Home > Cover Story (Page 91)

ข้อพิพาทการค้าจีน-สหรัฐฯ สุดทางเมื่อต่างสูญเสีย?

ประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ที่เคลื่อนไหวตอบโต้กันอย่างหนักหน่วงในช่วงที่ผ่านมา ทั้งในมิติของการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าเพื่อให้เอกชนในสหรัฐฯ สามารถแข่งขันราคาสินค้าภายในประเทศกับสินค้านำเข้าจากจีนหรือแม้กระทั่งความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนข้อปฏิบัติด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการอุดหนุนอุตสาหกรรมและโครงสร้างภาษีแล้ว ดูเหมือนว่าสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกา กำลังถูกกระทำให้ปริห่างออกจากกันมากขึ้นไปอีก เมื่อปรากฏว่าทางการแคนาดาเข้าควบคุมและจับกุม เหมิง หวันโจว ที่มีสถานะเป็นทั้ง CFO ของบริษัท HUAWEI และบุตรสาวของ เหริน เจิ้งเฟย ประธานและผู้ก่อตั้ง HUAWEI เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มูลเหตุของการจับกุมตัว เหมิง หวันโจว เกิดขึ้นจากข้อกล่าวหาที่ว่า HUAWEI นำบริษัทลูกในนาม Skycom ประกอบธุรกรรมอำพรางเมื่อปี 2013 ในการจำหน่ายสินค้าโทรคมนาคมให้กับประเทศอิหร่าน ประเทศที่ถูกทางการสหรัฐฯ ดำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอยู่ โดยในการจับกุมดำเนินคดีในครั้งนี้ อาจทำให้ เหมิง หวันโจว ถูกส่งตัวในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐอเมริกา และหากได้รับการพิจารณาตัดสินว่ามีความผิดจริงมีโอกาสที่จะโดนจำคุกสูงสุดถึง 30 ปี ในรายงานของสำนักงานอัยการ ทางการแคนาดาระบุว่า เหมิง หวันโจว มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมด้วยการขายอุปกรณ์โทรคมนาคมให้แก่อิหร่าน ผ่านบริษัท Skycom ซึ่งเป็นบริษัทลูกแบบลับๆ ของ HUAWEI ในฮ่องกง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ อาณาจักรธุรกิจของ HUAWEI

Read More

เศรษฐกิจไทยในอนาคต ความหวังที่รัฐบาลใหม่ต้องแบกรับ

สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จากมุมมองของหลายฝ่ายดูจะสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัด เมื่อสภาพัฒน์แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในช่วงไตรมาส 3 ปี 2561 ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.3 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นว่ามีการชะลอตัวลงจาก 4.6 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ผู้นำรัฐบาลมักมีวาทกรรมว่า “เศรษฐกิจดีขึ้นทุกด้าน” หากจะว่าไปคงไม่ผิดนักหากนายกฯ จะมีถ้อยแถลงต่อเรื่องเศรษฐกิจเช่นนั้นเสมอ เมื่อผู้คนที่แวดล้อมอยู่รอบตัวประสานเสียงและให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน สวนทางกับเสียงโอดครวญของประชาชนที่ทำมาค้าขาย หาเช้ากินค่ำ กลับบ่นกันระงม ถึงความยากลำบากในสภาวการณ์เช่นนี้ และที่น่าฉงนใจอย่างยิ่งคือ เสียงบ่นจากประชาชนกลับดูบางเบา รวมไปถึงข้อเท็จจริงที่อาจส่งไม่ถึงฝ่ายบริหารประเทศได้เลย ถึงเวลานี้หลายคนคงได้แค่ตั้งความหวังต่อรัฐบาลชุดใหม่ที่จะมาจากการเลือกตั้งซึ่งจะเกิดขึ้นในศักราชหน้า ว่านอกจากจะนำพาเอาความสงบสุขมาสู่ประเทศแล้ว ยังต้องพลิกฟื้นสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่ใช่เพียงแต่เศรษฐกิจในระดับมหภาคเท่านั้น ยังต้องทำให้ทุกฟันเฟืองขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะเศรษฐกิจจุลภาคด้วย และนั่นต้องไม่ใช่เพียงการสร้างภาพลวงตาหลอกสังคมโลกและตัวเอง เพราะเมื่อฟันเฟืองทุกตัวขับเคลื่อนได้จริง ไม่ใช่แค่เพียงภาพมโนที่ปั้นแต่งขึ้นเพื่อสร้างกระแสการเติบโตทางเศรษฐกิจที่หวังผลเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติเท่านั้น นั่นจะเป็นปัจจัยสำคัญที่น่าจะทำให้ไทยหลุดพ้นจากการเป็นมือวางอันดับหนึ่งเรื่องความเหลื่อมล้ำลงได้ แม้ประชาชนบางส่วนจะยังมีข้อสงสัยว่า การเลือกตั้งที่หลายฝ่ายกำลังโหมโรงอยู่ขณะนี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ก็ตาม ล่าสุด ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นำโดย ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์ เปิดเผยถึงการปรับประมาณการคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปีหน้าใหม่อีกครั้งช่วงเดือนมกราคม หลังจากปัจจัยทางเศรษฐกิจในตลาดโลกมีความชัดเจนมากขึ้น กรณีนี้หมายถึงสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งหอการค้าไทยมองว่า ปี 2562 มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอยู่ที่ระดับ 4-4.5 เปอร์เซ็นต์ และหากสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสองชาติมหาอำนาจคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นภายในเดือนมีนาคม ราคาน้ำมันไม่ปรับตัวสูงขึ้น มีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ถึง 4.3-4.5 เปอร์เซ็นต์

