Home > Cover Story (Page 92)

เซเว่น 4.0 เร่งปักหมุดแลนด์มาร์ก

เป้าหมายของยักษ์ใหญ่ “7-11” ไม่ใช่แค่การปูพรมสาขายึดพื้นที่ทุกจุดทั่วประเทศ ล่าสุดเดินหน้าสงครามรอบใหม่ผุดสาขาเต็มรูปแบบ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เซเว่น 4.0” แห่งที่ 2 เจาะตลาดท่องเที่ยวเมืองพัทยา โดยประกาศเป็นแลนด์มาร์กจุดนัดพบของกลุ่มเป้าหมายชนิดที่คู่แข่งอย่าง “แฟมิลี่มาร์ท-ลอว์สัน” ต้องเร่งปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ขณะเดียวกัน หากวัดจำนวนสาขาของผู้เล่น 5 อันดับแรก อันดับ 1 7-11 ล่าสุดมีสาขามากกว่า 10,300 แห่ง และตั้งเป้าหมายภายในปี 2563 จะเพิ่มสาขาให้ได้ถึง 13,000 สาขา รองลงมาเป็นโลตัส เอ็กซ์เพรส ประมาณ 1,500 สาขา แฟมิลี่มาร์ท กว่า 1,100 สาขา มินิบิ๊กซี 800 สาขา และลอว์สัน 120 สาขา แน่นอนว่า บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ผู้บริหารร้านสะดวกซื้อ “7-11” ในประเทศไทย

Read More

Ho Chi Minh City ไข่มุกแห่งตะวันออกไกล

อาคารสีเหลืองครีมสไตล์โคโลเนียลฝรั่งเศสที่เป็นที่ทำการของเมือง ตั้งตระหง่านและทอดยาวไปตามถนน ด้านหน้าเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ “โฮจิมินห์” อดีตประธานาธิบดีและวีรบุรุษผู้มีบทบาทสำคัญในการกอบกู้อิสรภาพให้กับเวียดนาม รอบด้านรายล้อมด้วยโรงแรมหรูหรา ศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ ร้านค้าแบรนด์เนมหลากหลายยี่ห้อ คละเคล้าไปด้วยเสียงแตรรถจากกองทัพรถจักรยานยนต์ และผู้คนที่เดินขวักไขว่ไปมา ที่นี่คือจัตุรัสของนครโฮจิมินห์ ศูนย์กลางความเจริญของประเทศเวียดนาม และเมืองที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ไข่มุกแห่งตะวันออกไกล” นครโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh City) หรือชื่อเดิมคือ “ไซง่อน” (Saigon) ได้ชื่อว่าเป็นเมืองใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศบริเวณแม่น้ำไซง่อน ห่างจากกรุงฮานอยซึ่งเป็นเมืองหลวงประมาณ 1,760 กิโลเมตร โฮจิมินห์เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์การต่อสู้อันยาวนาน อดีตเคยเป็นที่ตั้งกองบัญชาการของฝรั่งเศส ในยุคที่ฝรั่งเศสเข้ายึดอินโดจีนเป็นอาณานิคม และตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนานนับร้อยปี ในปี 1954 ประเทศเวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ไซง่อนในสมัยนั้นได้กลายมาเป็นเมืองหลวงของเวียดนามใต้ โดยมีกรุงฮานอยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ หลังจากผ่านการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยประเทศจากการยึดครองของชาติตะวันตกมาอย่างยากลำบาก เวียดนามสามารถรวมประเทศได้อีกครั้งในปี 1976 ไซง่อนอดีตเมืองหลวงของเวียดนามใต้ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นนครโฮจิมินห์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ “โฮจิมินห์” ผู้นำการปฏิวัติที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการประกาศอิสรภาพของเวียดนาม และมีกรุงฮานอยเป็นเมืองหลวงของประเทศดังเดิม ภาพความบอบช้ำที่สื่อสะท้อนออกมาจากพิพิธภัณฑ์สงคราม (War Remnants Museum) ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง บอกเล่าช่วงเวลาอันหนักหน่วงของการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของชาติในอดีตได้อย่างชัดเจน ปัจจุบันนครโฮจิมินห์ได้ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าของตัวเองใหม่ พัฒนาเมืองจนกลายมาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนที่สำคัญที่สุดของเวียดนาม

Read More

ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ สัญญาณเตือนภัยต้นปีหมู??

