Home > มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

“หอมขจรฟาร์ม” พื้นที่เกษตรแนวใหม่ อีกหนึ่งแลนด์มาร์กแห่งสุพรรณบุรี

บนเนื้อที่กว่า 50 ไร่ ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี คือที่ตั้งของ “หอมขจรฟาร์ม” โครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะและแหล่งเรียนรู้เกษตรแนวใหม่ อีกหนึ่งบทบาทของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่มีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร สู่อีกหนึ่งแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของจังหวัดสุพรรณบุรี ภาคการเกษตรยังคงเป็นหัวใจสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย แต่ถึงกระนั้นเกษตรกรไทยผู้เป็นฟันเฟืองหลักยังคงเผชิญกับปัญหาในการทำการเกษตร และยังไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตในฐานะแหล่งรวมความรู้ จึงนำองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยที่มี ถ่ายทอดไปยังเกษตรกร ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรแนวใหม่ ในชื่อ “หอมขจรฟาร์ม” “หอมขจรฟาร์ม” ตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี บนพื้นที่กว่า 50 ไร่ โดยนิยามตนเองเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรแนวใหม่ ที่ต้องการส่งเสริมการทำเกษตรปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำให้กับเกษตรกร เพื่อสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร รวมถึงสร้างเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคต โดยหอมขจรฟาร์มแห่งนี้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ รศ. ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยทำความร่วมมือกับจังหวัดสุพรรณบุรีและหน่วยงานภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งให้ความรู้ศึกษาดูงานของเกษตรกร ผู้ที่สนใจ และนักเรียน นักศึกษา ภายในฟาร์มประกอบด้วยโครงการหลักๆ 5 โครงการ ได้แก่ 1. “สวนหอมขจร” (Homkhajorn Garden) เป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำการเกษตร

Read More

ชุมชนบ้านแหลม ท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่พร้อมยกระดับสู่ Smart Tourism

การท่องเที่ยวชุมชนเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็นที่ชื่นชอบของหลายๆ คน และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่การเดินทางถูกจำกัด ทำให้นักท่องเที่ยวเริ่มหันมาเที่ยวภายในประเทศอย่างการท่องเที่ยวชุมชนกันมากขึ้น เพื่อสัมผัสเสน่ห์ที่อยู่ใกล้ตัว ปัจจุบันการท่องเที่ยวชุมชนมีอยู่อย่างมากมายทั่วประเทศ ซึ่งมีเอกลักษณ์และจุดขายที่แตกต่างกันออกไป และหนึ่งในท่องเที่ยวชุมชนที่น่าสนใจ คือ “วิสาหกิจท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลบ้านแหลม” จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ดึงจุดแข็งในเรื่องวิถีชีวิตของชุมชนเก่าแก่ริมสายน้ำมาเป็นจุดขาย และที่สำคัญยังเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เข้มแข็ง ที่พร้อมจะยกระดับสู่ Smart Tourism หรือการท่องเที่ยวอัจฉริยะ โดยการผสานวิถีชีวิตเข้ากับนวัตกรรม เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนของจังหวัดสุพรรณบุรี เสียงเพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ตามมาด้วยเพลงเรือ ที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของชุมชน แนะนำสมาชิก ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ตบท้ายด้วยประโยคที่ว่า “เลี้ยวเลาะ เที่ยวท่อง ล่องวิถี คนเมืองเหน่อ บ้านแหลมสุพรรณจ้า” ที่มีความเหน่อเป็นเอกลักษณ์ คือการต้อนรับอันอบอุ่นที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสเป็นด่านแรกจากชาวชุมชนตำบลบ้านแหลม ที่ไม่ทิ้งลายของเมืองแห่งศิลปิน ชุมชนตำบลบ้านแหลม ตั้งอยู่ที่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีเรือนไทยหลังคาแหลมใต้ถุนสูงอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี (ส่วนหนึ่งของแม่น้ำท่าจีนตอนที่ไหลผ่าน จ. สุพรรณบุรี) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “ชุมชนบ้านแหลม” โดยสองฝั่งแม่น้ำมีทั้งเรือนไทยเดี่ยว เรือนไทยหมู่ เรือนไทยคหบดี วัดเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และวิถีชีวิตของชาวชุมชนที่ผูกพันกับสายน้ำ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นเสน่ห์และจุดขายของท่องเที่ยวชุมชนตำบลบ้านแหลม สำหรับ “วิสาหกิจท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลบ้านแหลม”

