Home > Eastern Economic Corridor (EEC)

5 ภาคีจับมือจัดงาน EEC Cluster Fair 2023 เปิด 12 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ดึงลงทุนทั่วโลก

สกพอ.จับมือ 4 ภาคีเครือข่ายธุรกิจ ร่วมจัดงาน EEC Cluster Fair 2023 เดินเครื่องขับเคลื่อนชูนโยบายส่งเสริมการลงทุน ชู 5 คลัสเตอร์ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย จัดแสดงนวัตกรรมสุดทันสมัย เสริมแกร่งผู้ประกอบการ ตั้งเป้าดึงดูดนักลงทุนทั่วโลก สร้างหมุดหมายใหม่แห่งการลงทุนของไทยในพื้นที่ อีอีซี ในปี 2565-2570 เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้วางแนวทางการพัฒนาพื้นที่ให้สอดรับบริบทของโลกอุตสาหกรรมในอนาคต โดยตั้งเป้าหมายดึงเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศ 2.2 ล้านล้านบาท กระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโต 5% ต่อปี รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นรองรับการลงทุน ด้วยความสำคัญดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี รวมถึงยกระดับนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงให้พื้นที่นี้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงรวมถึงสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ S-Curve ให้มีตลาดและศักยภาพที่สูงขึ้น จึงได้ผนึกความร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (ทีเส็บ), หอการค้าไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงาน EEC Cluster Fair

Read More

SPC SAHAPAT ทุ่มกว่า 1,000 ล้านบาท เปิดศูนย์กระจายสินค้า รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี

SPC SAHAPAT ทุ่มกว่า 1,000 ล้านบาท เปิดศูนย์กระจายสินค้า รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี ตั้งเป้าศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค ดีเดย์ให้บริการธันวาคมนี้ SPC SAHAPAT ทุ่มงบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท เตรียมเปิดศูนย์กระจายสินค้าหลัก ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี บนพื้นที่กว่า 70 ไร่ พื้นที่จัดเก็บสินค้ากว่า 40,000 ตร.ม. รองรับสินค้าใหม่ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค เน้นบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ให้คล่องตัวเพื่อกระจายสินค้าไปทั่วทุกภาคของประเทศ พร้อมรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี และ Logistics Hub ของภูมิภาคในอนาคต นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) หรือ SPC เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ใช้งบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อเปิดคลังสินค้าแห่งใหม่ในพื้นที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท SPC ได้ก่อสร้างคลังสินค้าแห่งใหม่นี้ บนที่ดินกว่า 70 ไร่

Read More

ประเมินอนาคต EEC หลังทุนใหญ่ย้ายฐานการผลิต

การประกาศยุติการประกอบกิจการ และเลิกทำการผลิตรถยนต์ Chevrolet ของค่ารถยนต์ยักษ์ใหญ่นาม GM หรือ General Motors (ประเทศไทย) เมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นอกจากจะกลายเป็นข่าวเด่นข่าวดังในระดับสากลแล้ว กรณีดังกล่าวยังส่งผลกระทบและในอีกด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนสภาพเศรษฐกิจและการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของสังคมไทย ที่มุ่งเน้นจะผลักดันให้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นประหนึ่งหัวรถจักรที่จะฉุดลากเศรษฐกิจไทยอยู่ในสถานการณ์ที่น่ากังวลใจไม่น้อยเลย แม้ว่าการหายไปของโรงงานผลิตรถยนต์ของ GM อาจถูกแทนที่ด้วยการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ในนาม Great Wall Motors (GWM) แต่นั่นไม่ได้หมายความถึงการเป็นสมการของการเข้ามาแทนที่ทดแทนกันในรูปการณ์แบบเดิม เพราะภายใต้โครงสร้างการผลิตของ “ศูนย์การผลิตรถยนต์และเครื่องยนต์ของจีเอ็ม ประเทศไทย” หรือ “โรงงานผลิตรถยนต์” ที่จังหวัดระยอง ซึ่งเริ่มสายการผลิตมาตั้งแต่ปี 2543 หรือเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา พัฒนาการของระบบการผลิต รวมถึงเทคโนโลยีในการประกอบรถยนต์ในปัจจุบัน การเข้ามาของ GWM อาจไม่ได้เติมเต็มช่องว่างของการว่างงานที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ประเด็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกนอกจากผลกระทบในเรื่องแรงงานของ GM โดยตรงแล้ว สิ่งที่ยังน่าเป็นกังวลหลังจากการหยุดการผลิตรถยนต์ของเชฟโรเลตคือ ความหวาดวิตกของพนักงานจำนวนนับพันคน ที่อยู่ในกลุ่ม Supplier สายการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ และอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในภาพรวม ยังไม่นับผู้ประกอบการในฐานะตัวแทนจำหน่ายที่กำลังจะสูญเสียธุรกิจที่ได้ลงทุนไปแล้วโดยปริยาย ก่อนหน้านี้ GWM ได้ประกาศว่าบริษัทมีแผนที่จะสร้างโรงงานบนพื้นที่ 800,000