ความกังวลใจว่าด้วยการสะสมสินค้าล้นเกินในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมา ที่อาจนำไปสู่ภาวะฟองสบู่แตกในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปีที่กำลังจะมาถึง ดูจะเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงว่าด้วยปัจจัยกดดันจากนโยบายภาครัฐที่กำลังจะมีผลบังคับในไม่ช้า ปัจจัยเสี่ยงหรือ negative impact ที่กำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปี 2562 และต่อจากนี้ นอกจากจะอยู่ที่แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาระการผ่อนชำระของผู้บริโภคแล้ว ยังประกอบส่วนด้วยมาตรการ LTV-loan to value ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการลดเพดานปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย มีผลให้การซื้อบ้าน-คอนโดมิเนียมหลังที่ 2 เป็นต้นไป ต้องจ่ายเพิ่มเงินดาวน์ ประเด็นดังกล่าวนับเป็นการชะลออำนาจการซื้อของผู้บริโภคไปโดยปริยาย เพราะจากเดิมการซื้อบ้านอาจดาวน์ประมาณ 5% กลับต้องเพิ่มเป็น 10-20-30% การซื้อคอนโดมิเนียม เดิม 10% เพิ่มเป็น 20-30% หรือหากกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการซื้อบ้านหลังที่ 2 เงินดาวน์สูงสุด 20% ถ้าซื้อหลังที่ 3 ขึ้นไป บังคับเงินดาวน์ถึง 30% ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในการระบายสินค้าด้วย แม้ว่ามาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในด้านหนึ่งจะเป็นความพยายามในการลดภาวะร้อนแรงในตลาดคอนโดมิเนียมที่มีทั้งการซื้อเพื่ออยู่อาศัย การลงทุนและการเก็งกำไรจำนวนมาก ที่ทำให้ตลาดคอนโดมิเนียมมีความร้อนแรงเกินจริง ซึ่งในระยะยาวจะส่งผลให้ตลาดคอนโดมิเนียมปรับตัวตามสภาพ และได้รับการประเมินว่าเป็นมาตรการที่พยายามทำให้ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์มีความแข็งแรงมากขึ้น หากแต่ในอีกด้านหนึ่งมาตรการที่มุ่งหมายสกัดการเก็งกำไรในตลาดคอนโดมิเนียมดังกล่าว กลับส่งผลกระทบต่อตลาดบ้านแนวราบทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ไปด้วย ซึ่งทำให้ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระเงินดาวน์สูงขึ้นอย่างมาก และทำให้เกิดการชะลอตัวในตลาดบ้านเดี่ยวไปโดยปริยาย ขณะเดียวกันปัจจัยด้านการเมืองดูจะเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม

Read More

Wellness Tourism ยุทธศาสตร์ใหม่การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวยังคงมีบทบาทสำคัญและเป็นหนึ่งฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนต่างพัฒนาโปรดักส์ใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อสร้างจุดขาย เสริมความแข็งแกร่ง และตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยว ในช่วงที่ผ่านมากระแสการดูแลรักษาสุขภาพของผู้คนในสังคมยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง จนพัฒนากลายมาเป็นพฤติกรรมและเกิดกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสินค้าและบริการต่างๆ ที่ต้องปรับตัวตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และนั่นย่อมรวมถึงธุรกิจการท่องเที่ยวด้วยเช่นกันที่ต่างต้องปรับตัวและสร้างจุดขายใหม่ๆ เพื่อรองรับกับกระแสดังกล่าว จนนำไปสู่การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่อย่าง “Wellness Tourism” เทรนด์การท่องเที่ยวที่กำลังมาแรง และมีอัตราการเติบโตที่น่าจับตามอง Wellness Tourism หรือการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ เป็นการเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อสร้างความสมดุลทั้งร่างกายและจิตใจ มีการผนวกกิจกรรมด้านสุขภาพเข้ามารวมอยู่ในการท่องเที่ยวนั้นด้วย เช่น โยคะ สปา อาหารเพื่อสุขภาพ และบริการทางการแพทย์ เป็นต้น กระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเติบโตอย่างรวดเร็ว แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกจะถดถอย แต่ธุรกิจนี้กลับเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2560 ตลาด wellness tourism ทั่วโลก มีมูลค่าประมาณ 124 ล้านล้านบาท ใหญ่กว่า GDP ประเทศไทย 9,000 เท่า มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 10.6% ซึ่งโตกว่าภาพรวมการท่องเที่ยวโลกถึง 2 เท่า และยังมีแนวโน้มที่จะโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทยนับเป็นอีกหนึ่งตลาดที่โดดเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพราะมีความได้เปรียบด้วยต้นทุนที่ดีทั้งในแง่ของการบริการด้านสุขภาพ

