Home > Cover Story (Page 89)

CRG ทรานส์ฟอร์มชิงธงรบ ดัน “อร่อยดี” เจาะสตรีทฟู้ด

เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป ออกมาประกาศเดินหน้ารุกสมรภูมิธุรกิจร้านอาหารที่มีเม็ดเงินมากกว่า 410,000 ล้านบาท ภายใต้ยุทธศาสตร์ Let’s Make The Jump โดยปีนี้กำหนดกลยุทธ์สำคัญ Transform from Operator to Innovator ไม่ใช่แค่การเป็น “แฟรนไชซี” แบรนด์อิมพอร์ตยักษ์ใหญ่ แต่พลิกบทบาทเข้าสู่โหมดการลุยธุรกิจแบบเต็มสูบ โดยเฉพาะแผนสร้างแบรนด์รุกเซกเมนต์ใหม่ๆ เปิดศึกหลายแนวรบ ทั้งสตรีทฟู้ด แฟรนไชส์และศึกเดลิเวอรี่ที่กำลังร้อนเดือดขีดสุด ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป หรือ “ซีอาร์จี” ระบุว่า ปี 2562 จะเป็นปีที่บริษัทรุกสมรภูมิธุรกิจร้านอาหารมากที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อาจดูชะลอตัว แต่ยังคงเติบโตดีอยู่ ที่สำคัญคู่แข่งในกลุ่มฟู้ดเชนรายใหญ่กระโดดลงแข่งขันเจาะตลาดแมสมากขึ้น เพราะสถานการณ์ตลาดเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างสิ้นเชิง “ในอดีต ผู้คนต้องตามล่าหาอาหาร แต่ทุกวันนี้ ร้านอาหารต้องตามล่าเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกรูปแบบบวกกับพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเลือกสรรอาหารที่มีคุณภาพ โดนๆ มากกว่าการคำนึงถึงราคาเพียงอย่างเดียว ลูกค้าคนรุ่นใหม่บางคนอาจยอมเสียค่าบริการส่งสินค้าเพื่อสั่งชานมไข่มุก 1 แก้ว เหตุผลเดียว

Read More

เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ฉุดไทยไปไม่พ้นภาวะชะงักงัน

แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงต้นปี 2562 จะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น จากเหตุปัจจัยว่าด้วยกำหนดการเลือกตั้งที่คาดว่าได้สร้างความตื่นตัวทางเศรษฐกิจกว่า 5 หมื่นล้านบาทมาช่วยหนุน ควบคู่กับปริมาณนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เริ่มทยอยกลับมาสร้างสีสันให้กับการท่องเที่ยวไทยอีกครั้ง หากแต่ภายใต้สถานการณ์ความชะลอตัวทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติที่ดำเนินต่อเนื่องจากเหตุของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา รวมถึงกรณีว่าด้วยการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ BREXIT ที่ยังคงยืดเยื้อหาข้อสรุปที่พึงประสงค์ระหว่างกันไม่ได้ ได้กลายเป็นปัจจัยกดทับให้เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะชะงักงันต่อเนื่องออกไปอีก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ข้อพิพาทระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกามีความผ่อนคลายลงจากการประกาศขยายเวลาการเก็บภาษีสินค้าจากจีนจากอัตราเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 25 ออกไปอีก 90 วันนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 ซึ่งถือเป็นการประวิงเวลาให้ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมเจรจาเพื่อแสวงหาทางออกกันอีกครั้ง ซึ่งทำให้สงครามการค้าที่หลายฝ่ายกังวลใจยังไม่ขยายวงและบานปลายมากไปกว่าที่ผ่านมา แต่ความเคลื่อนไหวจากฝั่งฟากยุโรปกลับส่งสัญญาณเตือนถึงปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น โดยการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้ระบุถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ปรับลดอัตราเร่งลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนที่ยังคงดำเนินต่อไปจากเหตุปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ ภัยคุกคามจากนโยบายกีดกันทางการค้า และความเปราะบางในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ล้วนส่งแรงกระทบต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน ถ้อยแถลงของธนาคารกลางยุโรป ดำเนินไปท่ามกลางการอ่อนค่าลงของเงินยูโรจนมาสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือนในช่วงต้นเดือนมีนาคม ในขณะที่สมาชิก 19 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันในกลุ่มประเทศยูโรโซน เผชิญแรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 เมื่อเศรษฐกิจของอิตาลีประสบปัญหาจากประเด็นทางการเมืองภายใน และการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยอัตราขยายตัวของจีดีพีลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ขณะที่การถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (BREXIT) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในหลายๆ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกันกับอียูโดยตรง โดยความวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่แน่นอนและไม่อาจคาดการณ์ได้