Read More

เปิดกระเป๋าส่องแรงซื้อ ผู้บริโภคไทยในยุคไร้เหลื่อมล้ำ

ประเด็นปัญหาว่าด้วยเศรษฐกิจไทยรอบล่าสุด นอกจากจะผูกพันอยู่กับภาวะถดถอยที่แผ่กว้างออกไปและยังไม่มีวี่แววว่าจะไปสิ้นสุดที่จุดต่ำสุดเมื่อใด กำลังถูกถาโถมจากข้อเท็จจริงอีกด้านว่าด้วยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่ผลักให้ประเทศไทยก้าวสู่อันดับโลก และสะท้อนความเป็นไปของวาทกรรมว่าด้วย รวยกระจุก จนกระจาย ที่เด่นชัดที่สุดอีกครั้ง รายงานของ CS Global Wealth Report 2018 ที่นำเสนอออกมาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาระบุว่าความมั่งคั่งของไทยในช่วงปี 2018 จำนวนกว่าร้อยละ 66.9 ถูกครอบครองโดยกลุ่มประชากรเพียงร้อยละ 1 ขณะที่ในปี 2016 ประมาณการกลุ่มนี้มีทรัพย์สินเพียงร้อยละ 58.0 หรือหากกล่าวอีกนัยหนึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประชากรกลุ่มชนผู้มั่งคั่งนี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอีกถึงร้อยละ 8.9 เลยทีเดียว ขณะเดียวกัน รายงานฉบับดังกล่าวยังระบุว่า ประชากรคนไทยกลุ่มที่ยากจนที่สุดร้อยละ10 กลับไม่มีทรัพย์สินถือครองเลย หรือถือครองทรัพย์สินรวมในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งในกรณีเช่นว่านี้ยังไม่ได้นับรวมถึงภาระหนี้ ซึ่งอาจทำให้ตัวเลขในส่วนนี้ อยู่ในระดับที่ต้องติดลบ ขณะที่คนไทยร้อยละ 50 มีทรัพย์สินรวมประมาณร้อยละ 1.7 หรือหากนับประชากรร้อยละ 70 ก็มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเป็นเพียงร้อยละ 5 ของทรัพย์สินรวมของประเทศเท่านั้น ซึ่งเป็นภาพสะท้อนว่า คนครึ่งประเทศเป็นกลุ่มคนไม่มีเงินเหลือเก็บออม ข้อเท็จจริงจากรายงานว่าด้วยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจฉบับดังกล่าวได้รับการตอบกลับจากหน่วยงานภาครัฐว่าเป็นการนำเสนอข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เพราะเป็นการนำข้อมูลทรัพย์สิน ที่ดิน และบัญชีเงินฝาก

Read More

Digital Disruption จุดเปลี่ยนวงการสื่อไทย?

