Home > ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี

finbiz by ttb แนะ 4 แผนรับมือสำหรับธุรกิจ เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า เพื่อก้าวผ่านความท้าทาย

ภาวะเศรษฐกิจในปี 2024 ยังคงท้าทายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ โดยศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี ได้คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ อยู่ที่ 3.1% ดังนั้น ภาคธุรกิจจะต้องหาแนวทางและวางกลยุทธ์อย่างไร เพื่อรับมือกับเศรษฐกิจในปีนี้ที่ยังคงชะลอตัว finbiz by ttb ได้รวบรวมข้อมูลเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการ เตรียมแผนรองรับ เพื่อให้ธุรกิจก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ และเติบโตได้ไม่สะดุด 4 ความเสี่ยงที่ทำให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ ฟื้นตัวช้ากว่าคาดการณ์ และแผนรับมือ 1) เศรษฐกิจและการค้าโลกมีความไม่แน่นอนสูง ผู้ประกอบการควรติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลกอย่างใกล้ชิด และเตรียมรับมือหากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้าลง หรือเกิดการชะลอตัวกว่าที่คาดไว้ โดยกระจายความเสี่ยงทางการค้า เพิ่มตลาดส่งออกใหม่ ๆ และให้ความสำคัญกับตลาดภายในประเทศมากขึ้น อีกทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป มองหาตลาด หรือกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ที่ธุรกิจมีความสามารถที่จะไปได้ 2) ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนมากขึ้น เป็นความท้าทายที่ธุรกิจต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนอย่างรอบคอบ จัดการสภาพคล่องให้เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ และพิจารณาการลดภาระหนี้สินที่ไม่จำเป็น 3) การบริโภคในประเทศอ่อนแอกว่าที่เห็น ธุรกิจควรศึกษาและให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงขึ้น พัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ไม่ยึดติด และมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น รวมทั้งให้ความสำคัญกับการตลาดและการสื่อสาร เพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นยอดขาย เพิ่ม Touch Point (จุดที่ลูกค้าได้เจอกับสินค้าและบริการของเรา) ให้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของผู้บริโภค 4)

Read More

เศรษฐกิจไทยเติบโตได้แค่ไหน? เมื่อโมเมนตัมโลกไม่เหมือนเดิม

นายนริศ สถาผลเดชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวจากปัญหาเงินเฟ้อสูงต่อเนื่องกระทบการค้าโลก ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2566 นี้ ยังเติบโตได้ต่อเนื่องที่ 3.4% จากการเปิดประเทศของจีนช่วยหนุนการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวเร็ว ประกอบกับการบริโภคในประเทศขยายตัวดีต่อเนื่อง ความเสี่ยงหลักในปีนี้เป็นการส่งออกสินค้าไทยมีโอกาสหดตัว และภาวะหนี้ครัวเรือนสูงโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ อย่างไรก็ดี ภาพรวมเสถียรภาพเศรษฐกิจของไทยยังคงแข็งแกร่ง เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันมีแนวโน้มชะลอตัว แต่ไม่รุนแรงมากเท่าที่เคยคาดกันเอาไว้เมื่อปลายปี 2565 สะท้อนได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Manager Index) ของประเทศส่วนใหญ่ที่อยู่ระดับหดตัวในช่วงต้นปี 2566 และล่าสุดในเดือนมกราคม 2566 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกมาปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจโลกในปี 2566 นี้ขึ้นมาเป็นร้อยละ 2.9 จากร้อยละ 2.7 ในการประเมินรอบก่อน นอกจากนี้ การเปิดประเทศของจีนนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เป็นต้นมา จะช่วยกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกได้อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากจีนถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสินค้าหลัก รวมทั้งเป็นนักท่องเที่ยวและผู้บริโภคกลุ่มหลักของโลก อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของอุปสงค์จากจีนอาจเพิ่มแรงกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกและทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกชะลอตัวเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ช้าลง จึงคาดว่าธนาคารกลางหลายแห่งจะยังคงอยู่ในช่วงปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ทั้งนี้ การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคบริการและตลาดแรงงานทั่วโลก

Read More