Home > เศรษฐกิจไทย (Page 2)

ความเชื่อและความเป็นจริง วิ่งสวนทางในเศรษฐกิจไทย?

ความพยายามของกลไกรัฐไทยที่จะกระตุ้นเร้าความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทยให้กลับมาฟื้นตัวขึ้น ดูจะเป็นสิ่งที่ย้อนทางกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบัน เพราะแม้รัฐไทยจะพยายามสื่อสารว่าได้ตั้งเป้าหมายและต้องการที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในปี 2564 กลับมาเติบโตที่ระดับร้อยละ 4 โดยจะเร่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกมิติ ทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ซึ่งลงทุนอย่างต่อเนื่อง แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 รวมถึงการเร่งการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว หากแต่จากการประเมินเศรษฐกิจไทยโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กลับระบุว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะเติบโตอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับเดียวกับที่มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 โดยไอเอ็มเอฟได้ชี้แนะให้รัฐไทยใช้นโยบายการเงินแบบเจาะจง ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ ด้วยการแก้ พ.ร.ก. ซอฟต์โลน ซึ่งจะขยายไปถึงธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่าเอสเอ็มอี เช่น ภาคโรงแรม ที่จะเป็นการให้สินเชื่อใหม่ เชื่อมโยงไปกับโครงการโกดังเก็บหนี้ ซึ่งจะให้ธุรกิจที่เดินต่อไปไม่ได้ให้โอนธุรกิจไว้ที่โกดังก่อน และเมื่อมีความสามารถก็ให้กลับมาซื้อคืนในราคายุติธรรม ต้องยอมรับว่าการตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ระดับร้อยละ 4 เป็นโจทย์ที่ท้าทายและหวังผลสัมฤทธิ์ได้ยากในภาวะเช่นนี้ หากแต่กลไกรัฐไทยยังคงผูกพันอยู่กับความเชื่อที่ว่าปัจจัยที่จะทำให้เป้าหมายเศรษฐกิจดังกล่าวมีความเป็นไปได้ จะมาจากการส่งออกที่กลับมาฟื้นตัวรับอานิสงส์นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อประเทศไทยจะเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวช่วงปลายปี ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวเป็นบวก ซึ่งถือเป็นความคาดหวังที่อยู่บนสมมุติฐานของความเชื่อ มากกว่าที่จะอยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งการดูแลเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวกลับมาเหมือนเดิมก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 อาจต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีขึ้นไป ฐานความคิดที่ว่าเศรษฐกิจประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันมาตรการทางเศรษฐกิจในกลไกรัฐไทย ในด้านหนึ่งให้น้ำหนักอยู่กับการมาถึงและผลจากการฉีดวัคซีนต้าน

Read More

เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เร่งรัฐวางมาตรการฉุกเฉิน

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในยุคหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนานกว่า 1 ปียังเป็นไปท่ามกลางความเปราะบางและไร้สัญญาณบวกที่จะพลิกฟื้นกลับมาโดยง่าย ขณะเดียวกันรายได้ครัวเรือนที่ปรับลดลง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดรอบก่อนและได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ทำให้ต้องติดตามคุณภาพหนี้ในภาคครัวเรือนที่อาจด้อยลงในระยะต่อไป ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจมีรายได้ลดลงและมีฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและบริการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรค ขณะที่ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวน้อยลง และอาจทำให้ธุรกิจมีปัญหาขาดสภาพคล่องมากขึ้น บางธุรกิจมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้และต้องยุติกิจการไปโดยปริยาย รายงานตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2563 ของไทยยังติดลบเพิ่มอีกร้อยละ 4.2 จากไตรมาส 3 ที่ติดลบในระดับร้อยละ 6.4 ส่งผลให้จีดีพีปี 2563 ติดลบร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 22 ปีนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้กระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนจีดีพีปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 หรือเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ประเมินไว้ในระดับ 3.5-4.5 ประเด็นดังกล่าวสะท้อนความชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่กลับเข้าสู่ศักยภาพเต็มที่ และยังมีปัญหาความเสี่ยงอยู่มาก รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีนี้ด้วย ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับร้อยละ

