Home > Smart Farming

ไทยวา เผยความสำเร็จในการส่งเสริมเกษตรกรด้วยสมาร์ทฟาร์มมิ่ง

การเกษตรยุคใหม่ หรือ สมาร์ทฟาร์มมิ่ง (Smart Farming) เป็นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเพาะปลูกและเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก ได้มีการส่งเสริมเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องจากทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะสมาร์ทฟาร์มมิ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความอยู่ดีกินดีของเกษตรกรที่จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สมาร์ทฟาร์มมิ่งยังสอดคล้องกับทิศทางของประเทศในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถของภาคการเกษตร ด้วยการนำความหลากหลายทางชีวภาพ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้เพื่อช่วยให้บริหารจัดการการเกษตรได้ง่ายขึ้น มีต้นทุนลดลง แต่ได้ผลผลิตที่ดีและมากกว่าเดิม รวมทั้งเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรให้สูงขึ้น ไทยวา ในฐานะผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์แป้งและอาหารชั้นนำ เป็นหนึ่งในภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุนการเกษตรยุคใหม่ จากแนวคิดของบริษัทที่ต้องการนำนวัตกรรมมาสร้างคุณค่าตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมชาวไร่มันสำปะหลังซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบหลัก โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมาไทยวาได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาเป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร และยกระดับการทำเกษตรกรรม โดยยึดหลักเกษตรยั่งยืน นางสาวหทัยกานต์ กมลศิริสกุล ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายกลยุทธ์ ความยั่งยืน นวัตกรรม บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ไทยวาร่วมผลักดันการนำสมาร์ทฟาร์มมิ่งมาใช้ทั้งในแง่เทคโนโลยีและความรู้ เพื่อช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตต่อไร่และผลตอบแทนเพิ่มมากขึ้น เช่น การบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลัง ระบบขนส่งผลผลิต การใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร รวมถึงวิธีการเพาะปลูกที่ถูกต้อง เพราะเราเชื่อว่าการเติบโตร่วมกับเกษตรกรเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความมั่นคงให้กับอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรของไทยในระยะยาว” ที่ผ่านมาไทยวาได้จัดโครงการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ให้แก่เกษตรกร ทดแทนการทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้แรงงานจำนวนมากและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ให้ผลผลิตไม่แน่นอน โดยในขั้นตอนการเตรียมแปลงเพาะปลูก ไทยวาได้แนะนำให้รู้จักการใช้เครื่องปลูกมันสำปะหลังพร้อมยกร่องและใส่ปุ๋ย ที่ช่วยประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานลงได้อย่างมาก จึงวางแผนและเพาะปลูกได้เร็วขึ้น ส่วนในขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ไทยวาได้แนะนำให้เกษตรกรใช้เครื่องขุดเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังกึ่งอัตโนมัติ