ขณะที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการมาถึงของยุคสมัยแห่งดิจิทัลดูจะเป็นกลไกที่เสริมสร้างความเติบโตและส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ให้กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง หากแต่ท่ามกลางความไร้ขีดจำกัดของเทคโนโลยียุคดิจิทัล ที่ทำให้วิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์ของผู้คนเปลี่ยนไปนี้ กลับเป็นแรงสั่นสะเทือนที่วิ่งเข้ากระทบต่อวงการสื่อไทยอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน และทำให้สื่อกระแสหลักที่เคยครองความนิยมมาอย่างยาวนานต้องตกอยู่ในสภาพขาลง และมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีสื่อใหม่ในนาม สื่อออนไลน์ เข้ามาแทนที่ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทนิตยสาร ต่างออกมาประกาศปิดตัวและทิ้งภาพความรุ่งเรืองครั้งเก่าให้เหลือไว้เป็นเพียงตำนาน ซึ่งสาเหตุหลักของปรากฏการณ์เหล่านี้ ได้รับการประเมินว่าเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการเหล่านี้ไม่สามารถแบกรับภาระขาดทุนที่สะสมพอกพูนเพิ่มขึ้นได้ ขณะเดียวกันประเด็นว่าด้วย Digital Disruption ได้รับการประเมินว่าเป็นกระแสคลื่นที่ถาโถมเข้าใส่สื่อเก่า ทั้งนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือแม้กระทั่งสื่อโทรทัศน์ เพราะทางเลือกในการเข้าถึงข่าวสารเปิดกว้างขึ้นไปสู่การเสพสื่อในแพลตฟอร์มใหม่บนโลกออนไลน์ จนทำให้สื่อเก่าเสื่อมความนิยมลงอย่างไม่อาจเลี่ยง ความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่ดำเนินผ่านเทคโนโลยี และเครื่องมือสื่อสาร โดยเฉพาะมือถือ ส่งผลให้ปริมาณการเสพสื่อสิ่งพิมพ์ลดน้อยถอยลง และกำลังจะถึงจุดที่สื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสารมีความสำคัญน้อยลง ไม่เว้นแม้แต่สื่อโทรทัศน์ ที่ก็ต้องอยู่ในกระแสธารของการปรับตัวครั้งใหญ่ หลังจากที่ปริมาณการเข้าถึงของประชาชนมีอัตราลดน้อยถอยลงอย่างต่อเนื่อง บทบาทและอิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ในยุคปัจจุบัน ทวีน้ำหนักและเพิ่มพลังให้กับประเด็นต่างๆ มากขึ้น หลังจากที่ประชาชน รวมถึงสถาบันสื่อสารมวลชนและกลไกภาครัฐ ต่างหันมาหยิบยกประเด็นบนโลกออนไลน์ไปจุดประเด็นและสานต่อ หรือแม้กระทั่งนำประเด็นเหล่านี้ไปแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนรวดเร็ว ที่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของสื่อออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ และเป็นกลไกขับเคลื่อนเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทลายกำแพงของเวลาลงอย่างสิ้นเชิง กรณีดังกล่าวทำให้สื่อกระแสหลัก ทั้งนิตยสาร หนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ซึ่งได้รับการประเมินว่าอยู่ในภาวะเสื่อมถอย จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้สามารถที่จะเดินหน้าหรือดำรงสถานะต่อไปได้ และหากสื่อใดยังจ่อมจมที่จะผลิตสื่อในรูปแบบเดิมๆ อาจจะต้องปิดตัวลงไปในที่สุด การปรับตัวในสื่อที่ปรากฏในปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการหลากหลายหันมาให้ความสำคัญกับสื่อออนไลน์มากขึ้น ด้วยหวังว่าวิธีดังกล่าวจะเพิ่มมูลค่า

