Home > Cover Story (Page 90)

ทีวีไดเร็คสู้ยักษ์ค้าปลีก บุกแนวรบห้างออนไลน์

เจ้าตลาดโฮมช้อปปิ้ง “ทีวีไดเร็ค” ต้องประกาศปรับโฉมธุรกิจครั้งใหญ่ หลังประกาศพับแผนซื้อหุ้นบริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น ในเครือ บมจ.นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น ล้มเลิกเป้าหมายการเป็นเจ้าของสื่อทีวี โดยหันมารุกช่องทางช้อปปิ้งออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ ด้านหนึ่ง เพื่อกระจายความเสี่ยงเชิงธุรกิจจากต้นทุนการซื้อสื่อทีวีที่แพงขึ้น อีกด้านหนึ่ง การจับจ่ายออนไลน์กลายเป็นช่องทางเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและมีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สัญญาณที่เห็นชัดเจนในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา คือ บรรดาห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ต่างเร่งปูทางการรุกสู่ช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเซ็นทรัล โรบินสัน เดอะมอลล์ เทสโก้โลตัส บิ๊กซี ท็อปส์ หรือแม้กระทั่งกลุ่มร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่นอีเลฟเว่นและแฟมิลี่มาร์ท ตามเทรนด์การบริโภคที่เปลี่ยนรูปแบบจาก “ออฟไลน์” สู่ “ออนไลน์” มากกว่าเท่าตัว อย่างกลุ่มเซ็นทรัลร่วมทุนกับเจดี ดอทคอม เปิดบริษัท เซ็นทรัล เจดี คอมเมิร์ซ เพื่อดำเนินธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลส ล่าสุด จัดทัพกลุ่มธุรกิจอี-คอมเมิร์ซใหม่ เพื่อรุกตลาดเต็มรูปแบบ โดยนำเว็บไซต์เซ็นทรัลออนไลน์ควบรวมเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มของเจดี เซ็นทรัล (www.jd.co.th) ดึงทุกหน่วยธุรกิจสร้างห้างสรรพสินค้าออนไลน์ขนาดใหญ่ ได้แก่ พาวเวอร์บาย จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ซูเปอร์สปอร์ต

Read More

TVD พลิกเกมโฮมช้อปปิ้ง แผนฮุบหุ้นสปริงนิวส์ล่ม

“ทีวีไดเร็ค” ต้องพลิกเกมรุกสงครามโฮมช้อปปิ้งอีกครั้ง หลังตัดสินใจยุติการเข้าลงทุนในสถานีโทรทัศน์ทีวีดิจิทัล ช่อง 19 หรือสปริงนิวส์ โดยที่ประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมา ประกาศพับแผนซื้อหุ้นบริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น ในเครือ บมจ.นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น เนื่องจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ส่งผลให้ขั้นตอนการเจรจาภายใต้เงื่อนไขใหม่หาข้อสรุปร่วมกันไม่ได้ แน่นอนว่า จากเดิมที่ทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) หรือ TVD วาดแผนรุกเข้าสู่ธุรกิจทีวีดิจิทัลชนิดเต็มสูบ นำร่องด้วยการเป็นผู้ร่วมผลิตรายการช่องสปริงนิวส์ (ช่อง 19) ระยะเวลา 4 ปี เพื่อร่วมมือกับสถานีวางแผนเพิ่มสัดส่วนผังรายการแนะนำสินค้าจากเดิมที่เน้นรายการข่าว แต่ยังคงช่วงเวลาออกอากาศข่าวในแต่ละวันตามกฎระเบียบของ กสทช. ซึ่งจะทำให้ทีวี ไดเร็ค มีช่วงเวลาโฆษณาแนะนำสินค้าทางช่องสปริงนิวส์เพิ่มขึ้น แต่มีต้นทุนลดลงเมื่อเทียบกับการซื้อเวลาโฆษณาโดยตรงจากสถานีแบบเดิม พร้อมๆ กับการรุกใช้สื่อโฆษณาทางทีวีดิจิทัลในช่องอื่นๆ และสื่ออื่นๆ