Read More

เปรมินทร์ เลอนรเสฏฐ์ พลิกเกม “เซ็นเตอร์พอยท์” ถึง “เอเชียทีค”

“ทีซีซี กรุ๊ป ตั้งเป้าผลักดันเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เป็นเวิลด์เดสทิเนชั่น อย่างน้อยภายในปี 2020 ต้องเห็นภาพชัดเจนในระดับเอเชียและในระดับโลกต้องไม่เกินปี 2025 เพราะเป็นโมเดลใหญ่ ต้องทำให้เพอร์เฟกต์มากที่สุด” เปรมินทร์ เลอนรเสฏฐ์ ผู้จัดการทั่วไป โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ กลุ่มบริษัท แอสเสท เวิรด์ รีเทล จำกัด ภายใต้การบริหารงานของบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (ทีซีซี กรุ๊ป) กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงเป้าหมายสำคัญหลังโยกย้ายจากเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ ให้เข้ามาบริหารโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ท่ามกลางสงครามค้าปลีกริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาที่กำลังคึกคักและร้อนแรงสุดขีด แน่นอนว่า ระยะเวลาไม่ถึง 4 เดือนในตำแหน่งหน้าที่ใหม่ เปรมินทร์เห็นทันทีถึงโจทย์การตลาดของเอเชียทีคที่ต่างจากเซ็นเตอร์พอยท์ฯ อย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าและแนวรบธุรกิจค้าปลีกริมน้ำ แต่เป้าหมายเหมือนกัน คือ ทำอย่างไรที่จะขยายตลาดและตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้มากที่สุด จริงๆ แล้ว จุดเริ่มต้นของผู้บริหารสาวไม่ได้เติบโตจากสายมาร์เก็ตติ้งหรือธุรกิจค้าปลีก

Read More

ศึกเคานต์ดาวน์สองฝั่งน้ำ ไอคอนสยาม-เอเชียทีค

การเปิดตัวอภิมหาโครงการ “ไอคอนสยาม” เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 กระตุ้นความคึกคักขีดสุดให้ตลาดค้าปลีกริมน้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะการโหมโรงสู่เทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าเข้าสู่ปี 2562 ระหว่าง “เอเชียทีค” ในฐานะที่ 1 ทัวริสต์เดสทิเนชั่นริมฝั่งน้ำตลอด 7 ปีที่ผ่านมากับ “ไอคอนสยาม” ซึ่งปีนี้ทุ่มงบจัดเต็มแบบครบเครื่อง เพื่อชิงตำแหน่งเคานต์ดาวน์เดสทิเนชั่นของโลก ทั้งนี้ ไอคอนสยามถือเป็น 1 ในจุดหมายของงาน Amazing Thailand Countdown 2019 ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กำหนดจัดงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ใน 5 แห่ง แบ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ 1 แห่ง คือ ไอคอนสยาม และอีก 4 แห่งในเมืองรองแต่ละภาค ได้แก่ นครพนม เชียงราย ราชบุรี และสตูล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยและกระจายรายได้ลงไปสู่ฐานราก ซึ่ง ททท. คาดว่าระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม

Read More

อรุณรุ่งที่ Alexandria บนร่องรอยแห่งยุคสมัย

หากเอ่ยถึงประเทศอียิปต์ ในห้วงคำนึงของใครหลายคนอาจจะมีภาพจำที่แตกต่างกันออกไป ทั้งทะเลทรายไกลสุดลูหูลูกตา หรือภาพสิ่งก่อสร้างที่เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก อย่างพีระมิด ในเมืองกีซา ทว่า เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากกรุงไคโร อย่างอเล็กซานเดรีย (Alexandria) กลับอุดมไปด้วยมนต์เสน่ห์ลึกลับที่น่าค้นหาและทำความรู้จักไม่น้อย ราว 334 ปีก่อนคริสตกาล อเล็กซานเดรียเคยถูกสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงของอียิปต์ ภายหลังจากที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์เข้ามายึดครองและมีคำสั่งให้ปรับปรุงขยายเมือง อีกทั้งยังตั้งชื่อเมืองให้คล้องจองกับพระนามของพระองค์ และเป็นเมืองหลวงของอียิปต์นานเกือบหนึ่งพันปี ด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเมืองอเล็กซานเดรียที่อยู่เหนือสุดของอียิปต์ ติดริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใกล้ปากแม่น้ำไนล์ ทำให้เมืองแห่งนี้กลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญ อีกทั้งยังได้สมญานามว่าเป็น “เมืองไข่มุกแห่งเมดิเตอร์เรเนียน” นั่นทำให้นอกจากอเล็กซานเดรียจะเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของอียิปต์แล้ว เมืองแห่งนี้ยังเป็นเสมือนหน้าต่างของประเทศที่มุ่งสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอีกด้วย น่าแปลกที่การเดินทางเข้ามาในย่านชุมชนของอเล็กซานเดรีย ทั้งที่ต้องพบเจอกับความวุ่นวายของการคมนาคมในชุมชนเมือง เนื่องจากเส้นทางจราจรที่มีถนนเพียงสองเลน กับอาคารบ้านเรือนสูงตระหง่าน ให้ความรู้สึกถูกบีบคั้นจากภายใน เมื่อยืนอยู่ท่ามกลางตึกสูงกลับมีพลังบางอย่างที่ดึงดูดให้เราเดินทางเข้าไปสัมผัสใกล้ๆ บ้านเรือนของคนอียิปต์เมื่อดูจากภายนอก คล้ายกับว่าบ้านแต่ละหลังยังไม่มีหลังไหนสร้างเสร็จสมบูรณ์ เพราะสิ่งที่โผล่พ้นตัวอาคารออกมา ทั้งเหล็กที่ยื่นออกมานอกตัวบ้าน หรือผนังที่เผยให้เห็นอิฐที่เรียงซ้อนกัน โดยไม่มีการฉาบปูนเพื่อเก็บงานแต่อย่างใด นั่นเป็นเพราะรัฐบาลอียิปต์มีมาตรการเรียกเก็บภาษีจากอาคารที่พักอาศัยที่สร้างแล้วเสร็จ ทำให้ประชาชนชาวอียิปต์ต้องหาวิธีการหลบเลี่ยงการจ่ายภาษีให้แก่รัฐบาลอียิปต์อีกรูปแบบหนึ่ง วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และธรรมเนียมของคนท้องถิ่นที่แสดงออกอย่างเปิดเผยทำให้ละสายตาได้ยาก ยิ่งเมื่อใกล้เวลาละหมาดจะเห็นผู้คนในพื้นที่ปูเสื่อไว้บริเวณหน้าบ้าน หน้าร้าน เพื่อรอเวลา นอกจากนี้ ทุกถนนหนทางในเมืองอเล็กซานเดรียมีร้านน้ำชาเปิดเรียงราย และแน่นอนว่าจำนวนร้านน้ำชาของที่นี่อาจจะมากกว่าจำนวนร้านสะดวกซื้อในประเทศไทยด้วยซ้ำ จึงไม่ยากที่จะได้เห็นชาวเมืองอเล็กซานเดรียโดยเฉพาะผู้ชาย มักจะใช้เวลานั่งอยู่ในร้านน้ำชา พร้อมกับสูบยาจากอุปกรณ์สูบยาที่เรียกว่า Shisha

Read More

ข้อพิพาทการค้าจีน-สหรัฐฯ สุดทางเมื่อต่างสูญเสีย?

ประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ที่เคลื่อนไหวตอบโต้กันอย่างหนักหน่วงในช่วงที่ผ่านมา ทั้งในมิติของการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าเพื่อให้เอกชนในสหรัฐฯ สามารถแข่งขันราคาสินค้าภายในประเทศกับสินค้านำเข้าจากจีนหรือแม้กระทั่งความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนข้อปฏิบัติด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการอุดหนุนอุตสาหกรรมและโครงสร้างภาษีแล้ว ดูเหมือนว่าสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกา กำลังถูกกระทำให้ปริห่างออกจากกันมากขึ้นไปอีก เมื่อปรากฏว่าทางการแคนาดาเข้าควบคุมและจับกุม เหมิง หวันโจว ที่มีสถานะเป็นทั้ง CFO ของบริษัท HUAWEI และบุตรสาวของ เหริน เจิ้งเฟย ประธานและผู้ก่อตั้ง HUAWEI เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มูลเหตุของการจับกุมตัว เหมิง หวันโจว เกิดขึ้นจากข้อกล่าวหาที่ว่า HUAWEI นำบริษัทลูกในนาม Skycom ประกอบธุรกรรมอำพรางเมื่อปี 2013 ในการจำหน่ายสินค้าโทรคมนาคมให้กับประเทศอิหร่าน ประเทศที่ถูกทางการสหรัฐฯ ดำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอยู่ โดยในการจับกุมดำเนินคดีในครั้งนี้ อาจทำให้ เหมิง หวันโจว ถูกส่งตัวในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐอเมริกา และหากได้รับการพิจารณาตัดสินว่ามีความผิดจริงมีโอกาสที่จะโดนจำคุกสูงสุดถึง 30 ปี ในรายงานของสำนักงานอัยการ ทางการแคนาดาระบุว่า เหมิง หวันโจว มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมด้วยการขายอุปกรณ์โทรคมนาคมให้แก่อิหร่าน ผ่านบริษัท Skycom ซึ่งเป็นบริษัทลูกแบบลับๆ ของ HUAWEI ในฮ่องกง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ อาณาจักรธุรกิจของ HUAWEI

Read More

เศรษฐกิจไทยในอนาคต ความหวังที่รัฐบาลใหม่ต้องแบกรับ

สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จากมุมมองของหลายฝ่ายดูจะสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัด เมื่อสภาพัฒน์แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในช่วงไตรมาส 3 ปี 2561 ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.3 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นว่ามีการชะลอตัวลงจาก 4.6 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ผู้นำรัฐบาลมักมีวาทกรรมว่า “เศรษฐกิจดีขึ้นทุกด้าน” หากจะว่าไปคงไม่ผิดนักหากนายกฯ จะมีถ้อยแถลงต่อเรื่องเศรษฐกิจเช่นนั้นเสมอ เมื่อผู้คนที่แวดล้อมอยู่รอบตัวประสานเสียงและให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน สวนทางกับเสียงโอดครวญของประชาชนที่ทำมาค้าขาย หาเช้ากินค่ำ กลับบ่นกันระงม ถึงความยากลำบากในสภาวการณ์เช่นนี้ และที่น่าฉงนใจอย่างยิ่งคือ เสียงบ่นจากประชาชนกลับดูบางเบา รวมไปถึงข้อเท็จจริงที่อาจส่งไม่ถึงฝ่ายบริหารประเทศได้เลย ถึงเวลานี้หลายคนคงได้แค่ตั้งความหวังต่อรัฐบาลชุดใหม่ที่จะมาจากการเลือกตั้งซึ่งจะเกิดขึ้นในศักราชหน้า ว่านอกจากจะนำพาเอาความสงบสุขมาสู่ประเทศแล้ว ยังต้องพลิกฟื้นสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่ใช่เพียงแต่เศรษฐกิจในระดับมหภาคเท่านั้น ยังต้องทำให้ทุกฟันเฟืองขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะเศรษฐกิจจุลภาคด้วย และนั่นต้องไม่ใช่เพียงการสร้างภาพลวงตาหลอกสังคมโลกและตัวเอง เพราะเมื่อฟันเฟืองทุกตัวขับเคลื่อนได้จริง ไม่ใช่แค่เพียงภาพมโนที่ปั้นแต่งขึ้นเพื่อสร้างกระแสการเติบโตทางเศรษฐกิจที่หวังผลเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติเท่านั้น นั่นจะเป็นปัจจัยสำคัญที่น่าจะทำให้ไทยหลุดพ้นจากการเป็นมือวางอันดับหนึ่งเรื่องความเหลื่อมล้ำลงได้ แม้ประชาชนบางส่วนจะยังมีข้อสงสัยว่า การเลือกตั้งที่หลายฝ่ายกำลังโหมโรงอยู่ขณะนี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ก็ตาม ล่าสุด ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นำโดย ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์ เปิดเผยถึงการปรับประมาณการคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปีหน้าใหม่อีกครั้งช่วงเดือนมกราคม หลังจากปัจจัยทางเศรษฐกิจในตลาดโลกมีความชัดเจนมากขึ้น กรณีนี้หมายถึงสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งหอการค้าไทยมองว่า ปี 2562 มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอยู่ที่ระดับ 4-4.5 เปอร์เซ็นต์ และหากสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสองชาติมหาอำนาจคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นภายในเดือนมีนาคม ราคาน้ำมันไม่ปรับตัวสูงขึ้น มีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ถึง 4.3-4.5 เปอร์เซ็นต์