Read More

ม.สวนดุสิตพัฒนานวัตกรรมท่องเที่ยวอัจฉริยะ ดันสุพรรณบุรีสู่สมาร์ทซิตี้ท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ

กองทุน ววน.หนุนนักวิจัยม.สวนดุสิตดันสุพรรณบุรีสู่สมาร์ทซิตี้ด้วยนวัตกรรมระบบการท่องเที่ยวอัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาชุมชนที่มีศักยภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเชื่อมต่อกับกทม.และอยุธยา เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด-19 มุ่งเป้านักท่องเที่ยวกลุ่มอนุรักษ์ที่มีกำลังซื้อสูง รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต หัวหน้าโครงการนวัตกรรมระบบการท่องเที่ยวอัจฉริยะส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้ทุนวิจัยพื้นฐานจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เปิดเผยว่า คณะวิจัยได้มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนสู่เมืองอัจฉริยะและรองรับสถานการณ์หลังโควิด-19 โดยประความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) และจังหวัดสุพรรณบุรี คัดเลือกชุมชนพร้อมเสนอขายเพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชนสู่การยกระดับการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวชุมชนคาร์บอนต่ำที่มีความพร้อมทั้งด้านคน รูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยว ประมาณ 30 ชุมชน เพื่อให้บริษัทนำเที่ยวไปเสนอขายนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มอนุรักษ์ที่มีกำลังซื้อสูง โดยจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับกรุงเทพฯ และพระนครศรีอยุธยา เพื่อส่งต่อการท่องเที่ยวรอบเมืองหลวงของประเทศไทย โครงการวิจัยได้ดึงศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอาหารและวิถีชีวิตมาเป็นจุดขายให้ชุมชนสามารถฟื้นตัวและปรับตัวในภาวะโควิด-19 ให้มีระบบจัดการที่ดี และเชื่อมต่อกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของจังหวัดสุพรรณบุรี โดยนำเสนอการท่องเที่ยวใหม่ ๆ เช่น นาแห้ว โรงเรือนอัจฉริยะของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการ ประกอบด้วย การท่องเที่ยวอัจฉริยะ มีแอปพลิเคชันแนะนำโปรแกรมท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวรายบุคคล และใช้ปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจของนักท่องเที่ยว เช่น รูปแบบการท่องเที่ยวที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวชุมชน เกษตร วัฒนธรรม วิถีธรรมชาติ งบประมาณ ระยะเวลา

Read More

“กูปรีอัลกอริทึม” นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ รองรับการท่องเที่ยวหลังโควิด‘จาก Local สู่ Global’

คณะวิจัยจาก 3 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง และ ผศ. ดร.ฐิติยา เนตรวงศ์ จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศ. ดร.กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ อ.พัฒนพงษ์ โพธิปัสสา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ร่วมกันพัฒนา “กูปรีอัลกอริทึม” นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะส่งเสริมการปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ พร้อมทั้งได้รับการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารนานาชาติ Energies และ Scholar Community Encyclopedia ซึ่งมีนักวิจัยทั่วโลกมากกว่า 1.5 ล้านคนเข้าใช้งาน วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อพัฒนานวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะส่งเสริมการปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษรองรับการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 ภายใต้แนวคิด “Local สู่ Global” โดยใช้อัลกอริทึมเพิ่มประสิทธิภาพที่พัฒนาขึ้นใหม่ที่เรียกว่า Kouprey-inspired Optimization (KIO) เพื่อช่วยจัดการพลังงานในการเกษตรอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงชุมชน ซึ่งริเริ่มด้วยโหนดพลังงานอัจฉริยะสำหรับลดต้นทุนด้านพลังงานและแรงงานในการปลูกทุเรียนภูเขาไฟ รวมถึงและที่พักในสถานที่ท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเปิดรับนักท่องเที่ยวหลังโควิด-19 รศ. ดร.พรรณี เปิดเผยว่า โครงการวิจัยนี้อยู่ภายใต้ทุนสนับสนุนงานพื้นฐานจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์

