Home > โควิดระลอก 3

ครึ่งปีเศรษฐกิจไทย กับโจทย์เฉพาะหน้าที่รัฐต้องเร่งแก้

การระบาดของเชื้อโควิดระลอก 3 ในไทย นับว่าเป็นการระบาดที่หนักกว่าสองรอบที่ผ่านมา ทั้งในด้านของจำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องแม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมา 2 เดือน และยังไม่มีท่าทีที่จะลดจำนวนลง อีกทั้งยังเกิดขึ้นในหลายกลุ่มคลัสเตอร์และกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ขณะที่ผลของการแพร่ระบาดในระลอก 3 เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในไตรมาสแรกของปีนี้ที่ติดลบ 2.6 เปอร์เซ็นต์ เป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจน แม้ว่าจีดีพีไทยจะติดลบอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 ช่วงปลายปี 2563 เป็นต้นมา สถานการณ์หลายด้านจะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ เศรษฐกิจบางตัวเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว ประกอบกับความหวังในเรื่องวัคซีนที่เริ่มเร่งการพัฒนา ผลิต และแจกจ่ายระดมฉีดกันในหลายประเทศ ทว่า ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจไทย การเงิน ด้านแรงงาน การลงทุน ที่ไทยประสบอยู่เดิมทำให้ไทยบอบช้ำง่ายขึ้นจากวิกฤตโควิดระลอก 3 หลายกิจการพยายามจะประคองตัวให้ผ่านพ้นห้วงเวลาอันเลวร้ายนี้ ภายใต้ข้อจำกัดหลายด้านที่เป็นมาตรการด้านสาธารณสุขจากภาครัฐ แต่คล้ายกับว่าสงครามที่มนุษยชาติต้องฟาดฟันห้ำหั่นกับเชื้อไวรัส ไม่อาจไขว่คว้าชัยชนะมาอย่างง่ายดาย ข้อมูลจากผู้บริหารฟู้ดแพนด้า ระบุว่า มีร้านอาหารที่อยู่บนแพลตฟอร์มต้องปิดตัวลงเพราะ Covid-19 (ทั้งชั่วคราวและถาวร) ถึง 25,000 ราย อีกทั้งผู้บริโภคที่สั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มของฟู้ดแพนด้าลดจำนวนลง และเปลี่ยนไปประกอบอาหารรับประทานเองมากขึ้น หลังเข้าสู่สัปดาห์ที่สอง ล่าสุด ฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย ประเมินว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการร้านอาหารปิดกิจการทั้งแบบชั่วคราวและถาวรแล้ว 50,000 ราย

Read More

ห้างยักษ์ลุยศึกดีลิเวอรี่ แข่งเดือดส่งฟรี แจกหม้อ

โควิดระลอก 3 ส่งผลกระทบรุนแรงชนิดที่ยักษ์ใหญ่ 2 ค่าย “โลตัส-บิ๊กซี” ต่างเปิดสงครามดีลิเวอรี่แย่งชิงกลุ่มลูกค้าอย่างดุเดือด หลังจากรัฐบาลยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด ทั้งยอดผู้ติดเชื้อที่สูงกว่า 2,000 รายต่อวัน มียอดผู้เสียชีวิตทุกวันและเกิดคลัสเตอร์แพร่ระบาดต่อเนื่อง รวมถึงตลาดสดขนาดใหญ่เริ่มปรากฏจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นด้วย แน่นอนว่า จำนวนลูกค้าทรุดฮวบชัดเจน เพราะผู้คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องหยุดกิจกรรมนอกบ้านและหยุดเดินทางมาจับจ่ายซื้อสินค้า รวมถึงภาครัฐออกมาตรการควบคุมเวลาเปิด-ปิดให้บริการ โดยศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศเปิดเวลาปกติ 11.00 น. แต่ปรับเวลาปิดเป็น 21.00 น. ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์ท ให้บริการถึง 21.00 น. และร้านค้าสะดวกซื้อให้บริการเวลา 04.00 – 23.00 น. ขณะที่ร้านอาหารในศูนย์การค้าสามารถนั่งรับประทานอาหารในร้านได้ 25% ของที่นั่ง โดย 1 โต๊ะ นั่งได้แค่ 1 คน และนั่งได้ถึง 21.00 น. งดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมากและให้พนักงาน Work From Home เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดระลอกใหม่ นั่นส่งผลให้ช่องทางออนไลน์และบริการดีลิเวอรี่กลายเป็นกลยุทธ์เดียวที่จะกระตุ้นการจับจ่ายให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังก่อนปิดงบประจำปี 2564 ก่อนหน้านี้