Read More

ซีพีเร่งผลิต “คน” ขยายเครือข่าย รุกธุรกิจร้านอาหาร 4 แสนล้าน

เครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ “ซีพี” กำลังเร่งผลิต “ทุนมนุษย์” รุกเครือข่ายธุรกิจร้านอาหารขนานใหญ่ตามแผนยุทธศาสตร์ “ครัวโลก” ของ ธนินท์ เจียรวนนท์ ตั้งแต่การสร้าง “สถาบันผู้นำ” ปั้นผู้นำรุ่นใหม่และซีอีโอในอนาคต เปิดโครงการ Young Talent คัดเลือกคนรุ่นใหม่จากมหาวิทยาลัยทั่วโลก และกลุ่มพนักงาน ดันเถ้าแก่คนรุ่นใหม่ จนล่าสุดทุ่มทุนซื้อองค์ความรู้จาก “โลซานน์” ผุดโรงเรียนศิลปะการอาหารแลธผู้ประกอบการคูลิเนอร์ (CULINEUR) ชนิดที่เรียนจบแล้วเปิดร้านได้ทันที โดยซีพีพร้อมใส่เงินทุน ภายใต้เงื่อนไขเดียว คือ ใช้วัตถุดิบจากซีพีทั้งหมด เหตุผลสำคัญ เพราะธุรกิจร้านอาหารยังเป็นเทรนด์ธุรกิจดาวรุ่งที่มีแนวโน้มเติบโตตามธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนและผลักดันอย่างเต็มที่ ในฐานะเครื่องจักรกลทางเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงสุด ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์มูลค่าตลาดธุรกิจร้านอาหารในปี 2561 มีเม็ดเงินสูงกว่า 411,000-415,000 ล้านบาท อัตราขยายตัวร้อยละ 4-5 จากปี 2560 และเปลี่ยน จากอดีตที่ร้านอาหารส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ มาสู่เทรนด์การลงทุนแบบร้านสแตนด์อะโลน ร้านคาเฟ่ ร้านอาหารใน Coworking Space รวมถึงกลุ่ม Street Food

Read More

จาก “สหฟาร์ม” ถึง “ไทยฟู้ดส์” พิษเศรษฐกิจ ธุรกิจผูกขาด

กระแสข่าวการสั่งปลดพนักงานแบบฟ้าผ่าของบริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจผลิตจำหน่ายไก่สด แช่แข็ง และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไก่ รวมทั้งผลิตจำหน่ายสุกร และอาหารสัตว์ ทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัดราว 50% ของพนักงานทั้งหมดกว่า 2,600 คน มีผลตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.ที่ผ่านมา พร้อมกับลดการเช่าพื้นที่สำนักงานอาคารชินวัตร 3 จากเดิม 3 ชั้น เหลือ 1 ชั้น กลายเป็นภาพสะท้อนวิกฤตเศรษฐกิจที่หลายฝ่ายยืนยันว่า “สาหัสมาก” ที่สำคัญ มีอีกหลายธุรกิจกำลังประสบปัญหาจากพิษเศรษฐกิจ บางบริษัทสั่งปิดบางยูนิต บางบริษัทตัดลดเงินเดือน และบางบริษัทสั่งปลดพนักงานชนิดที่บอกล่วงหน้าเพียงไม่กี่วัน สำหรับกรณี “ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป” ตามรายงานประจำปี 2560 ทีมผู้บริหารประกาศตั้งเป้าปี 2561 จะเป็นปีแห่งการเติบโตต่อเนื่อง (Year of Further Growth) หลังจากสามารถสร้างรายได้สูงขึ้นและกำไรสุทธิติดต่อกัน 2 ปี โดยปี 2560 มีรายได้รวม 25,913

Read More

PTTOR นับถอยหลังปลุกราคาหุ้น ดัน “คาเฟ่ อเมซอน” ชน “สตาร์บัคส์”

