Home > Alternative Energy

เปิดประมูลโรงไฟฟ้า ภาพสะท้อนพลังงานไทย

การเปิดประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก ตามประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแบบ SPP hybrid firm หรือการผสมผสานเชื้อเพลิงตั้งแต่ 1 ประเภทขึ้นไป รวม 300 เมกะวัตต์ (MW) ของกระทรวงพลังงานและคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งกำลังเป็นภาพสะท้อนทิศทางธุรกิจพลังงานของไทยที่น่าสนใจไม่น้อย เนื่องเพราะภายหลังการเปิดให้ผู้สนใจยื่นเสนอขายไฟฟ้าเมื่อวันที่ 16-20 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่านอกจากจะมีผู้สนใจเป็นจำนวนมากแล้ว ยังถือเป็นสนามประลองกำลังของผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่พร้อมจะนำไปสู่การแข่งขันด้านราคาให้ต่ำกว่าราคาประกาศของ กกพ. ที่กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าแบบ Feed in Tarif (FiT) ที่ 3.66 บาทต่อหน่วย จากผลของจุดแข็งด้านวัตถุดิบป้อนโรงไฟฟ้าของผู้ประกอบการแต่ละราย และทำให้ยอดพลังงานไฟฟ้าที่ยื่นประมูลเสนอขายมียอดรวมกว่า 2,000-4,000 เมกะวัตต์ ทะลุเกินยอด 300 เมกะวัตต์ (MW) ที่ กกพ. ประกาศรับซื้อไปไกลมาก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจจากการเปิดประมูลรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ที่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมประมูลที่มีมากกว่า 150 ราย สามารถจำแนกออกได้เป็น 9 กลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มบริษัท บี.กริม

Read More

ธุรกิจพลังงาน: ทางเลือกเพื่อทดแทนหรือกระแสทุน?

ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ประเด็นว่าด้วยการขยายตัวเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทดแทนของบรรษัทใหญ่น้อย ทั้งที่เป็นธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือการรุกคืบเข้ามาขยายธุรกิจของกลุ่มทุนใหญ่เพื่อแสวงหาช่องทางรายได้ใหม่ในอนาคต หลังจากที่ธุรกิจเดิมเริ่มส่อเค้าว่ากำลังเดินทางเข้าสู่หนทางตัน กลายเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจไม่น้อยเลย ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐไทยพยายามส่งเสริมให้ประเทศไทยพึ่งพาการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้กำหนดแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558-2579 หรือ AEDP: 2015 (Alternative Energy Development Plan: AEDP 2015) ซึ่งนับเป็นกรอบโครงในการพัฒนาพลังงานที่มีระยะยาวถึง 20 ปี ภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในประเทศ และเพื่อวิจัยพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสัญชาติไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดสากล ควบคู่กับการกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนตามแผน AEDP 6 ประเด็น ประกอบด้วย การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างกว้างขวาง การปรับมาตรการจูงใจสำหรับการลงทุนจากภาคเอกชนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การแก้ไขกฎหมาย และกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบสายส่ง สายจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งการพัฒนาสู่ระบบ Smart Grid การประชาสัมพันธ์ และสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชน การส่งเสริมให้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแบบครบวงจร หากแต่เป้าหมายในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตาม AEDP: 2015 กลับมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในภาพรวมอยู่ที่เพียงร้อยละ 20

Read More