Read More

โควิดระลอกสามทุบตลาดอีเวนต์ รายได้หายกว่าหมื่นล้านบาท

อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ถูกพิษโควิด-19 เล่นงานอย่างหนัก คือ ธุรกิจอีเวนต์ นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในช่วงต้นปี 2563 และรัฐบาลประกาศใช้มาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปในวงกว้าง ในแต่ละปีตลาดธุรกิจอีเวนต์มีมูลค่าสูงกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท แม้สภาพของเศรษฐกิจไทยในช่วง 5-10 ปีหลังจะอยู่ในภาวะลุ่มๆ ดอนๆ ก็ตาม แต่ในช่วงปลายปี 2560 ธุรกิจอีเวนต์เริ่มส่งสัญญาณกลับมาคึกคักอีกครั้ง ซึ่งนั่นส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจอีเวนต์ในปี 2561 ฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ปี 2562 มูลค่าตลาดรวมของธุรกิจอีเวนต์อยู่ที่ประมาณ 12,000 ล้านบาท ในปีนั้นแม้จะมีปัจจัยลบหลายด้านมากระทบ แต่ยังมีแนวโน้มที่สดใสต่อเนื่อง ขณะที่ปี 2563 เป็นปีที่แทบทุกอุตสาหกรรมหยุดชะงัก ในด้านของธุรกิจอีเวนต์ บริษัทออแกไนเซอร์ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ได้รับผลกระทบเนื่องจากไม่สามารถจัดงานส่งเสริมการขาย หรืองานแสดงสินค้าใดๆ ได้ ตามคำสั่งของ ศบค. ส่งผลให้รายได้หลักของผู้ประกอบการเหล่านี้หายไปกว่าครึ่ง ธุรกิจอีเวนต์เป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากรองจากธุรกิจท่องเที่ยว สถานการณ์โควิด-19 ในไทยช่วงกลางปี 2563 เริ่มผ่อนคลายลง มาตรการหลายอย่างถูกยกเลิกเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ บรรยากาศการจัดอีเวนต์เริ่มกลับมามีให้เห็นอีกครั้ง จนผู้ประกอบการหลายรายคาดหวังว่าบรรยากาศการจัดงานอีเวนต์จะมีมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2564 ทว่า จุดพลิกผันที่ส่งผลให้ยอดจองสถานที่จัดงานและกิจกรรม รวมไปถึงการจ้างงานของบริษัทออแกไนซ์ต้องถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด คือการระบาดระลอกสาม ที่ดูจะสร้างบาดแผลสาหัสกว่าสองครั้งที่ผ่านมา แน่นอนว่า

