Home > ธุรกิจพลังงานทดแทน

บี.กริม เพาเวอร์ ผนึก “ราช กรุ๊ป” และ Lao World Engineering and Construction ลงทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซกอง ใน สปป.ลาว

บี.กริม เพาเวอร์ ผนึก “ราช กรุ๊ป” และ Lao World Engineering and Construction ลงทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซกอง ใน สปป.ลาว กำลังผลิต 355 เมกะวัตต์ ขยายพอร์ตพลังงานหมุนเวียน เดินหน้าตามยุทธศาสตร์ “GreenLeap” บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เดินหน้าขยายธุรกิจพลังงานทดแทน ล่าสุดร่วมกับ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (“สปป. ลาว”) เดินหน้าตามยุทธศาสตร์ “GreenLeap” ก้าวสู่เป้าหมายผู้ผลิตพลังงานชั้นนำระดับโลก ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บี.กริม เพาเวอร์ ได้ร่วมกับ บริษัท

Read More

หมดเวลาของถ่านหิน? อาเซียนเน้นพลังงานทดแทน

การแถลงผลประกอบการของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นอกจากจะมีจุดเด่นอยู่ที่ตัวเลขผลประกอบการที่มีกำไรในระดับหลายพันล้านบาทแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังปรากฏภาพของการกำหนดทิศทางของธุรกิจในอนาคตด้วยการลดสัดส่วนพลังงานถ่านหิน ซึ่งสะท้อนภาพภูมิทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนไปของการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียน ที่กำลังปรับเข้าหาพลังงานทดแทนมากขึ้น กรณีดังกล่าวสอดรับกับความเคลื่อนไหวของบี. กริม พาวเวอร์ ที่ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB: Asian Development Bank) ประกาศความร่วมมือในการขยายธุรกิจพลังงานทดแทนในอาเซียน ผ่านการลงนามในสัญญาสนับสนุนเงินกู้ มูลค่า 235 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.3 พันล้านบาท นัยความหมายของการลงนามสนับสนุนเงินกู้ระหว่างบี. กริม พาวเวอร์กับเอดีบี ครั้งนี้ นอกจากจะนับเป็นการสนับสนุนวงเงินกู้ที่มีมูลค่าสูงสุดที่เอดีบีเคยให้การสนับสนุนกับบริษัทในประเทศไทยแล้ว ในอีกมิติหนึ่งยังสะท้อนแนวทางการพัฒนาด้านพลังงานที่เอดีบีพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นและสนองตอบต่อความต้องการใช้พลังงานของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ซึ่งพลังงานได้รับการประเมินในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พลังงานทางเลือกที่บี. กริมจะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อรุกเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ภายใต้สัญญาสนับสนุนเงินกู้จากเอดีบี ประกอบด้วยการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานจากขยะ พลังงานก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการกักเก็บพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง “เงินทุนของเอดีบีจะสนับสนุนการดำเนินงานของบี.กริม เพาเวอร์ ในการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าตามพื้นที่ต่างๆ ในรูปแบบ Distributed Power Generation และโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่

Read More

ธุรกิจพลังงาน: ทางเลือกเพื่อทดแทนหรือกระแสทุน?

ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ประเด็นว่าด้วยการขยายตัวเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทดแทนของบรรษัทใหญ่น้อย ทั้งที่เป็นธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือการรุกคืบเข้ามาขยายธุรกิจของกลุ่มทุนใหญ่เพื่อแสวงหาช่องทางรายได้ใหม่ในอนาคต หลังจากที่ธุรกิจเดิมเริ่มส่อเค้าว่ากำลังเดินทางเข้าสู่หนทางตัน กลายเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจไม่น้อยเลย ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐไทยพยายามส่งเสริมให้ประเทศไทยพึ่งพาการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้กำหนดแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558-2579 หรือ AEDP: 2015 (Alternative Energy Development Plan: AEDP 2015) ซึ่งนับเป็นกรอบโครงในการพัฒนาพลังงานที่มีระยะยาวถึง 20 ปี ภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในประเทศ และเพื่อวิจัยพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสัญชาติไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดสากล ควบคู่กับการกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนตามแผน AEDP 6 ประเด็น ประกอบด้วย การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างกว้างขวาง การปรับมาตรการจูงใจสำหรับการลงทุนจากภาคเอกชนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การแก้ไขกฎหมาย และกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบสายส่ง สายจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งการพัฒนาสู่ระบบ Smart Grid การประชาสัมพันธ์ และสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชน การส่งเสริมให้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแบบครบวงจร หากแต่เป้าหมายในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตาม AEDP: 2015 กลับมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในภาพรวมอยู่ที่เพียงร้อยละ 20

