Home > vietnam

ฮอยอัน: ฉันรัก (อาหาร) เธอจัง

อาคารสไตล์โคโลเนียลสีเหลืองมัสตาร์ดที่เรียงรายอย่างเป็นระเบียบ อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของประวัติศาสตร์ ผสานกับวิถีชีวิตดั้งเดิมอย่างมีชีวิตชีวาและกลมกลืน กลายเป็นมนตร์เสน่ห์ดึงดูดผู้คนต่างที่ต่างถิ่นมาเยือน สถานที่ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองมรดกโลกที่ยังมีลมหายใจ เมืองเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ตอนกลางของเวียดนาม...ฮอยอัน.... ฮอยอัน (Hoi An) เมืองขนาดเล็กตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลจีนใต้ทางตอนกลางของประเทศเวียดนาม ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่เจริญรุ่งเรืองและเป็นเมืองท่าใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชาวต่างชาติทั้งจีน ญี่ปุ่น ดัตช์ และอินเดีย เข้ามาทำการค้าขายและตั้งถิ่นฐานอยู่จำนวนมาก จนเกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความเป็นอยู่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2542 องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียนเขตเมืองเก่าของฮอยอันให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เพราะถือเป็นตัวอย่างเมืองท่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยคริศต์ศตวรรษที่ 15-19 ที่มีการผสมผสานศิลปะและสถาปัตยกรรมของท้องถิ่นและต่างชาติได้อย่างมีเอกลักษณ์ อีกทั้งยังมีการอนุรักษ์อาคารบ้านเรือนให้คงอยู่ในสภาพเดิมไว้ได้อย่างดี จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “เมืองมรดกโลกที่ยังคงมีลมหายใจ” ภายในเขตเมืองเก่าเรียงรายด้วยอาคารสีเหลืองมัสตาร์ดอันเป็นสถาปัตยกรรมที่เกิดจากการผสมผสานอาคารสไตล์โคโลเนียลฝรั่งเศสกับสถาปัตยกรรมแบบจีนที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ กลางคืนเมืองจะสว่างไสวไปด้วยโคมกระดาษหลากสี สร้างบรรยากาศโรแมนติกและแสนจะมีเสน่ห์ นอกจากความงดงามของอาคารบ้านเรือนและวิถีชีวิตแล้ว อาหารการกินก็เป็นอย่างที่จะทำให้เราตกหลุมรักฮอยอันได้ง่ายๆ อาหารเวียดนามในแต่ละภาคมีเอกลักษณ์แตกต่างกัน อันเนื่องมาจากสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศที่ทอดตัวยาวไปตามแนวชายฝั่งทะเล ผสานกับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและพืชพรรณธัญญาหาร อีกทั้งได้รับอิทธิพลจากจีนและฝรั่งเศสสมัยที่เข้ามาปกครองเวียดนาม ที่ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของวัฒนธรรมการกินอีกด้วย สำหรับฮอยอันนั้นอุดมไปด้วยร้านอาหารตั้งแต่ร้านข้างทางหรือสตรีทฟู้ด แผงลอย ไปจนถึงร้านอาหารหรูๆ แทรกซึมอยู่ทุกพื้นที่ของเมือง อาหารหลากประเภท ที่สำคัญรสชาติถูกปากแทบทุกร้าน พอจะแนะนำให้ได้รู้จักได้บางส่วน เริ่มจากจานแรกถ้ามาฮอยอันแล้วไม่ควรพลาด นั่นคือ “Cao Lâu” (เกาเลา) เป็นก๋วยเตี๋ยวซิกเนเจอร์ของฮอยอัน ประกอบด้วยหมูปรุงรสคล้ายหมูแดง (หมักด้วยน้ำตาล เกลือ พริกไทย