Read More

เศรษฐกิจโลกฟื้น แต่ไทยยังไร้สัญญาณบวก

ความเป็นไปของการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลกและเป็นปัจจัยฉุดรั้งการจำเริญเติบโตทางสังคมเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง หากแต่การคาดการณ์ล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2564 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.2 มาสู่ระดับที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.5 ภายใต้ความเชื่อที่ว่าการอนุมัติและฉีดวัคซีนต้าน COVID-19 ในประเทศต่างๆ ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้ช่วยเกื้อหนุนความหวังที่จะเห็นการยุติการแพร่ระบาดของโรคระบาดในอนาคตอันใกล้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศยังประเมินว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2563 ที่ผ่านมามีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เดิม โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2563 จะหดตัวลดลงที่อัตราร้อยละ 3.5 ซึ่งดีกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ในเดือนตุลาคม ที่ IMF ระบุว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลดลงที่ระดับร้อยละ 4.4 ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นจากการคาดการณ์ไว้เดิมนี้ ในด้านหนึ่งเป็นผลจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ทั้งจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในยุโรป ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกในภาพรวม แต่เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน ท่ามกลางการแพร่ระบาดรอบใหม่ และการกลายพันธุ์ของไวรัสที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การกระเตื้องขึ้นของเศรษฐกิจโลกดำเนินไปท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 5.1 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 3.1 โดยได้ปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาตรการภายใต้อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผ่านการอนุมัติเห็นชอบของรัฐสภาก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอีก ขณะเดียวกันเศรษฐกิจจีนในปี

Read More

ลุ้นส่งออกอาหารปี’64 ขยายตัวดี เพิ่มแรงบวกเศรษฐกิจไทย

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในไทย สร้างความหวั่นวิตกให้แก่คนไทยไม่น้อย แม้ภาระหนักในการพยายามควบคุมการแพร่ระบาดในประเทศคือ เจ้าหน้าที่การแพทย์ เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง และตัวประชาชนเองที่ยังต้องยกการ์ดสูง ขณะความหวังที่เปรียบเสมือนแสงสว่างปลายอุโมงค์คือ วัคซีน ที่ขณะนี้หลายประเทศเริ่มฉีดให้ประชาชนที่เป็นด่านหน้าในประเทศของตัวเองแล้ว แน่นอนว่าทั้งปริมาณที่สามารถผลิตออกมาบริการประชาชนได้นั้นจะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งวัคซีนจากบางบริษัทยังประสบปัญหาด้านความพร้อมของประสิทธิภาพด้านการรักษา และยังมีผลข้างเคียงตามมาในบางรายที่ได้รับวัคซีนไปแล้ว การต่อสู้ป้องกันตัวเองของผู้คนต่อโรคร้ายยังคงดำเนินไป ทว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกประเทศพยายามที่จะขับเคลื่อนด้วยกำลังจากเครื่องจักรที่ยังพอจะทำงานได้ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไทยพึ่งพาเม็ดเงินจากต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ ทั้งจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้ไทยในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า “ล้านล้านบาท” การลงทุนของภาคเอกชน แม้ปีที่ผ่านมาจะยังมีการลงทุนเพิ่ม ทว่าเป็นไปในลักษณะการปรับปรุง ซ่อมแซม ตามแผนประจำปี การส่งออก เป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ แม้ว่าปี 2562 การส่งออกจะติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี แต่นั่นเป็นเพราะปัจจัยแวดล้อมสำคัญอย่างสงครามการค้า และภาวะการหดตัวของเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลโดยตรง ภาวะโรคระบาดที่ยังคงอยู่ ทำให้ไทยไม่สามารถเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ และการท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยเองในห้วงยามนี้ยังอยู่ในระดับต่ำ นั่นเพราะสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่ส่งผลให้กำลังในการจับจ่ายของประชาชนลดลง แม้ว่าภาครัฐจะออกมาตรการสนับสนุนด้วยโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” แล้วก็ตาม ด้านการลงทุน ดูเหมือนว่าหลายประเทศจะประสบกับปัญหานี้ไม่ต่างกัน นอกจากเหตุผลด้านโรคระบาดแล้ว ยังมีปัจจัยความขัดแย้งทางการเมือง การชุมนุมทางการเมือง ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่อาจทำให้เกิดชะลอการลงทุนออกไปก่อน ท้ายที่สุดเราจำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออก ที่ดูจากสภาวการณ์ปัจจุบันแล้วมีภาษีดีที่สุดที่พอจะมีแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ไม่มากก็น้อย ไทยเป็นประเทศที่ส่งออกอาหารแปรรูปเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยตัวเลขการส่งออกอาหารของไทยในปี 2562 อยู่ที่ 1,016,932

Read More

เศรษฐกิจไทยปีฉลู 2021 ความหวังที่เตรียมฉลองฉลุย?