Read More

เศรษฐกิจไทย จากโครงสร้างสู่ฐานราก ยิ่งอัดฉีดยิ่งเหลื่อมล้ำ?

ความเป็นไปของเศรษฐกิจไทยในช่วงใกล้วันเลือกตั้ง ดูเหมือนจะกลายเป็นกรณีที่ฟากฝ่ายผู้กุมอำนาจรัฐไม่ค่อยอยากจะกล่าวถึง เพราะตลอดระยะเวลาที่มีโอกาสคุมกลไกและออกมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจมากว่า 5 ปี กลับไม่ปรากฏผลสัมฤทธิ์ให้ประจักษ์อย่างน่าพึงพอใจ และในความรับรู้ของผู้คนทั่วไปดูจะยิ่งทรุดหนักไปกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ แม้ว่าในช่วงระยะเวลา 1 ทศวรรษที่ผ่านมาภาพรวมของเศรษฐกิจไทยที่ประเมินจากตัวเลขสถิติต่างๆ จะมีพัฒนาการไปในทิศทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อหัวจากระดับ 1.4 แสนบาทต่อปีในปี 2551 มาสู่ระดับ 2.2 แสนบาทในปี 2560 หรือเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 55 ขณะที่เสถียรภาพของประเทศก็ดูจะมีความเข้มแข็งมากขึ้น ทั้งในมิติของการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องกันถึง 5 ปี หากแต่ความท้าทายหลักที่กำลังสั่นคลอนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ที่การพัฒนาด้านผลิตภาพ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่จะกำหนดศักยภาพของเศรษฐกิจ ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาผลิตภาพของเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากข้อเท็จจริงที่ว่าแรงงานจำนวนมากมีผลิตภาพต่ำ ขาดการพัฒนาและไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปสู่ภาคที่มีผลิตภาพที่สูงขึ้นได้ โดยแรงงานถึง 1 ใน 3 ของประเทศอยู่ในภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นภาคที่มีผลิตภาพต่ำที่สุด ขณะที่นโยบายภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือ โดยเน้นการดูแลราคา การประกันรายได้ และการให้เงินอุดหนุน หรือการพักหนี้เกษตรกร ซึ่งช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในระยะสั้น แต่ไม่ช่วยพัฒนาผลิตภาพในระยะยาว ขณะเดียวกัน แรงงานไทยยังมีทักษะไม่ตรงกับความต้องการของตลาด โดยที่ผ่านมาพบว่าผู้ประกอบการจำนวนมากประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ถือว่าปัญหาดังกล่าวเป็นอุปสรรคลำดับต้นๆ ของการดำเนินธุรกิจและเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับธุรกิจต่างชาติในการตัดสินใจมาลงทุนในประเทศไทย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ การลงทุนของเศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียที่ระดับการลงทุนที่แท้จริงของทั้งภาครัฐและเอกชนรวมกันยังต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ส่วนแบ่งเงินลงทุนสุทธิจากต่างประเทศจากเงินลงทุนทั้งโลกลดลง