Read More

เหตุ COVID ระลอกใหม่ฉุด ธุรกิจการบินของไทยทรุดหนัก

ความเป็นไปของการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากจะส่งผลให้เกิดความตระหนกและความกังวลใจว่าด้วยความรุนแรงและรวดเร็วของการแพร่ระบาดครั้งใหม่ท่ามกลางกระแสข่าวว่าด้วยการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสแล้ว ความล่าช้าของระบบการจัดการและกระจายวัคซีนซึ่งหลายฝ่ายหวังว่าจะเป็นเครื่องมือที่เสริมสร้างความมั่นใจและนำพาเศรษฐกิจสังคมไทยให้กลับมาฟื้นคืนชีวิตได้โดยเร็วอีกครั้ง ก็ดูจะอันตรธานหายไปพร้อมกับสายลมร้อนแห่งคิมหันตฤดูด้วย การระบาดระลอกใหม่ทำให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายประการของรัฐที่เคยวางไว้ว่ามีผลต้องเลื่อนหรือระงับออกไปโดยปริยาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการที่จะเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้เดินทางเข้ามาภายใต้มาตรการผ่อนปรนด้วยหวังว่ากรณีดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย หรือการกระตุ้นให้ประชาชนคนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อเสริมพลวัตทางเศรษฐกิจให้ดำเนินไป กลับต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปโดยปริยาย มาตรการของรัฐไม่ว่าจะเป็นคำสั่งห้าม รวมถึงการขอความร่วมมือ เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดระลอกใหม่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาตกอยู่ในภาวะจมปลักชะงักงันในลักษณะที่ไม่ต่างจากการติดหล่มขยับเขยื้อนไปไหนไม่ได้ นอกเหนือจากการจมดิ่งลงไปในบ่อโคลนที่ยากจะนำพาองคาพยพนี้ให้ขับเคลื่อนต่อไปได้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ก่อนหน้านี้กลไกรัฐไทยเคยกำหนดแผนที่จะเปิดประเทศเป็น 4 ระยะด้วยการเริ่มจากระยะที่หนึ่ง ลดการกักตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศจาก 14 วัน เหลือ 7 วัน ภายในโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการหรือ “แอเรีย ควอรันทีน” (Area Quarantine) โดยนักท่องเที่ยวเหล่านี้ต้องมีการฉีดวัคซีนโควิดและมีเอกสารรับรองฉีดโควิด และจะนำร่องในพื้นที่ 6 จังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ขณะที่แผนระยะที่ 2 ซึ่งจะเริ่มวันที่ 1 กรกฎาคม จะเปิดให้นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตได้โดยไม่ต้องกักตัว ก่อนเข้าสู่ระยะสาม เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม จะเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าพื้นที่ 5 จังหวัดนำร่องที่เหลือ ไม่ต้องกักตัว หากฉีดวัคซีนโควิด มีเอกสารรับรองฉีดวัคซีน

Read More

โควิดระลอก 3 หายนะทางเศรษฐกิจ ธุรกิจร้านอาหารช้ำกระอัก

โลกได้พบเจอกับมหันตภัยของเชื้อไวรัสโควิด-19 นับตั้งแต่ปลายปี 2562 ในขณะที่ไทยพบการแพร่ระบาดภายในประเทศในช่วงต้นปี 2563 ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงบททดสอบการรับมือกับวิกฤตของระบบสาธารณสุขของไทยเท่านั้น แต่เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ความร้ายกาจของเชื้อไวรัสได้ขยายวงไปสู่เศรษฐกิจทั้งประเทศ ภาคการส่งออกติดลบ ภาคธุรกิจไม่มีการขยายตัว การลงทุนหยุดชะงัก ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมติดลบ เส้นกราฟอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไต่ระดับลงอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงที่ไทยสามารถควบคุมวงจรการแพร่ระบาดได้ในช่วงเวลาหนึ่ง รัฐบาลประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นหลายตัว เพื่อหวังให้เครื่องจักรทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากขับเคลื่อนไปได้ แน่นอนว่าหลังประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ บรรยากาศในหลายมิติดูมีชีวิตชีวามากขึ้น สถานการณ์ความเป็นไปในสังคมดำเนินไปตามปกติด้วยรูปแบบ New Normal ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง เมื่อมนุษย์ยังไม่อาจประกาศชัยชนะเหนือเชื้อไวรัสร้ายนี้ได้ หลายคนเริ่มยิ้มได้มากขึ้นภายใต้หน้ากากอนามัย เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้นจากการที่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศลดลง กระทั่งเป็นศูนย์ในบางวัน และวัคซีนเดินทางมาถึงไทย พร้อมกับได้ฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในหลายพื้นที่ ทว่ารอยยิ้มอยู่ได้ไม่นาน เมื่อการติดเชื้อระลอก 3 เกิดขึ้น เส้นกราฟทางเศรษฐกิจที่กำลังกลับมาไต่ระดับสูงขึ้นอย่างช้าๆ กลับถูกดึงให้ดิ่งลงอย่างรวดเร็ว เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทวีความรุนแรงมากขึ้น ยอดผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งสูงขึ้นและทำนิวไฮอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงยอดผู้เสียชีวิตรายวันที่เพิ่มจำนวนอย่างน่าตกใจ ศบค. ประกาศยกระดับมาตรการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) ประกอบด้วย 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ โดยห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 20 คน ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มให้จำหน่ายในลักษณะการนำกลับไปบริโภคที่อื่นได้เท่านั้น