Read More

‘BGRIM’ ลุย COD โรงไฟฟ้าโซลาร์เวียดนาม ขนาด 677 เมกะวัตต์ ใหญ่สุดในอาเซียน

บี.กริม เพาเวอร์ ‘BGRIM’ ลุย COD โรงไฟฟ้าโซลาร์เวียดนาม สำเร็จตามเป้าขนาด 677 เมกะวัตต์ ใหญ่สุดในอาเซียน โตอีก 31% รับรู้รายได้ทันที บี.กริม เพาเวอร์ ‘BGRIM’ เติบโตตามเป้าเดินหน้าทยอยจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเชิงพาณิชย์ (COD) อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในช่วง 3-13 มิถุนายน ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งสองแห่งในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามขนาดรวม 677 เมกะวัตต์ ดันกำลังการผลิตที่เปิดดำเนินการแล้วเติบโตอีก 31% เริ่มรับรู้รายได้ทันที นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บี.กริม เพาเวอร์ หรือ ‘BGRIM’ เปิดเผยว่า โครงการ DAU TIENG 1 และ DAU TIENG 2 (DT1&2) ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวม 420 เมกะวัตต์ ในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนได้เปิดจำหน่ายไฟเชิงพาณิชย์ (COD) ให้แก่

Read More

Ho Chi Minh City ไข่มุกแห่งตะวันออกไกล

อาคารสีเหลืองครีมสไตล์โคโลเนียลฝรั่งเศสที่เป็นที่ทำการของเมือง ตั้งตระหง่านและทอดยาวไปตามถนน ด้านหน้าเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ “โฮจิมินห์” อดีตประธานาธิบดีและวีรบุรุษผู้มีบทบาทสำคัญในการกอบกู้อิสรภาพให้กับเวียดนาม รอบด้านรายล้อมด้วยโรงแรมหรูหรา ศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ ร้านค้าแบรนด์เนมหลากหลายยี่ห้อ คละเคล้าไปด้วยเสียงแตรรถจากกองทัพรถจักรยานยนต์ และผู้คนที่เดินขวักไขว่ไปมา ที่นี่คือจัตุรัสของนครโฮจิมินห์ ศูนย์กลางความเจริญของประเทศเวียดนาม และเมืองที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ไข่มุกแห่งตะวันออกไกล” นครโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh City) หรือชื่อเดิมคือ “ไซง่อน” (Saigon) ได้ชื่อว่าเป็นเมืองใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศบริเวณแม่น้ำไซง่อน ห่างจากกรุงฮานอยซึ่งเป็นเมืองหลวงประมาณ 1,760 กิโลเมตร โฮจิมินห์เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์การต่อสู้อันยาวนาน อดีตเคยเป็นที่ตั้งกองบัญชาการของฝรั่งเศส ในยุคที่ฝรั่งเศสเข้ายึดอินโดจีนเป็นอาณานิคม และตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนานนับร้อยปี ในปี 1954 ประเทศเวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ไซง่อนในสมัยนั้นได้กลายมาเป็นเมืองหลวงของเวียดนามใต้ โดยมีกรุงฮานอยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ หลังจากผ่านการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยประเทศจากการยึดครองของชาติตะวันตกมาอย่างยากลำบาก เวียดนามสามารถรวมประเทศได้อีกครั้งในปี 1976 ไซง่อนอดีตเมืองหลวงของเวียดนามใต้ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นนครโฮจิมินห์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ “โฮจิมินห์” ผู้นำการปฏิวัติที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการประกาศอิสรภาพของเวียดนาม และมีกรุงฮานอยเป็นเมืองหลวงของประเทศดังเดิม ภาพความบอบช้ำที่สื่อสะท้อนออกมาจากพิพิธภัณฑ์สงคราม (War Remnants Museum) ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง บอกเล่าช่วงเวลาอันหนักหน่วงของการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของชาติในอดีตได้อย่างชัดเจน ปัจจุบันนครโฮจิมินห์ได้ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าของตัวเองใหม่ พัฒนาเมืองจนกลายมาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนที่สำคัญที่สุดของเวียดนาม

