Home > PM2.5

“นันยาง” ทำตามสัญญา เมื่อฝุ่นไป…ฉันจะมา ผลิตแตะ “ช้างดาว Grey” หลังค่า PM2.5 ลดลง

“นันยาง” พร้อมขายแตะ “ช้างดาว Grey” หลังประกาศผ่านโลกโซเชียล ถ้าค่าฝุ่น PM2.5 ลดลง ใน กทม. มีดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ต่ำกว่า 100 นันยางจะผลิตแตะสีเทาออกจำหน่าย โดย “ช้างดาว Grey” แตะคีบสีเทา ถูกออกแบบภายใต้คอนเซปต์ “For a day เทาเทา” เมื่อทุกคนต่างกัน แต่ละวันไม่เหมือนเดิม... ผิด-ถูก-ขาว-ดำแต่งเติม เสริมเพิ่มเป็นสีเทาเทา ซึ่งสะท้อนให้เห็นความต่างที่อยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว “ตลอดระยะเวลา 70 ปี นันยางและรองเท้าแตะช้างดาว หลายร้อยล้านคู่ได้ผ่านร้อนหนาวร่วมกับคนไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก ด้วยเอกลักษณ์ความสบาย ง่ายง่าย ทนทาน ลุยไปทุกที่ ใส่ได้หมดไม่ว่ารวยหรือจน ทุกเพศทุกวัย และได้รับความนิยมจากรุ่นสู่รุ่น ช้างดาวจึงเป็นมากกว่ารองเท้า เป็นมากกว่าแฟชั่น แต่เป็น 'สไตล์' ที่อยู่เหนือกาลเวลา” ดร.จักรพล จันทวิมล กรรมการผู้จัดการ บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง

Read More

พ.ร.บ. อากาศสะอาดและนวัตกรรม ความหวัง-ทางออกของปัญหา PM2.5

“ฝุ่นพิษ PM2.5” ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพและเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมามีความพยายามจากหลายฝ่ายเพื่อหาทางแก้ปัญหาและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นให้เบาบางลง และที่ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญและน่าจับตาคือ ความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่รวมตัวผลักดันร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดฉบับเครือข่ายอากาศสะอาด (พ.ร.บ. อากาศสะอาด) นำเสนอต่อรัฐสภา เพื่อหวังเป็นเครื่องมือที่จะมาแก้ปัญหา PM2.5 เป็นที่ทราบกันดีกว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 เป็นมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศอย่างฝังลึก และเป็นสิ่งที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่ทุกปี จากการติดตามสถานการณ์ PM2.5 โดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษ จํานวน 64 สถานี ใน 34 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2562-2564 สถานการณ์ PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานในช่วงต้นปีและปลายปี โดยเฉพาะในเมืองขนาดใหญ่ที่มีการจราจรหรือบรรทุกขนส่งหนาแน่น เขตอุตสาหกรรม พื้นที่ก่อสร้าง และพื้นที่มีการเผาในที่โล่ง เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แม่ฮองสอน เชียงราย น่าน ลำปาง แพร่ นครสวรรค์ และสระบุรี เป็นต้น โดยแหล่งกำเนิดหลักๆ