Read More

จับตาเศรษฐกิจจีนทรุด ระวังอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลก

เป็นที่ทราบกันดีกว่า จีน เป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 13 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก ทว่าตั้งแต่กลางปี 2018 เป็นต้นมา เศรษฐกิจในประเทศจีนส่งสัญญาณการชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหนึ่งที่สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อเศรษฐกิจจีน คือ การต่อกรกับสหรัฐฯ ในสงครามการค้า แม้ว่าจีนจะอยู่ในฐานะประเทศมหาอำนาจอันดับสองรองจากสหรัฐฯ ทว่าอำนาจเจรจาต่อรองที่จีนมีไม่สามารถสร้างความได้เปรียบให้แก่ตัวเองได้เลย เมื่อมูลค่าการนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ มีมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านดอลลาร์ แต่เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ของจีนนั้น มีเพียง 2 แสนล้านดอลลาร์ นี่เองที่เป็นข้อจำกัดของจีนในการที่จะโต้ตอบสหรัฐฯ ด้วยกำแพงภาษี แม้ล่าสุดการเจรจาการค้าระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดี สีจิ้นผิง เมื่อสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ จะได้ข้อสรุปว่า สหรัฐฯ จะเลื่อนการปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ เป็น 25 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 10 เปอร์เซ็นต์ ออกไปจากกำหนดเดิมที่จะมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งทรัมป์ได้ทวีตข้อความว่า

Read More

หนี้สาธารณะ ภาระหนักเศรษฐกิจไทย

ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย ที่ดูจะไม่มีวี่แววว่าจะมีทิศทางปรับตัวกระเตื้องขึ้นในเร็ววัน ตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยกลับปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้หลายฝ่ายสะท้อนความกังวลใจ หากแต่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ยืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่กระทบเศรษฐกิจ เพราะเป็นภาระหนี้ที่นำไปใช้จ่ายในโครงการขนาดใหญ่และช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว ท่วงทำนองแห่งความเชื่อมั่นในลักษณะดังกล่าว นำไปสู่ความเคลื่อนไหวล่าสุดว่าด้วยการปรับขึ้นหนี้สาธารณะในปี 2562 อีก 2.3 หมื่นล้านบาทในการประชุมคณะรัฐมนตรีของ คสช. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ตัวเลขหนี้สาธารณะไทยไปอยู่ที่ระดับ 1.85 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.32 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากเดิมที่อยู่ในระดับร้อยละ 42.7 ขณะที่ตัวเลขหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2561 อยู่ที่ระดับ 6.833 ล้านล้านบาท การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้ เป็นผลมาจากการดำเนินโครงการต่างๆ เพิ่มเติม ทั้งเงินกู้รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงินลงทุน 3.2 หมื่นล้านบาท และโครงการที่ขอบรรจุเพิ่มเติมขออนุมัติเพิ่มเติมใหม่อีก 6 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 2.8 หมื่นล้านบาท

Read More

ทิศทางตลาดอสังหาฯ ปี 62 ความท้าทายหรือวิกฤต

นับตั้งแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้มาตรการ Loan-to-Value หรือ LTV ซึ่งเป็นมาตรการควบคุมสินเชื่อบ้านหรือการอนุมัติสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน เพื่อหวังจะลดปัญหาฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต มาตรการ LTV ที่แบงก์ชาติประกาศใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 นั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากการที่ปี 2561 มีผู้ประกอบการเปิดตัวคอนโดมิเนียมมากกว่า 60,000 หน่วย และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่แบงก์ชาติใช้มาตรการนี้ เพราะครั้งที่เกิดวิกฤตการเงินในภูมิภาคเอเชียเมื่อปี 2540 แบงก์ชาติเคยใช้นโยบาย Macroprudential ซึ่งมีด้วยกัน 3 มาตรการ 1. กำหนดอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน Loan-to-Value หรือ LTV ในภาคอสังหาฯ 2. มาตรการด้าน Debt-to-Income เพื่อกำหนดเพดานวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และ 3. มาตรการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญเชิงระบบ (Domestic Systemically Important Banks:D-SIBs) ในอดีตแบงก์ชาติเคยประกาศใช้มาตรการนี้มาแล้ว 4 ครั้ง คือ ในปี 2546 ปี 2552 ปี 2554 และปี