Read More

ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ เดินหน้าโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม รองรับ EEC

ปัจจุบันโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่มีมูลค่าการลงทุนหลายแสนล้านบาท กลายเป็นโครงการแห่งชาติที่สำคัญและกำลังได้รับการขับเคลื่อนจากรัฐบาลอย่างเต็มสูบ อีอีซีเป็นโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 โดยระยะแรกเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่ครอบคลุมจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อส่งเสริมการลงทุน ยกระดับอุตสาหกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจ คมนาคม และโลจิสติกส์ต่อไปในอนาคต ระยะเวลาที่ผ่านมาการขับเคลื่อนอีอีซีถือว่ามีความคืบหน้าออกมาให้เห็นเป็นระยะ มีการลงนามความร่วมมือทางธุรกิจและการลงทุนกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อการเตรียมความพร้อม ทั้งโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง- สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) การพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ไม่เฉพาะการเร่งพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม และการลงทุนจากต่างชาติเท่านั้น แต่เรื่องของคน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่อยู่รายรอบต่างก็สำคัญ แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมนำมาซึ่งขยะและของเสียต่างๆ มากมาย การบริหารจัดการขยะในพื้นที่อีอีซีจึงเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักและบรรจุลงในแผนพัฒนาด้วยเช่นกัน สถานการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่อีอีซีนั้น พบว่าปัจจุบันมีปริมาณขยะสะสมมากถึง 6 ล้านตัน โดยปี 2561 ที่ผ่านมา ปริมาณขยะอยู่ที่ 4.2 พันตันต่อวัน และคาดว่าในปี

Read More

EEC ฝันที่ไกล แต่อาจไปไม่ถึง?

แม้ว่าสถานะของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor: EEC จะเป็นประหนึ่งโครงการธงนำในการผลักดันเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช. ด้วยหวังว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้หลั่งไหลเข้ามาสร้างงานสร้างเงินให้กับพื้นที่ 3 จังหวัด ทั้งฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ก่อนที่ผลของการพัฒนาจะแผ่ซ่านไปสู่กลไกและองคาพยพอื่นๆ ให้ได้ขับเคลื่อนอีกครั้ง หากประเมินในมิติที่ว่านี้ โครงการ EEC ก็คงมีสถานะไม่ต่างจากโอสถทิพย์ ที่รัฐบาล คสช. หวังว่าจะช่วยเยียวยาและบำรุงกำลังให้เศรษฐกิจไทยได้กลับฟื้นขึ้นมาลุกยืนอีกครั้ง หลังจากสูญเสียโอกาสไปมากมายทั้งจากวิกฤตการเมือง และความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารงานของกลไกรัฐ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ โครงการ EEC ที่รัฐไทยกำลังโหมประโคมในฐานะที่เป็นเครื่องมือสร้างความเติบโต (growth engine) ทางเศรษฐกิจครั้งใหม่นี้ ในด้านหนึ่งเป็นเพียงการต่อยอดและส่วนขยายของโครงการ eastern seaboard ที่เคยหนุนนำพัฒนาการทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของไทยเมื่อครั้งอดีต จนเดินทางมาสู่ขีดจำกัดของศักยภาพที่มีจนทำให้ต้องขยายพื้นที่โดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีเป็นการย่นย่อระยะเวลา อย่างไรก็ดี ความเป็นไปของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกและการลงทุนใน EEC ได้ก่อให้เกิดความกังวลและความห่วงใยต่อทิศทางการพัฒนาในอนาคตของไทยไม่น้อยเลย โดยเฉพาะประเด็นว่าด้วยการดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติและกลุ่มทุนในประเทศ โดยละเลยการกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อการขับเคลื่อนประเทศในระยะยาวบนฐานการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทยเอง รัฐบาลไทยพยายามผลักดันกลุ่มอุตสาหกรรม New S-curve ด้วยหวังว่าจะเป็นกลไกในการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นกับภาคการผลิตของไทย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ที่รัฐไทยมุ่งหมายจะให้เกิดและเติบโตขึ้นในพื้นที่

