Home > เกษตรกรรม

พืชมงคลและ Alibaba ความหวังเกษตรกรไทยยุค 4.0

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2561 ที่ดำเนินต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคมและวันที่ 14 พฤษภาคม นอกจากจะเป็นประหนึ่งสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกครั้งใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยขวัญและกำลังใจสำหรับเกษตรกร วันดังกล่าวยังถือเป็นวันเกษตรกรไทย ที่สะท้อนคุณค่าความหมายและความสำคัญของการประกอบสัมมาชีพกสิกรรมหล่อเลี้ยงสังคมอีกด้วย ผลของการเสี่ยงทายจากพระโค ที่ได้รับการแปลนิยามความหมายในแต่ละปีในด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนหลักวิธีคิดของการเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาฟ้าฝน และดำเนินอยู่ท่ามกลางเหตุปัจจัยหลากหลาย ซึ่งบ่อยครั้งอาจอยู่นอกเหนือความสามารถในการบังคับควบคุม หากแต่ในยุคสมัยปัจจุบันที่เทคนิควิทยาการได้เจริญรุดหน้าไปมาก ดูเหมือนว่าวาทกรรมว่าด้วยการบริหารจัดการจะได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องไม่นับรวมกรณีว่าด้วย Smart Farming และการจัดการเกษตรแปลงใหญ่ที่เป็นกระแสครึกโครมในช่วงปีที่ผ่านมา แต่สำหรับในปีนี้ ดูเหมือนว่าเกษตรกรไทยจะได้รับความหวังและแนวทางการประกอบอาชีพครั้งใหม่ เมื่อผู้ประกอบการธุรกิจการค้าออนไลน์ในนาม อาลีบาบากรุ๊ป ลงนามกับรัฐบาลไทยในการนำพาผลิตผลทางการเกษตรหลากหลายของไทยออกไปสู่ตลาดโลกผ่านช่องทางและเครือข่ายของ Alibaba ซึ่งดูเหมือนจะช่วยตอบรับกับความพยายามของภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจไทยผ่านการค้าในระบบ e-commerce และการหนุนนำ digital economy ไม่น้อยเลย กระนั้นก็ดี ประเด็นปัญหาของเกษตรกรไทยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา มิได้จำกัดอยู่เพียงประเด็นว่าด้วยช่องทางการจัดจำหน่าย หรือกรณีว่าด้วยการเพิ่มผลผลิตหรือการปรับโครงสร้างราคาพืชผลทางการเกษตรให้สอดรับกับต้นทุนการผลิตเท่านั้น หากยังมีปัจจัยว่าด้วยความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกไปยังตลาดระดับนานาชาติ และการบริหารจัดการในเชิงยุทธศาสตร์ว่าด้วยชนิดและประเภทของผลิตผลทางการเกษตรเป้าหมายด้วย การมาถึงของอาลีบาบาในการแสดงบทบาทสถานะการเป็นช่องทางการค้าขนาดใหญ่ให้กับผลิตผลทางการเกษตรของไทย ในด้านหนึ่งจึงอาจเป็นเพียงข้อต่อข้อสุดท้ายที่จะเชื่อมโยงเกษตรกรไทยเข้ากับตลาดขนาดใหญ่ของโลก แต่ย่อมไม่ใช่ข้อต่อที่สำคัญที่สุดในกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องถึงกันในฐานะที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และเป็นห่วงโซ่แห่งคุณค่า (value chain) ที่รัฐไทยควรจะตระหนักและดำเนินมาตรการผลักดันให้เกิดขึ้นจากฐานความคิดและภูมิปัญญาของสังคมไทยมากกว่าการรอหรือหวังพึ่งการช่วยเหลือจากภายนอก ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่ารัฐไทยประเมินและให้ความสำคัญต่อ “คุณค่า” ของผลิตผลทางการเกษตรของไทยไว้อย่างไร เพราะนอกจาก “คุณค่า” จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเสนอสินค้าหรือบริการให้กับผู้ที่ต้องการในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งแล้ว การวิเคราะห์มูลค่าของ “คุณค่า”