Read More

พืชมงคลและ Alibaba ความหวังเกษตรกรไทยยุค 4.0

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2561 ที่ดำเนินต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคมและวันที่ 14 พฤษภาคม นอกจากจะเป็นประหนึ่งสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกครั้งใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยขวัญและกำลังใจสำหรับเกษตรกร วันดังกล่าวยังถือเป็นวันเกษตรกรไทย ที่สะท้อนคุณค่าความหมายและความสำคัญของการประกอบสัมมาชีพกสิกรรมหล่อเลี้ยงสังคมอีกด้วย ผลของการเสี่ยงทายจากพระโค ที่ได้รับการแปลนิยามความหมายในแต่ละปีในด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนหลักวิธีคิดของการเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาฟ้าฝน และดำเนินอยู่ท่ามกลางเหตุปัจจัยหลากหลาย ซึ่งบ่อยครั้งอาจอยู่นอกเหนือความสามารถในการบังคับควบคุม หากแต่ในยุคสมัยปัจจุบันที่เทคนิควิทยาการได้เจริญรุดหน้าไปมาก ดูเหมือนว่าวาทกรรมว่าด้วยการบริหารจัดการจะได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องไม่นับรวมกรณีว่าด้วย Smart Farming และการจัดการเกษตรแปลงใหญ่ที่เป็นกระแสครึกโครมในช่วงปีที่ผ่านมา แต่สำหรับในปีนี้ ดูเหมือนว่าเกษตรกรไทยจะได้รับความหวังและแนวทางการประกอบอาชีพครั้งใหม่ เมื่อผู้ประกอบการธุรกิจการค้าออนไลน์ในนาม อาลีบาบากรุ๊ป ลงนามกับรัฐบาลไทยในการนำพาผลิตผลทางการเกษตรหลากหลายของไทยออกไปสู่ตลาดโลกผ่านช่องทางและเครือข่ายของ Alibaba ซึ่งดูเหมือนจะช่วยตอบรับกับความพยายามของภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจไทยผ่านการค้าในระบบ e-commerce และการหนุนนำ digital economy ไม่น้อยเลย กระนั้นก็ดี ประเด็นปัญหาของเกษตรกรไทยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา มิได้จำกัดอยู่เพียงประเด็นว่าด้วยช่องทางการจัดจำหน่าย หรือกรณีว่าด้วยการเพิ่มผลผลิตหรือการปรับโครงสร้างราคาพืชผลทางการเกษตรให้สอดรับกับต้นทุนการผลิตเท่านั้น หากยังมีปัจจัยว่าด้วยความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกไปยังตลาดระดับนานาชาติ และการบริหารจัดการในเชิงยุทธศาสตร์ว่าด้วยชนิดและประเภทของผลิตผลทางการเกษตรเป้าหมายด้วย การมาถึงของอาลีบาบาในการแสดงบทบาทสถานะการเป็นช่องทางการค้าขนาดใหญ่ให้กับผลิตผลทางการเกษตรของไทย ในด้านหนึ่งจึงอาจเป็นเพียงข้อต่อข้อสุดท้ายที่จะเชื่อมโยงเกษตรกรไทยเข้ากับตลาดขนาดใหญ่ของโลก แต่ย่อมไม่ใช่ข้อต่อที่สำคัญที่สุดในกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องถึงกันในฐานะที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และเป็นห่วงโซ่แห่งคุณค่า (value chain) ที่รัฐไทยควรจะตระหนักและดำเนินมาตรการผลักดันให้เกิดขึ้นจากฐานความคิดและภูมิปัญญาของสังคมไทยมากกว่าการรอหรือหวังพึ่งการช่วยเหลือจากภายนอก ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่ารัฐไทยประเมินและให้ความสำคัญต่อ “คุณค่า” ของผลิตผลทางการเกษตรของไทยไว้อย่างไร เพราะนอกจาก “คุณค่า” จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเสนอสินค้าหรือบริการให้กับผู้ที่ต้องการในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งแล้ว การวิเคราะห์มูลค่าของ “คุณค่า”

Read More

สกว.หนุนสมาร์ทฟาร์มมิ่ง สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร

วัฏจักรของปัญหาว่าด้วยผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ราคาตกต่ำ แต่ในขณะที่บางช่วงผลผลิตที่ได้กลับไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคการเกษตร อันเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ความพยายามแก้ปัญหาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่พยายามคิดค้นหาวิธีการแก้ปัญหาและพัฒนาต่อยอด ผ่านการสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดองค์ความรู้ ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในหลากหลายมิติ ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ตลาดผลไม้ได้ทำความรู้จักกับมะม่วงสายพันธุ์ใหม่ที่เข้ามาสร้างสีสันให้กับตลาด ในชื่อ “มะม่วงมหาชนก” มะม่วงพันธุ์เฉพาะของไทย ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างมะม่วงพันธุ์ซันเซทของอเมริกากับพันธุ์หนังกลางวันของไทย จนได้มะม่วงที่มีลักษณะเด่นแตกต่างจากมะม่วงในท้องตลาด มะม่วงมหาชนกมีลักษณะผลกลมยาว ปลายงอน ผลใหญ่ กลิ่นหอมมีเอกลักษณ์ ผลเมื่อสุกมีสีแดงสวยงาม รสชาติหวานหอม เนื้อไม่เละ เป็นที่ต้องการของทั้งผู้บริโภคชาวไทยและต่างชาติ และเป็นผลไม้ที่มีอนาคตไกลสำหรับการส่งออก ในขณะนั้นปริมาณการส่งออกมะม่วงมหาชนกเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทั้งแบบผลสุกและแปรรูป ระยะต่อมาความนิยมในมะม่วงมหาชนกกลับลดลง เหตุเพราะพบปัญหาสีของผลที่สุกแล้วกลับไม่เป็นสีแดงอันเป็นเอกลักษณ์ของมะม่วงมหาชนก เหมือนที่เคยเป็นมา ทำให้ผู้บริโภคลดความนิยมลง ทั้งที่เป็นมะม่วงที่ปลูกง่าย ให้ผลเร็ว ทนต่อโรคและแมลง ให้ผลตอบแทนต่อต้นสูง และอุดมด้วยคุณค่าทางอาหาร จากปัญหาดังกล่าวจึงนำไปสู่การศึกษาวิจัย “ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดสีแดงและปริมาณสารสกัดแอนโทไซยานินอันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในมะม่วงมหาชนก” ของ ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร รวมถึงพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมะม่วงมหาชนก อันจะนำไปสู่การต่อยอดการผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จากการวิจัยพบว่า

Read More