ความเป็นไปของสังคมเศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2020 ที่กำลังจะผ่านพ้นไปในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ ดูจะเป็นขวบปีแห่งความยากลำบากและเป็นปีแห่งการสูญเสียที่ทำให้ประเทศไทยต้อง ชวด โอกาสหลากหลายอย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น แม้ว่าก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์และสถาบันวิจัยจำนวนมากต่างเชื่อว่าสถานการณ์เศรษฐกิจที่ซบเซาถดถอยต่อเนื่องมานาน ได้ถึงจุดต่ำสุดแล้วในช่วงปลายปี 2019 และมีแนวโน้มจะฟื้นตัวขึ้นในปี 2020 แต่เหตุไม่คาดฝันว่าด้วยการอุบัติขึ้นของการแพร่ระบาด COVID-19 ในลักษณะ pandemic หรือการระบาดใหญ่ที่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของโลกได้ฉุดให้สถานการณ์กลับตาลปัตร ผิดไปจากที่ผู้คนคาดหวังไว้ ประเด็นสำคัญซึ่งถือเป็นความเปราะบางของเศรษฐกิจสังคมไทยก็คือ ปัจจุบันเศรษฐกิจของไทยอยู่ในภาวะที่อ่อนแอกว่าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ อย่างมาก เห็นได้จากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF เทียบกับการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย IMF คาดการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2020 ว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะหดตัวลงร้อยละ 4.4 และจะกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ในปี 2021 พร้อมกับระบุว่าเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาและประเทศตลาดเกิดใหม่จะหดตัวลงร้อยละ 5.7 ในปี 2020 และจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี 2021 ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่า GDP ไทยจะปรับลดลงร้อยละ 7.8 ในปีนี้และขยายตัวร้อยละ 3.5 ในปีหน้า กรณีดังกล่าวชี้ให้เห็นได้ชัดว่าเศรษฐกิจไทยตกต่ำรุนแรงกว่าเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ

Read More

พินิจปัจจัยฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ส่งจีดีพีไทยติดลบน้อยลง

เศรษฐกิจไทยเดินทางมาถึงเดือนสุดท้ายของศักราช พร้อมกับรอยแผลที่บาดลึกจนเกิดแผลเป็น ที่แน่นอนแล้วว่า ผลพวงนั้นจะยังคงตามติดไปจนถึงศักราชใหม่อย่างไม่อาจเลี่ยง วิกฤตจากเชื้อไวรัสโควิดสร้างบาดแผลให้เกิดขึ้นกับผู้คนจำนวนไม่น้อย ผู้ประกอบการตั้งแต่รายเล็กจนถึงรายใหญ่ ต้องเผชิญกับความยากเข็ญในช่วงที่ผ่านมา หากสายป่านยาวอาจจะพอใช้ให้ยืนระยะต่อไปได้ ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวหรืออาจถาวร ด้านตลาดแรงงานไทยประสบปัญหาจากวิกฤตนี้ไม่ต่างกัน ข่าวเลิกจ้าง ลดค่าแรง ลดเวลาทำงาน ที่ปรากฏให้เห็นแบบรายวัน ส่งผลต่อรายได้ของประชาชนแทบทั้งสิ้น แน่นอนว่าปัจจัยด้านรายได้นี้กระทบต่อความสามารถในการดำรงชีวิต การจับจ่ายใช้สอย การชำระหนี้ อันนำมาซึ่งหนี้เสีย และกำลังซื้อของภาคประชาชนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในปีนี้ค่อยๆ ไต่ระดับลงจนกระทั่งติดลบในที่สุด แม้ไทยจะไม่ใช่ประเทศเดียวที่ต้องเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ตัวเลขและจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทยค่อยๆ ลดจำนวนลง และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขไทยสร้างชื่อด้วยการควบคุมเชื้อไวรัสให้อยู่ในวงจำกัดได้เป็นอย่างดี ด้านรัฐบาลพยายามเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกระดับฟันเฟือง และประชาชนส่วนใหญ่สามารถปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่รอดในวิกฤตที่เชื้อไวรัสยังคงมีอยู่และรอคอยวัคซีนด้วยความหวังที่จะทำให้วิกฤตนี้สิ้นสุดลง บริษัทผลิตวัคซีนเร่งพัฒนา ทดสอบ และผลิตเพื่อนำออกมาใช้กับประชากรโลก หลายประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาวการณ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น จีน ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่อีกหลายประเทศควบคุมสถานการณ์ของเชื้อไวรัสในประเทศตัวเองได้ดีพอสมควร ปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ EIC หรือ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2020 เป็นหดตัวน้อยลงที่ -6.5% จากเดิมคาดว่า -7.8% มูลเหตุมาจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2020 โดยจากข้อมูล GDP ในช่วงไตรมาส 3