ตามแผนของ ปตท. คาดว่า การโอนทรัพย์สินธุรกิจน้ำมันและค้าปลีกจากบริษัทแม่ให้ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTTOR ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา จะแล้วเสร็จและยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ภายในปีนี้ เพื่อเร่งแผนขายหุ้นให้ประชาชนครั้งแรก (IPO) กลางปี 2562 หลังเลือกตั้ง ซึ่งเท่ากับเหลือเวลาอีกไม่กี่เดือนที่ ปตท.จะต้องสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้ PTTOR ในฐานะบริษัทน้ำมันเอกชนที่ร้อนแรง ปลุกราคาหุ้นสู้ปัจจัยลบต่างๆ ที่ยังรุมเร้าประเทศรอบด้าน ก่อนหน้านี้ ปตท. เคยตีมูลค่าทรัพย์สินที่จะขายให้ PTTOR อยู่ที่ประมาณ 1.2 แสนล้านบาท แต่เนื่องจากการเลื่อนระยะเวลาการโอนทรัพย์สินทำให้ต้องตีมูลค่าใหม่ ซึ่งเชื่อว่ามูลค่าจะสูงขึ้นอีก หากดูตามโครงสร้างธุรกิจของ PTTOR แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก กลุ่มแรก กลุ่มธุรกิจน้ำมัน ประกอบด้วยธุรกิจค้าปลีกน้ำมันผ่านสถานีบริการ ทั้งในและต่างประเทศ (ปั๊มน้ำมัน) ธุรกิจจำหน่ายเชื้อเพลิงหล่อลื่นทั้งในและต่างประเทศ ธุรกิจจำหน่ายน้ำมันและก๊าซหุงต้มแอลพีจี จำหน่ายแอลพีจีในครัวเรือน รวมถึงการบริหารโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจน้ำมัน ส่วน กลุ่มที่ 2

Read More

ดาบหน้าของผู้อพยพ กับมนุษยธรรมของประเทศมหาอำนาจ

ภาพผู้อพยพแตกฮือวิ่งหนีหลบแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกายิงใส่ เพื่อสกัดกั้นไม่ให้เหล่าผู้อพยพผ่านเข้ามาจนถึงชายแดนสหรัฐฯ ได้ หลังผู้อพยพพยายามข้ามรั้วพรมแดนเมืองตีฮัวนา ประเทศเม็กซิโก เพื่อหวังจะขอลี้ภัย เหตุการณ์ความโกลาหลนี้เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังจากที่จำนวนผู้อพยพเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นหลายพันคน พร้อมการประกาศกร้าวจากผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าจะไม่ยินยอมให้ผู้อพยพผ่านเข้ามาในประเทศได้เด็ดขาด หญิงสาวยึดมือลูกของเธอแน่นขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าลูกของเธอทั้งสองคนจะไม่มีใครหลุดมือหรือพลัดหลงไปในขณะที่กำลังกระเสือกกระสนวิ่งหนีแก๊สน้ำตา เป็นภาพที่ถูกเผยแพร่ในหลายสื่อ สร้างความรู้สึกเศร้าสลดหดหู่ใจไม่น้อย พร้อมเกิดคำถามว่า การกระทำดังกล่าวของประเทศมหาอำนาจ รุนแรงและไร้มนุษยธรรมเกินไปหรือไม่ ภายหลังคำสั่งอย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ให้ส่งทหารกว่า 5,000 นายไปยังพรมแดนเม็กซิโก เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยป้องกันชายแดน สหรัฐอเมริกาเป็นจุดหมายปลายทางของผู้อพยพจากหลายประเทศ ในแต่ละปีมีผู้อพยพที่แสดงความประสงค์จะขอเป็นผู้ลี้ภัยจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะปีนี้สถานการณ์จำนวนผู้อพยพจากกลุ่มประเทศอเมริกากลางจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นจากหลักร้อยเป็นหลายพันคน โดยเฉพาะผู้อพยพที่เดินเท้ามาจาก 3 ประเทศนี้ ได้แก่ กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ และฮอนดูรัส ซึ่งเหตุผลที่ผู้อพยพเหล่านี้ตัดสินใจทิ้งบ้านเกิดเมืองนอนและเดินทางมายังสหรัฐฯ เพราะปัญหาความยากจน ปัญหาอาชญากรรมที่รุนแรงในประเทศของตัวเอง แน่นอนว่า “การไปตายเอาดาบหน้า” อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักในห้วงยามนี้ กระนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศของผู้อพยพ ทางเลือกที่ว่า น่าจะมีเปอร์เซ็นต์รอด หรืออาจมีหนทางไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ คำถามเรื่องมนุษยธรรมของสหรัฐฯ ที่มีต่อผู้อพยพไม่ใช่เพียงแค่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดเท่านั้น เพราะเมื่อช่วงกลางปี โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะผลักดันให้เกิดการใช้นโยบาย “ความอดทนเป็นศูนย์” กับผู้อพยพ หรือให้เข้าใจง่ายๆ คือ