Read More

บ้านปูฯ มองตลาดพลังงานเวียดนามสดใส ตั้งเป้าส่งถ่านหินกว่า 2 ล้านตัน

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจรแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ตั้งเป้าทำสัญญาซื้อขายถ่านหินกับลูกค้าในเวียดนามต่อเนื่องเป็นปีที่สอง มากกว่า 2 ล้านตัน สอดคล้องกับความต้องการนำเข้าถ่านหินที่สูงขึ้นของเวียดนาม พร้อมเดินหน้ามองหาโอกาสลงทุนเพิ่มเติมในกลุ่มธุรกิจหลักภายใต้กลยุทธ์ Greener & Smarter อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างฐานการเติบโตอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจของกลุ่มบ้านปูฯ ในอนาคต นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เวียดนาม เป็นประเทศที่ 10 ที่บ้านปูฯ มองเห็นโอกาสเติบโตทางธุรกิจ เนื่องจากประเทศเวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่มีความเติบโตด้านความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง โดยแผนพีดีพีของเวียดนามคาดการณ์ว่าในปี 2573 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในประเทศเวียดนามจะสูงขึ้น 2 เท่าตัว เป็น 130 กิกะวัตต์ สอดรับกับแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยถ่านหินยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ผลิตไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ปริมาณถ่านหินภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงมีความจำเป็นในการนำเข้าถ่านหินจากต่างประเทศ ในปีที่ผ่านมา บ้านปูฯ ได้ส่งถ่านหินไปยังเวียดนามคิดเป็นจำนวน 1.3 ล้านตัน ซึ่งเรามีความพร้อมและศักยภาพที่จะจัดหาและขนส่งถ่านหินที่มีคุณภาพดีและหลากหลายตามที่ลูกค้าต้องการทั้งจากแหล่งผลิตของเราเองที่อยู่ในประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลีย และจากเครือข่ายคู่ค้า

Read More

BGRIM ลงนามแล้ว สัญญาซื้อขายหุ้นโชลาร์เวียดนาม 257 เมกะวัตต์

BGRIM เดินสายลงทุนเวียดนาม ล่าสุดส่งบริษัทย่อยลงนามสัญญาซื้อขายโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์) ขนาด 257 เมกะวัตต์ มูลค่าซื้อขายเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นรวมจำนวน 35.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ระยะเวลาซื้อขายไฟถึง 20 ปี กำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในวันที่ 30 มิถุนายน 62 นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ระบุว่า ตามที่ วันที่ 10 สิงหาคม 2561 บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัทได้แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 9/2561 เกี่ยวกับการอนุมัติการเข้าลงทุนโดยบริษัทย่อยในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่จังหวัดฟูเยี้ยน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 257 เมกะวัตต์ นั้น ล่าสุด วันที่ 16

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ ลงนามความร่วมมือกับพันธมิตรพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มในเวียดนาม

นายกรัฐมนตรีไทยและเวียดนามร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือระหว่าง บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) กับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศเวียดนามขนาดใหญ่ที่สุดของอาเซียน ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯ เหงียน ซวน ฟุก (Nguyễn Xuân Phúc) นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือการพัฒนา โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 420 เมกะวัตต์ ขนาดกำลังการผลิตใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยมีกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี 2562 ระหว่าง บมจ.บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) และ XUAN CAU COMPANY LIMITED ประเทศเวียดนาม โดยมี ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานคณะกรรมการบริษัท และ นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) และ Mr.

Read More

บทบาทของ NEDA กับเส้นทาง R12 และความคาดหวังที่ต้องแบก

ภารกิจของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization) (NEDA) ในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน จุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญให้เกิดความจำเริญในด้านอื่นๆ ตามมา ตลอดระยะเวลา 13 ปี ดำเนินการไปแล้วกว่า 70 โครงการ ภาพจำที่หลายคนมีต่อเนด้า (NEDA) คือโครงการทั้งหมดเกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งการพัฒนาสาธารณูปโภค เส้นทางการคมนาคม กระนั้นผลสำเร็จของโครงการดังกล่าวล้วนยังประโยชน์ให้หวนกลับมาสู่ประเทศไทยในรูปแบบคู่ขนาน ทว่าโครงการล่าสุดที่เนด้าต้องก้าวเข้ามารับผิดชอบในครั้งนี้ เมื่อมองผิวเผินคงจะไม่ยี่หระนักสำหรับเนด้า และไม่แตกต่างจากเส้นทางคมนาคมเส้นทางอื่นที่เนด้าเคยเข้าไปรับผิดชอบในการพัฒนา หากแต่เส้นทางนี้น่าจะเป็นอีกหนึ่งบททดสอบใหม่ของเนด้า เมื่อหลายฝ่ายให้ความสำคัญ เพราะเส้นทางดังกล่าวเสมือนอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ของไทยในการขับเคลื่อน Logistics ที่มีผลต่อการขยายหน้าสัมผัสให้สินค้าส่งออกของไทยมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ถนน R12 เส้นทาง R12 มีบทบาทสำคัญต่อโครงข่ายคมนาคมและการขนส่งในอนุภูมิภาค โดยเส้นทางดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการผลักดันให้เกิดการพิจารณาขยายขอบเขตข้อตกลงการขนส่งข้ามพรมแดน (Greater Mekong Sub-region Cross-Border Transport Agreement: CBTA) จากถนน R9 เส้นทางเดียว ให้ครอบคลุมเพิ่มเติมตั้งแต่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