Read More

หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงรอบ 18 ปี  ทำเศรษฐกิจไทยบอบช้ำรุนแรง

คงไม่มีปาฏิหาริย์ใดที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นขึ้นได้ในช่วงเวลานี้ เมื่อดัชนีสำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าไปได้ ยังคงถูกล้อมกรอบไปด้วยปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งกำลังซื้อของภาคประชาชนที่อ่อนกำลังลงเป็นทุนเดิม การขยายตัวของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจบางประเภทจนทำให้เกิดภาวะโอเวอร์ซัปพลาย ผนวกกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยิ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเปราะบางยิ่งขึ้น ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่ติดลบทั้งสองไตรมาสที่ผ่านมา น่าจะอธิบายความได้ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ แม้ว่าเชื้อไวรัสโควิดจะเป็นเสมือนจุดเปลี่ยนที่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ทุกอย่างดูเลวร้ายลง แต่ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาลงมาตั้งแต่ปีก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขจีดีพีค่อยๆ ไต่ระดับลงอย่างต่อเนื่อง และเรื่องที่น่ากังวลมากที่สุดคือสัญญาณบ่งบอกความบอบช้ำทางเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น นั่นคือ ระดับ “หนี้ครัวเรือน” ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานออกมาอยู่ที่ 84 เปอร์เซ็นต์ ต่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดในรอบ 18 ปี นับตั้งแต่มีการเก็บสถิติ อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับหนี้ครัวเรือนของไตรมาสก่อนหน้า จะเห็นได้ว่าสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเพียง 3.8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นั่นหมายความว่ามูลหนี้ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากมายอะไร ทว่า สิ่งที่น่ากังวลคือ การปรับลดลงของจีดีพีที่ติดลบเพิ่มขึ้น หรือเข้าใจง่ายๆ นั่นคือรายได้ของประชาชนลดลง ทั้งจากปัญหาการว่างงานและการถูกลดจำนวนชั่วโมงการทำงาน ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงตัวเลขของตลาดแรงงานในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 พบว่า มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวแตะระดับ 7.5 แสนคน และจำนวนผู้เสมือนว่างงาน คือกลุ่มคนที่ยังมีงานทำแต่ชั่วโมงการทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มขึ้นใกล้เคียง 5.4 ล้านคน แม้ว่าจำนวนผู้เสมือนว่างงานจะลดลงเหลือ

