Home > การทอผ้า

ผ้าทอหลวงพระบาง มนต์เสน่ห์ที่สานต่อจากดีเอ็นเอ

เสียงกี่ทอผ้าดังขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อช่างทอผ้ากระตุกไม้หลังส่งกระสวยเส้นพุ่งจากด้านหนึ่งไปอีกด้านเพื่อถักทอผ้าอย่างขะมักเขม้น บ้านไม้ยกพื้นสูงที่แอบซ่อนในตรอกเล็กๆ ของเมืองหลวงพระบาง สายลมที่พัดมาจากแม่น้ำโขงหอบเอากลิ่นหอมของดอกไม้ที่เจ้าของบ้านปลูกไว้ โชยกลิ่นเรียกความสดชื่นจากผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดี แววมะนี ดวงดาลา ผู้ก่อตั้ง The Living Crafts Centre ออกพบตก บอกเล่าความเป็นมาของสถานที่แห่งนี้ว่า “เริ่มเรียนรู้การทอผ้ามาตั้งแต่อายุ 7-8 ขวบ เด็กผู้หญิงสมัยนั้นต้องทอผ้าใส่เองได้ คุณแม่ก็สอนตั้งแต่ตอนนั้น ซึ่งการทอผ้าเป็นทักษะที่เมื่อได้เรียนรู้แล้วก็จะไม่มีวันลืม กระทั่งเมื่อปี 2000 ก็มีความคิดเกี่ยวกับผ้าทอของหลวงพระบาง ว่าทำอย่างไรที่จะอนุรักษ์ รักษา และเผยแพร่ให้คนอื่นได้รู้จัก ก็นำความคิดนี้แลกเปลี่ยนกับโจแอนนา สมิท เพื่อนช่างภาพชาวอังกฤษ ต่างคิดเห็นตรงกันว่าควรจะเผยแพร่และอนุรักษ์ไปพร้อมๆ กัน” แน่นอนว่าความยากของการอนุรักษ์และเผยแพร่สิ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เมื่อความคิดของผู้ใหญ่ยังคงมุ่งมั่นที่จะรักษาเอกลักษณ์ของลายผ้าเอาไว้ ขณะที่คนรุ่นใหม่ต้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย “ต้องยอมรับว่ายากเอาการ เพราะผู้ใหญ่ที่เขาทอผ้ากันมาจะมีความคิดว่าต้องการให้ผ้าทอคงเอกลักษณ์เดิมๆ เอาไว้ เช่น สี ลวดลาย บางคนยืนยันว่าต้องใช้สีแดงเท่านั้น เปลี่ยนไม่ได้ ต้องอธิบายพูดคุยกันนาน ว่าขอให้ทดลองดูก่อน ลองปรับเปลี่ยนสีบ้าง ถ้ามีคนชื่นชอบก็เปลี่ยน แต่ถ้าทำแล้วคนไม่ชอบก็ไม่เปลี่ยน จึงทำให้ผ้าทอของที่นี่เป็นไปในแนว Contemporary เพื่อจับกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างดี ผู้ใหญ่ท่านก็ยอมรับความเปลี่ยนแปลง” แววมะนีอธิบายเพิ่มเติมว่าธุรกิจที่ทำอยู่จะเป็นไปในลักษณะของ Social

Read More