Read More

วัคซีนต้านโควิด-โรงพยาบาลสนาม ความหวัง ความพร้อม และการจัดการของรัฐไทย

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งถือเป็นระลอก 3 และมีการกระจายตัวในหลายกลุ่มคลัสเตอร์ เฉพาะระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน พบผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 17,000 ราย (ข้อมูลวันที่ 1-17 เมษายน 2564) ระลอกคลื่นแห่งหายนะในครั้งนี้ก่อให้เกิดคำถามอันนำมาซึ่งความขัดแย้งหลายประเด็นในสังคม การถามหาจิตสำนึกรับผิดชอบที่มีต่อสังคมส่วนรวม ไม่ว่าจะในแวดวงใดก็ตามเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อประชาชนบางส่วนยังไร้การตระหนักรู้ เมินเฉยต่อความเสี่ยงที่อาจได้รับ จนในที่สุดกลายเป็นต้นเหตุของการกระจายตัวของเชื้อไวรัสในระลอกสามที่ดูจะทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น นอกจากนี้ สังคมยังคงตั้งคำถามไปยังภาครัฐถึงเรื่องการสั่งซื้อวัคซีนต้านโควิด-19 และความพร้อมของโรงพยาบาลสนามในหลายพื้นที่ เพื่อรองรับกรณีที่จำนวนผู้ติดเชื้อมีจำนวนสูงขึ้น แน่นอนว่าโรงพยาบาลสนามนั้นมีไว้สำหรับรองรับผู้ติดเชื้อที่อาการไม่หนักหรือไม่มีอาการ และพร้อมจะส่งต่อผู้ติดเชื้อไปยังโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่มีรูปแบบการรักษาที่ได้มาตรฐาน คำถามต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในโลกโซเชียล ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะขาดการสื่อสารที่ครบถ้วนจากภาครัฐเอง อีกส่วนหนึ่งอาจเกิดจากความพยายามบิดเบือนข้อมูลอันมีผลประโยชน์แอบแฝงจากฝ่ายไม่หวังดี เมื่อขาดข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนบวกกับตาชั่งที่มีบรรทัดฐานไม่เท่ากันของแต่ละคน จึงไม่น่าแปลกใจที่คนไทยจะเกิดความขัดแย้งภายใต้สถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ ทั้งที่ห้วงยามนี้น่าจะเป็นช่วงเวลาที่เรียกหาความสามัคคีให้ก่อตัวขึ้นได้ในหมู่มวลประชาชน ความจริงที่ว่า วัคซีนด้านโควิด-19 คือความหวังอันเรืองรองที่จะพลิกฟื้นวิกฤตครั้งนี้ และเป็นอาวุธสำคัญของมนุษยชาติให้เอาชนะเชื้อไวรัสได้ ประเด็นสำคัญของวัคซีนจึงเป็นเรื่องที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงมีการสั่งซื้อและนำเข้าวัคซีนต้านโควิด-19 ได้เพียงแค่ 2 ล้านโดส จากบริษัทซิโนแวค และจากแอสตราเซเนกาอีก 117,600 โดส เท่านั้น อีกคำถามที่ตามมาคือ การสั่งซื้อและนำเข้าวัคซีนผูกขาดอยู่แต่กับภาครัฐเท่านั้นใช่หรือไม่ เหตุใดจึงไม่อนุญาตให้บริษัทเอกชนที่มีศักยภาพจัดหาเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เมื่อวัคซีนจะเป็นตัวแปรสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอันนำไปสู่การเปิดประเทศในที่สุด พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตอบข้อสงสัยของคำถามดังกล่าวหลังจบการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 เมษายน