Read More

เตรียมพร้อมสู่จุดต่ำสุดใหม่? เมื่อเศรษฐกิจไทยไร้เข็มทิศ

ข่าวการลาออกของ ปรีดี ดาวฉาย จากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาหลังจากที่เข้ารับตำแหน่งได้เพียง 21 วัน กำลังเป็นภาพสะท้อนการทำงานของรัฐและเป็นระเบิดเวลาที่พร้อมจะเปิดเผยให้เห็นข้อเท็จจริงที่กลไกรัฐพยายามปิดซ่อนไว้ โดยเฉพาะประเด็นว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ทรุดหนัก ขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองก็มาถึงจุดที่ความเชื่อมั่นหดหายจนยากที่จะลากยาวต่อไป ความไม่เชื่อมั่น ที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในหมู่ภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการและหวังให้รัฐดำเนินมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ด้วยการเร่งแก้ไขปัญหาและนำเสนอมาตรการเพิ่มเติมอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้สถานการณ์ COVID-19 เท่านั้นหากแต่การลาออกดังกล่าวได้นำไปสู่ความเคลือบแคลงสงสัยในศักยภาพของรัฐในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ที่ดูจะกลายเป็นประเด็นรองนอกเหนือจากการคงอำนาจทางการเมืองที่ดูจะเป็นประเด็นหลักในความคิดคำนึงของพวกเขาไปแล้ว ภาพสะท้อนจากการลาออกดังกล่าวได้ส่งผลกระทบที่ชัดเจนต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ นักลงทุนและประชาชนวงกว้าง ขณะที่ประเด็นว่าด้วยผู้ที่จะมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในทีมเศรษฐกิจจะมีทิศทางและนโยบายในการแก้ไขสถานการณ์เศรษฐกิจที่ทรุดต่ำลงนี้อย่างไร การลาออกอย่างเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมต่างคาดหมายไปในทิศทางที่เชื่อว่าเกิดจากปัญหาความไม่เป็นเอกภาพของทีมเศรษฐกิจ และความไม่เป็นอิสระในการทำงาน ซึ่งเป็นกรณีที่น่าเป็นห่วง เพราะวิกฤตที่เกิดขึ้นจากการระบาด COVID-19 ครั้งนี้ส่งผลกระทบหนักหน่วงกว่าวิกฤตอื่นๆ ที่ได้เผชิญมา โดยเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะถดถอย และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทีมเศรษฐกิจต้องร่วมมือกันทำงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาขยายตัวเร็วที่สุด ก่อนหน้านี้ ปรีดี ดาวฉาย ซึ่งเคยทำงานอยู่ในคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ได้รับเสียงตอบรับจากภาคเอกชนไม่น้อย เพราะต่างเชื่อว่าจะมีเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจ และอาจเรียกว่ามีทัศนคิดไปในทิศทางเดียวกับภาคเอกชน จึงมั่นใจว่าด้วยตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะสามารถนำเสนอมาตรการและผลักดันนโยบายให้สอดรับกับสถานการณ์ขณะนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการคัดสรรบุคคลมารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คนใหม่จึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย โดยนอกจากประสบการณ์ด้านการเงินแล้ว ควรมองและประเมินภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคได้อย่างชัดเจน มิเช่นนั้นอาจกลายเป็นผู้สร้างปัญหามากกว่าที่จะผู้แก้ปัญหาเศรษฐกิจไปในที่สุด ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ช่วงเวลาระหว่างการรอให้มีการแต่งตั้งบุคคลมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน โดยอาจเกิดการชะลอการลงทุน เพราะเดิมนักลงทุนประเมินว่า ปรีดีจะมาเป็นตัวเชื่อมรอยต่อของทีมเศรษฐกิจชุดเดิมที่ปูรากฐานการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไว้ หรือล่าสุดที่รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ออกมา