Read More

ม.สวนดุสิตพลิกโฉมท่องเที่ยวตราด ดันร่อนพลอยทับทิมสยามฟื้นโควิด

คณะวิจัยม.สวนดุสิตเร่งมือยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน อ.บ่อไร่ จ.ตลาด เพื่อพลิกฟื้นในช่วงโควิด-19 หลังคลิปไวรัล “การร่อนพลอย” ทำนักท่องเที่ยวแห่ชม พร้อมผสานวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชนพื้นเมือง “ชาวชอง” เป็นจุดขายร่วมภายใต้การสนับสนุนจากนายอำเภอบ่อไร่ นายภานุวัฒน์ พุทธเกสร นายอำเภอบ่อไร่ จ. ตราด เป็นประธานการประชุมร่วมกับคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำโดย รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย และคณะวิจัยโครงการ “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชน (Gastronomy Village Tourism) ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองชายฝั่งทะเลตะวันออก (ระยอง-จันทบุรี-ตราด) บนรากฐานคุณค่าและภูมิปัญญาสู่ความยั่งยืนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ซึ่งได้ทุนสนับสนุนการวิจัยมาจากหน่วยการบริหารและจัดการทุน ด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ อ.บ่อไร่ จ. ตราด เป็นพื้นที่มีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวสูงมาก โดยเฉพาะ ต.ช้างทูล และ ต.หนองมน ที่มีเหมืองแร่และมีการขุดพลอยทับทิมสยาม ซึ่งสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันซีนแห่งใหม่ด้วยการนำเสนอ ‘การร่อนพลอย’ ซึ่งจะพบพลอยได้เยอะมากโดยเฉพาะในฤดูฝน

Read More

Wellness Tourism ยุทธศาสตร์ใหม่การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวยังคงมีบทบาทสำคัญและเป็นหนึ่งฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนต่างพัฒนาโปรดักส์ใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อสร้างจุดขาย เสริมความแข็งแกร่ง และตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยว ในช่วงที่ผ่านมากระแสการดูแลรักษาสุขภาพของผู้คนในสังคมยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง จนพัฒนากลายมาเป็นพฤติกรรมและเกิดกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสินค้าและบริการต่างๆ ที่ต้องปรับตัวตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และนั่นย่อมรวมถึงธุรกิจการท่องเที่ยวด้วยเช่นกันที่ต่างต้องปรับตัวและสร้างจุดขายใหม่ๆ เพื่อรองรับกับกระแสดังกล่าว จนนำไปสู่การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่อย่าง “Wellness Tourism” เทรนด์การท่องเที่ยวที่กำลังมาแรง และมีอัตราการเติบโตที่น่าจับตามอง Wellness Tourism หรือการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ เป็นการเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อสร้างความสมดุลทั้งร่างกายและจิตใจ มีการผนวกกิจกรรมด้านสุขภาพเข้ามารวมอยู่ในการท่องเที่ยวนั้นด้วย เช่น โยคะ สปา อาหารเพื่อสุขภาพ และบริการทางการแพทย์ เป็นต้น กระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเติบโตอย่างรวดเร็ว แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกจะถดถอย แต่ธุรกิจนี้กลับเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2560 ตลาด wellness tourism ทั่วโลก มีมูลค่าประมาณ 124 ล้านล้านบาท ใหญ่กว่า GDP ประเทศไทย 9,000 เท่า มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 10.6% ซึ่งโตกว่าภาพรวมการท่องเที่ยวโลกถึง 2 เท่า และยังมีแนวโน้มที่จะโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทยนับเป็นอีกหนึ่งตลาดที่โดดเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพราะมีความได้เปรียบด้วยต้นทุนที่ดีทั้งในแง่ของการบริการด้านสุขภาพ

Read More