้นำขบวนการปลดปล่อยประเทศลาว ได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นฐานที่มั่นและศูนย์บัญชาการใหญ่เพื่อต่อต้านการรุกรานจากต่างชาติ ที่ซึ่งสงครามยังคงทิ้งร่องรอยของมันไว้ให้เราเห็น และครั้งนี้เราจะไปที่เดียนเบียนฟู อีกหนึ่งจิ๊กซอว์สำคัญของภาพสงครามอินโดจีน จากเมืองขวาของลาวมีรถบัสนำเราไปสู่เดียนเบียนฟูของเวียดนามผ่านทางด่าน Tay Trung ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-6 ชั่วโมง เพราะเป็นทางขึ้นเขาถนนแคบ และอาจต้องเจอสภาพรถที่ผู้โดยสารและสิ่งของแน่นเอี๊ยดเต็มทุกพื้นที่ของรถ เพราะเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่ทั้งคนลาว คนเวียดนาม รวมถึงนักท่องเที่ยวนิยมใช้ในการเดินทางไปมาระหว่างลาวและเวียดนาม รถบัสขนาดเล็กที่อัดแน่นไปด้วยคนและข้าวของพาเราลัดเลาะไปตามความสูงของเทือกเขาเป็นเวลาหลายชั่วโมง

Read More