Read More

รัฐไทยพึ่งคาถา Alibaba หวังเสก “ดิจิทัลฮับ” ปลุก EEC

การเดินทางเยือนไทยของ Angel Zhao Ying ประธานกลุ่มความเป็นผู้นำด้านโลกาภิวัตน์ อาลีบาบา (Alibaba Globalization Leadership Group) เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ดูจะได้รับความสนใจและพยายามประเมินค่าในฐานะที่เป็นประหนึ่งการปลุกประกายความหวังของรัฐบาลในการผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคจะวันออก หรือ EEC ไม่น้อยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาจากถ้อยแถลงของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี หลังจากที่คณะผู้บริหารบริษัท อาลีบาบา กรุ๊ป จำกัด เข้าเยี่ยมคารวะ ซึ่งระบุว่า อาลีบาบายืนยันจะเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค และจะตัดสินใจเลือกพื้นที่เพื่อทำเป็น Startup Digital Hub CLMVT ในเร็ววันนี้ ก่อนที่สมคิดจะระบุว่า การที่อาลีบาบาตัดสินใจจะเข้ามาลงทุนในไทยจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทย และเชื่อว่าบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ ก็จะเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีกด้วย ถ้อยแถลงดังกล่าว หากพิจารณาอย่างผิวเผินก็คงไม่มีประเด็นใดๆ น่าเสียหาย แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดและลึกลงไปในข้อเท็จจริง อาลีบาบาซึ่งเป็นเพียงผู้ประกอบการธุรกิจรายหนึ่ง กลับมีความเคลื่อนไหวหรือการตัดสินใจที่มีบทบาทอิทธิพลและสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับรัฐไทยมากเสียยิ่งกว่าความพยายามของรัฐไทยในการสื่อสารและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาคมโลกไปเสียแล้ว ประเด็นดังกล่าว ทำให้อาลีบาบาอยู่ในสถานะประหนึ่ง change agent ที่รัฐไทยกำลังต้องพึ่งพา หลังจากที่ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมายังไม่สามารถกอบกู้ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นจากนักลงทุนได้มากนัก แม้จะพยายามระดมมาตรการส่งเสริม และขายฝันโครงการ EEC เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกแล้วก็ตาม มิติความคิดที่สะท้อนผ่านการให้สัมภาษณ์สื่อของสมคิด รองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ครั้งล่าสุด ยังเป็นการตอกย้ำภาพการพัฒนาและอนาคตที่น่ากังวลของไทย เพราะบทบาทและสถานะของอาลีบาบาในอีกด้านหนึ่งก็คือการเป็นเพียงผู้ประกอบการที่มีฐานะเป็นคนกลางขนาดใหญ่ ที่ไม่เพียงแต่จะไม่มีวัตถุดิบหรือระบบการผลิตสินค้าใดๆ หากแต่สิ่งที่อาลีบาบามีและสื่อแสดงอย่างเด่นชัด ก็คือแนวความคิดที่สอดรับกับการแบ่งงานกันทำ (division

Read More

รัฐไทยในเวที APEC ยั่งยืนด้วยกรอบคิดเดิม?

การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปกครั้งที่ 25 และการประชุมรัฐมนตรีเอเปกครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 8-11พฤศจิกายน 2560 ณ นครดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ได้ปิดฉากลงไปแล้ว ขณะที่ผลสัมฤทธิ์ของการประชุมในครั้งนี้คงได้สะท้อนผ่านออกมาจากถ้อยแถลงของกลไกรัฐ ไม่ว่าจะตรงกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏหรือไม่ก็ตาม ภายใต้กรอบการประชุมกลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ซึ่งมีผู้นำระดับสูงของแต่ละประเทศเข้าร่วมรวม 21 เขตเศรษฐกิจ การประชุมในครั้งนี้จึงได้รับการจับตามองจากนานาประเทศว่าผลสรุปของการประชุมจะนำพาหรือบ่งบอกทิศทางเศรษฐกิจในอนาคตนับจากนี้อย่างไร ขณะเดียวกันบทบาทและภาพลักษณ์ของไทยในเวทีการประชุมแห่งนี้ จะสามารถสื่อแสดงศักยภาพของประเทศให้สามารถดึงดูดนักลงทุน หรือแม้กระทั่งเจรจาต่อรองเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติได้มากน้อยเพียงใด กำหนดการประชุมที่ประกอบด้วยการหารือกับผู้แทนสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปก หรือ ABAC : APEC Business Advisory Council และการหารืออย่างไม่เป็นทางการ (Retreat) ในประเด็นว่าด้วยการเติบโตอย่างมีนวัตกรรม การมีส่วนร่วม และการจ้างงานอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล (Innovative Growth, Inclusion and Sustainable Employment in the Digital Age) และพลังขับเคลื่อนใหม่ทางการค้า การลงทุน และการเชื่อมโยงในภูมิภาค (New Driver for Regional Trade,

Read More

แก้วสารพัดนึกชื่อ EEC และคาถาเสื่อมมนต์ไทยแลนด์ 4.0

หากตั้งประเด็นคำถามว่ารัฐบาลภายใต้การกำกับดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายเศรษฐกิจ หรือจัดวางน้ำหนักในการพัฒนาประเทศไว้ที่เรื่องใด เชื่อว่า โครงการเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) คงเป็นโครงการที่ผุดขึ้นในกระแสสำนึกอย่างทันที ด้วยเหตุที่สื่อประชาสัมพันธ์ภาครัฐต่างโหมประโคมโครงการที่ว่านี้ อย่างต่อเนื่องและเป็นประหนึ่งโครงการแห่งความหวังว่าจะช่วยฉุดลากเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลานับจากนี้ให้หลุดพ้นจากหุบเหวของความตกต่ำที่ต่อเนื่องมาอย่างยาวนานเสียที แม้ว่าในความเป็นจริงโครงการที่ว่านี้ไม่ได้มีอะไรใหม่มากไปกว่าการพัฒนาพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง ซึ่งในด้านหนึ่งก็คือ การสานต่อและเติมเต็มโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่ดำเนินมาเมื่อ 40 กว่าปีก่อน ให้มีความสดใหม่เพิ่มขึ้นและขยับให้ EEC เป็นประหนึ่งข้อต่อเชื่อมที่จะทำให้โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดเสร็จสมบูรณ์เต็มตามเป้าประสงค์ ภายใต้แผนการพัฒนา EEC รัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดวางแผนงานเพื่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ไว้ 8 แผนงาน ประกอบด้วย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือสัตหีบและบริการลอจิสติกส์ต่อเนื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย การพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ การพัฒนาศูนย์กลางการเงิน การพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี การพัฒนาเมืองใหม่ ฉะเชิงเทรา-พัทยา-ระยอง และที่ดูจะให้ความสำคัญมากก็คือ การประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศโดยรวม โดยก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 จำนวน 212