Read More

เงินบาทแข็งค่า ปัจจัยฉุดส่งออกทรุดตัว

อีกครั้งที่ “การส่งออก” ฟันเฟืองตัวสำคัญของเศรษฐกิจไทยถูกพูดถึงภายใต้นัยที่แสดงถึงความวิตกกังวล ซึ่งอาจจะเป็นเพราะปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออก ทั้งในเรื่องของศักยภาพในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลก เมื่อพิจารณาจากผลงานการส่งออกของไทยตลอดทั้งปี 2561 ที่มีอัตราการขยายตัว 6.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทว่าในบางเดือนพิษจากสงครามการค้ากลับส่งผลให้การส่งออกของไทยติดลบหลายครั้ง ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า การส่งออกของไทยมีการขยายตัวต่ำกว่าหลายประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างการส่งออกของไทย จะเห็นได้ว่าการส่งออกสินค้าขั้นกลางมีสัดส่วนสูงสุดในการส่งออกของไทยทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานกับประเทศต่างๆ มีความสำคัญต่อการค้าไทย ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าการส่งออกสินค้าขั้นกลางของไทยเริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวและมีสัดส่วนลดลง ในขณะที่สัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายกลับสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม การส่งออกสินค้าของเวียดนามและฟิลิปปินส์ขยายตัวได้ดีและเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แสดงให้เห็นว่าไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและมีบทบาทที่ลดลงในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้ไทยเสียโอกาสที่จะกอบโกยรายได้จากอุตสาหกรรมแนวนี้ที่มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี้ การที่เวียดนามและฟิลิปปินส์เข้ามามีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานแทนที่ไทย ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะไทยไม่สามารถแข่งขันด้านค่าแรงได้ เป็นเหตุให้ไทยไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนให้มาลงทุนสร้างฐานการผลิตในไทยได้ และแม้ว่าไทยจะมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายมากขึ้น แต่ปัจจุบันสินค้าขั้นสุดท้ายที่ไทยผลิตส่วนมากมีมูลค่าเพิ่มไม่สูงนัก เพราะไทยยังไม่มีศักยภาพมากพอที่จะสามารถผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายที่ต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงดังเช่นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งประเด็นนี้ แม้ว่าภาครัฐกำลังเร่งเครื่องอย่างหนักที่จะผลักดันให้ไทยกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม 4.0 ที่เน้นเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นสำคัญ และแน่นอนว่ากว่าเป้าหมายที่ไทยตั้งไว้จะบรรลุ การส่งออกสินค้าขั้นกลางอาจถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดไปมากพอสมควร เมื่อไทยยังไม่สามารถพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้ การแข็งค่าของเงินบาทสร้างความวิตกกังวลให้แก่ผู้ประกอบการไทยไม่น้อย โดยภาคเอกชนมองว่า แนวโน้มที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่องนี้จะกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกของไทย และต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาควบคุมดูแลให้อยู่ในภาวะที่สมดุล ทว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วิรไท สันติประภพ มองว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท มีสาเหตุหลักจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง เพราะปัจจัยในประเทศสหรัฐฯ เช่นการเมือง การปิดตัวของรัฐบาล หรือ Government