Read More

เศรษฐกิจไทยยังมีหวังอยู่ไหม? ภายใต้การเปลี่ยนแปลงรายวัน

ผู้ประกอบการภาคเอกชนเพิ่งผ่านช่วงเวลาวิกฤตที่สร้างบาดแผลสาหัสสากรรจ์ และอยู่ในช่วงกำลังพักฟื้นเพื่อเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ท่ามกลางความหวังอันริบหรี่ นั่นเพราะเศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องพึ่งพิงตลาดต่างชาติอยู่ไม่น้อย แม้ภาครัฐจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างต่อเนื่องก็ตาม และอีกหนึ่งปัจจัยที่น่าจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชนคือ การผลัดเปลี่ยนตำแหน่งเก้าอี้รัฐมนตรีเศรษฐกิจหลัก ที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติและภาคเอกชนไทย เป็นการสั่นคลอนเสถียรภาพความมั่นคงทางเศรษฐกิจไทยอยู่ไม่น้อย ว่าภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะสรรหามือดีคนต่อไปจากไหนเข้ามารับตำแหน่งสำคัญนี้ กระทั่งการตอบตกลงรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของ นายปรีดี ดาวฉาย ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารกสิกรไทย และประธานสมาคมธนาคารไทย คล้ายปลุกความหวังให้เกิดขึ้นอีกครั้งแก่ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ แต่ภายในเวลาไม่ถึงเดือน ข่าวที่เรียกว่า “ช็อก” คนไทย ผู้ซึ่งกำลังกอบความหวังที่เคยร่วงหล่นไปกลับขึ้นมา นั่นคือ ข่าวการลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของนายปรีดี ดาวฉาย หลังจากเข้ารับตำแหน่งไม่ถึงเดือน แม้กระทรวงการคลังจะไม่ใช่คีย์แมนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่สิ่งที่อาจเกิดขึ้นจากความตั้งใจของเจ้าตัวนั้น คล้ายกับเป็นการบอกใบ้ว่า คนดีที่มีฝีมือที่เป็นเหมือนผู้จุดไฟแห่งความหวัง ว่าเศรษฐกิจไทยจะมีโอกาสถูกนำพาไปข้างหน้าภายใต้บุคคลที่มีความสามารถจริงๆ ไม่อาจนั่งอยู่ในตำแหน่งนี้ได้ ไม่ว่าเบื้องหลังจะมีเหตุผลใดๆ ก็ตาม โดยเจ้าตัวให้เหตุผลที่ตัดสินใจลาออกว่ามีปัญหาด้านสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแบบรายวัน ทั้งทางด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจโลก ส่งผลต่อเศรษฐกิจในทุกระดับชั้น เมื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ได้สร้างความมั่นคงหรือความมั่นใจให้เกิดขึ้นได้เลย นอกเหนือไปจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศที่ยังเป็นศูนย์อย่างต่อเนื่อง ทว่าประเทศอื่นๆ ในโลกยังคงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่และสะสมอยู่ในระดับสูง ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสำคัญในระบบแรงงานไทยกลับมีตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงขึ้นจนน่ากังวล เพราะการลักลอบเข้ามาค้าแรงงานในประเทศไทยโดยอาศัยเส้นทางธรรมชาติ ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเร่งกวดขันกันอย่างเต็มกำลัง เพื่อสกัดกั้นไม่ให้ผู้ติดเชื้อหรือผู้ที่มีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อเข้ามาภายในประเทศไทยได้ ปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงของนักลงทุนไทย ผู้ประกอบการ หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไปที่ยังระวังการใช้จ่ายมากกว่าเดิม ในช่วงเดือนสิงหาคมที่สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในบางประเทศเริ่มเข้าสู่สถานการณ์ที่พอจะคลายความกังวลลงได้บ้าง นั่นทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและภาคบริการ มีความหวังว่าไทยและอีกหลายประเทศอาจเปิดประเทศในลักษณะทราเวลบับเบิล เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจการท่องเที่ยวสามารถกลับมาฟื้นตัวได้

Read More

โควิด-19 ซ้ำเติม ตลาดแรงงานไทยวิกฤต

ตลาดแรงงานไทยถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีความเปราะบางมากเป็นพิเศษ นั่นเพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดสภาวะวิกฤตกับเศรษฐกิจ แรงงานไทยที่แม้ไม่ใช่ด่านหน้าที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทว่ากลับเป็นกลุ่มที่ได้รับแรงปะทะเสมอ การเลิกจ้าง ตัวเลขการว่างงาน เป็นภาพสะท้อนทิศทางความเป็นไปที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ ไม่จำเพาะเจาะจงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น ตลาดแรงงานทั่วโลกก็เช่นกัน คล้ายกับว่าความมั่นคงของสถานภาพแรงงานจะดีร้าย ขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การเติบโตที่ลดลงของเศรษฐกิจไทยในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่งทยอยปิดตัวลง อันนำมาสู่การเลิกจ้างแรงงาน ซึ่งตัวเลขการว่างงานในเดือนธันวาคม 2562 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยคือ มีผู้ว่างงานจำนวน 367,000 คน เพิ่มขึ้น 18,000 คน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2561 ที่มีตัวเลขผู้ว่างงาน 349,000 คน บาดแผลของแรงงานทั้งในและนอกระบบจากสภาวะเศรษฐกิจซบเซายังไม่หายดี ภัยร้ายที่เสมือนคลื่นระลอกใหม่ ซัดเข้ามากระหน่ำซ้ำเติม กดหัวให้กราฟของผู้มีงานทำต่ำลง หากจะกล่าวว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายก็ดูจะไม่แปลกนัก เพราะทั้งไทยและทั่วโลกต่างเคยเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคมาหลายต่อหลายครั้ง ทว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 กลับสร้างความเสียหายในระบบแตกต่างไปจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในครั้งก่อนๆ มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทำให้ระบบเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดถูกฟรีซไว้ชั่วคราว หลายอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องโดยตรง ภาคการบริการ ภาคธุรกิจ SMEs ตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดเล็ก หรือกลุ่มธุรกิจที่สายป่านไม่ยาว เป็นผลให้แรงงานที่อยู่ในกลุ่มนี้ต้องพบเจอกับความเสี่ยงอีกครั้ง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (Economic Intelligence Center)

Read More