Read More

รัฐมุ่งหน้าเร่ขายฝัน หวังฉุดเศรษฐกิจไทยฟื้น

ข่าวการเดินทางเพื่อเชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่นให้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนของไทยในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่ง ถือเป็นความพยายามที่ไม่สิ้นสุดของรัฐบาลไทยที่จะผลักดันโครงการลงทุนและกระตุ้นภาพรวมทางเศรษฐกิจของไทยให้ดำเนินไปตามถ้อยแถลงว่าด้วยเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแล้ว แม้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าจะไม่สอดรับกับคำเอ่ยอ้างและวาทกรรมว่าด้วยความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติ และในบางกรณีอาจดำเนินสวนทางไปในทิศทางตรงข้ามก็ตาม ความพยายามที่จะสถาปนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาผ่านปาฐกถาในงานสัมมนา “Thailand towards Asian Hub” ถือเป็นข้อเน้นย้ำถึงมายาคติที่บีบอัดเป็นมิติมุมมองของทั้งผู้นำระดับสูงในรัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่จ่อมจมอยู่กับวาทกรรมและความเชื่อว่าด้วยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของไทยแบบดั้งเดิม โดยละเลยบริบทของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ขณะที่การเน้นย้ำประเด็นว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 และการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ดูจะเป็นการเน้นย้ำที่ไม่ต่างจากแผ่นเสียงที่ตกร่อง เพราะนอกจากจะยังไม่มีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมใหม่ๆ ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบของพัฒนาการเชิงนโยบายในสองเรื่องนี้อย่างจริงจังเลย ประเด็นว่าด้วย EEC หรือการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่ดำเนินไปภายใต้ความคาดหวังว่าจะช่วยเปลี่ยนผ่านภาคการผลิตของไทย และเป็นโครงการที่จะต้องมีการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ารวมกว่า 4.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญถึงความเป็นไปได้ของโครงการนี้ว่าจะแสวงหาเม็ดเงินและนักลงทุนจากที่ใดเข้ามาเติมเต็มความฝันครั้งใหม่ของรัฐบาลไทยนี้ “หากขาดนักลงทุนจากญี่ปุ่น EEC คงพัฒนาไม่สำเร็จ จึงได้เชิญประธาน JETRO มาเป็นที่ปรึกษาเพื่อติดต่อกับนักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งหวังว่าไทย-ญี่ปุ่นจะร่วมมือทางการค้าและลงทุนได้เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการนำแนวคิดร่วมจัดทำยุทธศาสตร์ของกลุ่มประเทศ CLMVT เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ขยายไปยังกลุ่มต่างๆ ด้วย” สมคิดระบุในตอนหนึ่งของปาฐกถา การอ้างถึงความพยายามเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาเข้ากับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านทั้งกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์และเวียดนาม หากเป็นในอดีตก็คงดำเนินไปในลักษณะที่ไทยเป็นศูนย์กลางที่จะหนุนนำพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคมไปสู่มิตรประเทศเหล่านี้ หากแต่ในปัจจุบันความพยายามผนวกรวมยุทธศาสตร์ CLMVT กลับกลายเป็นเพียงการขอมีส่วนร่วมให้เกิดความน่าสนใจในมิติของการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวจากต่างประเทศเท่านั้น ก่อนหน้านี้ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้พยายามที่จะนำเสนอ หรือหากกล่าวอย่างชัดเจน

Read More

EEC: ระเบียงเศรษฐกิจไทย บนความเป็นไปของยุทธศาสตร์จีน

ความพยายามของรัฐบาลไทยที่จะขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจผ่านโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor: EEC ซึ่งเป็นการต่อยอดการพัฒนาบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดูจะมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นไปอีกขั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความพยายามที่จะดึงนักธุรกิจฮ่องกงให้เข้ามามีส่วนในโครงการนี้ ผ่านความร่วมมือด้านยุทธศาสตร์ระหว่างไทย-ฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้ เพื่อเชื่อมเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจจีนผ่านนโยบายยุทธศาสตร์ One Belt One Road ที่อาจนำไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีทันสมัย หรือ Modern FTA ระหว่างฮ่องกงกับอาเซียน โดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง ในการกระจายสินค้าของภูมิภาค ภายใต้แนวความคิดที่จะยกระดับภาคการผลิตและภาคบริการของไทยให้เข้าสู่ยุค 4.0 ดูเหมือนว่านโยบายที่ว่านี้จะสอดรับกับสถานะของฮ่องกงที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีขั้นสูง และถือเป็นเมืองที่มีพลังในการขับเคลื่อนด้านการค้าการลงทุนของจีนเข้ามาเป็นองค์ประกอบ โดยในปีที่ผ่านมาฮ่องกงมีมูลค่าขอรับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สูงถึง 1.4 หมื่นล้านบาท และเป็นการลงทุนเฉพาะในพื้นที่ EEC สูงถึง 1.1 หมื่นล้านบาท ขณะที่ในภาพรวมทั้งประเทศพบว่า ปีที่ผ่านมานักธุรกิจฮ่องกงเข้าลงทุนในไทยรวมกว่า 2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นอันดับที่ 5 ของมูลค่าการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ และในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ฮ่องกงก็มีมูลค่าการลงทุนในไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่นเท่านั้น วินเซนต์ โล ประธานองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง หรือ Hong Kong

Read More