Read More

ค้าปลีกอ่วมซ้ำแสนล้าน จี้อัปเกรด ช้อปดีมีคืน-คนละครึ่งเฟส 3

โควิดระลอก 3 เหมือนฝันร้ายของธุรกิจค้าปลีกที่เกี่ยวพันโดยตรงกับกำลังซื้อของผู้คน และแนวโน้มจะหนักหนาสาหัสกว่า 2 ระลอกแรก ที่นับเม็ดเงินหดหายตลอดทั้งปี 2563 มากกว่า 5 แสนล้านบาท ทำลายบรรยากาศการจับจ่ายช่วงเทศกาลวันหยุดยาว และยังต้องลุ้นแผนการควบคุมการระบาดช่วง 2 เดือนนับจากนี้ ที่สำคัญ ประเทศไทยต้องกลับมาทบทวนตัวเลขการเติบโตทุกด้าน ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ผลจากการแพร่ระบาดโควิด-19 กรณีคลัสเตอร์สถานบันเทิง และมีผู้ติดเชื้อต่อวันสูงขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้กิจกรรมต่างๆ หยุดชะงัก คนระมัดระวังการใช้จ่าย คิดเป็นความเสียหายต่อเดือน 3-5 หมื่นล้านบาท และหากดูสถิติย้อนหลังเมื่อเกิดการแพร่ระบาดรอบใหม่จะใช้เวลาควบคุมและเรียกความเชื่อมั่นให้การจับจ่ายกลับมาอีกครั้งจะใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน เท่ากับเงินใช้จ่ายจะหายไปจากระบบ 6 หมื่นล้านบาทถึง 1 แสนล้านบาท และกระทบตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไม่ต่ำกว่า 0.3-0.5% นี่ยังไม่ประเมินในกรณีเลวร้าย การระบาดวงกว้างหยุดไม่อยู่จนถึงขั้นล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ เศรษฐกิจปีนี้อาจเติบโตเพียง 2.0-2.5% ดังนั้น นอกจากการควบคุมการแพร่ระบาดและเร่งกระจายฉีดวัคซีนเร็วที่สุด มากที่สุด เพื่อเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวแล้ว รัฐต้องเร่งออกมาตรการลดค่าครองชีพเร็วขึ้นภายในปลายเดือนเมษายน จากเดิมจะเริ่มในเดือนมิถุนายน ทั้งโครงการเราชนะและคนละครึ่งเฟส 3

Read More

โควิดโผล่ระลอก 3 CRG รุกช่องทางใหม่ลุย Mobile Box

ธุรกิจร้านอาหารมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท เจอวิกฤตอีกรอบ หลังเกิดเหตุโควิด-19 แพร่ระบาดระลอก 3 โดยรอบนี้มีคลัสเตอร์ใหญ่จากสถานบันเทิงย่านทองหล่อ และจำนวนผู้ติดเชื้อกระจายอย่างรวดเร็ว จนดูเหมือนว่าสถานการณ์การพลิกฟื้นรายได้กลายเป็นโจทย์ยากขึ้น และต้องอาศัยการปรับกลยุทธ์ต่างๆ ชนิดที่ว่า ใครพลิกรับปัจจัยเสี่ยงได้เร็วจะมีโอกาสรอดและเจ็บตัวน้อยที่สุด แม้สมาคมภัตตาคารไทยได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ยืนยันสาเหตุการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ไม่ได้เกิดจากร้านอาหาร แต่เกิดจากสถานบริการเปิดเกินเวลา และมีจำนวนคนเข้าใช้บริการแออัด ไม่เว้นระยะห่าง เจ้าหน้าที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่ร้านอาหารและภัตตาคารทำตามกฎระเบียบของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดมาตลอด ต่อให้ร้านอาหารขายแอลกอฮอล์และเปิดได้ถึง 23.00 น. จะไม่ทำให้เกิดการติดต่อหรือแพร่กระจายโรค ทั้งการจัดโต๊ะเว้นระยะห่าง มาตรการตรวจวัดอุณหภูมิ และสวมแมสก์ก่อนเข้าร้านอย่างเคร่งครัด อุปกรณ์ จานชาม ช้อมส้อม แก้ว มีการห่อคลุมป้องกันอย่างดี โต๊ะ เก้าอี้ มีการฉีดแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่มีการใช้ ลูกค้าถูกจำกัดให้นั่งรับประทาน นั่งดื่ม ที่โต๊ะในกลุ่มของตัวเองเท่านั้น ไม่มีการยืนเต้นรำ รำวง หายใจรดต้นคอกันเหมือนสถานบันเทิง หรือสถานประกอบการอื่น ลูกค้าที่ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เมามายจนขาดสติหรือสนุกสนานจนเกินการควบคุมเหมือนสถานบันเทิง แต่โควิดระลอก 3 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้าและอาจถึงขั้นทำให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้บริการหยุดชะงัก