Read More

ไร้สัญญาณบวก! เศรษฐกิจไทยรอขยับหลังเลือกตั้ง

ภายใต้เงื่อนไขว่าด้วยกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562 ที่กำลังขยับใกล้เข้ามาทุกขณะ แต่ดูเหมือนว่าภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลาปัจจุบันดำเนินไปอย่างไร้ปัจจัยบวก เพื่อมาเกื้อหนุนพลวัตให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างที่หลายฝ่ายคาดหวัง มิหนำซ้ำศักยภาพและแนวคิดว่าด้วยการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช. ก็ดูจะตีบแคบลงจนหัวหน้าคณะ คสช. ถึงกับต้องเอ่ยปากให้ประชาชนพึ่งพาตนเองและปรับตัวรับกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่นี้เองด้วย แม้ว่าหน่วยงานภาครัฐจะประเมินว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งออกสินค้าและบริการที่เติบโตต่อเนื่อง โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีการขยายตัวดีด้วยแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏก็คือ กำลังซื้อภาคครัวเรือนมีการปรับตัวอย่างเชื่องช้า ซึ่งเป็นผลมาจากภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง และปัญหาเชิงโครงสร้างในตลาดแรงงาน ความกังวลใจว่าด้วยทิศทางเศรษฐกิจไทยภายหลังการเลือกตั้ง นอกจากจะอยู่ที่รูปร่างหน้าตาของคณะรัฐบาลว่าจะมีการจัดตั้งภายใต้พรรคการเมืองใดเป็นแกนนำ และจะมีเสถียรภาพในการนำพานโยบายทางเศรษฐกิจ สังคมของไทยให้ก้าวหน้าไปได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องติดตามผลการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดมีขึ้นแล้ว บรรยากาศระหว่างการเลือกตั้งที่กำลังดำเนินอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบันอาจช่วยกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและการเมืองไทยในระยะสั้น ปรับตัวดีขึ้นบ้าง และช่วยให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมกราคม 2562 ซึ่งสำรวจโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน และคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะถัดจากนี้ ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกและข้อเท็จจริงจากประสบการณ์ของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านๆ มา ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าในระหว่างที่มีการรณรงค์หาเลือกตั้ง จะมีเม็ดเงินสะพัดและสร้างความคึกคักให้เกิดขึ้นทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 3-5 หมื่นล้านบาท ซึ่งปริมาณเม็ดเงินที่หมุนเวียนเข้าสู่ระบบเหล่านี้ จะมีส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2562 ขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 แต่นั่นก็เป็นเพียงการคาดการณ์ที่มีข้อสงวนในเงื่อนไขและเหตุปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อีกมากมาย ประเด็นที่น่าสนใจติดตามนอกเหนือจากสภาพการเมืองไทยหลังจากทราบผลการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลว่าจะมีเสถียรภาพอย่างไรแล้ว ยังมีปัจจัยว่าด้วยเศรษฐกิจระดับมหภาคและสถานการณ์การค้าโลก ที่ดำเนินผ่านคู่ขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ที่กำลังกดทับให้เศรษฐกิจการค้าโลกมีแนวโน้มที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง สอดรับกับข้อมูลขององค์กรการค้าโลก WTO ที่ระบุว่าสถานการณ์การค้าโลกในห้วงปัจจุบันตกต่ำหนักที่สุดในรอบ 9 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากความตึงเครียดของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ขณะที่การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (BREXIT) ก็กลายเป็นปัจจัยลบที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจระดับโลก ท่ามกลางปัจจัยลบทางเศรษฐกิจโลกที่ดำเนินอยู่รอบด้าน ค่าเงินบาทกลับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว

Read More

ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า ความหวังในการแก้ปัญหา PM2.5?

ปัญหาเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM2.5 ดูเหมือนจะลดน้อยลงหลังจากที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งทำให้สถานการณ์ของฝุ่นพิษทยอยจางไปกับสายลมและการรับรู้ของสาธารณชน หากแต่ประสบการณ์ของฝุ่นพิษที่เกิดซ้ำและเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายของแต่ละปี ทำให้หลายฝ่ายพยายามชี้ให้เห็นว่าปัญหาดังกล่าวมิได้เป็นเพียงปรากฏการณ์ตามฤดูกาลเท่านั้น และยังมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในระยะยาวอีกด้วย ความเป็นไปด้านหนึ่งในมิติที่ว่านี้ ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าได้รับการกล่าวถึงเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ในฐานะที่อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาและพยุงสถานะของคุณภาพอากาศให้ปลอดจากฝุ่นพิษ ควบคู่กับการยกระดับมาตรฐานไอเสียไปสู่ Euro 5 ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาเรื่องมลพิษฝุ่นละออง PM2.5 ในระยะยาว ประเด็นปัญหาทั้งในกรณีของรถยนต์ไฟฟ้าและมาตรฐานไอเสีย Euro 5 อยู่ที่มาตรการในการสนับสนุนส่งเสริมซึ่งเกี่ยวเนื่องกับกลไกและระเบียบพิธีในหน่วยราชการไทยหลายแห่งโดยเฉพาะการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเพื่อสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานไอเสียตั้งแต่ Euro 5 รวมถึงมาตรการส่งเสริมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กรณีดังกล่าวทำให้ความเคลื่อนไหวของกรมสรรพสามิตได้รับความสนใจเป็นพิเศษในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะการศึกษาเพื่อลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Car ให้เหลือร้อยละ 0 ในฐานะที่เป็นมาตรการหนึ่งในการลดปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 ที่มีค่าเกินมาตรฐาน โดยในปัจจุบันมีผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศจำนวน 15 รายอยู่ในกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งเสียภาษีสรรพสามิตรถยนต์อีวีอยู่ที่ร้อยละ 2 ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Car ในประเทศไทยยังเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามประชาสัมพันธ์ว่าอยากส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นในไทย เพื่อประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี แต่ดูแหมือนที่ผ่านมาจะขาดนโยบายและมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมที่เด่นชัดออกมา ขณะที่ราคารถยนต์ไฟฟ้าในท้องตลาดประเทศไทยยังมีราคาค่อนข้างสูง เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2 ล้านบาทต่อคัน เนื่องจากราคาของแบตเตอรี่ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนรถยนต์ประเภทนี้ยังมีราคาแพง คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ

Read More

ดัน 101 The Third Place ปลุก “บิ๊กไอเดีย” ทายาทซีพี

หลังจากอภิมหาโครงการ “ไอคอนสยาม” ริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น ของ ทิพาภรณ์ เจียรวนนท์ ลูกสาวเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ร่วมลงทุนกับกลุ่มสยามพิวรรธน์ เม็ดเงินรวมมากกว่า 54,000 ล้านบาท เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 ถัดมาอีกไม่กี่เดือน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 แมกโนเลียฯ ติดเครื่องลุยตามแผนเผยโฉม 101 The Third Place @True Digital Park ไลฟ์สไตล์คอมเพล็กซ์ครบวงจร พร้อมๆ กับการปลุกปั้นโครงการ ทรู ดิจิทัล พาร์ค บนถนนสุขุมวิท 101 ที่มีพื้นที่มากกว่า 43 ไร่ เพื่อเป็น Global Destination

Read More

BDMS ฝ่าวิกฤตคดีปั่นหุ้น เดินหน้าบุกโรงแรมสุขภาพ

ล่าสุด เครือกรุงเทพดุสิตเวชการหรือ BDMS ซุ่มวางแผนเปิดตัวโรงแรม Movenpick BDMS Wellness Resort Bangkok รีสอร์ตเพื่อสุขภาพใจกลางกรุงเทพฯ ภายในไตรมาส 2 นี้ เพื่อต่อยอดโปรเจกต์ BDMS Wellness Clinic บนเนื้อที่ 15 ไร่ บริเวณโครงการปาร์คนายเลิศเก่า ซึ่งนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BDMS ทุ่มเม็ดเงินกว่า 10,800 ล้านบาท ซื้อที่ดินจากกลุ่มตระกูลสมบัติศิริ เมื่อ 3 ปีก่อน แน่นอนว่า หลายคนในวงการธุรกิจต้องจับจ้องความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงภายใน BDMS เนื่องจากเจอวิกฤตหลายระลอก โดยเฉพาะกรณีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ส่งหนังสือแจ้งไปยังนายแพทย์ปราเสริฐ พร้อมแพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ หรือ “หมอปุย” ลูกสาวคนที่สาม และนางนฤมล ใจหนักแน่น เลขานุการสำนักประธานคณะผู้บริหารเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2562 ระบุความผิดฐานร่วมกันซื้อขายหุ้นบริษัท

Read More