Home > #ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต

ทีทีบี เตรียมเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์แฝงอ้างอิงดัชนี ชูจุดเด่นคุ้มครองเงินต้น

ทีทีบี เตรียมเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์แฝงอ้างอิงดัชนีที่ออกโดย ttb อันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ Rating AA+ ครั้งแรกกับโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์ทีทีบี ที่มีการคุ้มครองเงินต้น 100% เปิดจำหน่ายให้กับผู้ลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ วันที่ 7 – 13 กันยายน 2566 นี้ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เตรียมเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์แฝงอ้างอิงดัชนี (Index Linked Note) ชูจุดเด่นคุ้มครองเงินต้น 100% เป็นอีกทางเลือกของการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่ต้องการ ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น และคุ้มครองเงินต้นในเวลาเดียวกัน พร้อมเปิดขายให้กับผู้ลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 7 – 13 กันยายน 2566 นี้ นายนาวิน อินทรสมบัติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารการลงทุน ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นจีนในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 นี้ ยังคงเคลื่อนไหวทรงตัว แต่หลังจากนี้คาดการณ์ว่าตลาดหุ้นจีนโดยเฉพาะ China A-Shares นั้น มีความน่าสนใจลงทุนจากปัจจัยเศรษฐกิจจีนที่ยังมีการฟื้นตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน

Read More

finbiz by ttb แนะ SME ใช้หลักการ LEAN ลดต้นทุน

finbiz by ttb แนะ SME ใช้หลักการ LEAN ลดต้นทุน ไม่ลดคุณภาพ มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน จากกระแสความยั่งยืน (ESG) ที่กำลังเป็นที่สนใจในช่วงนี้ และจะยังคงเป็นหลักในการพัฒนาองค์กรต่อไป แต่จะทำอย่างไรให้ไปถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนนั้น การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งในคำตอบของกระบวนการผลิต กระบวนการปฏิบัติงานอันนำไปสู่ การลดต้นทุน การลดความสิ้นเปลือง รวมไปถึงการลดปริมาณขยะลงได้ LEAN เป็นกุญแจอีกดอกที่ทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ เต็มศักยภาพ และนำไปสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืน finbiz by ttb ขออธิบายหลักการ LEAN เบื้องต้นว่า คืออะไร และเหตุใดจึงสำคัญกับธุรกิจเป็นอย่างมาก LEAN คือ การลดความสูญเปล่าซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้ธุรกิจไม่มีประสิทธิภาพ เน้นที่การมองหาความสูญเปล่า (Waste) และ ลดละเลิกความสูญเปล่านั้น ภายใต้แนวคิด “พยายามทุกวิถีทางในการลดความสูญเปล่า ในกระบวนการทำงานลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งไม่มีความสูญเปล่าอีกต่อไป เพราะลูกค้ายอมจ่าย เพื่อให้ได้คุณค่า (ไม่ได้จ่ายให้กับ ความสูญเปล่า)” โดยความสูญเปล่า มีทั้งหมด 7+2 ประการ ดังนี้ 1. Over Production:

Read More

เศรษฐกิจไทยเติบโตได้แค่ไหน? เมื่อโมเมนตัมโลกไม่เหมือนเดิม

นายนริศ สถาผลเดชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวจากปัญหาเงินเฟ้อสูงต่อเนื่องกระทบการค้าโลก ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2566 นี้ ยังเติบโตได้ต่อเนื่องที่ 3.4% จากการเปิดประเทศของจีนช่วยหนุนการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวเร็ว ประกอบกับการบริโภคในประเทศขยายตัวดีต่อเนื่อง ความเสี่ยงหลักในปีนี้เป็นการส่งออกสินค้าไทยมีโอกาสหดตัว และภาวะหนี้ครัวเรือนสูงโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ อย่างไรก็ดี ภาพรวมเสถียรภาพเศรษฐกิจของไทยยังคงแข็งแกร่ง เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันมีแนวโน้มชะลอตัว แต่ไม่รุนแรงมากเท่าที่เคยคาดกันเอาไว้เมื่อปลายปี 2565 สะท้อนได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Manager Index) ของประเทศส่วนใหญ่ที่อยู่ระดับหดตัวในช่วงต้นปี 2566 และล่าสุดในเดือนมกราคม 2566 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกมาปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจโลกในปี 2566 นี้ขึ้นมาเป็นร้อยละ 2.9 จากร้อยละ 2.7 ในการประเมินรอบก่อน นอกจากนี้ การเปิดประเทศของจีนนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เป็นต้นมา จะช่วยกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกได้อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากจีนถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสินค้าหลัก รวมทั้งเป็นนักท่องเที่ยวและผู้บริโภคกลุ่มหลักของโลก อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของอุปสงค์จากจีนอาจเพิ่มแรงกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกและทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกชะลอตัวเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ช้าลง จึงคาดว่าธนาคารกลางหลายแห่งจะยังคงอยู่ในช่วงปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ทั้งนี้ การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคบริการและตลาดแรงงานทั่วโลก

Read More