Read More

“มาลี” รุกแนวรบใหม่ ชูเฮลท์ตี้ยึดอาเซียน

“มาลี” เร่งกลยุทธ์รุกตลาดโลกขนานใหญ่ เพื่อสร้างรายได้ทดแทนยอดขายในประเทศที่เจอพิษเศรษฐกิจรุมกระหน่ำต่อเนื่อง โดยล่าสุดทุ่มเม็ดเงิน 330 ล้านบาท ซื้อกิจการบริษัทร่วมทุน ลอง ควน เซฟ ฟู้ด จำกัด ผู้ผลิตเครื่องดื่มในเวียดนาม หลังจากจับมือกลุ่มมอนเด นิชชิน คอร์ปอเรชั่น ตั้งบริษัทร่วมทุนในฟิลิปปินส์ และผนึกกำลังกับบริษัท พีที คีโน่ อินโดนีเซีย เปิดฐานธุรกิจในอินโดนีเซีย สยายปีกเจาะกลุ่มลูกค้าทั่วอาเซียน ทั้งสามดีลในช่วงเวลา 2 ปีกว่าๆ เป็นการเปิดเกมเชิงรุกตามแผนยุทธศาสตร์การผลักดันรายได้ทะลุเป้าหมายหมื่นล้านบาทภายในปีนี้ หรืออย่างช้าที่สุดไม่เกินปี 2562 พร้อมจ่อขึ้นแท่นเป็นผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพระดับโลกภายในปี 2564 รุ่งฉัตร บุญรัตน์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท มาลีกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทวางเป้าหมายยอดขายในปี 2561 จะเติบโตกว่า 30% จากปีก่อน ผลจากการลงทุนทั้งในและต่างประเทศในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเพื่อออกผลผลิตใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะการเร่งสัดส่วนยอดขายต่างประเทศจาก 40% เป็น 60% ภายใน