Read More

สงกรานต์ ’64 กับโควิดระลอก 3 ความซบเซาที่มาพร้อมความตระหนก

อีกปีที่เทศกาลสงกรานต์ของไทยจะดำเนินไปด้วยรูปแบบวิถีใหม่ หรือ New Normal เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทยระอุขึ้นอีกครั้ง และครั้งนี้อาจดับฝันของบรรดาผู้ประกอบการเลยก็ว่าได้ ก่อนหน้านี้ภาครัฐประกาศเพิ่มวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 12-15 เมษายน โดยมีเป้าประสงค์ให้เกิดการจับจ่ายของภาคประชาชนในช่วงเวลาดังกล่าวมากขึ้น ผู้ประกอบการแบกความหวังและรอคอยให้เทศกาลแห่งความสุขนี้เดินทางมาถึงโดยเร็ว เพราะนั่นหมายถึงช่วงเวลาที่สามารถคาดหวังรายได้ที่จะเข้ามา ทว่า เพียงแค่พริบตาเดียว ความหวังที่ว่าดูเหมือนจะหลุดลอยและแทบจะสูญสลายไป หลังจากพบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอก 3 เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายน ต้องยอมรับว่าด้านสาธารณสุขของไทยสามารถควบคุมวงการแพร่ระบาดให้อยู่ในพื้นที่จำกัดได้ เหมือนที่เคยทำมาได้แล้วในการระบาดครั้งแรกและครั้งที่สอง ทว่า ครั้งนี้อาจสร้างความตระหนกให้แก่ประชาชนมากพอสมควร เมื่อการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 นี้ กระจายอยู่ในหลายวงการ เช่น กลุ่มพริตตี้-พีอาร์ กลุ่มศิลปิน-นักแสดง กลุ่มนักการเมือง และวงการแพทย์ ซึ่งหมายความว่าประชาชนทั่วไปอาจมีอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากขึ้น สิ่งที่ตามมาจากการระบาดระลอก 3 คือ บรรยากาศในช่วงสงกรานต์ที่หลายคนคาดหวังว่าจะคึกคักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการท่องเที่ยวและการจับจ่าย อาจจะเงียบเหงาและซบเซากว่าเดิม เหตุการณ์ในครั้งนี้อาจเป็นตัวแปรสำคัญของการได้มาซึ่งรายได้ในอนาคตของประชาชน ไม่ว่าจะในฐานะของผู้ประกอบการหรือบุคคลทั่วไป แน่นอนว่าตัวเลขรายได้เป็นเหตุผลสำคัญของการระมัดระวังการใช้จ่าย โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้เฉลี่ยต่อคนอาจอยู่ที่ 5,700 บาท (คำนวณที่วันหยุดเฉลี่ย 6 วัน) ส่งผลให้เม็ดเงินใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2564 รวมน่าจะอยู่ที่ 24,000

Read More