Read More

เปิดกระเป๋าส่องแรงซื้อ ผู้บริโภคไทยในยุคไร้เหลื่อมล้ำ

ประเด็นปัญหาว่าด้วยเศรษฐกิจไทยรอบล่าสุด นอกจากจะผูกพันอยู่กับภาวะถดถอยที่แผ่กว้างออกไปและยังไม่มีวี่แววว่าจะไปสิ้นสุดที่จุดต่ำสุดเมื่อใด กำลังถูกถาโถมจากข้อเท็จจริงอีกด้านว่าด้วยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่ผลักให้ประเทศไทยก้าวสู่อันดับโลก และสะท้อนความเป็นไปของวาทกรรมว่าด้วย รวยกระจุก จนกระจาย ที่เด่นชัดที่สุดอีกครั้ง รายงานของ CS Global Wealth Report 2018 ที่นำเสนอออกมาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาระบุว่าความมั่งคั่งของไทยในช่วงปี 2018 จำนวนกว่าร้อยละ 66.9 ถูกครอบครองโดยกลุ่มประชากรเพียงร้อยละ 1 ขณะที่ในปี 2016 ประมาณการกลุ่มนี้มีทรัพย์สินเพียงร้อยละ 58.0 หรือหากกล่าวอีกนัยหนึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประชากรกลุ่มชนผู้มั่งคั่งนี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอีกถึงร้อยละ 8.9 เลยทีเดียว ขณะเดียวกัน รายงานฉบับดังกล่าวยังระบุว่า ประชากรคนไทยกลุ่มที่ยากจนที่สุดร้อยละ10 กลับไม่มีทรัพย์สินถือครองเลย หรือถือครองทรัพย์สินรวมในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งในกรณีเช่นว่านี้ยังไม่ได้นับรวมถึงภาระหนี้ ซึ่งอาจทำให้ตัวเลขในส่วนนี้ อยู่ในระดับที่ต้องติดลบ ขณะที่คนไทยร้อยละ 50 มีทรัพย์สินรวมประมาณร้อยละ 1.7 หรือหากนับประชากรร้อยละ 70 ก็มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเป็นเพียงร้อยละ 5 ของทรัพย์สินรวมของประเทศเท่านั้น ซึ่งเป็นภาพสะท้อนว่า คนครึ่งประเทศเป็นกลุ่มคนไม่มีเงินเหลือเก็บออม ข้อเท็จจริงจากรายงานว่าด้วยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจฉบับดังกล่าวได้รับการตอบกลับจากหน่วยงานภาครัฐว่าเป็นการนำเสนอข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เพราะเป็นการนำข้อมูลทรัพย์สิน ที่ดิน และบัญชีเงินฝาก

Read More