Read More

ภาวะเศรษฐกิจไทยปีหน้า ธปท. เตือน 3 ปัจจัยเสี่ยง

ช่วงเวลาไตรมาสสุดท้ายของศักราชนี้ดูจะดำเนินไปด้วยจังหวะเร้าที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนไปในทิศทางที่หลายฝ่ายตั้งความหวัง เพราะหากผลสรุปตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม การขยายตัวด้านการส่งออก การลงทุนภาคเอกชน เป็นบวก นั่นหมายความว่า ความพยายามอย่างสุดกำลังในเฮือกสุดท้ายของภาครัฐสัมฤทธิผลอย่างเหลือเชื่อ แม้ว่าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จะออกมาแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยหลายต่อหลายครั้งว่า ทิศทางเศรษฐกิจไทยไร้ปัญหา และยังมีกำลังขับเคลื่อนที่ดีขึ้น กระนั้นถ้อยแถลงของภาครัฐดูจะย้อนแย้งกับสถานการณ์ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เมื่อกระแสเสียงบ่นจากชาวบ้านร้านตลาดกลับเห็นต่าง พร้อมกับโอดครวญถึงความยากลำบากในการทำมาค้าขายในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นไปได้หรือไม่ว่า ความพยายามของภาครัฐที่พยายามขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และหวังให้ฟันเฟืองทุกตัวหมุนไปพร้อมๆ กันนั้น เป็นเพียงภาพฝันที่สร้างขึ้นเพื่อปลุกปลอบตัวเองไปวันๆ ล่าสุด วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงทัศนะเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจไทยในศักราชหน้า ในงานสัมมนาเศรษฐกิจประจำปี 2561 ว่า “แม้เศรษฐกิจไทยจะสะท้อนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง กระนั้นยังต้องเฝ้าระวัง 3 ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ มาตรการกีดกันทางการค้า ความผันผวนตลาดเงินตลาดทุนโลก และวัฏจักรดอกเบี้ยที่จะปรับขึ้น” แม้ว่าก่อนหน้านี้ ภาคการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบจากสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ อยู่บ้าง แต่ดูเหมือนว่าความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจจะไม่ได้สร้างผลเสียต่อภาคส่งออกของไทยไปเสียทั้งระบบ จะมีก็เพียงสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มซัปพลายเชน ของไทยที่อาจจะติดร่างแหจากมาตรการกีดกันทางการค้าครั้งนี้ เวลานี้แม้สงครามการค้าจะยังไม่สิ้นสุด แต่ไทยอาจได้รับอานิสงส์ โดยเฉพาะด้านการลงทุนในสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อน เพราะไทยนับว่ามีศักยภาพในการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงในเวทีโลก นอกจากนี้สินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบทางด้านวัตถุดิบอย่างการแปรรูปยางพารา ซึ่งจีนนำเข้าวัตถุดิบจากไทยเพื่อไปผลิตต่อและส่งออกไปสหรัฐฯ อาจมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยเพิ่มมากขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ผลบวกทางตรงของการกระจายฐานการผลิตสินค้าขั้นปลายน้ำ และสินค้าขั้นกลางที่ซับซ้อนในไทยกับการกระจายการลงทุนในกลุ่มสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นบรรษัทต่างชาติที่ประกาศเจตนารมณ์แล้ว และบางส่วนที่มีแนวโน้มย้ายฐานมาไทยเพิ่มจากสงครามการค้าอาจช่วยเพิ่มมูลค่า FDI