Read More

สมรภูมิอาเซียน ความท้าทายบนฟองเบียร์

ข่าวการเข้าซื้อหุ้นของโรงงานเบียร์ในเวียดนามด้วยเงินลงทุนขนาดมหึมากว่า 1.6 แสนล้านบาทโดยกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ นอกจากจะเป็นการตอกย้ำความมุ่งหมายตามยุทธศาสตร์แห่งวิสัยทัศน์ 2020 ของไทยเบฟเวอเรจแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนข้อเท็จจริงของตลาดเบียร์ในอาเซียนในฐานะที่เป็นสมรภูมิทางธุรกิจที่มีความหอมหวานและเย้ายวนผู้ประกอบการแต่ละรายให้เข้ามาร่วมช่วงชิงแบ่งปันผลประโยชน์ที่อยู่เบื้องหน้าอย่างชัดเจน ความพยายามของผู้ประกอบการท้องถิ่นที่มุ่งหมายจะขยายธุรกิจให้ครอบคลุมตลาดประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนในฐานะที่เป็นประหนึ่งสนามหลังบ้าน ย่อมไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไร้แรงเสียดทาน หากแต่ดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการรุกเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีสถานะไม่แตกต่างมหาอำนาจที่พรั่งพร้อมด้วยเงินทุนและความหลากหลายของแบรนด์สินค้าที่เป็นสรรพกำลังในการดูดซับอุปสงค์ของการบริโภคในตลาดแห่งนี้ การเติบโตขึ้นด้วยอัตราเร่งของการบริโภคเบียร์ในอาเซียน ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะภูมิอากาศที่ร้อนชื้นหรือรสชาติอาหารที่เผ็ดร้อนจนต้องดื่มเบียร์เย็นๆ ระงับอาการหรือดับกระหาย หากแต่เป็นผลจากข้อเท็จจริงที่ว่า อาเซียน ยังอุดมด้วยประชากรในวัยหนุ่มสาว และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่ทำให้การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปรับเปลี่ยนไปจากการเป็นเพียงเครื่องดื่ม มาสู่การเป็น สัญญะ ทางสังคมอีกด้วย นอกจากนี้ความจำเริญเติบโตของอาเซียนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้ภูมิภาคแห่งนี้ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการในธุรกิจหลากหลาย ในฐานะที่เป็นทั้งแหล่งลงทุนเพื่อการผลิตและเป็นตลาดที่มีศักยภาพและการเติบโตในอัตราเร่งทดแทนความอิ่มตัวที่เกิดขึ้นในระดับสากล ตัวเลขจากการสำรวจตลาดเบียร์ใน 6 ประเทศอาเซียนที่ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ในช่วงปี 2015 ที่ผ่านมา พบว่าตลาดที่มีการบริโภคเบียร์มากถึง 7.66 ล้านกิโลลิตรแห่งนี้ ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดสามารถครอบครองตลาดระดับภูมิภาคนี้ได้อย่างมั่นคงชัดเจน ส่วนหนึ่งเนื่องเพราะผู้ประกอบการแต่ละรายต่างมีความโดดเด่นจำกัดอยู่เฉพาะในเขตพื้นที่ของประเทศตัวเองเป็นสำคัญ ดังกรณีที่เกิดขึ้นในบริบทของ San Miguel ซึ่งแม้จะครองส่วนแบ่งในระดับร้อยละ 20.5 แต่ตัวเลขดังกล่าวก็เป็นผลมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า San Miguel มีส่วนแบ่งการตลาดมากถึงร้อยละ 91-95 ในฟิลิปปินส์โดยลำพัง เช่นเดียวกับกรณีของผู้ประกอบการสัญชาติไทย ทั้งบุญรอด บริวเวอรี่ ที่ครองส่วนแบ่งในระดับ 14.5

Read More

ไทยเบฟฮุบ SABECO จิ๊กซอว์สำคัญสู่เป้าหมาย 2020

กระแสลมหนาวที่พัดผ่านเข้ามาในช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองและเทศกาลแห่งความสุขในช่วงสิ้นปี 2560 สลับกับแสงแดดอบอุ่นที่มาพร้อมกับข่าวมหาอาณาจักรธุรกิจไทย ของตระกูลสิริวัฒนภักดี ชนะประมูลเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 54 ในบริษัท ไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์ป (Saigon Alcohol Beer and Beverages Corporation: SABECO) ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ของเวียดนามด้วยวงเงินมากถึง 4.84 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.6 แสนล้านบาท กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางธุรกิจ และสถานภาพของไทย เบฟเวอเรจ ให้เข้าใกล้สู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ 2020 ยิ่งขึ้นไปอีก การประมูลขายสิทธิการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน SABECO ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลเวียดนามในครั้งนี้ นับเป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มีมูลค่ามากที่สุดของประเทศที่ยังปกครองและบริหารประเทศภายใต้แนวคิดสังคมนิยมแห่งนี้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ตลอดเวลาที่ผ่านมาการประมูลสิทธิการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน SABECO ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัดการถือครองหุ้นของนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติถือครองหุ้นได้เพียงร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยก่อนหน้านี้มีผู้ประกอบการจากต่างประเทศถือครองหุ้นใน SABECO รวมแล้วประมาณร้อยละ 10 ซึ่งรวมถึงไฮเนเก้นที่ถือหุ้นใน SABECO อยู่ร้อยละ 5 ทำให้เพดานการถือหุ้นของผู้ประมูลจากต่างประเทศถูกจำกัดเพดานไว้ที่ร้อยละ 39

Read More