Read More

ภาคเกษตรวิกฤตหนัก ภัยแล้ง-ราคาตก ฉุดเศรษฐกิจไทย

หลังจากกรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนว่าในช่วงเวลาดังกล่าวสถานการณ์ความเป็นไปที่เกิดขึ้นในประเทศหลายระนาบ ดูจะร้อนระอุเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทั้งสถานการณ์การเมืองที่ไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง สถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่นับวันกราฟการเติบโตจะค่อยๆ ไต่ลงอย่างไม่อาจต้านทาน ด้วยผลกระทบทั้งจากภายนอกประเทศและในประเทศ อุณหภูมิในประเทศที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ยิ่งสร้างความวิตกกังวลให้แก่บรรดาเกษตรกรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เพราะนั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า “ภัยแล้ง” ปีนี้เดินทางมาถึงเร็วกว่าปกติและอาจจะยาวนานขึ้น โดยเฉพาะปีนี้ที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นจากค่าปกติ 1-2 องศาเซลเซียส การประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา นอกจากประชาชนต้องเตรียมพร้อมรับมือสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวแล้ว เกษตรกรจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตั้งรับเพื่อให้พร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งที่ดูเหมือนจะกระหน่ำซ้ำเติมสภาพความแร้นแค้นให้หนักหน่วงขึ้น หากไร้ซึ่งความพร้อม นอกเหนือไปจากสภาพอากาศที่เป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูกแล้ว ปริมาณน้ำในเขื่อนปีนี้น่าจะสร้างความวิตกกังวลให้ไม่น้อย เมื่อกรมชลประทานเปิดเผยรายงานสถานภาพน้ำในเขื่อนต่างๆ (ข้อมูลล่าสุดวันที่ 13 มีนาคม 2562) ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ในเขื่อนทั้งประเทศลดลง 13 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเขื่อนในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีปริมาณน้ำน้อยเข้าขั้นวิกฤต คือ เขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ รนก. (ระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯ) และเขื่อนในภาคกลาง ได้แก่ เขื่อนกระเสียว เขื่อนทับเสลา ขณะที่เขื่อนที่มีปริมาณน้ำน้อย คือที่ระดับ 30-50 เปอร์เซ็นต์ รนก. ได้แก่ เขื่อนคลองสียัด เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนลำแซะ

Read More

สงครามทีวีดิจิทัลยิ่งระอุ ปรับทัพใหญ่ ลุ้น กสทช.

สงครามทีวีดิจิทัลยิ่งร้อนระอุ หลังคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วางแนวทาง ทั้ง “ช่วยเหลือ” และ “เยียวยา” ทั้งสนับสนุนค่าภาระ Must Carry และค่าใช้จ่ายการออกอากาศผ่านโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล (Mux) ร้อยละ 50 จนถึงปี 2565 ผลักดันการสำรวจความนิยม (Rating) ของผู้ให้บริการโทรทัศน์ดิจิทัลที่ออกอากาศผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่ออ้างอิงหารายได้อย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะแผนเปิดประมูลคลื่น 700 MHz ของทีวีดิจิทัล เพื่อนำเงินประมูลมาช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งเท่ากับเปิดโอกาสให้เกิดการพลิกฟื้นธุรกิจครั้งใหญ่ ความเคลื่อนไหวที่เห็นชัดเจน คือ การเสริมจุดแข็งด้านคอนเทนต์และขยายฐานผู้ดู เพื่อเพิ่มเรตติ้งและดูดโฆษณา โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและกลุ่มธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง ซึ่งถือเป็นเม็ดเงินรายได้ที่สำคัญของช่องทีวีค่ายต่างๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากบริษัท นีลเส็น ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า ช่วงปี 2561 เม็ดเงินโฆษณาที่ส่งผ่านสื่อต่างๆ มีมูลค่ารวม 1.05 แสนล้านบาท เติบโต 3.9% ประกอบด้วย สื่อทีวี 6.79

