Home > มายช้อยส์

“เทสโก้” ดิ้นปรับโฉม ดัน “ไฟน์เนส” เจาะพรีเมียม

“เทสโก้ โลตัส” ประกาศปรับภาพลักษณ์แผนกอาหารสดครั้งใหญ่ โดยจะประเดิมสาขาไฮเปอร์มาร์เกต สุขุมวิท 50 เผยโฉม “นิวลุค” แห่งแรกเป็นต้นแบบในวันที่ 7 กันยายนนี้ ก่อนขยายไปยังสาขาอื่นๆ ด้วย 2 จุดขายหลัก คือ เน้นความพรีเมียมและกลุ่มสินค้านำเข้า ความเคลื่อนไหวของยักษ์ใหญ่ซูเปอร์สโตร์ครั้งนี้ส่งสัญญาณความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะขยายฐานลูกค้ากลุ่มกำลังซื้อสูง เพื่อกระจายความเสี่ยงจากพิษเศรษฐกิจที่ยังเจอปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงไม่หยุดและในภาวะสงครามการแข่งขันอย่างรุนแรง ลด แลก แจก แถม แม้ดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้ แต่กลายเป็นโปรโมชั่นไม่ต่างจากคู่แข่งและยิ่งกดดันเรื่องการทำรายได้ ที่สำคัญ การทุ่มงบจัดแคมเปญตัดราคาสินค้ากลับไม่ได้กระตุ้นความถี่หรือยอดจับจ่ายต่อบิลสูงขึ้น เนื่องจากกลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะระดับล่างถึงกลางเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความถี่ เลือกซื้อเฉพาะสินค้าจำเป็น จำนวนน้อยชิ้นและขนาดเล็กลงไปด้วย ข้อมูลล่าสุดจากบริษัท กันตาร์ เวิล์ดพาแนล (ไทยแลนด์) หรือ KWP บริษัทวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคในเชิงลึก ระบุผลวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อเพื่อใช้ในบ้านและไลฟ์สไตล์การบริโภคนอกบ้าน โดยใช้ฐานผู้บริโภคตัวอย่างกว่า 4,000 กลุ่มครัวเรือนทั่วประเทศในช่วงครึ่งปีแรก พบว่า ผู้บริโภคชะลอจับจ่ายต่ำสุดในรอบ 10 ปี และคนไทยไม่มีความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจเลย เนื่องจากเกิดปัจจัยลบหลายอย่าง ทั้งผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ ปัญหาการเมือง และปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะราคาพืชผลทางการเกษตรยังตกต่ำ

Read More

เฮาส์แบรนด์ เดือด “ท็อปส์” แก้เกมเจาะพรีเมียม

 หลังเจอสงครามเฮาส์แบรนด์ (House Brand) ของกลุ่มดิสเคาน์สโตร์ยักษ์ใหญ่ “เทสโก้ โลตัส” หรือแม้กระทั่งธุรกิจในเครือซีอาร์ซีด้วยกันอย่าง “บิ๊กซี” รุกหนัก เน้นกลยุทธ์ตัดราคาถูกสุดๆ จนต้องหันมาทบทวนยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ ล่าสุด ค่ายท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ตเดินหน้าอีกขั้น ปรับแผนแก้เกมใช้ “คุณภาพ” เป็นตัวต่อสู้ “ราคา” เพื่อขยายฐานตลาดระดับพรีเมียม บลูโอเชี่ยนที่มีมูลค่าเม็ดเงินมากกว่าหลายเท่า  ขณะเดียวกัน แม้การทำตลาดอย่างดุเดือดของกลุ่มสินค้าเฮาส์แบรนด์ หรือไพรเวทเลเบิ้ล (Private Label) หรือโอนแบรนด์ (Own Brand) ในช่วงที่ผ่านมาทำให้ผู้บริโภคติดใจและยอดขายเติบโตทั้งตลาดไม่ต่ำกว่า 25-30% โดยเฉพาะช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ยอดขายพุ่งสูงเกือบ 50% เนื่องจากผู้บริโภคคนไทยติดใจสินค้าเฮาส์แบรนด์เพราะราคาถูกกว่าสินค้าของผู้ผลิตในท้องตลาด   แต่เมื่อลูกค้าเรียนรู้ความเป็นเฮาส์แบรนด์ของโมเดิร์นเทรดในฐานะของราคาถูก ไม่เน้นคุณภาพ ทำให้ตลาดเฮาส์แบรนด์ชะลอตัว เปรียบเทียบกับต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแถบยุโรป อเมริกา วางโพสิชั่นนิ่งสินค้าเฮาส์แบรนด์เป็นเอ็กซ์คลูซีฟแบรนด์ในแง่สินค้าคุณภาพราคาประหยัด   กลุ่มโมเดิร์นเทรดจึงต้องเร่งอัพเกรดคุณภาพและแบ่งระดับสินค้าแยกตามกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ไม่ใช่เน้นราคาถูกแบบเดิมเพียงข้อเดียว  นิค ไรท์ไมเออร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายจัดซื้อสินค้า Own Brand และ Premium Format บริษัท เซ็นทรัล

Read More