Read More

บ้านปูจับธุรกิจปลายน้ำ เดินหมากด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

ความแข็งแกร่งของบริษัทบ้านปูดูจะเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตานักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติไม่น้อย ด้วยชื่อชั้นการเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านพลังงานจากถ่านหิน น่าจะสามารถเรียกได้ว่าเป็นมือวางอันดับต้นๆ ในแวดวงธุรกิจพลังงาน กระนั้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ที่ผ่านมา การเปิดตัวบริษัทลูกที่ถือว่าเป็นน้องใหม่แห่งวงการธุรกิจพลังงานอย่างบริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการด้านการวางระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร “ถ้าเปรียบบริษัทบ้านปู เป็นเหมือนลูกชาย บริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี ก็เป็นเหมือนลูกสาว” สมฤดี ชัยมงคล กรรมการบริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด กล่าวในพิธีเปิด แม้ว่านัยหนึ่งของการเบนเข็มธุรกิจของบ้านปูมาให้ความสำคัญในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น จะสอดคล้องกับนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล ที่มีแผนว่าจะพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยแผนดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2558-2579 (Alternative Energy Development plan: AEDP 2015) ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ตั้งเป้าเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนโดยรวมของประเทศจาก 13.9 เปอร์เซ็นต์ในปัจจุบัน เป็น 30 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2579 กระนั้นอีกนัยหนึ่งที่น่าขบคิดว่า นี่อาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่เป็นต้นกำเนิดของบริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี นั่นเพราะการขาดทุนสูงถึง 1,534 ล้านบาท ในปี 2558

Read More

WB Organic Farm ธุรกิจสีเขียวของ “สหพัฒน์”

  สหพัฒน์ใช้เวลากว่า 5 ปี ผ่าตัด “แพนเอเซียฟุตแวร์” ยกเครื่องธุรกิจผลิตรองเท้า ซึ่งเป็นกิจการดั้งเดิมตั้งแต่ยุคนายห้างเทียม โชควัฒนา ปรับกระบวนทัพพลิกสถานการณ์จาก “ขาดทุน” เริ่มเห็น “กำไร” และตั้งเป้าให้เป็นหัวขบวนบุกธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยประเดิมเปิดฉากรุกตลาดผลิตภัณฑ์ผักออร์แกนิก “WB Organic Farm” เป็นหัวขบวนแรก ก่อนหน้านี้ ในช่วงการปรับโครงสร้างองค์กรและคณะกรรมการบริหารบริษัทอยู่ระหว่างพิจารณาการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่สร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืน มีกระแสข่าวว่า เครือสหพัฒน์มีการเสนอและศึกษาแผนการลงทุนธุรกิจใหม่ 2-3 ธุรกิจ โดยหนึ่งในนั้นน่าจะเป็นธุรกิจพลังงานทดแทน เนื่องจากมีบริษัทในเครือ คือ  บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) หรือ SCG เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำ มีบริษัทภายใต้การบริหาร 3 แห่ง มีกำลังติดตั้งมากกว่า 200 เมกะวัตต์ ได้แก่ โรงไฟฟ้าศรีราชา โรงไฟฟ้าลำพูน และโรงไฟฟ้ากำแพงเพชร  ขณะเดียวกันมีกลุ่มทุนใหม่สนใจเข้าร่วมลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากสหพัฒน์มีที่ดินและพื้นฐานการดำเนินธุรกิจด้านพลังงาน รวมทั้งมีโอกาสทำรายได้และกำไรสูง  แต่อาจเป็นเพราะนโยบายด้านพลังงานของรัฐไม่นิ่งหรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยังไม่พ้นจุดเสี่ยงทำให้การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ถูกพับเก็บไว้ก่อน  สุนทรา ฐิติวร ผู้จัดการฝ่ายบริหารธุรกิจ บริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์

Read More