Read More

ยันม่าร์สนับสนุนชาวไร่อ้อย ตัดอ้อยสด ลดการเผา เดินหน้าผลิตเครื่องสางใบอ้อย

ยันม่าร์สนับสนุนชาวไร่อ้อย ตัดอ้อยสด ลดการเผา เดินหน้าผลิตเครื่องสางใบอ้อย หวังเป็นตัวช่วยเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิต บริษัทยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด ผู้นำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทยเปิดตัวชุดอุปกรณ์ใหม่ “เครื่องสางใบอ้อย” สนับสนุนให้เกษตรกรตัดอ้อยสดตามนโยบายภาครัฐ เพิ่มรายได้ ลดปัญหาการเกิดมลพิษ PM2.5 อีกทั้งเป็นการเพิ่มผลผลิต (Productivity) อ้อยที่ได้ลำต้นใหญ่ คงความหวานได้ราคาดีกว่าอ้อยเผา ใบอ้อยยังนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าชีวมวลสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอีกด้วย นายธัชพล ชวินธนโชติ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ให้ความเห็นว่าหากเกษตรกรยังใช้วิธีเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว ผลเสียโดยตรงนอกจากจะทำให้ได้น้ำหนักอ้อยลดลงแล้ว คุณภาพความหวานที่ลดลงยังส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรอีกด้วย การเผายังทำลายอินทรียวัตถุในดิน ทำให้ดินสูญเสียความชื้น เกิดวัชพืชได้ง่าย ซึ่งวัชพืชจะมาแย่งอาหาร ทำให้อ้อยตอแคระแกร็น และเมื่อปลูกอ้อยใหม่ในปีถัดมา เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอ้อยตอเพิ่มขึ้น ต้นทุนก็เพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อเทียบระหว่างเกษตรกรที่ใช้วิธีเผา และเกษตรกรที่ใช้เครื่องสางใบอ้อย แน่นอนว่าแปลงที่ใช้เครื่องสางใบอ้อยย่อมได้ผลผลิตดีกว่า จึงอยากแนะนำและสนับสนุนให้เกษตรกรเลือกใช้เครื่องสางใบอ้อยก่อนตัดอ้อย และไถกลบใบอ้อยที่เหลือเพื่อช่วยถนอมหน้าดินไม่ให้ธาตุอาหารในดินถูกทำลาย และช่วยลดมลพิษทางอากาศอีกด้วย และด้วยเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ ยันม่าร์ได้ให้ความสำคัญ จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์รองรับการปลูกอ้อยทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน การปลูก และการเก็บเกี่ยว ด้วยแทรกเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงที่หลากหลาย ประกอบกับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอ้อยสไตล์ยันม่าร์ ซึ่งเป็นการใช้อุปกรณ์เพื่อลดขั้นตอนการปลูก ช่วยประหยัดเวลา อาทิ

Read More

มาตรการบรรเทา PM2.5 เมื่อปัญหาฝุ่นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ

ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา ไทยยังคงเผชิญกับสภาวการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เราหายใจหายคอได้ไม่คล่องนัก ทั้งสภาวะความฝืดเคืองของเศรษฐกิจ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่สร้างความหวาดวิตกไปทั่วโลก และปัญหาฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐานที่เรื้อรังมานาน จนทำให้หน้ากากป้องกันฝุ่นแทบจะกลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของร่างกายไปแล้ว ช่วง 2-3 ปีมานี้ เราต้องดำเนินชีวิตประจำวันภายใต้ฝุ่นละอองขนาดเล็กขนาด 2.5 ไมครอน หรือ ฝุ่น PM2.5 ที่คลุมเมืองอยู่เป็นระลอก และนับวันสถานการณ์ดูจะรุนแรงและขยายวงมากขึ้น จนทำให้ประเทศไทยมักถูกจัดอยู่ในลำดับต้นๆ ของเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก ปัญหาค่าฝุ่น PM2.5 ที่เกินมาตรฐานนับเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากสร้างผลกระทบในวงกว้าง ทั้งผลต่อสุขภาพเพราะสารพิษในฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้โดยตรง เกิดการระคายเคือง ทำลายอวัยวะของระบบทางเดินหายใจ และยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ไม่เพียงผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ในมิติของค่าเสียโอกาสจากประเด็นด้านสุขภาพ การท่องเที่ยว และภาคธุรกิจอื่นๆ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล คิดเป็นเม็ดเงินรวมประมาณ 3,200-6,000 ล้านบาท (ภายในกรอบเวลา 1 เดือน ระหว่างวันที่ 5 ม.ค. - 5

Read More

ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า ความหวังในการแก้ปัญหา PM2.5?

ปัญหาเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM2.5 ดูเหมือนจะลดน้อยลงหลังจากที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งทำให้สถานการณ์ของฝุ่นพิษทยอยจางไปกับสายลมและการรับรู้ของสาธารณชน หากแต่ประสบการณ์ของฝุ่นพิษที่เกิดซ้ำและเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายของแต่ละปี ทำให้หลายฝ่ายพยายามชี้ให้เห็นว่าปัญหาดังกล่าวมิได้เป็นเพียงปรากฏการณ์ตามฤดูกาลเท่านั้น และยังมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในระยะยาวอีกด้วย ความเป็นไปด้านหนึ่งในมิติที่ว่านี้ ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าได้รับการกล่าวถึงเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ในฐานะที่อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาและพยุงสถานะของคุณภาพอากาศให้ปลอดจากฝุ่นพิษ ควบคู่กับการยกระดับมาตรฐานไอเสียไปสู่ Euro 5 ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาเรื่องมลพิษฝุ่นละออง PM2.5 ในระยะยาว ประเด็นปัญหาทั้งในกรณีของรถยนต์ไฟฟ้าและมาตรฐานไอเสีย Euro 5 อยู่ที่มาตรการในการสนับสนุนส่งเสริมซึ่งเกี่ยวเนื่องกับกลไกและระเบียบพิธีในหน่วยราชการไทยหลายแห่งโดยเฉพาะการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเพื่อสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานไอเสียตั้งแต่ Euro 5 รวมถึงมาตรการส่งเสริมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กรณีดังกล่าวทำให้ความเคลื่อนไหวของกรมสรรพสามิตได้รับความสนใจเป็นพิเศษในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะการศึกษาเพื่อลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Car ให้เหลือร้อยละ 0 ในฐานะที่เป็นมาตรการหนึ่งในการลดปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 ที่มีค่าเกินมาตรฐาน โดยในปัจจุบันมีผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศจำนวน 15 รายอยู่ในกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งเสียภาษีสรรพสามิตรถยนต์อีวีอยู่ที่ร้อยละ 2 ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Car ในประเทศไทยยังเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามประชาสัมพันธ์ว่าอยากส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นในไทย เพื่อประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี แต่ดูแหมือนที่ผ่านมาจะขาดนโยบายและมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมที่เด่นชัดออกมา ขณะที่ราคารถยนต์ไฟฟ้าในท้องตลาดประเทศไทยยังมีราคาค่อนข้างสูง เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2 ล้านบาทต่อคัน เนื่องจากราคาของแบตเตอรี่ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนรถยนต์ประเภทนี้ยังมีราคาแพง คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ

Read More

มลพิษฝุ่นเมือง: การพัฒนาพร่องการจัดการ

สถานการณ์ฝุ่นละอองพิษ PM2.5 หรืออนุภาคในอากาศขนาดเล็กต่ำกว่า 2.5 ไมโครเมตร (PM2.5) ซึ่งเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ถึง 36 เท่า ที่มีปริมาณเกินค่ามาตรฐานที่ปกคลุมในหลายเขตพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณทล รวมถึงหัวเมืองหลายจังหวัด กำลังเป็นภาพสะท้อนวิกฤตมลภาวะและการควบคุมมลพิษของสังคมไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในต้นทุนทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะถัดไปจากนี้ ความกังวลใจเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพ ที่มีมากกว่าผลต่อระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากฝุ่นเหล่านี้เล็กมากพอที่จะดูดซึมเข้ากระแสเลือดผ่านปอดและนำไปสู่โรคหัวใจหรือโรคทางสมอง ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกต่อความอันตรายของฝุ่นพิษนี้ จนนำไปสู่ความตื่นตัวในสาธารณชนวงกว้างนำไปสู่การรณรงค์ให้สวมใส่ “หน้ากากอนามัย” ที่กรองอนุภาคขนาดใหญ่กว่า 3 ไมโครเมตร ไปจนถึงการสวมใส่หน้ากากที่สามารถกรองอนุภาคใหญ่กว่า 0.3 ไมโครเมตร หรือ “หน้ากาก N95” เป็นมาตรการระยะเร่งด่วน ภาพของผู้คนสัญจรเดินถนนที่ต้องสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตัวเองจากฝุ่นพิษ PM2.5 จึงกลายเป็นปรากฏการณ์เจนตาในช่วงกว่า 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมปิดปากปิดจมูก นอกเหนือจากที่เป็นสังคมปิดหูปิดตามาในช่วงก่อนหน้าเพิ่มขึ้นไปอีก สาเหตุหลักของการเกิดฝุ่นพิษได้รับการประเมินว่าเป็นผลมาจากฝุ่นที่เกิดจากยานพาหนะ ในกิจกรรมการคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า การเผาในที่โล่งและอุตสาหกรรมการผลิต ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีกระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ และนำไปสู่ปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศโดยมีสารกลุ่มซัลเฟอร์หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น ก่อนที่ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจนจากแหล่งกำเนิดต่างๆ จะรวมตัวกันในบรรยากาศและนำไปสู่ฝุ่นละอองพิษ PM2.5 ในเวลาต่อมา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ภาวะมลพิษจากฝุ่นพิษ PM2.5 มิได้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทยแบบป้องกันไม่ได้ เพราะในความเป็นจริงก่อนหน้านี้ ประเทศไทยเคยเผชิญกับปัญหาดังกล่าวมาแล้วตั้งแต่ช่วงปลายปี 2560

Read More