Read More

สกว.หนุนสมาร์ทฟาร์มมิ่ง สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร

วัฏจักรของปัญหาว่าด้วยผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ราคาตกต่ำ แต่ในขณะที่บางช่วงผลผลิตที่ได้กลับไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคการเกษตร อันเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ความพยายามแก้ปัญหาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่พยายามคิดค้นหาวิธีการแก้ปัญหาและพัฒนาต่อยอด ผ่านการสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดองค์ความรู้ ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในหลากหลายมิติ ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ตลาดผลไม้ได้ทำความรู้จักกับมะม่วงสายพันธุ์ใหม่ที่เข้ามาสร้างสีสันให้กับตลาด ในชื่อ “มะม่วงมหาชนก” มะม่วงพันธุ์เฉพาะของไทย ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างมะม่วงพันธุ์ซันเซทของอเมริกากับพันธุ์หนังกลางวันของไทย จนได้มะม่วงที่มีลักษณะเด่นแตกต่างจากมะม่วงในท้องตลาด มะม่วงมหาชนกมีลักษณะผลกลมยาว ปลายงอน ผลใหญ่ กลิ่นหอมมีเอกลักษณ์ ผลเมื่อสุกมีสีแดงสวยงาม รสชาติหวานหอม เนื้อไม่เละ เป็นที่ต้องการของทั้งผู้บริโภคชาวไทยและต่างชาติ และเป็นผลไม้ที่มีอนาคตไกลสำหรับการส่งออก ในขณะนั้นปริมาณการส่งออกมะม่วงมหาชนกเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทั้งแบบผลสุกและแปรรูป ระยะต่อมาความนิยมในมะม่วงมหาชนกกลับลดลง เหตุเพราะพบปัญหาสีของผลที่สุกแล้วกลับไม่เป็นสีแดงอันเป็นเอกลักษณ์ของมะม่วงมหาชนก เหมือนที่เคยเป็นมา ทำให้ผู้บริโภคลดความนิยมลง ทั้งที่เป็นมะม่วงที่ปลูกง่าย ให้ผลเร็ว ทนต่อโรคและแมลง ให้ผลตอบแทนต่อต้นสูง และอุดมด้วยคุณค่าทางอาหาร จากปัญหาดังกล่าวจึงนำไปสู่การศึกษาวิจัย “ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดสีแดงและปริมาณสารสกัดแอนโทไซยานินอันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในมะม่วงมหาชนก” ของ ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร รวมถึงพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมะม่วงมหาชนก อันจะนำไปสู่การต่อยอดการผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จากการวิจัยพบว่า

Read More

ทุกข์เกษตรกร ผจญภัยแล้งแถมเศรษฐกิจฟุบ

  พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ผ่านพ้นไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเป็นประหนึ่งสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกครั้งใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยขวัญและกำลังใจสำหรับเกษตรกร ในการประกอบสัมมาชีพหล่อเลี้ยงสังคมและผู้คนต่อไป เพราะท่ามกลางผลการเสี่ยงทายที่ปรากฏว่าพระโคได้กินข้าว ข้าวโพด งา เหล้า น้ำ และหญ้า พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร จะบริบูรณ์ดี น้ำท่าจะบริบูรณ์สมควร การคมนาคมสะดวกยิ่งขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดี เศรษฐกิจรุ่งเรืองขึ้น และในการเสี่ยงทายผ้านุ่งเสี่ยงทาย พระยาแรกนาหยิบเสี่ยงทาย ผ้านุ่ง 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำปริมาณพอดี ข้าวกล้าได้ผลบริบูรณ์ ผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี ดูจะเป็นแรงกระตุ้นความหวังและความฝันครั้งใหม่ได้ไม่น้อยเลย หากแต่ข้อเท็จจริงที่เกษตรกรไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ อาจอาศัยเพียงกำลังใจและความคาดหวังจากการพยากรณ์ตามลำพังไม่ได้ เพราะปัญหาของเกษตรกรไทยในห้วงปัจจุบันมิได้มีเพียงประเด็นว่าด้วยการเพิ่มผลผลิตหรือการปรับโครงสร้างราคาพืชผลทางการเกษตรให้สอดรับกับต้นทุนการผลิตเท่านั้น หากยังมีปัจจัยว่าด้วยความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกไปยังตลาดระดับนานาชาติด้วย ปัญหาเฉพาะหน้าของเกษตรกรในช่วงของภาวะภัยแล้งที่ผ่านมา อยู่ที่ต้นทุนการผลิต ปริมาณการผลิต ต้นทุนการหาแหล่งน้ำ รายได้จากการทำการเกษตร หนี้สินของครัวเรือน และการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน ซึ่งประชาชนประมาณ 80.5% ที่ตอบแบบสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนที่ผ่านมา ระบุว่าในการแบกรับภาระหรือการรับมือต่อภัยแล้ง ทำได้น้อย หรือทำไม่ได้เลย  ขณะเดียวกัน สถานการณ์ภัยแล้งที่มีแนวโน้มจะยืดยาวไปถึงช่วงมิถุนายน 2559 จะทำให้เม็ดเงินหายไปจากระบบเศรษฐกิจประมาณ

Read More