Home > ฝุ่นละอองขนาดเล็ก

ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า ความหวังในการแก้ปัญหา PM2.5?

ปัญหาเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM2.5 ดูเหมือนจะลดน้อยลงหลังจากที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งทำให้สถานการณ์ของฝุ่นพิษทยอยจางไปกับสายลมและการรับรู้ของสาธารณชน หากแต่ประสบการณ์ของฝุ่นพิษที่เกิดซ้ำและเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายของแต่ละปี ทำให้หลายฝ่ายพยายามชี้ให้เห็นว่าปัญหาดังกล่าวมิได้เป็นเพียงปรากฏการณ์ตามฤดูกาลเท่านั้น และยังมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในระยะยาวอีกด้วย ความเป็นไปด้านหนึ่งในมิติที่ว่านี้ ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าได้รับการกล่าวถึงเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ในฐานะที่อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาและพยุงสถานะของคุณภาพอากาศให้ปลอดจากฝุ่นพิษ ควบคู่กับการยกระดับมาตรฐานไอเสียไปสู่ Euro 5 ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาเรื่องมลพิษฝุ่นละออง PM2.5 ในระยะยาว ประเด็นปัญหาทั้งในกรณีของรถยนต์ไฟฟ้าและมาตรฐานไอเสีย Euro 5 อยู่ที่มาตรการในการสนับสนุนส่งเสริมซึ่งเกี่ยวเนื่องกับกลไกและระเบียบพิธีในหน่วยราชการไทยหลายแห่งโดยเฉพาะการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเพื่อสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานไอเสียตั้งแต่ Euro 5 รวมถึงมาตรการส่งเสริมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กรณีดังกล่าวทำให้ความเคลื่อนไหวของกรมสรรพสามิตได้รับความสนใจเป็นพิเศษในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะการศึกษาเพื่อลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Car ให้เหลือร้อยละ 0 ในฐานะที่เป็นมาตรการหนึ่งในการลดปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 ที่มีค่าเกินมาตรฐาน โดยในปัจจุบันมีผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศจำนวน 15 รายอยู่ในกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งเสียภาษีสรรพสามิตรถยนต์อีวีอยู่ที่ร้อยละ 2 ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Car ในประเทศไทยยังเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามประชาสัมพันธ์ว่าอยากส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นในไทย เพื่อประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี แต่ดูแหมือนที่ผ่านมาจะขาดนโยบายและมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมที่เด่นชัดออกมา ขณะที่ราคารถยนต์ไฟฟ้าในท้องตลาดประเทศไทยยังมีราคาค่อนข้างสูง เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2 ล้านบาทต่อคัน เนื่องจากราคาของแบตเตอรี่ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนรถยนต์ประเภทนี้ยังมีราคาแพง คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ

Read More

ไฟไหม้ฟาง: ฝุ่นพิษเริ่มจาง มาตรการหดหาย

ข่าวความเป็นไปของฝุ่นพิษ PM2.5 ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งได้สร้างความตื่นตัวในประเด็นว่าด้วยสุขภาพให้กับสังคมไทยอย่างเอิกเกริก และส่งผลให้กลไกภาครัฐต้องขยับตัวเร่งแก้ไขสถานการณ์ฝุ่นพิษอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการหลากหลาย ซึ่งสะท้อนวิถีความคิดและศักยภาพในการบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเป็นไปของสถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 ในด้านหนึ่งอยู่ที่ตลอดเวลาที่ผ่านมา สังคมไทยเผชิญกับภาวะมลพิษทางอากาศ และคุณภาพอากาศเลวร้ายมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นขนาดใหญ่ PM10 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝุ่นจากผลของการก่อสร้าง ขณะที่ฝุ่นพิษ PM2.5 ก็เคยปรากฏให้เห็นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หากแต่ได้รับการประเมินว่าเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะ “ตามฤดูกาล” และจะบรรเทาเบาบางลงเมื่อเวลาเปลี่ยนผ่านไป กระบวนทัศน์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควบคู่กับสำนึกตระหนักทางสังคมในมิติดังกล่าวทำให้สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 เกิดขึ้นซ้ำซากในแต่ละปี และพร้อมที่จะทวีความหนักหน่วงรุนแรงเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ตามปริมาณฝุ่นที่สะสมอยู่ในสภาพแวดล้อม ขณะที่แหล่งที่มาหรือต้นทางแห่งการเกิดฝุ่นพิษ PM2.5 ยังดำเนินไปอย่างเป็นปกติ โดยไม่ได้มีมาตรการระยะยาวในการจัดการที่เป็นรูปธรรมมากนัก ประเด็นที่น่าสนใจจากความพยายามของกลไกภาครัฐในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 ในด้านหนึ่งสะท้อนให้เห็นมิติของการขับเคลื่อนองคาพยพของหน่วยงานราชการ เมื่อการประชุมในระดับคณะรัฐมนตรีมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวรวมมากถึง 11 หน่วยงาน ทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ สำนักนายกรัฐมนตรี แนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในเขตกรุงเทพมหานครปริมณฑล และในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ภายใต้กลไกรัฐที่กำกับดูแลเหล่านี้ พยายามระบุว่า กรอบแนวคิด

Read More