Read More

เศรษฐกิจโลกทรุด! จับตาคลื่นผู้อพยพรอบใหม่

ความไม่แน่นอนของระบบเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มจะซบเซาต่อเนื่องยาวนาน กำลังส่งผลให้เกิดคลื่นการอพยพของผู้คนครั้งใหม่ในหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมในระยะถัดจากนี้อย่างไม่อาจเลี่ยง การอพยพย้ายถิ่นของประชากรโลกในช่วงที่ผ่านมา อาจผูกพันอยู่กับประเด็นว่าด้วยสงครามและความขัดแย้ง ซึ่งนำไปสู่การย้ายถิ่นครั้งใหญ่ของประชากรทั้งจากภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือเข้าสู่ยุโรป ซึ่งติดตามมาด้วยวิกฤตผู้ลี้ภัยในปี 2015 ที่แม้ในปัจจุบันจำนวนผู้อพยพจะลดปริมาณลง แต่นั่นก็ไม่อาจทำให้สหภาพยุโรปและประเทศในยุโรปสามารถนิ่งนอนใจว่าการอพยพระลอกใหม่จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต ก่อนหน้านี้ ประเทศในยุโรปหลายประเทศได้เรียกร้องให้มีมาตรการควบคุมคนเข้าเมืองที่รัดกุมยิ่งขึ้น ในขณะที่คณะกรรมการสหภาพยุโรปแจ้งว่าพร้อมยื่นมือให้ความช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อนจากความวุ่นวายทางการเมืองดังกล่าว โดยเฉพาะผู้อพยพย้ายถิ่นวัยหนุ่มสาวที่กำลังเผชิญปัญหาการว่างงานในประเทศแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือเหล่านั้น เพราะประเด็นปัญหาว่าด้วยผู้อพยพในยุโรปไม่ได้เกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยว หากแต่ยังเต็มไปด้วยความอ่อนไหวเปราะบางที่เกี่ยวเนื่องกับภูมิทัศน์ทางการเมืองและการบริหารจัดการทรัพยากรสำหรับกลุ่มประชากรที่เป็นฐานเสียงสนับสนุนการเลือกตั้ง และต่อเนื่องสัมพันธ์ไปสู่บริบทของการเมืองระหว่างประเทศอีกด้วย ขณะเดียวกันภาพของคลื่นมนุษย์ที่รอคอยโอกาสในการเข้าเมืองไปแสวงหาอนาคตใหม่ในภูมิภาคละตินอเมริกา กลับให้ภาพที่แตกต่างออกไป เพราะประชาชนจำนวนไม่น้อยยินดีที่จะทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือนเดินเท้าไปยังแนวพรมแดนของทั้งประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงหรือพรมแดนสหรัฐอเมริกา ได้สะท้อนภาวะแร้นแค้นจากสภาพเศรษฐกิจที่ล้มเหลว ซึ่งแผ่ซ่านไปทั่วทั้งภูมิภาคอย่างชัดเจนที่สุด การอพยพลี้ภัยหนีถิ่นฐานของผู้คนที่เกิดขึ้นจากผลของความล่มสลายทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคละตินอเมริกาและอเมริกากลาง ดูจะเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังจับตามองอย่างสนใจ และเร่งหาแนวทางในการแก้ไขอย่างกังวล โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ระบุว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสัญญาณเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าภูมิภาคละตินอเมริกากำลังต้องการความช่วยเหลือ “ปัญหานี้อาจทวีความรุนแรงจนนำไปสู่วิกฤตการณ์ที่เราได้เห็นมาแล้วในหลายพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้อาจกลายเป็นวิกฤตการณ์ได้อย่างรวดเร็ว และเราต้องเตรียมรับมือ” IOM ระบุ ขณะที่รายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ระบุว่าแนวโน้มการอพยพย้ายถิ่นของประชากรโลกกำลังมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ โดยประเทศต่างๆ พยายามเร่งฟื้นฟูการจ้างงานในประเทศ พร้อมกับสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง สะอาดและเท่าเทียมมากกว่าเดิม ซึ่งการวิเคราะห์การอพยพย้ายถิ่นฐานของประชากรโลกครั้งใหม่จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ประเด็นที่น่าสนใจจากรายงานของ OECD ดังกล่าวในด้านหนึ่งอยู่ที่การระบุว่าการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของผู้อพยพข้ามประเทศจำนวนมากกว่าร้อยละ

Read More