Read More

ทีวีไดเร็คสู้ยักษ์ค้าปลีก บุกแนวรบห้างออนไลน์

เจ้าตลาดโฮมช้อปปิ้ง “ทีวีไดเร็ค” ต้องประกาศปรับโฉมธุรกิจครั้งใหญ่ หลังประกาศพับแผนซื้อหุ้นบริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น ในเครือ บมจ.นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น ล้มเลิกเป้าหมายการเป็นเจ้าของสื่อทีวี โดยหันมารุกช่องทางช้อปปิ้งออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ ด้านหนึ่ง เพื่อกระจายความเสี่ยงเชิงธุรกิจจากต้นทุนการซื้อสื่อทีวีที่แพงขึ้น อีกด้านหนึ่ง การจับจ่ายออนไลน์กลายเป็นช่องทางเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและมีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สัญญาณที่เห็นชัดเจนในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา คือ บรรดาห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ต่างเร่งปูทางการรุกสู่ช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเซ็นทรัล โรบินสัน เดอะมอลล์ เทสโก้โลตัส บิ๊กซี ท็อปส์ หรือแม้กระทั่งกลุ่มร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่นอีเลฟเว่นและแฟมิลี่มาร์ท ตามเทรนด์การบริโภคที่เปลี่ยนรูปแบบจาก “ออฟไลน์” สู่ “ออนไลน์” มากกว่าเท่าตัว อย่างกลุ่มเซ็นทรัลร่วมทุนกับเจดี ดอทคอม เปิดบริษัท เซ็นทรัล เจดี คอมเมิร์ซ เพื่อดำเนินธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลส ล่าสุด จัดทัพกลุ่มธุรกิจอี-คอมเมิร์ซใหม่ เพื่อรุกตลาดเต็มรูปแบบ โดยนำเว็บไซต์เซ็นทรัลออนไลน์ควบรวมเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มของเจดี เซ็นทรัล (www.jd.co.th) ดึงทุกหน่วยธุรกิจสร้างห้างสรรพสินค้าออนไลน์ขนาดใหญ่ ได้แก่ พาวเวอร์บาย จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ซูเปอร์สปอร์ต

Read More

TVD พลิกเกมโฮมช้อปปิ้ง แผนฮุบหุ้นสปริงนิวส์ล่ม

“ทีวีไดเร็ค” ต้องพลิกเกมรุกสงครามโฮมช้อปปิ้งอีกครั้ง หลังตัดสินใจยุติการเข้าลงทุนในสถานีโทรทัศน์ทีวีดิจิทัล ช่อง 19 หรือสปริงนิวส์ โดยที่ประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมา ประกาศพับแผนซื้อหุ้นบริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น ในเครือ บมจ.นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น เนื่องจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ส่งผลให้ขั้นตอนการเจรจาภายใต้เงื่อนไขใหม่หาข้อสรุปร่วมกันไม่ได้ แน่นอนว่า จากเดิมที่ทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) หรือ TVD วาดแผนรุกเข้าสู่ธุรกิจทีวีดิจิทัลชนิดเต็มสูบ นำร่องด้วยการเป็นผู้ร่วมผลิตรายการช่องสปริงนิวส์ (ช่อง 19) ระยะเวลา 4 ปี เพื่อร่วมมือกับสถานีวางแผนเพิ่มสัดส่วนผังรายการแนะนำสินค้าจากเดิมที่เน้นรายการข่าว แต่ยังคงช่วงเวลาออกอากาศข่าวในแต่ละวันตามกฎระเบียบของ กสทช. ซึ่งจะทำให้ทีวี ไดเร็ค มีช่วงเวลาโฆษณาแนะนำสินค้าทางช่องสปริงนิวส์เพิ่มขึ้น แต่มีต้นทุนลดลงเมื่อเทียบกับการซื้อเวลาโฆษณาโดยตรงจากสถานีแบบเดิม พร้อมๆ กับการรุกใช้สื่อโฆษณาทางทีวีดิจิทัลในช่องอื่นๆ และสื่ออื่นๆ

Read More

จับตาเศรษฐกิจจีนทรุด ระวังอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลก

เป็นที่ทราบกันดีกว่า จีน เป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 13 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก ทว่าตั้งแต่กลางปี 2018 เป็นต้นมา เศรษฐกิจในประเทศจีนส่งสัญญาณการชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหนึ่งที่สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อเศรษฐกิจจีน คือ การต่อกรกับสหรัฐฯ ในสงครามการค้า แม้ว่าจีนจะอยู่ในฐานะประเทศมหาอำนาจอันดับสองรองจากสหรัฐฯ ทว่าอำนาจเจรจาต่อรองที่จีนมีไม่สามารถสร้างความได้เปรียบให้แก่ตัวเองได้เลย เมื่อมูลค่าการนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ มีมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านดอลลาร์ แต่เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ของจีนนั้น มีเพียง 2 แสนล้านดอลลาร์ นี่เองที่เป็นข้อจำกัดของจีนในการที่จะโต้ตอบสหรัฐฯ ด้วยกำแพงภาษี แม้ล่าสุดการเจรจาการค้าระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดี สีจิ้นผิง เมื่อสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ จะได้ข้อสรุปว่า สหรัฐฯ จะเลื่อนการปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ เป็น 25 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 10 เปอร์เซ็นต์ ออกไปจากกำหนดเดิมที่จะมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งทรัมป์ได้ทวีตข้อความว่า

Read More

หนี้สาธารณะ ภาระหนักเศรษฐกิจไทย

ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย ที่ดูจะไม่มีวี่แววว่าจะมีทิศทางปรับตัวกระเตื้องขึ้นในเร็ววัน ตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยกลับปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้หลายฝ่ายสะท้อนความกังวลใจ หากแต่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ยืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่กระทบเศรษฐกิจ เพราะเป็นภาระหนี้ที่นำไปใช้จ่ายในโครงการขนาดใหญ่และช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว ท่วงทำนองแห่งความเชื่อมั่นในลักษณะดังกล่าว นำไปสู่ความเคลื่อนไหวล่าสุดว่าด้วยการปรับขึ้นหนี้สาธารณะในปี 2562 อีก 2.3 หมื่นล้านบาทในการประชุมคณะรัฐมนตรีของ คสช. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ตัวเลขหนี้สาธารณะไทยไปอยู่ที่ระดับ 1.85 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.32 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากเดิมที่อยู่ในระดับร้อยละ 42.7 ขณะที่ตัวเลขหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2561 อยู่ที่ระดับ 6.833 ล้านล้านบาท การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้ เป็นผลมาจากการดำเนินโครงการต่างๆ เพิ่มเติม ทั้งเงินกู้รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงินลงทุน 3.2 หมื่นล้านบาท และโครงการที่ขอบรรจุเพิ่มเติมขออนุมัติเพิ่มเติมใหม่อีก 6 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 2.8 หมื่นล้านบาท

Read More

ทิศทางตลาดอสังหาฯ ปี 62 ความท้าทายหรือวิกฤต

นับตั้งแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้มาตรการ Loan-to-Value หรือ LTV ซึ่งเป็นมาตรการควบคุมสินเชื่อบ้านหรือการอนุมัติสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน เพื่อหวังจะลดปัญหาฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต มาตรการ LTV ที่แบงก์ชาติประกาศใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 นั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากการที่ปี 2561 มีผู้ประกอบการเปิดตัวคอนโดมิเนียมมากกว่า 60,000 หน่วย และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่แบงก์ชาติใช้มาตรการนี้ เพราะครั้งที่เกิดวิกฤตการเงินในภูมิภาคเอเชียเมื่อปี 2540 แบงก์ชาติเคยใช้นโยบาย Macroprudential ซึ่งมีด้วยกัน 3 มาตรการ 1. กำหนดอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน Loan-to-Value หรือ LTV ในภาคอสังหาฯ 2. มาตรการด้าน Debt-to-Income เพื่อกำหนดเพดานวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และ 3. มาตรการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญเชิงระบบ (Domestic Systemically Important Banks:D-SIBs) ในอดีตแบงก์ชาติเคยประกาศใช้มาตรการนี้มาแล้ว 4 ครั้ง คือ ในปี 2546 ปี 2552 ปี 2554 และปี

Read More